สมาคมสร้างสรรค์ชีวิตและสิ่งแวดล้อม
จัดตั้ง: 8 ต.ค. 2558
ข้อมูลองค์กร

­

ประวัติความเป็นมา

สมาคมสร้างสรรค์ชีวิตและสิ่ง แวดล้อม พัฒนาการมาจาก”โครงการนิเวศน์ชุมชน” ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2530 และขออนุญาตจดทะเบียนเป็นสมาคมสร้างสรรค์ชีวิตและสิ่งแวดล้อม ใน พ.ศ.2537 โดยเน้นการศึกษาวิจัยแบบมีส่วนร่วมทางด้านเศรษฐกิจของชุมชน ทำให้พบว่าความยากจนของชุมชนมาจากหลายสาเหตุ อาทิพังทลายของทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ประกอบกับนโยบายของรัฐที่เน้นพัฒนาสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (NICS) ไม่สอดคล้องกับวิถีชุมชน
สถานการณ์เหล่านี้ เป็นแรงผลักดันให้ครอบครัวที่มีเยาวชน นำเยาวชนออกมาขายแรงงาน หรือเข้าสู่อาชีพบริการตามร้านอาหาร
ภัตตาคาร โรงแรม เด็กและเยาวชนถูกละเมิดสิทธิทางเพศ และกลายเป็นกลุ่มเสี่ยงมากขึ้น ทางโครงการจึงสนับสนุนทุนการศึกษาแก่เด็กนักเรียนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงอย่าง ต่อเนื่อง กระทั่งพบว่าแค่การสนับสนุนทุนอย่างเดียวไม่เพียงพอเพราะเด็กยังอยู่กับ
ครอบครัวและสิ่งแวดล้อมเดิมๆ
จึง ได้ติดต่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การแตรเดซอม ประเทศเยอรมัน เพื่อตั้งโรงเรียนม่อนแสงดาว ส่งเสริมการศึกษาในระดับมัธยม ตั้งแต่ชั้น ม.1-6 ให้แก่เด็กผู้หญิงที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ซึ่งมีทั้งชนเผ่า และคนพื้นเมือง จนได้รับอนุญาตจดทะเบียนเป็นองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
และอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติ จากกระทรวงวิทยา ศาสตร์เทคโนโลยี
และสิ่งแวดล้อม (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2540 โดยมีการดำเนินงาน ดังนี้
งาน ส่งเสริมคุณภาพชีวิต และการศึกษาแก่เด็กหญิงที่เป็นกลุ่มเสี่ยงในการถูกล่วงละเมิดทางเพศ โดยใช้หลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียน สอนทั้งระดับมัธยมต้น และมัธยมปลาย ควบคู่ไปกับหลักสูตรของโรงเรียนม่อนแสงดาว ที่เน้นศิลปะปรับชีวทัศน์ และโลกทัศน์ของเด็ก
งานสนับสนุนให้ชาวบ้านดูแลรักษาป่าชุมชน ทำการเกษตรแบบผสมผสาน ใช้พื้นที่ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และรณรงค์ให้มีการบริโภคผักพื้นบ้าน เพื่อให้ชาวบ้านนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
งาน สนับสนุนด้านสิ่งแวดล้อม มีการส่งเสริมให้ลดการใช้น้ำมันดีเซล และนำน้ำมันเก่ามาผลิตไบโอดีเซล เพื่อลดภาวะโลกร้อน และประหยัดพลังงาน รวมถึงการส่งเสริมให้เยาวชนรู้จักตรวจสอบคุณภาพน้ำเบื้องต้น เพื่อให้ทราบถึงปัญหา และเฝ้าระวังแหล่งน้ำ



วิสัยทัศน์

เป็นองค์กรที่เชื่อมั่นในพลัง ของคนยากจน เด็ก เยาวชน สตรี และชุมชนท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมการพึ่งตนเองอย่างมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ที่เรียนรู้การพึ่งพิงธรรมชาติอย่างสมดุลย์ และเป็นฐานกำลังสำคัญในการสร้างสรรค์สังคมไทยให้ยั่งยืน



