เครือข่ายเด็กและเยาวชนภาคเหนือตอนบน
จัดตั้ง: 8 ก.ค. 2558
ข้อมูลองค์กร

­

ประวัติความเป็นมา

เครือข่ายเด็กและเยาวชนภาค เหนือตอนบน เริ่มก่อตั้งขึ้นช่วงปี 2539 จากการจัดค่ายฝึกอบรมแกนนำเยาวชน 4 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน และพะเยา เพื่อทำงานให้การศึกษาเรื่องเอดส์ เพศศึกษา และการอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อในพื้นที่ต่างๆ พร้อมทั้งประสานงานกับเครือข่ายต่างประเด็น เช่น สิ่งแวดล้อม ชาวเขา ฯลฯ เพื่อให้กลุ่มเยาวชนมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาเป็น รวมถึงได้รับการอบรม และเกิดทักษะเรื่องการเขียน การบริหารจัดการโครงการ เป็นต้น
ต่อมามีการขยายเครือข่ายและเกาะกลุ่มในทีมพื้นที่ 9 จังหวัด เพิ่มจังหวัดลำปาง แม่ฮ่องสอน แพร่ น่าน และอุตรดิตถ์ นครสวรรค์ พร้อมทั้งกำหนดประเด็นงานได้ชัดเจนยิ่งขึ้น คือเรื่องเอดส์ เพศศึกษา ยาเสพติด สิทธิเด็กและเยาวชน สิ่งแวด ล้อม และวัฒนธรรม โดยได้รับการสนับสนุนจาก ZIP และมีกระบวนการทำงานดังนี้
๏ งานสนับสนุนพื้นที่ เป็นการสนับสนุนและติดตามการจัดเวทีกิจกรรมในพื้นที่ ตลอดจนพัฒนาโครงการ ช่องทางการเข้าถึงทุนของกลุ่มเยาวชน และพัฒนาศักยภาพ ทักษะคนทำงานในด้านต่างๆ เชื่อมงานด้านการพัฒนาทักษะกับงานเยาวชน รวบรวมข้อมูลเยาวชน ความรู้ด้านต่างๆ ที่หนุนเยาวชนในแต่ละประเด็น จัดทำระบบสมาชิกเครือข่าย สำหรับการประสานงาน เป็นต้น
๏ งานรณรงค์ เป็นการสร้างช่องทางให้เยาวชนสื่อสารกับสาธารณะผ่านสื่อต่างๆ จัดทำจดหมายข่าว รายงานสถานการณ์เยาวชน รวมทั้งการจัดกิจกรรมพิเศษตามวาระ และประสานสื่อ พาสื่อลงพื้นที่ รณรงค์สร้างกระแสทางสังคมในระดับพื้นที่และนโยบายเพื่อให้เด็กและเยาวชนรับ รู้
ข้อมูลข่าวสารตามสิทธิ

­

วิสัยทัศน์

ให้สังคมยอมรับศักยภาพทั้งด้านความคิด และการทำงานของเด็กและเยาวชน

­

พันธกิจ

ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมี สิทธิ มีส่วนในการกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องและส่งผลกระทบต่อตนเอง และมีกลไกเชื่อมร้อยเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ตลอดจนมีพื้นที่รูปธรรม เป็นแหล่งถ่ายทอดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันบนพื้นฐานของความต้องการของเด็กและเยาวชน

­

วัตถุประสงค์การดำเนินงาน

  • เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีสิทธิ มีส่วนในการกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องและส่ง ผลกระทบต่อเด็กและเยาวชน
  • เพื่อสนับสนุนความเข้มแข็งของกลุ่มเยาวชน และให้เกิดกลไกเชื่อมร้อยเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • เพื่อ ถอดบทเรียนองค์ความรู้ พัฒนาศักยภาพคนทำงาน และยกระดับการทำงานของกลุ่มเด็กและเยาวชน ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ถ่ายทอดแนวคิดการทำงานพัฒนาแก่กลุ่มเด็กและเยาวชน
  • เพื่อพัฒนากลไกความร่วมมือและทรัพยากรที่หนุนเสริมการทำงานของเครือข่ายเด็กและเยาวชน

­

ผู้บริหารองค์กร

นายประมวล โกวิทยชัยวิวัฒน์ ประธานเครือข่ายเด็กและเยาวชนภาคเหนือตอนบน

­

รูปแบบการบริหารจัดการ

มีคณะกรรมการบริหาร ประกอบด้วย ประธานเครือข่าย รองประธาน และคณะกรรมการที่มาจากแต่ละจังหวัด รวม 9 จังหวัด แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

