ประวัติความเป็นมา
จากองค์กรที่ทำงานรณรงค์กับ นักศึกษาและเยาวชนมาอย่างต่อเนื่อง และเพื่อให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมและขยายผลแผ่กว้างจากตัวผู้ปฏิบัติ สถาบันต้นกล้า ได้นำแนวคิด “We Change..ทุกวันฉันเปลี่ยนแปลงโลก” มาเป็นแนวทางการทำงานรณรงค์ ผ่านงาน 3 เรื่องหลักคือ งานสร้างชุมชน สร้างบรรยากาศ และรวบรวมองค์ความรู้ และหล่อเลี้ยงขยายผลในสังคมผ่านสื่อเผยแพร่และกิจกรรมต่อเนื่อง อาทิ คู่มือปิดทีวี “เปิดชีวิต ปิดทีวี” ,คู่มือไม่ซื้อก็สุขได้, สัปดาห์ไม่ดูทีวี 7 วัน,สัปดาห์ฉลาดไม่ซื้อ เป็นต้น
วิสัยทัศน์
“เติมกล้าในหัวใจ เติบใหญ่เพื่อสังคมรวม”
พันธกิจ
กระตุ้น รณรงค์ ขยายแนวคิด We Change ภายใต้นิยามสั้น ๆ ว่า ขัดขืน
คืนคุณค่า ค้นหาความสัมพันธ์ กล่าวคือ
• ขัดขืน : การขัดขืนกับคุณค่าเดิมที่ทำร้ายโลก ขัดขืนวิถีแบบเดิมที่เบียดเบียนตัวเองและสรรพสิ่งอื่น
• คืนคุณค่า : การสร้างคุณค่าใหม่ให้เกิดขึ้น หลังจากที่เราเปลี่ยนแปลงอะไรแล้ว ก็ต้องหาบางสิ่งมาแทนที่
•
ค้นหาความสัมพันธ์ :
การสร้างความสัมพันธ์กันเป็นเครือข่ายจะทำให้การเปลี่ยนแปลงของเราไม่โดด
เดี่ยวหรือรู้สึกว่าตัวเองบ้าไปคนเดียว
การใช้สัญลักษณ์ใดร่วมกันก็ถือว่าเป็นชุมชนได้แล้ว
การพูดคุยในเรื่องราวเดียวกัน
แบ่งปันประสบการณ์ร่วมกันผ่านเว็บไซด์หรือบล็อก
ก็ถือเป็นเครือข่ายเกื้อกูลกันได้แล้ว ฯลฯ
วัตถุประสงค์การดำเนินงาน
เพื่อ สร้างให้เกิดวัฒนธรรมและบรรยากาศของการทำเพื่อสังคมแบบง่ายๆ จากจุดที่ทุกคนเป็น จากวิถีประจำวันของแต่ละคน (Changing by living) ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร ก็สามารถเปลี่ยนแปลงสังคม เปลี่ยนแปลงโลกได้
ผู้บริหารองค์กร
- กิตติชัย งามชัยพิสิต
รูปแบบการบริหารจัดการ
สถาบันต้นกล้าแบ่งการทำงานออกเป็น 2 ส่วน คือ
- ส่วนงาน เมือง เน้นทำงานรณรงค์กับกลุ่มคนรุ่นใหม่ ได้แก่ นักเรียนมัธยม นักศึกษามหาวิทยาลัย หรือผู้เพิ่งจบการศึกษา ทำกิจกรรมคล้าย จิตอาสา ที่ให้แต่ละคนสามารถมีปฏิบัติการของตัวเองที่ช่วยเหลือสังคมได้ ไม่ว่าจะเป็นการทำเองคนเดียวหรือรวมกลุ่มกันทำ
ผล ที่ออกมาจึงเป็นเรื่องของการใช้ชีวิตทางเลือกที่หลุดพ้นออกจากกระแสบริโภค นิยม ตัวอย่างเช่น กิจกรรมรณรงค์ปิดทีวี สัปดาห์ฉลาดซื้อ ตลาดแบ่งปัน เป็นต้น
- ส่วนชนบท คือ ทำงานเครือข่ายสืบสานภูมิปัญญา เน้นไปที่โครงการสืบสานภูมิปัญญา ซึ่งสถาบันต้นกล้าเป็นหน่วยจัดการส่วนกลางของโครงการนี้ มีบทบาททั้งการประสานงานทั่วประเทศ และดำเนินการในพื้นที่ภาคกลาง กล่าวคือเป็นทั้งผู้ประสานงานและผู้ปฏิบัติ
