โรงเรียนบ้านทุ่งเกราะ
จัดตั้ง: 8 พ.ย. 2558
ข้อมูลองค์กร

สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต ๔


ผู้บริหาร
นายสุธน เกิดมณี
โทรศัพท์ ๐๘๔-๖๒๙-๗๕๒๗
Email : suthon.kird@thaimail.com

­

ระดับชั้นที่เปิดสอน
ระดับปฐมวัย – มัธยมศึกษาตอนต้น จำนวนครู ๕๑ คน นักเรียน ๙๔๒ คน


ครูผู้รับผิดชอบโครงการเศรษฐกิจพอเพียง
นางพัทธนันท์ นิลพัฒน์
โทรศัพท์ ๐๘๙-๕๙๓-๑๘๗๓
Email : nuoy.nin@hotmail.com

­

ทางโรงเรียนได้จัด “โครงการการจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบสหวิทยาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ขึ้น เพื่อต้องการเสนอแนวการจัดการเรียนรู้ในแต่ละช่วงชั้น ให้มีรูปแบบ และวิธีการที่หลากหลาย เน้นการจัดการเรียนการสอนตามสภาพจริง การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ร่วมกัน การเรียนรู้จากธรรมชาติ การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง และการเรียนรู้แบบบูรณาการ โดยการจัดกิจกรรมตามสภาพแวดล้อม เหตุการณ์ โอกาสวันสำคัญต่าง ๆ โดยเฉพาะการนำวัฒนธรรม ประเพณีของท้องถิ่นที่เน้นการอยู่ร่วมกันของสองศาสนา คือ ไทยพุทธ และมุสลิม ซึ่งโรงเรียนได้มีการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา โดยได้กำหนดการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะทำให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเรียนรู้ในเรื่องของ ท้องถิ่น นอกจากนี้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๙ ได้กำหนดให้เป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาประเทศ แต่ยังขาดการเผยแพร่และนำไปสู่การปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมอย่างกว้างขวาง การเผยแพร่และสร้างภาวะความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับผู้เรียนผ่านการเรียนรู้ แบบบูรณาการของทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้จะทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจที่ถูกต้องและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี

­

วัตถุประสงค์

๑. เพื่อศึกษา สร้างความเข้าใจและวิเคราะห์โครงสร้าง และองค์ความรู้เกี่ยวกับแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อนำไปสู่การสร้างกระบวนการเรียนรู้ของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

๒. เพื่อจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของ กลุ่มสาระการเรียนรู้ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และนำไปใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอน

๓. เพื่อให้ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน มีความรู้ ความเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตตามหลักปรัชญา และเผยแพร่สู่ครอบครัว ชุมชน และสถานศึกษาอื่น

๔. เพื่อให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองและชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่สถานศึกษา

๕. เพื่อให้นักเรียนมีคุณลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาในมาตรฐานที่ ๑ มาตรฐานที่ ๒ มาตรฐานที่ ๓ มาตรฐานที่ ๔ และมาตรฐานที่ ๗

­

­

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

๑. การเตรียมการ : ประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและวิชาการของสถานศึกษาเพื่อวิเคราะห์ หลักสูตร กำหนดวัน และเรื่องที่จะบูรณาการ ก่อนจัดประชุมชี้แจง ประธานช่วงชั้นและหัวหน้ากลุ่มสาระเพื่อวางแผนการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ และกำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนและนำไปขยายผลให้กับคณะครูในช่วงชั้นในเรื่อง ต่างๆ แต่งตั้งคณะกรรมการฝ่ายต่างๆและประชุมชี้แจงวางแผนการจัดกิจกรรม ประสาน/ จัดเตรียมสถานที่ วัสดุ/อุปกรณ์และเอกสารสำหรับการจัดกิจกรรม

๒. ระหว่างดำเนินการ : บริหารจัดการ อำนวยความสะดวกการจัดกิจกรรม ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และเป็นไปตามตารางการจัดกิจกรรม ประเมินผลการจัดกิจกรรมแต่ละกิจกรรม รวบรวมผลการประเมิน

๓. หลังดำเนินการ : ประมวลผลการประเมินผลการจัดกิจกรรมตามโครงการ รายงานผลต่อผู้บริหารโรงเรียน

­

ระยะเวลาดำเนินโครงการ 

ภาคเรียนละ ๒ ครั้ง

­



สิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรม

ผู้ บริหารสถานศึกษานำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการกำหนดนโยบายและแนวทาง ในการจัดการสถานศึกษา โดยใช้เป็นหลักในการบริหารจัดการ และประสานกับทุกภาคส่วนในการใช้ทรัพยากรการบริหารทั้งด้านบุคลากร งบประมาณ สภาพแวดล้อม อย่างคุ้มค่า เป็นประโยชน์สูงสุด เพื่อให้สถานศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพและพร้อมรับต่อการ เปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้ โดยผู้บริหารได้ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง

ครู มีความรู้ ความเข้าใจและสามารถวิเคราะห์โครงสร้าง และองค์ความรู้เกี่ยวกับแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อนำไปสู่การสร้างกระบวนการเรียนรู้ของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้และ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน สามารถจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กับกลุ่มสาระการเรียนรู้ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และนำไปใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอน โดยได้สอดแทรกสาระเศรษฐกิจพอเพียงในหลักสูตรสถานศึกษา ครูสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำรงชีวิตให้มีความพอเพียง รวมทั้งมีความรู้ ความเข้าใจ และมีความสามารถในการจัดกิจกรรมการบูรณาการแบบสหวิทยาการ ผลงานสามารถนำไปเป็นตัวอย่าง และเผยแพร่แก่สถานศึกษาอื่นได้

นักเรียน มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำรงชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง โดยนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ มีความรู้ ความเข้าใจในวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่นตามหลักศาสนาที่ตนนับถือ สามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง และสามารถเรียนรู้กิจกรรมการบูรณาการแบบสหวิทยาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้คุณภาพของตัวชี้วัดตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาด้านคุณภาพผู้ เรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละที่สูงขึ้น

ผู้ปกครอง และชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจในการดำรงชีวิตอย่างพอเพียง มีส่วนร่วมในการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของสถานศึกษา โดยเฉพาะกิจกรรมที่เป็นเรื่องราววัฒนธรรม ประเพณีของท้องถิ่น มีความเต็มใจและยินดีในการให้ความรู้และการเป็นวิทยากร และมีบุคคลในชุมชนที่เป็นแบบอย่างที่ดีในการดำรงชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอ เพียง


เงื่อนไขความสำเร็จ

๑. สถานศึกษามีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ โดยมีการวางแผนการนำนโยบายขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมากำหนดไว้ เป็นโครงการในแผนปฏิบัติราชการประจำปี มีคำสั่งมอบหมายงานผู้รับผิดชอบการปฏิบัติงานที่ชัดเจน มีการจัดกิจกรรมตามโครงการอย่างต่อเนื่องและมีการติดตามรายงานประเมินผลหลัง จากเสร็จสิ้นการดำเนินการโดยใช้หลักในการบริหารจัดการและประสานกับทุกภาค ส่วนในการใช้ทรัพยากรการบริหารทั้งด้านบุคลากร งบประมาณ สภาพแวดล้อมอย่างคุ้มค่า เป็นประโยชน์สูงสุดเพื่อให้สถานศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพและพร้อม รับต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้

๒. การจัดหลักสูตรและการจัดกระบวนการเรียนการสอน สถานศึกษากำหนดให้ครูจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง มีการจัดกิจกรรมตามที่กำหนดไว้ในแผนโดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและได้ปฏิบัติ จริงเกี่ยวกับการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เช่น มีโครงงาน ชุมนุม /ชมรมให้นักเรียนได้เลือกเรียนรู้ตามความสนใจที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง มีการจัดกิจกรรมที่สนองความต้องการของท้องถิ่น ตามลักษณะของประเพณี วัฒนธรรมในโอกาสต่างๆ

๓. บุคลากรของสถานศึกษา สถานศึกษามีการสร้างความตระหนักและความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงโดยมีการจัดประชุม อบรม สัมมนา มีความร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาบุคลากร ส่งเสริมให้บุคลากรนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในชีวิต ประจำวัน ส่งผลให้บุคลากรมีการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง สามารถปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนบูรณาการ แบบสหวิทยาการที่ชัดเจน สามารถจัดกิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

๔. ผู้เรียน มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และเผยแพร่หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่ครอบครัว / ชุมชน รวมทั้งสามารถประยุกต์ใช้เป็นหลักปฏิบัติในการดำเนินชีวิตประจำวันได้ มีความรู้ เข้าใจ สามารถปฏิบัติตนตามหลักศาสนา ประเพณี วัฒนธรรมของท้องถิ่น โดยผ่านการจัดกิจกรรม บูรณาการแบบสหวิทยาการในเรื่องต่างๆ

๕. ผู้ที่เกี่ยวข้อง ผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงานต่างๆ ให้ความร่วมมือ และสนับสนุนในการจัดกิจกรรมต่างๆ ของสถานศึกษาเป็นอย่างดีอย่างสม่ำเสมอ เช่น การใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น การเป็นวิทยากรให้แก่นักเรียนในโอกาสวันสำคัญต่างๆ


กิจกรรมเด่นอื่น ๆ

ค่ายคุณธรรมนำความรู้สู่ชีวิตพอเพียง ความสมานฉันท์ สันติวิธี
จัดขึ้นเพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาและปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนของศาสนาและปฏิบัติตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ ความพอประมาณ ความมีภูมิคุ้มกันที่ดี เงื่อนไขความรู้ เงื่อนไขคุณธรรม

­