ประวัติความเป็นมา
ครอบครัวคือแหล่งบ่มเพาะ
และฟูมฟักทุกชีวิต
ดังนั้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในครอบครัวจึงเป็นสิ่งสำคัญ ดร.สมใจ
รักษาศรี
เป็นผู้หนึ่งซึ่งมีบทบาทเป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่องเกี่ยวกับครอบครัว
ทั้งให้คำปรึกษาก่อนแต่งงาน เป็นที่ปรึกษาในด้านครอบครัว
และได้พัฒนาหลักสูตร “อดเปรี้ยวไว้กินหวาน” ขึ้น
จนได้รับความสนใจให้ไปอบรมในสถานศึกษาหลายแห่ง
สถาบันครอบครัวไทยจึงได้ถูกตั้งขึ้นเพื่อให้งานให้ความรู้ด้านครอบครัวเป็น
รูปธรรมมากยิ่งขึ้น
ปัจจุบันสถาบันครอบครัวไทยมีโครงการให้ความรู้คนใน
ครอบครัวหลายโครงการ และแบ่งเป็น 4 ช่วงอายุ เช่น โครงการค่ายครอบครัว
สำหรับสามีภรรยา พ่อแม่ โครงการฉันเป็นเด็กดี สำหรับเด็กเล็ก
ระดับประถมศึกษาปีที่ 2-6 โครงการอดเปรี้ยวไว้กินหวาน สำหรับวัยรุ่น
และโครงการการเลือกคู่ครอง สำหรับวัยรุ่นตอนปลาย และวัยทำงาน
รวมไปถึงการเผยแพร่ความรู้ผ่านวารสารสถาบันครอบครัวไทย และสื่ออื่นๆ
ทั้งวารสาร และหนังสือพิมพ์
วิสัยทัศน์
ลดการเกิดปัญหาครอบครัว การหย่าร้าง ความไม่เข้าใจกันในครอบครัว ซึ่งเป็นที่มาของปัญหาสังคมในหลายๆ ด้าน เช่น เด็กติดยา เด็กติดเพื่อน เด็กติดเกมส์ รวมถึงปลูกฝังค่านิยมอดเปรี้ยวไว้กินหวานเพื่อเพิ่มโอกาสการมีชีวิตคู่ที่ดี ในอนาคต
พันธกิจ
การให้ความรู้ผ่านการอบรม กิจกรรมค่าย และสื่อแขนงต่างๆเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในครอบครัว ทั้งในกลุ่มสามี ภรรยา หรือกลุ่มพ่อแม่ ให้มีศิลปะในการดำเนินชีวิตคู่ และเทคนิคการเลี้ยงลูกอย่างถูกวิธี กลุ่มเด็กเล็ก ที่สอนให้ทำตัวเป็นเด็กดีของพ่อแม่ กลุ่มวัยรุ่น เน้นเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และกลุ่มวัยทำงาน ที่อยู่ในช่วงวัยของการเรียนรู้จะสร้างครอบครัว
วัตถุประสงค์การดำเนินงาน
- เสริม สร้างความเข้มแข็งของครอบครัวผ่านการให้ความรู้การฝึกอบรมและการสนับสนุน เพราะเราเชื่อว่าครอบครัวคือรากฐานที่สำคัญที่สุดของสังคมเมื่อครอบครัวเข้ม แข็งสังคมก็เข้มแข็งด้วย
- ฟื้นฟูและส่งเสริมการให้ ความสำคัญกับครอบครัว
- สนับสนุนให้มีการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับครอบครัวอย่างเป็นรูปธรรม
- ผลิตสื่อด้านการพัฒนาครอบครัว
- ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของครอบครัว
ผู้บริหารองค์กร
- อาจารย์สมใจ รักษาศรี ประธานกรรมการ และผู้อำนวยการสถาบัน
- อาจารย์จินตนา รักษาศรี ผู้ช่วยผู้อำนวยการ
- อาจารย์วาทะ ใฝ่เด่นดี ผู้ช่วยผู้อำนวยการ
รูปแบบการบริหารจัดการ
- ผู้ปฏิบัติงานของสถาบันแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ เจ้าหน้าที่ของสถาบันที่จะทำงานเป็นแกนหลัก และอาสาสมัครในพื้นที่ที่จะเข้ามาช่วยเสริมในกระบวนการอบรม และช่วยประเมินผลความสำเร็จของพื้นที่ที่ลงไปอบรม
- เนื่องจากสถาบันฯ มีพื้นที่ดำเนินการทั่วประเทศ จึงมีเจ้าหน้าที่ประสานงานตามเขตภูมิภาค คือ ดูแลภาคเหนือ ภาคอีสาน และดูแลภาคกลาง ภาคใต้
- แบ่งทีมงานวิทยากรตามความถนัด ประมาณ 3-4 กลุ่ม เช่น กลุ่มอบรมฉันเป็นเด็กดี จะถนัดด้านการอบรมเด็ก ส่วนกลุ่มอบรมคู่ชีวิต ชีวิตคู่ ต้องเป็นคนที่แต่งงานแล้ว