ทั้งนี้ ในการประชุมสามัญประจำปี จะมีการประชุมทบทวนแผนกลยุทธ์ ซึ่งวางไว้ระยะ 3 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงานยิ่งขึ้น และเมื่อครบกำหนดจัดทำแผนกลยุทธ์ใหม่ จะมีการจัด WORKSHOP ให้เจ้าหน้าที่ทุกคนร่วมแสดงความคิดเห็น และดึงผู้มีประสบการณ์จากภายนอกองค์กรเข้ามาเป็นที่ปรึกษา จากนั้นจึงจะนำเสนอต่อคณะกรรมการมูลนิธิฯ เพื่อให้คณะกรรมการชี้แนะ หรือกำกับ เพื่อให้แผนกลยุทธ์สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
- การรณรงค์ให้ปิดทีวี มีการจัดกิจกรรมรณรงค์เป็นสัปดาห์รณรงค์ปิดทีวีอย่างต่อเนื่อง
- No shopping หรือ กิจกรรมรณรงค์เรื่องการฉลาดไม่ซื้อ การงดซื้อ 1 สัปดาห์ เป็นการเชิญชวนให้ใช้ชีวิตโดยไม่ซื้อสินค้าที่ไม่จำเป็น แล้วทบทวนตัวเองมีทางเลือกอะไรบ้างในการใช้ชีวิตแบบนี้ เช่นการหากิจกรรมที่มีประโยชน์ทำ ซึ่งอาจทำคนเดียวหรือรวมกลุ่มกันทำก็ได้
- ตลาดนัดแบ่งปัน เป็น กิจกรรมคู่ขนานกับทั้งสัปดาห์รณรงค์ปิดทีวี และ No shopping โดยเป็นการเปิดพื้นที่ให้คนที่เข้าร่วมกิจกรรม นำของหวง ของสะสมมาแลกเปลี่ยนกัน โดยจะชักชวนคนกลุ่มเล็ก ๆ ที่สนใจมาตั้งวงสนทนาบอกเล่าเรื่องราวของสิ่งของแต่ละชิ้นที่เตรียมมาเพื่อ “แบ่งปัน” หรือ “บริจาค” เป็นการสร้างวัฒนธรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม ให้หลุดจากวงจรการค้าที่มี “กำไร” และ “ขาดทุน” ทั้งนี้ทุกกิจกรรมที่ดำเนินการจะมีการนำมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ต่อเนื่อง ผ่านเว็บ www.wechange555.com
เงื่อนไขความสำเร็จขององค์กร
- การทำงานเป็นทีม
- ทีมงานมีศักยภาพ และความอดทน
องค์ความรู้จากการดำเนินงาน
- กระบวนการจัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อสร้างกระแส
รางวัลความสำเร็จ
สิ่งที่หล่อเลี้ยงคนทำงานให้อยู่ได้ คือ ความฝันที่อยากทำให้ เยาวชนและคนในสังคมได้ร่วมกันสร้างสังคมที่ดี
- ต้องการการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากแหล่งทุนต่าง ๆ เพื่อดำเนินกิจกรรมได้ต่อเนื่องและเห็นผล
- รับ บริจาค/ระดมทุนของตนเอง จากผู้บริจาครายย่อยต่าง ๆ ที่มีความเข้าใจโครงการอย่างแท้จริง รวมทั้งสร้างวัฒนธรรมของการสนับสนุนองค์กรที่ทำงานเพื่อสร้างสังคมที่ดีใน สังคมไทย
สถาบันต้นกล้า
ที่อยู่: 124 ซ.สมเด็จเจ้าพระยา 17 คลองสาน กรุงเทพมหานคร 10600
โทรศัพท์: 02-437-9445
โทรสาร: 02-437-9450
Website: http://www.tonkla.org
|