ประวัติความเป็นมา
เครือข่ายเยาวชนภาคอีสาน
เกิดขึ้นจากการเชื่อมร้อยเครือข่ายของเยาวชนในเขต 11 จังหวัดภาคอีสาน
ในพ.ศ. 2531 เพื่อเป็นศูนย์ประสานงานในการทำกิจกรรม
และยกระดับศักยภาพของเด็กและเยาวชน
ให้เป็นที่ยอมรับของสังคมอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น
เพราะที่ผ่านมาเด็กและเยาวชนมักจะถูกกีดกันไม่ให้เข้าไปมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมกับผู้ใหญ่ ต่อ
มา มีการขยายและเชื่อมร้อยเครือข่ายมากขึ้น จนปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 19
จังหวัด 1,742 กลุ่ม และดำเนินกิจกรรมภายใต้ขอบเขตดังนี้
งานด้านสิ่ง
แวดล้อม ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนทำกิจกรรมเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมภายในท้องถิ่น โดยดึงชุมชน และหน่วยงานทั้งภาครัฐ
และเอกชนในพื้นที่ เข้ามามีส่วนร่วม เช่น การบวชป่า การอนุรักษ์ลำน้ำ ฯลฯ
งาน
ส่งเสริมอาชีพ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต
ทำให้เด็กและเยาวชนมีทางเลือกในการประกอบอาชีพมากขึ้น
ตลอดจนหารายได้มาใช้ดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคม เช่น
กิจกรรมปาท่องโก๋เพื่อน้อง หรือด้านศิลปหัตถกรรม เป็นต้น
งานด้านยาเสพติด ประสานงานกับหน่วยงาน องค์กรที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับโทษภัยของยาเสพติด ตลอดจนช่วยลดพื้นที่เสี่ยงและ
กลุ่มเสี่ยง งานด้านเกษตร เกิดเครือข่ายยุวเกษตร
ซึ่งเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการเกษตร และทำให้เด็กเยาวชนรุ่นใหม่
ตลอดจนชุมชนมองเห็นความสำคัญของการเกษตรแบบพอเพียง
อันเป็นแนวทางหนึ่งในการกระตุ้นให้คนรุ่นใหม่รักบ้านเกิด
งานด้านการ
ศึกษา เป็นการยกระดับการเรียนรู้ และส่งเสริมให้มีการศึกษาทางเลือก
เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
และรู้เท่าทันกับสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น
งานด้านไอที
ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนในชุมชน ตลอดจนพื้นที่ชนบท
ให้เรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี และคอมพิวเตอร์
เพื่อให้เท่าทันกับสถานการณ์ปัจจุบัน
งานด้านเอดส์
เป็นการให้ความรู้กับเด็ก เยาวชน และชุมชน
ในการมีเพศสัมพันธ์ที่ป้องกันและปลอดภัย ตลอดจนการช่วยเหลือ
และอยู่ร่วมกับผู้ป่วยในสังคม
เพื่อลดความรุนแรงของการแพร่ระบาดเชื้อเอชไอวี
วิสัยทัศน์
สร้างโอกาส และพื้นที่ทำกิจกรรมให้เด็กและเยาวชน
พันธกิจ
เป็นศูนย์ประสานงาน ที่ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนภาคอีสานมีโอกาส และพื้นที่ในการทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์ เพื่อพัฒนาศักยภาพ และความเป็นผู้นำ ตลอดจนสร้างการยอมรับจากสังคม ให้ผู้ใหญ่ยอมรับบทบาท และฟังความคิดเห็นของเด็กเพราะปัญหาใหญ่ของเด็กและเยาวชนภาคอีสาน คือการขาดโอกาส ขาดการมีส่วนร่วม ผู้ใหญ่จะมองว่าเด็กมีหน้าที่เรียนหนังสือ ไม่ใช่ทำกิจกรรม จึงไม่เข้าใจ และไม่สนับสนุน
วัตถุประสงค์การดำเนินงาน
- เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีจุดประสานงาน จุดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์
- เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีศักยภาพความเป็นผู้นำ รู้จักคิด รู้จักวางแผน และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
- เพื่อลดพื้นที่เสี่ยงของสังคม และพฤติกรรมเสี่ยงของเด็กและเยาวชนในด้านต่างๆ
- เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
ผู้บริหารองค์กร
- นายเสาศิลป์ เพ็งสุวรรณ ประธานเครือข่ายเยาวชนภาคอีสาน
รูปแบบการบริหารจัดการ
เครือ ข่ายแต่ละจังหวัดจะคัดเลือกประธานของจังหวัด เข้ามาทำงานเป็นคณะกรรมการบริหารระดับภาค และคณะกรรมการจะคัดเลือกประธานเครือข่ายฯ พร้อมรองประธานขึ้นมาทำหน้าที่บริหาร โดยมีผู้ประสานงานคอยเชื่อมร้อยเครือข่าย โดยแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ
- งานด้านบริหาร ประกอบด้วย ประธานของแต่ละเครือข่าย, ผู้ประสานงาน, ฝ่ายบัญชีและการเงิน, งานประชาสัมพันธ์, งานข้อมูลและวิจัย
- งานเครือข่าย ประกอบด้วย งานทะเบียน กองเลขาธิการ ฝ่ายข้อมูล ฝ่ายบัญชี และฝ่ายระดมทุน
คณะ กรรมการของแต่ละจังหวัด จะรวบรวมข้อมูล แนวคิด สภาพปัญหาต่างๆ ในพื้นที่ ซึ่งได้จากการจัดประชุมระดมความคิดเห็นของคนทำงาน เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ประจำปี และใช้เป็นแนวทางในการกำหนดเป้าหมาย ทิศทางของแผนงาน ตลอดจนปรับปรุงและทบทวนให้แผนและยุทธศาสตร์การทำงานมีความสอดคล้องกัน
เงื่อนไขความสำเร็จขององค์กร
- มีสมาชิกเครือข่าย ที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้และทำกิจกรรมเพื่อสังคมแล้ว จำนวน 1,742 กลุ่ม จาก 19 จังหวัด
- สมาชิกเครือข่าย มีศักยภาพความเป็นผู้นำ สามารถคิดสร้างสรรค์ วางแผน และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
- เด็กและเยาวชนเกิดจิตสาธารณะ มีความกระตือรือร้นที่จะขับเคลื่อนกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์อย่างต่อเนื่อง
- เด็ก และเยาวชนเกิดความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ลด ละ เลิกพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ เช่น ด้านเพศ อบายมุข ตลอดจนช่วยลดพื้นที่เสี่ยงในสังคม
- เด็กและ เยาวชน ได้รับการยอมรับจากชุมชน และสังคม ในทุกๆ ด้าน และส่วนหนึ่งเข้าไปมีบทบาทเป็นผู้นำชุมชนท้องถิ่น เช่น ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อบต. สมาชิกเทศบาล หรือนักพัฒนาชุมชน ฯลฯ
- เด็กและเยาวชนรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
- อาสาสมัครที่เข้ามาทำงานในเครือข่ายฯ มีความรับผิดชอบและเสียสละอย่างแท้จริง
- ความ สัมพันธ์ในองค์กร หรือเครือข่ายฯ เป็นไปในลักษณะเพื่อน พี่ น้อง ทำให้สามารถช่วยเหลือพึ่งพา และพูดคุยกันได้ทุกเรื่อง โดยไม่มีเงื่อนไขซับซ้อน
- กิจกรรมหรือโครงการเกิดจากความต้องการ และความสนใจของกลุ่มหรือสมาชิกอย่างแท้จริง
องค์ความรู้จากการดำเนินงาน
- การ ทำกิจกรรมร่วมกันเป็นกลุ่มหรือเครือข่าย จำเป็นต้องมีการติดต่อประสานงานกับคนหลากหลายองค์กร ซึ่งอาจมีความแตกต่างกันทั้งด้านแนวคิด ทัศนคติ ความเชื่อ เพศ วัย อาชีพ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะหล่อหลอมให้คนทำงานเกิดศักยภาพ มีความเชื่อมั่นในตนเอง และกล้าแสดงออกในทางที่สร้างสรรค์มากขึ้น