พันธกิจ

ส่งเสริมคนยากจนที่เป็นเกษตรกร ชาวเขา และสตรี ให้เข็มแข็งสามารถแก้ไขปัญหาความยากจนและพึ่งพาตนเองได้ด้วยกระบวนการ
พัฒนา ภูมิปัญญาพื้นบ้านเกษตรกรรมอินทรีย์ พลังงานทางเลือก และธุรกิจชุมชน รวมทั้งสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นในการฟื้นฟูอนุรักษ์ พัฒนา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน เสริมสร้างโอกาสทางด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาทางเลือกชีวิตและโลกทัศน์ที่ถูก ต้อง ตามวิถีธรรมชาติและคุณธรรมแก่เด็กและเยาวชนให้เป็นคนดีที่เข็มแข็งและไม่ถูก
ละเมิดสิทธิตลอดจนพัฒนาหลักสูตรและเทคนิคกระบวนการฝึกอบรมเป็นเครื่องมือ
ใน การเสริมสร้าง ศักยภาพและพัฒนาผู้นำชุมชนและองค์กรท้องถิ่น เพื่อพัฒนาบุคลากร ทีมงาน อาสาสมัคร ในการทำงานพัฒนาแบบมืออาชีพ และสร้างสรรค์สังคมไทยให้สันติสุข

­

วัตถุประสงค์การดำเนินงาน

  • สร้างเด็กให้มีภาวะความเป็นผู้นำ เข้าใจ และรู้เท่าทันสภาวการณ์ทางสังคมปัจจุบัน
  • ช่วยให้เด็กพ้นจากภาวะเสี่ยง ในการถูกล่วงละเมิดทางเพศ หรือเข้าสู่อาชีพขายบริการทางเพศ
  • ส่ง เสริมชุมชนท้องถิ่นและองค์กรชาวบ้านในการฟื้นฟู และอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติ คุ้มครองทรัพยากรพันธุกรรมและความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อการพัฒนาชุมชนที่ ยั่งยืน
  • ศึกษาวิจัยและเผยแพร่องค์ความรู้ชาวบ้านและภูมิปัญญาชุมชน ท้องถิ่นด้วยการพัฒนาเชื่อมโยงกับความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์สมัยใหม่อย่าง เหมาะสม
  • ประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐบาลและภาคเอกชนทุกระดับในการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน


ผู้บริหารองค์กร

  • นายภูริญ อัครศิลาชัย ผู้อำนวยการบริหาร


รูปแบบการบริหารจัดการ

คณะ กรรมการบริหารงาน ประกอบด้วย นายกสมาคม และคณะกรรมการสมาคม โดยมีเลขาธิการ เป็นผู้อำนวยการบริหาร คอยดูแลควบคุมการดำเนินงานของสมาคมอย่างใกล้ชิด ระบบงาน แบ่งเป็น 5 ฝ่าย ได้แก่

  • คณะ กรรมการบริหารงาน ประกอบด้วย นายกสมาคม และคณะกรรมการสมาคม โดยมีเลขาธิการ เป็นผู้อำนวยการบริหาร คอยดูแลควบคุมการดำเนินงานของสมาคมอย่างใกล้ชิด ระบบงาน แบ่งเป็น 5 ฝ่าย ได้แก่
  • ฝ่ายงานชุมชน ประกอบด้วย หัวหน้าฝ่าย และเจ้าหน้าที่ภาคสนาม ซึ่งหัวหน้าฝ่ายจะคอยติดตามดูแลทิศทางการทำงานของเจ้าหน้าที่สนามให้เป็นไป ตามกรอบและแผนที่ตกลงกันไว้ภายในฝ่าย
  • ฝ่ายวิชาการและการศึกษาวิจัย ประกอบด้วย งานข้อมูลและวิจัย งานวางแผนจัดอบรมให้แก่ชุมชน โดยเน้นการศึกษาวิจัยผลกระทบต่อระบบนิเวศ ที่เกิดจากการโครงการพัฒนาสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจของรัฐบาล พื้นที่ อ.เวียงแก่น และ อ.เทิง จ.เชียงราย
  • ฝ่ายข้อมูลและเผยแพร่ ประกอบด้วย หัวหน้าฝ่าย ผู้ช่วยหัวหน้าฝ่าย ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลจากชุมชน สภาพปัญหา กิจกรรมการดำเนินงาน รวมทั้งจัดทำข้อมูลศูนย์ข้อมูลสิ่งแวดล้อมลุ่มน้าโขง
  • ฝ่าย การศึกษา ประกอบด้วย ครูใหญ่ และครูผู้สอน ซึ่งครูใหญ่จะทำหน้าที่กำ กับดูแลให้ครูผู้สอน สอนตามหลักสูตรและแนวทางที่กำหนดร่วมกันไว้ ตลอดจนดูแลวิถีชีวิตของเด็กที่อยู่ในม่อนแสงดาว

