สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต ๓
ผู้บริหาร
นายพงษ์อนันต์ ธรรมศิริ
โทรศัพท์ ๐๘๑-๔๗๐-๖๐๙๐
ระดับชั้นที่เปิดสอน
มัธยมศึกษาปีที่ ๑ – ๖ จำนวนครู ๓๐ คน จำนวนนักเรียน ๗๘๘ คน
ครูผู้รับผิดชอบโครงการเศรษฐกิจพอเพียง
นางสาวมัลลิกา นาศพัฒน์
โทรศัพท์ ๐๘๑-๙๖๗-๕๒๘๓
Email : manlika.nass@hotmail.com
ทางโรงเรียนได้จัดทำ “โครงการอุทยานการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงสู่การพัฒนาโรงเรียนอย่างยั่งยืน” ขึ้นมา เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้และปฎิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงผ่านศูนย์การเรียนรู้ ๙ แห่ง ในกิจกรรมการเรียนรู้ทั้ง ๘ สาระและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนต่างๆ และสอนให้นักเรียนได้รู้จักการออมเงินผ่านธนาคารโรงเรียน ซึ่งให้นักเรียนเป็นผู้บริหารงานเอง โดยได้รับความร่วมมือจากธนาคารสหกรณ์เพื่อการเกษตร นอกจากนี้ในแต่ละกิจกรรมโรงเรียนจะเน้นสอนให้นักเรียนได้ลงมือทำ คิด และแก้ปัญหาเอง หากนักเรียนประสบความสำเร็จในการทำกิจกรรมใดก็สามารถนำความรู้และผลผลิตที่ได้ไปขยายผลสู่ครอบครัวและชุมชนของตนอีกทางหนึ่งด้วย
วัตถุประสงค์
๑.เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้และปฎิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างแท้จริง
๒.เพื่อให้ศูนย์การเรียนรู้ทั้ง ๙ แห่งเป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียนในกิจกรรมการเรียนการสอนทุกกลุ่มสาระ
๓.เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกและมีคุณธรรมทั้ง ๘ ประการ
๔.เพื่อให้นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตในอนาคตได้อย่างสมดุลและยั่งยืน
๕.เพื่อให้ผู้บริหาร ครู นักเรียนได้ทำกิจกรรมร่วมกัน
๖.เพื่อให้โรงเรียนได้กลายเป็นแหล่งเรียนรู้ และเป็นต้นแบบในการจัดการสิ่งแวดล้อมของชุมชน
ขั้นตอนการดำเนินโครงการ
๑.ศึกษา ทบทวน วิเคราะห์สภาพปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาของโรงเรียนเพื่อดำเนินกิจกรรมให้สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๒.ประชุมวางแผนการจัดทำโครงการอุทยานการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงสู่การพัฒนาโรงเรียนอย่าง ยั่งยืน ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน
๓.สร้างศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอพียงจำนวน ๙ ศูนย์ โดยสอดแทรกเข้าไปในกิจกรรมการเรียน การสอน ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และปฎิบัติตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๔.นิเทศ กำกับ ติดตาม
๕.ประเมินผล เพื่อพัฒนาปรับปรุง
๖.สรุปรายงานผลการดำเนินงาน
๗.เผยแพร่ผลงานแก่เครือข่ายและชุมชน
ระยะเวลาดำเนินโครงการ
พฤษภาคม ๒๕๕๐- มีนาคม ๒๕๕๒
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรม
ครู
ผู้บริหาร นักเรียนได้ทำกิจกรรมร่วมกัน ทำให้มีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้น
ครูมีความรู้
ความเข้าใจในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับประยุกต์ใช้ในกิจกรรม
การเรียนการสอน
และได้สร้างนวัตกรรมการสอนเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงใหม่ขึ้น
นักเรียนได้เรียนรู้และปฎิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างแท้จริง ศูนย์การเรียนรู้ทั้ง ๙ แห่งเป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียนในกิจกรรมการเรียนการสอนทุกกลุ่มสาระ นักเรียนได้ฝึกฝนและมีคุณธรรมทั้ง ๘ ประการประจำใจและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตได้ในอนาคตได้อย่างสมดุลและยั่งยืน
สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้อง พบว่าโรงเรียนกลายเป็นแหล่งเรียนรู้ และเป็นต้นแบบในการจัดการสิ่งแวดล้อมของ ชุมชน โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงให้แก่นักเรียนและชุมชน โรงเรียนสามารถผลิตผลผลิตการเกษตรออกจำหน่ายหมุนเวียนทุกวัน อุทยานการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงคือแหล่งเรียนรู้และสนับสนุนการเรียนการ สอนแบบบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงภายในโรงเรียน ชุมชนและโรงเรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง
เงื่อนไขความสำเร็จ
๑.