  • งาน ด้านบริหาร ประกอบด้วย ฝ่ายรณรงค์ ฝ่ายพัฒนาข้อมูลองค์ความรู้ ฝ่ายพัฒนาศักยภาพ ฝ่ายติดตามงานในพื้นที่และประเด็น ผู้ประสานงาน ฝ่ายบัญชีและการเงิน
  • งานสำนักงาน ประกอบด้วย ผู้จัดการสำนักงาน กองเลขาธิการ งานโครงการ เจ้าหน้าที่ประสานงาน ฝ่ายบัญชีและการเงิน

ทั้งนี้ คณะกรรมการของแต่ละจังหวัด จะรวบรวมข้อมูล แนวคิด สภาพปัญหาต่างๆ ในพื้นที่ ตลอดจนความคืบหน้าของการดำเนินงาน เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ เพื่อใช้เป็นฐานในการกำหนดเป้าหมาย ทิศทางของแผนงาน ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่วางไว้แล้ว

­

เงื่อนไขความสำเร็จขององค์กร

  • ความสัมพันธ์ของคนทำงานในเครือข่าย เป็นไปในลักษณะเพื่อน พี่ น้อง
  • พี่เลี้ยงและองค์กรสนับสนุน มีความเข้มแข็ง พร้อมให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่
  • เครือข่ายมีความเข้มแข็ง สามารถรวมตัวกันเป็นเครือข่ายเยาวชนระดับประเทศ โดย เฉพาะในด้านการทำงานเกี่ยวกับเอดส์
  • มีหลักสูตรพัฒนาเยาวชนในด้านต่างๆ ที่ตรงกับความต้องการ และเหมาะสมกับเยาวชนอย่างแท้จริง

­

องค์ความรู้จากการดำเนินงาน

เกิดหลักสูตร คู่มือ ในการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ของเยาวชน

­

รางวัลความสำเร็จ

  • พ.ศ. 2544 นายประมวล โกวิทยชัยวิวัฒน์ ประธานเครือข่ายฯ ได้รับรางวัลเยาวชนซื่อสัตย์ ระดับตำบล จาก อบต.หนองจ๊อม อ.สันทราย จ.เชียงใหม่
  • พ.ศ. 2547 นายประมวล โกวิทยชัยวิวัฒน์ ประธานเครือข่ายฯ ได้รับรางวัลอาสา สมัครพิทักษ์พลังแผ่นดิน จากกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

โครงการขององค์กร
  • โครงการ กล้าเลือก กล้ารับผิดชอบ มีวัตถุประสงค์เพื่อลดการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ในกลุ่มเยาวชน และผู้มีพฤติกรรมเสี่ยง โดยเครือข่ายกลุ่มเยาวชนที่ทำงานด้านเอดส์และเพศ ได้ผนึกกำลังของเยาวชน ซึ่งเป็นผู้เผชิญปัญหา และได้รับผลกระทบโดยตรง ให้ร่วมดำเนินงานกับผู้ใหญ่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการแก้ไขปัญหาอย่างกว้างขวางและเป็นระบบ
  • โครงการสร้างเสริมการ เรียนรู้สุขภาวะทางเพศของวัยรุ่นล้านนา เป็นการเน้นให้เด็กและเยาวชนใน 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้เรียนรู้และเข้าใจเรื่องสุขภาวะทางเพศ ตลอดจนถึงสิทธิเข้าถึงบริการที่เป็นมิตร และมีทางเลือกในการใช้ชีวิตทางเพศที่ปลอดภัย และรับผิดชอบ อันนำไปสู่การดำเนินชีวิตอย่างมีสุขภาวะ โดยดำเนินการผ่านกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของเยาวชนและชุมชน
  • โครงการ ศูนย์บริการที่เป็นมิตรสำหรับเยาวชน เป็นการขับเคลื่อนระดับประเทศ พยายามผลักดันให้ทุกพื้นที่มีศูนย์บริการที่เป็นมิตรสำหรับเยาวชน หรือศูนย์การเรียนรู้ของเยาวชน เพื่อให้เด็กและเยาวชนที่ประสบปัญหา เกิดความอบอุ่นใจ และไม่รู้สึกว่าถูกทอดทิ้งให้เผชิญปัญหาอย่างโดดเดี่ยว
ติดต่อองค์กร
เครือข่ายเด็กและเยาวชนภาคเหนือตอนบน
ที่อยู่: 35 ถนนรัตนโกสินทร์ ต.วัดเกต อ.เมือง เชียงใหม่ 50000
โทรศัพท์: 0-5324-4232, 08-6654-7619
โทรสาร: 0-5324-4232