แต่ละ ฝ่ายงาน จะมีหัวหน้าฝ่ายคอยดูแล และทุกเดือนจะมีการประชุมเจ้าหน้าที่ รวมทุกฝ่าย อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อเสนอแนะปัญหา ข้อคิดเห็น ตลอดจนหาแนวทางปรับปรุงการทำงานให้รัดกุมยิ่งขึ้น นอกจากนี้ในส่วนของหัวหน้าฝ่ายเอง ก็จะมีการประชุมกันทุกเดือน เพื่อติดตามและรายงานผลงาน ส่วนการสรุปงานประจำปีนั้น จะจัดขึ้นปีละ 2 ครั้งๆ ละ 3-4 วัน ซึ่งเจ้าหน้าที่ทุกคนจะร่วมกันกำหนดแผนงาน หรือยุทธศาสตร์ โดยมีนายกสมาคม และคณะกรรมการ คอยดูแลให้คำแนะนำ

โครงการขององค์กร
  • โครงการ รณรงค์บริโภคผักพื้นบ้าน โดยร่วมกับสถานีอนามัยตำบลดอยลาน อำเภอเมืองเชียงราย ตรวจเลือดเกษตรกร และพบว่าส่วนใหญ่มีสารเคมีสะสมในกระแสเลือดเกินค่ามาตรฐาน จึงพยายามหาทางแก้ไข ด้วยการแนะนำให้ชาวบ้านบริโภคผักพื้นบ้าน แต่เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจและสังคมแบบบริโภคนิยม ทำให้ชาวบ้านละทิ้งภูมิปัญญาท้องถิ่น แทบไม่รู้จักการใช้ประโยชน์จากผักพื้นบ้านที่มีอยู่ จึงมีการรณรงค์ผ่านสื่อ และการแสดงละคร เพื่อกระตุ้นความสนใจ ของเด็กและชุมชน
  • โครงการ รณรงค์ลดการใช้น้ำมันดีเซลในจังหวัดเชียงราย และบริจาคน้ำมันเก่าเพื่อผลิตไบโอดีเซล เป็นการสร้างความตระหนักให้กับชุมชนและสังคมถึงภาวะโลกร้อน และการสร้างพลังงานทดแทน โดยมีการเข้าไปทำกิจกรรมกับนักเรียนในโรงเรียนต่างๆ ให้เด็กมีส่วนร่วมในการจัดตั้งและดำเนินการธนาคารน้ำมันเก่า
  • โครงการ ตรวจสอบสภาวะน้ำ โดยประสานความร่วมมือกับศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ผ่านกิจกรรม “นักสืบสายน้ำ” เพื่อให้เด็กรู้จักการตรวจสอบคุณภาพน้ำแบบง่ายๆ ด้วยแว่นขยาย หรือกล้องจุลทรรศน์ และสามารถเลือกน้ำคุณภาพดีมาใช้ในการบริโภคได้