การบริหารจัดการสถานศึกษาของผู้บริหาร
ผู้บริหารเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการให้นโยบาย ส่งเสริม
และสนับสนุนในการบริหารจัดการสถานศึกษาให้เป็นสถานศึกษาพอเพียง
ซึ่งในการดำเนินงานขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่โรงเรียนพอก
พิทยาคม รัชมังคลาภิเษก นั้น
ผู้บริหารเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในหลักปรัญชาของเศรษฐกิจพอเพียง
ใช้หลัก
ธรรมาภิบาลในการบริหาร สร้างวัฒนธรรมการทำงานขององค์กร
และมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล เน้นการมีส่วนร่วม การช่วยเหลือเกื้อกูล
เน้นการสามัคคี สร้งความเข้มแข็ง มีเหตุมีผล
รู้จักพอประมาณกับศักยภาพและสถานภาพและความไม่ประมาทในการบริหารงานโรงเรียน
โดยผู้บริหารมีการวางแผนขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่โรงเรียน
ส่งเสริมการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการ
สอน การจัดการอาคารสถานที่ งบประมาณและความสัมพันธ์กับชุมชน
นอกจากนี้ยังส่งเสริมบุคลากรให้มีการพัฒนาและปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตตามหลัก
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๒.
หลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน
โรงเรียนได้บูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การ เรียนการสอน
และจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
โดยมีการสอดแทรกสาระเศรษฐกิจพอเพียงในหลักสูตรและสาระการเรียนรู้ในท้องถิ่น
และประยุกต์หลักเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนนอกห้องเรียน
นอกจากนี้โรงเรียนยังมีการค้นหา
พัฒนาแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน
และมีการวัดผลประเมินผล
พัฒนาการดำเนินงานขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาจนประสบผล
สำเร็จ
๓.
ครูและบุคลากรทางการศึกษา
เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการปลูกฝังจิตสำนึกและถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ
ในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันมีความเข้าใจอย่างถูกต้อง
ซึ่งครูและบุคลากรของโรงเรียนพอกพิทยาคม
รัชมังคลาภิเษกสามารถถ่ายทอดความรู้และปลูกฝังหลักคิดต่างๆให้แก่เด็ก
สามารถวิเคราะห์ความพอเพียง ความไม่พอเพียงของตนเองได้
เและทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง
นอกจากนี้โรงเรียนยังมีการพัฒนาบุคลากรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ทำให้การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาเป็นไปได้อย่าง
สมบูรณ์และประสบผลสำเร็จ
๔.
ผู้เรียน
ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำ
วันต่อไป และเผยแพร่แก่ชุมชน ซึ่งผู้เรียนโรงเรียนพอกพทยาคม
รัชมังคลาภิเษกมีความรู้ มีส่วนร่วม มีผลงาน
และปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ทำให้การขับเคลื่อนปรัชญาดังกล่าวสู่สถานศึกษาประสบผลสำเร็จ
๕.
ผู้ปกครองและชุมชน
ได้เข้ามามีบทบาทและมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยเล็งเห็น
ความสำคัญของกิจกรรมและให้การสนับสนุนปัจจัยในการดำเนินงานต่างๆ
กิจกรรมเด่นอื่น ๆ
๑.กิจกรรมหน้าบ้านสวยรวยพืชผัก เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริม รณรงค์ให้นักเรียนและบุคลากรของโรงเรียนได้ปลูกผักไว้รับประทานบริเวณหน้าบ้านของตนเอง
๒.กิจกรรมสุขภาพดีถ้วนหน้าด้วยกีฬา ดนตรี และศิลปะ
เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมร่วมกันตามความถนัดเพื่อส่ง
เสริมสุขภาพกาย และสุขภาพใจให้สมบูรณ์และแข็งแรง
โดยการจัดกิจกรรมบูรณาการกับการเรียนการสอนในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
ซึ่งโรงเรียนพอกพิทยาคม รัชมังคลาภิเษก
ประสบผลสำเร็จได้รับรางวัลในการทำกิจกรรมนี้หลายรางวัล
โรงเรียนพอกพิทยาคม รัชมังคลาภิเษก
ที่อยู่: ๑๖๒ หมู่ที่ ๑๒ ตำบลกู่ อำเภอปรางค์กู่ ศรีสะเกษ ๓๓๑๗๐
โทรศัพท์: ๐๔๕-๙๑๐-๘๑๗
โทรสาร: ๐๔๕-๙๑๐-๘๑๗
Email: manlika.nass@hotmail.com
|