
สังกัด
สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
ผู้บริหาร
นางสุรางค์ วิสุทธิสระ
โทรศัพท์ ๐๘๓-๓๒๕-๖๐๒๐
ระดับชั้นที่เปิดสอน
อนุบาลปีที่ ๑ ถึง มัธยมศึกษาปีที่ ๖ จำนวนครู ๖๐ คน จำนวนนักเรียน ๑,๐๖๐ คน
ครูผู้รับผิดชอบโครงการเศรษฐกิจพอเพียง
(หัวหน้า) นายภูริวรรษ คำอ้ายกาวิน
โทรศัพท์ ๐๘๑-๑๖๓-๗๓๒๗
กิจกรรมเด่นของสถานศึกษาเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ “โครงการเศรษฐกิจพอเพียง เคียงคู่คุณธรรม” โดยใช้กระบวนการกลุ่มยุวเกษตรกรเป็นตัวขับเคลื่อน
ขั้นตอนการดำเนินโครงการ๑.ด้านการบริหารจัดการ กำหนดเป็นนโยบายว่า “โครงการเศรษฐกิจพอเพียงเคียงคู่คุณธรรม”
เป็นโครงการพิเศษ มีการประชุมหารือและชี้แจงความสำคัญของโครงการ
กิจกรรมและมอบหมายการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกคน ในการปฏิบัติงาน
มีการนิเทศก์ กำกับติดตามโครงการและกิจกรรมในโครงการ
ให้เป็นไปตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโครงการอย่างต่อเนื่อง
โดยมุ่งให้คณะครู นักเรียนและบุคลากรนำหลักความพอเพียง
ภายใต้แนวทางการประพฤติตามหลักคุณธรรม มาใช้ในชีวิตอย่างพอเหมาะ
๒.ด้าน
หลักสูตร มีการประชุมสร้างความเข้าใจ
เพื่อสร้างหลักสูตรท้องถิ่นบูรณาการแบบองค์รวม
ภายใต้ความร่วมมือกับคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ สสวท.
เป็นผู้ให้ความรู้และดำเนินการจัดทำ STRAN MAP
หลักสูตรท้องถิ่นบูรณาการแบบองค์รวม “แหล่งอาหารชาวดอยตามทฤษฎีใหม่” และมีการนำมาใช้ในการเรียนการสอนอย่างชัดเจนในปัจจุบัน
๓.ด้านการจัดการเรียนการสอน
มีการนำรายวิชาจากหลักสูตรบูรณาการมาจัดการเรียนการสอนในสาระเพิ่มเติมใน
รายวิชาเกษตรกรรม โรงสีข้าว สหกรณ์ และมีการสอดแทรกกิจกรรม องค์ความรู้
คุณธรรมจริยธรรม ในการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง
๔.ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
มีการจัดกิจกรรมที่หลากหลายตามความต้องการผู้เรียน
โดยยึดหลักการเกษตรทฤษฎีใหม่ และความพอเพียงเคียงคู่คุณธรรม เช่น
กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด นักศึกษาวิชาทหาร บำเพ็ญประโยชน์
กิจกรรมชุมนุม กิจกรรมงานอาชีพ และกิจกรรมอบรมจริยธรรมวันศุกร์
๕.ด้านสื่อการเรียนการสอน มีการผลิตสื่อป้ายนิเทศให้ความรู้
จัดแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา
และแผ่นพับประชาสัมพันธ์ให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง
หลากหลายและเพียงพอต่อความต้องการ
นอกจากนี้กำลังวางแผนที่จะผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์ บนเว็บไซต์ ให้สามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลาตามความต้องการ
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรมจากการดำเนินงานได้รับการยอมรับให้เป็นแหล่งเรียนรู้มีผู้เข้ามาศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่อง ได้รับรางวัลต่างๆ ดังนี้
๑. รางวัลชนะเลิศกลุ่มยุวเกษตรกรดีเด่นระดับจังหวัด ปี พ.ศ.๒๕๕๐ จากสำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่
๒. รางวัลชนะเลิศกลุ่มยุวเกษตรกรดีเด่นระดับภาคเหนือ ปี พ.ศ.๒๕๕๐
จากสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ ๖ จังหวัดเชียงใหม่
กรมส่งเสริมการเกษตร
๓.ประกาศเกียรติคุณโรงเรียนน้อมนำแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงดีเด่น
จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต ๓
และองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่
๔. รางวัลชนะเลิศกลุ่มยุวเกษตรกรดีเด่นระดับประเทศ ปี พ.ศ.๒๕๕๐ จากกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
๕. สถานศึกษาต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง ของกระทรวงศึกษาธิการ ปี ๒๕๕๐
เงื่อนไขความสำเร็จ๑.ด้านการบริหารจัดการ มีการวางแผนการปฏิบัติงาน การนิเทศก์ กำกับติดตาม ให้เป็นไปตามเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกคน
๒.ด้านหลักสูตร มีหลักสูตรท้องถิ่นบูรณาการแบบองค์รวม “แหล่งอาหารชาวดอยตามทฤษฎีใหม่” และมีการนำมาใช้ในการเรียนการสอนอย่างชัดเจนในปัจจุบัน
๓.ด้านการจัดการเรียนการสอน มีการสอดแทรกกิจกรรม องค์ความรู้ คุณธรรมจริยธรรม ในการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่องทุกรายวิชา
๔.ด้าน
สื่อการเรียนการสอน มีการผลิตสื่อป้ายนิเทศให้ความรู้
จัดแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา และแผ่นพับประชาสัมพันธ์ การเผยแพร่ทาง Web
site ให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง เป็นปัจจุบัน
โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๓๐
ที่อยู่: หมู่ที่ ๒ ตำบลแม่อาย อำเภอแม่อาย เชียงใหม่ ๕๐๒๘๐
โทรศัพท์: ๐๕๓-๘๕๖-๐๘๐
|