โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๒๙
จัดตั้ง: 8 ต.ค. 2558
ข้อมูลองค์กร

สังกัด
สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ


ผู้บริหาร
นายวิศิษฏ์ วิทยวรการ
เบอร์โทรศัพท์ ๐๘๙-๔๒๗-๕๖๖๖

­

ระดับชั้นที่เปิดสอน
ประถมศึกษาปีที่ 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 6
จำนวนครู ๓๒ คน พนักงานราชการ ๑๙ คน จำนวนนักเรียน ๙๐๒ คน


ครูผู้รับผิดชอบโครงการเศรษฐกิจพอเพียง
๑. นายกมสี สมมุติ รองผู้อำนวยการ ฝ่ายวิชาการ
โทรศัพท์ ๐๘๙-๗๑๙-๕๓๘๔
๒. นางสุนีย์ พลอยดำ ตำแหน่งครูวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ
โทรศัพท์ ๐๘๙-๙๔๖-๙๙๙๗

­

กระทรวง ศึกษาธิการ เห็นสมควรสนับสนุนกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลวโรกาสเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นปีที่ ๕๐ โดยการจัดตั้งโรงเรียนราชประชานุเคราะห์แบบการศึกษาสงเคราะห์ เพื่อเป็นอนุสรณ์สถาน โดยจัดการศึกษา ฝึกอบรมในวิชาสามัญและวิชาชีพ ที่สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน ให้มีความรู้ความสามารถทั้งทางวิชาการและวิชาชีพ เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ ทางโรงเรียนจึงมีนโยบายส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยการทำงานเพื่อให้นักเรียนมี ความรู้ ความสามารถ มีทักษะและประสบการณ์พื้นฐานในด้านวิชาชีพเพื่อการประกอบอาชีพในอนาคตหลัง จากจบการศึกษาจึงได้ดำเนิน “โครงการหมู่บ้าน ๔๐ ปี มูลนิธิราชประชานุเคราะห์” ขึ้นมา

­

วัตถุประสงค์

๑. เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ด้วยการทำงาน ตามแบบจำลองวิถีชีวิตหมู่บ้าน ๔๐ ปี มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๒๙ จังหวัดศรีสะเกษ

๒. เพื่อพัฒนาความสามารถ การบูรณาการความรู้และทักษะด้านต่าง ๆได้แก่ ด้านความรู้เกี่ยวกับตนเองและความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับสังคม ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านศาสนาศิลปวัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทย และการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา การใช้ภาษาไทย ด้านคณิตศาสตร์เพื่อการประกอบอาชีพ และการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

­

­

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

๑. แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารงานหมู่บ้าน 40 ปี โดยใช้วิธีการสรรหา และคณะกรรมการดำเนินการ เพื่อร่วมวางแผนการบริหารงานจำนวน ๓ คน
๒. ติดต่อประสานงานขอความอนุเคราะห์ช่วยเหลือจากสำนักงานเกษตรจังหวัด หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพิ่มพูนให้ความรู้และทักษะแก่นักเรียน รวมทั้งเมล็ดพันธุ์ ต้นไม้และพันธุ์สัตว์
๓. วางแผนการบริหารงานหมู่บ้าน ๔๐ ปี ประชุมคณะครูทุกคนเพื่อร่วมวางแผน,กำหนดแนวทางการบริหารงาน
๔. คณะกรรมการดำเนินการคัดเลือกนักเรียนที่สมัครใจเข้าพักอาศัยในหอพักนักเรียน
๕. จัดกิจกรรมนักเรียนบ้านพักตามแผนการดำเนินงานของแต่ละบ้าน
๖. ติดตามและประเมินผลนักเรียนบ้านพักแต่ละหลัง
๗. สรุป และรายงานผล

­

ระยะเวลาดำเนินโครงการ 

๑๖ พฤษภาคม–๓๑ มีนาคม ๒๕๕๒

­

­

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรม

ครูสามารถดำเนินการจัดกระบวนการเรียนรู้ และมุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และรู้จักหน้าที่ของตนให้แก่นักเรียน

โรงเรียน ได้รับรางวัลพระราชทานสมัยที่ ๓ ติดต่อกันคือ สมัยที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๔๒สมัยที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๔๖ และสมัยที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๕๐ ถือเป็นโรงเรียนราชประชานุเคราะห์โรงเรียนแรกและโรงเดียวที่ได้รับรางวัล พระราชทาน ๓ สมัยติดต่อกัน รวมทั้งรางวัลสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกระบวนการเรียนการสอนและการบริหาร จัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๒๕๕๐ โครงการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา

นักเรียน เกิดความรัก ความสามัคคี และรักการทำงาน มีความภาคภูมิใจในตนเองที่สามารถสร้างรายได้ให้กับตนเอง เข้าใจและสามารถทำงานเป็นกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่กันทำและทำให้นักเรียนรับผิดชอบงานที่ตนได้รับมอบหมายมาก ขึ้น สามารถใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ กล้าคิด กล้าตัดสินใจ อดทน ขยัน รอบคอบ มีวิสัยทัศน์ และแก้ปัญหาได้

ชุมชน มีโอกาสศึกษา ดูงาน ฝึกประสบการณ์ที่หมู่บ้าน ๔๐ ปี มูลนิธิราชประชาฯ เนื่องจากได้รับ คัดเลือกให้ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ

ผู้ปกครองภูมิใจที่บุตร หลาน มีความสามัคคี และรักการทำงาน

­

เงื่อนไขความสำเร็จ

๑. พันธกิจชัดเจน สมาชิกในโรงเรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดพันธกิจ
๒. ผู้บริหารโรงเรียนมีความรู้ ความสามารถ มีวิสัยทัศน์และเทคนิคการบริหารที่ทันสมัย
๓. การทำงานเป็นทีม เปิดกว้างและร่วมมือ
๔. วัฒนธรรมองค์กรเข้มแข็งและเป็นเอกภาพ
๕. คณะทำงาน ดำเนินงานตามระบบวงจรเดมมิ่ง PDCA (Plan วางแผน - Do ทำ - Check/Study ตรวจดูผล - Act แก้ไขปรับปรุง)


กิจกรรมเด่นอื่น ๆ

๑. โครงการเศรษฐกิจพอเพียงและสหกรณ์ เป็นกิจกรรมที่ต้องการพัฒนากระบวนการเรียนการ สอนและส่งเสริมให้นักเรียนโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๒๙ จังหวัดศรีสะเกษ มีความรู้ ความสามารถในการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ หมู เป็ด ไก่ ปลา การออมทรัพย์ และสหกรณ์

๒. โครงการเกษตรทฤษีใหม่ เป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริม สนับสนุนให้นักเรียนปลูกพืชปลอด สารพิษ เลี้ยงสัตว์

­