- เกิดนวัตกรรม แนวคิดใหม่ๆ และมีการพัฒนาความชำนาญการ จากการเชื่อมโยง และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการทำงาน หรือการเข้าไปทำกิจกรรมในพื้นที่
- กลุ่ม เยาวชนที่ทำงานกับเครือข่าย ทำงานตามช่วงอายุ บางปีจึงมีผลงานที่โดดเด่น แต่เมื่อกลุ่มเยาวชนเหล่านี้หันไปเรียนหนังสือหรือประกอบอาชีพอื่นๆ ก็จะขาดคนสานต่อ ทำให้งานชะงัก ดังนั้นจึงต้องมีการเตรียมการ และฝึกเด็ก-เยาวชนรุ่นใหม่ ให้เข้ามาเรียนรู้ ซึมซับการทำงานร่วมกับกลุ่มที่มีอยู่แล้ว เพื่อให้กิจกรรมถูกขับเคลื่อนต่อโดยไม่หยุดชะงัก
- โครงการ เสียงร้องจากเหรียญสตางค์สร้างโอกาสน้อง เกิดขึ้นจากเยาวชนกลุ่มหนึ่งมองเห็นคนในสังคมไม่ให้คุณค่ากับเหรียญสตางค์ เมื่อได้รับเงินทอนเป็นเศษเหรียญสตางค์ ก็จะวางทิ้งไว้ไม่สนใจในการนำกลับมาใช้อีก จึงคิดโครงการนี้ขึ้น เพื่อรับบริจาคเหรียญสตางค์ และนำไปแลกกับทางธนาคาร นำเงินมาช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาสในพื้นที่ห่างไกล และทุรกันดาร
- โครงการ ธนาคารขยะในชุมชน เป็นการส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนรู้จักใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด โดยจะมีกิจกรรมเก็บขยะในชุมชนช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ และรับซื้อขยะจากชาวบ้าน หรือใช้สิ่งของอื่นๆ เข้าไปแลกเปลี่ยน เช่น ไข่ไก่ ซึ่งขยะที่ได้จะนำมาคัดแยก ก่อนขาย หรือนำไปใช้ประโยชน์ตามความเหมาะสม
- โครงการ ปาท่องโก๋เพื่อน้อง ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนเกิดจิตสาธารณะ และรู้จักการประกอบอาชีพ โดยกลุ่มเยาวชนจะรวมตัวกันเพื่อเข้ารับการอบรมทำปาท่องโก๋ แล้วนำไปประกอบอาชีพทำขายในชุมชน เพื่อหารายได้มาช่วยเหลือเด็กๆ ภายในชุมชน พร้อมทั้งแบ่งกำไรส่วนหนึ่งซื้อเครื่องอุปโภคบริโภค เช่น ผ้าห่ม เครื่องกันหนาว มอบให้ผู้สูงอายุในชุมชนด้วย
- โครงการไอที สอนคอมพิวเตอร์น้อง เป็นการเพิ่มโอกาสให้กับเด็กๆ ในชุมชน และพื้นที่ห่างไกล ให้สามารถเรียนรู้และใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์ได้ โดยให้เด็กและเยาวชนอาสา ที่มีความสามารถด้านการใช้คอมพิวเตอร์ ออกพื้นที่ไปสอนให้กับน้องๆ ที่ด้อยโอกาส
- กิจกรรมผลิตสื่อ มีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่ รณรงค์ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนให้สาธารณชนรับรู้ในวงกว้าง โดยจะมีการจัดอบรมวิธีทำข่าว เขียนข่าว ตัดต่อ จัดรายการวิทยุ ทำโฆษณาประชาสัมพันธ์ เพื่อรณรงค์กิจกรรมต่างๆ รวมทั้งทำจดหมายข่าว วารสารเพื่อเด็กและเยาวชนด้วย
- ต้องการการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินกิจกรรมของเครือข่ายฯ
- ต้องการเยาวชนอาสาสมัคร ที่พร้อมจะเสียสละ และมีเวลาทำงานเพื่อส่วนรวม
เครือข่ายเยาวชนภาคอีสาน (คยอ.)
ที่อยู่: 130 หมู่ 5 ต.ทุ่งกระเต็น อ.หนองกี่ บุรีรัมย์ 31210
โทรศัพท์: 0-4464-1833, 08-9844-2857
โทรสาร: 0-4464-1833
Email: deke_san@yahoo.com
Website: http://www.buriramonline.com
|