เงื่อนไขความสำเร็จขององค์กร

  • ปัจจุบัน มีเด็ก และเยาวชนหญิง จำนวน 32 คน ได้รับการศึกษา และฝึกทักษะชีวิตในด้านต่างๆ ที่โรงเรียนม่อนแสงดาว อ.เมือง จ.เชียงราย
  • ได้หลักสูตรการศึกษาทางเลือก สำหรับโรงเรียนม่อนแสงดาว
  • เด็ก และประชาชนในเขต จ.เชียงราย รู้ถึงโทษภัยของสารเคมี และรู้จักการทำเกษตรปลอดสารพิษ และเกษตรแบบผสมผสาน สามารถทำปุ๋ยใช้เองได้
  • เด็กและเยาวชน ตระหนักถึงคุณประโยชน์ของสิ่งแวดล้อม ดิน น้ำ ป่า
  • เด็ก และเยาวชนมีเวทีแสดงออก เกิดความภาคภูมิใจ และภาวะความเป็นผู้นำ รู้เท่าทันสถานการณ์ปัจจุบัน พ้นจากภาวะเสี่ยง ไม่ถูกล่วงละเมิดสิทธิทางเพศ
  • ชุมชนมีการฟื้นฟู และมองเห็นความสำคัญของภูมิปัญญาพื้นบ้าน
  • ชุมชนตระหนักถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
  • เจ้า หน้าที่ และครูทำงานด้วยใจ อยู่กับเด็กตลอดเวลา และมีความเป็นครู 24 ชั่วโมง ทำให้เกิดความใกล้ชิดกับเด็ก และเด็กมีความไว้วางใจ พูดคุยปัญหา หรือปรึกษาขอคำแนะนำต่างๆ ได้
  • การทำงานตามกำลังของบุคลากร และงบประมาณ ไม่เน้นปริมาณ แต่เน้นผลของงาน และความร่วมมือจากกลุ่มเป้าหมาย
  • คนทำงานมีส่วนร่วมในการกำหนดแผนงาน ทำให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
  • ความ สัมพันธ์ของคนในองค์กร เป็นไปในลักษณะเพื่อนร่วมงาน ไม่ใช่เจ้านายกับลูกน้อง ทำให้เมื่อพบปัญหา สามารถนำมาพูดคุยหารือกันได้อย่างเปิดเผย และนำไปสู่การแก้ไขอย่างถูกวิธี
  • มีการเผยแพร่ความรู้ ในลักษณะเด็กสู่เด็ก โรงเรียนสู่โรงเรียน และโรงเรียนสู่ชุมชน ทำให้การรับรู้เป็นไปอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง
  • เด็กอยู่ร่วมกันตลอดเวลา เหมือนครอบครัวใหญ่ ทำให้รู้จักการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ และรู้จักวางแผนในการทำงาน


องค์ความรู้จากการดำเนินงาน

  • การดูแล ให้คำปรึกษาเด็ก ที่มีความแตกต่างกันทั้งด้านภาษา และวัฒนธรรม ต้องมีเทคนิค และวิธีการโดยเฉพาะ
  • การนำ เด็กนักเรียนหญิง มากิน-นอน-เรียนร่วมกัน ต้องสร้างความเข้าใจอย่างชัดเจนว่าสังคมโลกไม่ได้มีเฉพาะผู้หญิง แต่มีทั้งหญิง และชาย ดังนั้นต้องรู้จักการวางตัว เมื่อออกไปสู่สังคมภายนอก
  • การ จัดการศึกษาของเด็ก ต้องไม่ทำเฉพาะในห้องเรียน แต่ต้องทำตลอด 24 ชั่วโมง เป็นเสมือนเบ้าหลอมที่ดีให้กับเด็ก เพื่อปรับทั้งชีวทัศน์ และโลกทัศน์ ควบคู่กันไป


รางวัลความสำเร็จ

ได้รับประกาศนียบัตร กลุ่มโรงเรียนรักษาสิ่งแวดล้อมดีเด่น ในปี 2544 จากสำนักงานพลังงานจังหวัดเชียงใหม่

รวมมือร่วมใจ/ขยายผล

สมาคมสร้างสรรค์ชีวิตและสิ่งแวดล้อม

  • โรงเรียนที่มีการจัดการศึกษาทางเลือก หรือการศึกษาตามอัธยาศัย ควรขับเคลื่อนเสนอให้เป็นนโยบายของรัฐอย่างชัดเจน ขณะเดียวกันรัฐก็ควรสนับสนุนด้านงบประมาณด้วย
  • ระหว่างที่รัฐยัง ไม่มีนโยบายการศึกษาตามอัธยาศรัยชัดเจน โรงเรียนต้องมีภาคีความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือเพื่อนองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานด้านนี้ เพื่อกำหนดนโยบาย ผลักดันการช่วยเหลือเด็ก ตลอดจนจัดสวัสดิการให้แก่เด็ก
  • ควรมีการ จัดกิจกรรม หรือเปิดเวทีแสดงออกสำหรับเด็ก เช่น งานมหกรรมศิลปะลุ่มน้ำโขง เพื่อเปิดโอกาสเด็กนำงานศิลปะไปจัดแสดง และจำหน่าย เป็นต้น

ติดต่อองค์กร
สมาคมสร้างสรรค์ชีวิตและสิ่งแวดล้อม
ที่อยู่: 9 หมู่ 13 บ้านดอยจำตอง ต.ดอยลาน อ.เมือง เชียงราย 57000
โทรศัพท์: 0-5316-3316, 08-1884-4062, 08-6117-1991
โทรสาร: 0-5395-8053