สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต ๒
ผู้บริหาร
นายธีระวัธน์ สิงหบุตร
โทรศัพท์ ๐๘๑-๘๖๒-๖๑๕๖
e-mail : Chumkho@hotmail.com
ระดับชั้นที่เปิดสอน
ม.๑- ม.๖ จำนวนครู ๑๘ คน จำนวนนักเรียน ๒๘๐ คน
ครูผู้รับผิดชอบโครงการเศรษฐกิจพอเพียง
ว่าที่ร้อยตรี วีรพงศ์ ขำเหม
โทรศัพท์ ๐๘๑-๖๘๓-๙๗๙๙
“โครงการพิพิธเศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งเป็นโครงการเด่นของโรงเรียน เกิดขึ้นมาจากครูและนักเรียนได้นำผลการเยี่ยมบ้านตามข้อมูลการเยี่ยมตามระบบ ดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนมาร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา พบว่า รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัวนักเรียนต่ำกว่า ๗,๐๐๐ บาท มีจำนวนถึงร้อยละ ๘๔.๓๓ ในปีพ.ศ.๒๕๕๐ ในขณะที่สภาพที่พักอาศัยของนักเรียนส่วนใหญ่มีพื้นที่ที่สามารถดำเนิน กิจกรรมช่วยเหลือพึ่งพาตนเองได้ อาทิ การเพาะปลูกพืชผักสวนครัวไว้บริโภคในครัวเรือน การลดรายจ่ายและเพิ่มราย ได้ด้วยกิจกรรมที่หลากหลายตามศักยภาพของนักเรียนและครอบครัว ประกอบกับทางโรงเรียนได้กำหนดนโยบายน้อมนำแนวพระราชดำริ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน ด้วยเหตุนี้จึงเห็นสมควรจัดโครงการดังกล่าวขึ้น
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการสถานศึกษา
๒. เพื่อน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์และบูรณาการสู่หลักสูตร การจัดการเรียนการสอน และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
๓. เพื่อส่งเสริมให้ครู นักเรียน บุคลากรได้ศึกษาและน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงใช้เป็นหลักในการดำเนินชีวิต
๔.
เพื่อเสริมสร้างครู นักเรียน
บุคลากรให้เป็นผู้นำและสามารถเผยแพร่หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ชุมชน
ให้เป็นสังคมแห่งความพอเพียง
ขั้นตอนการดำเนินโครงการ
๑.ประชุมคณะทำงานกำหนดโครงการ
๒.ประชุมชี้แจงโครงการให้ผู้ปกครองและนักเรียนได้รับทราบ
๓.นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงประยุกต์ใช้กับระบบบริหารจัดการ
๔.กำหนดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้และปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๔.๑ จัดทำหน่วยการเรียนรู้บูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
๔.๒ จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๕. นักเรียนเข้ากลุ่มดำเนินกิจกรรมที่นักเรียนสนใจ
๖. นักเรียนและผู้ปกครองร่วมกันจัดกิจกรรมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
๗. โรงเรียนมอบหมายให้ครูที่ปรึกษาออกเยี่ยมบ้านนักเรียนและเยี่ยมประเมินผลการดำเนินงาน
๘. สรุปประเมินผล
ระยะเวลาดำเนินโครงการ
พฤษภาคม ๒๕๕๑ - มีนาคม ๒๕๕๒
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรม
ครู
สามารถนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนโดยจัดทำแผนบูรณาการ
จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
และมีการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม
ท้ายที่สุดครูสามารถเป็นแบบอย่างให้กับนักเรียน ผู้ปกครองและชุมชนได้
นักเรียนสามารถอธิบายให้ความหมายหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงได้ รวมทั้งสามารถน้อมนำหลักปรัชญานี้มาเป็นหลักคิดหลักปฏิบัติในการดำเนินชีวิตทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม นอกจากนี้นักเรียนและผู้ปกครองได้ร่วมกิจกรรม มีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับสถาบันครอบครัว
สำหรับผู้ปกครอง และชุมชน มีการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม
เงื่อนไขความสำเร็จ
นักเรียนโรงเรียนชำฆ้อพิทยาคมทุกคน มีคุณลักษณะที่สำคัญ ๒ ประการ คือรู้จักตัวเอง (เป็นใคร สถานภาพอย่างไร มีความสามารถเพียงใด ฯลฯ) เข้าใจผู้อื่น (รู้และเข้าใจในความแตกต่างระหว่างบุคคล ช่วยเหลือคนที่ด้อยกว่า เสียสละจิตสาธารณะ มองโลกในแง่ดี ฯลฯ)
กิจกรรมเด่นอื่นๆ
๑. ผักสวนครัวรั้วกินได้ ( ลูกปลูกให้แม่ เหลือเผื่อแผ่ชุมชน )
ต้องการ
ส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้เรื่องการปลูกผักสวนครัวและสามารถนำความรู้ไป
ปฏิบัติจริงที่บ้านของตนเอง
เพื่อให้ครอบครัวนักเรียนมีผักสวนครัวที่ปลอดสารพิษไว้บริโภค
สามารถลดค่าใช้จ่ายในครอบครัว
ผลผลิตที่เหลือจากการบริโภคสามารถขายเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวและแบ่งปัน
เพื่อนบ้าน และยังเป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมให้นักเรียนมีคุณธรรม อาทิ ความขยัน อดทน ความรับผิดชอบ เพื่อใช้ในการปลูกผักสวนครัวให้เจริญงอกงาม สุดท้ายนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจสามารถนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาอธิบายกระบวนการทำงานของนักเรียนได้
๒. คลินิกวิชาการ
คลินิก
วิชาการเกิดขึ้นโดยมีนักเรียนที่มีความรู้ความสามารถในกลุ่มสาระวิชาต่างๆ
อาสามาเป็นหมอวิชาการรักษาอาการเรียนไม่เข้าใจในบทเรียนของนักเรียนด้วยความ
สมัครใจ โดยใช้เวลาเปิดคลินิกตอนพักกลางวัน
การให้นักเรียนดูแลช่วยเหลือกันนี้เป็นการฝึกนักเรียนเป็นทั้งผู้ให้และ
ผู้รับที่คุ้มค่านอกจากปัญหาการเรียนแล้วปัญหาอื่น ๆ ก็พลอยลดลงด้วย
โรงเรียนชำฆ้อพิทยาคม
ที่อยู่: ๑๑๑ หมู่ที่ ๘ ตำบลชำฆ้อ อำเภอเขาชะเมา ระยอง ๒๑๑๑๐
โทรศัพท์: ๐๓๘-๖๑๕-๒๒๔
โทรสาร: ๐๓๘-๖๑๕-๒๒๔
Email: Chumkho@hotmail.com
|