- โครงการอดเปรี้ยวไว้กินหวาน เป็นโครงการแรกของสถาบันครอบครัวไทย โดยมุ่งเน้นให้ความรู้เรื่องเพศสัมพันธ์กับวัยรุ่น และสร้างแนวคิดไม่มีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน โดยการให้ความรู้ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์และปัญหาต่างๆ ที่จะตามมา รวมถึงติดอาวุธทางความคิดในการรับข่าวสารที่ดีและไม่ดีจากสื่อ
- โครงการคู่ชีวิต ชีวิตคู่ โครงการอบรมหลักสูตรเรียนรู้การใช้ชีวิตคู่ เพื่อข้ามผ่านอุปสรรคชีวิตคู่ทั้ง 6 ด้าน คือ การสื่อสาร การจัดการความขัดแย้ง การสร้างความรู้สึกชื่นชมซึ่งกันและกัน การแก้ปัญหา ฝ่าวิกฤตชีวิตคู่ และการแสดงความรักระหว่างสามีภรรยา โดยคู่สมรสใหม่ ตั้งแต่ 1-3 ปี เป็นช่วงที่มีความสำคัญหากช่วงนี้ปรับตัวเข้าหากันไม่ได้ก็จะนำไปสู่การหย่า ร้าง
เงื่อนไขความสำเร็จ
- การ มีจิตสาธารณะ ทำงานโดยไม่หวังผลกำไร เจ้าหน้าที่ของสถาบันที่ต้องลงไปปฏิบัติงานอบรมให้กับบุคคลต่างๆ อาจต้องไปในพื้นที่ห่างไกล หรือในชนบท ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความห่วงใย เห็นคุณค่าของผู้อื่นและอยากช่วยให้ชีวิตของเขาเหล่านั้นดีขึ้น
- เครื่อง มือ และวิธีการ เนื่องจากสถาบันครอบครัวไทยทำงานด้านการอบรมให้ความรู้มานานทำให้มีการพัฒนา เครื่องมือและวิธีการมาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะการอบรมแบบคนต่อคน เพราะว่าในการละพื้นที่ปัญหาและลักษณะของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน การใช้วิธีการที่เหมาะสมกับแต่ละกลุ่มคนจะทำให้ได้ผลมากกว่า
- การ เห็นความสำคัญของการอบรม เนื่องจากการทำงานส่วนใหญ่จะเป็นการร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ การเห็นความสำคัญของการอบรมจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพราะหากหน่วยงานเหล่านี้ไม่เห็นความสำคัญของการอบรม สถาบันครอบครัวไทยก็ไม่อาจเข้าไปทำการอบรมให้ความรู้ได้ แต่หากหน่วยงานเห็นความสำคัญ เช่น ฝ่ายบริหารของโรงเรียนเห็นความสำคัญของการอบรมเรื่องอดเปรี้ยวไว้กินหวาน และเห็นว่าโครงการนี้สามารถลดปัญหาที่เกิดขึ้นกับนักเรียนได้ สถาบันฯจึงจะสามารถเข้าไปดำเนินกิจกรรมได้
องค์ความรู้จากการดำเนินงาน
- การ ทำงานพื้นที่ห่างไกลจะประสบผลสำเร็จต้อง ผู้ดำเนินงานจะต้องมี “จิตสาธารณะ” ค่อนข้างสูง ที่สำคัญคือต้องเห็นคุณค่าของผู้อื่นและช่วยให้คนเหล่านั้นมีคุณภาพชีวิตที่ ดีขึ้น
- การพัฒนา “เครื่องมือ” และ “วิธีการดำเนินงาน” ของสถาบันครอบครัวไทยช่วยให้การดำเนินงานสถาบันประสบผลสำเร็จ
- การ แบ่งเนื้อหาการดำเนินงานของสถาบันที่ครอบคลุมใน 4 ช่วงอายุ คือ กลุ่มสามีภรรยา หรือกลุ่มพ่อแม่ กลุ่มเด็กเล็ก กลุ่มวัยรุ่น และกลุ่มวัยทำงาน ซึ่ง เป็นวัฏจักรของการดำเนินชีวิตของครอบครัว และหากทุกคนมีศิลปะในการ ดำเนินชีวิตในแต่ละช่วงวัย ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมก็จะลดลงในที่สุด
รางวัลความสำเร็จ
รางวัลจากความภาคภูมิใจที่ได้เห็นรอยยิ้มของเด็กๆ
ขยายการอบรมให้กว้าง ขวางขึ้น หากแต่ยังติดปัญหาเรื่องงบประมาณในการจัดโครงการ ดังนั้นสถาบันฯ จึงต้องการทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ที่มีเป้าประสงค์ตรงกัน
สถาบันครอบครัวไทย
ที่อยู่: 6/142 ซ.ขวัญทิพย์ ถ.สตรีวิทยา 2 แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร 10230
โทรศัพท์: 0-2935-4947, 0-2935-4970-71
โทรสาร: 0-2539-7254
Email: info@thisisfamily.org
Website: http://www.thisisfamily.org
|