ประวัติความเป็นมา
สนับสนุนชุมชนท้องถิ่น องค์กรชุมชนในการถอดบทเรียนองค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อนำเอาความรู้เหล่านั้นมาใช้ในการจัดการทางสังคม ชุมชนของตนเองได้อย่างเป็นสุข
วิสัยทัศน์
สนับสนุนชุมชนท้องถิ่น
องค์กรชุมชนในการถอดบทเรียนองค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น
เพื่อนำเอาความรู้เหล่านั้นมาใช้ในการจัดการทางสังคม
ชุมชนของตนเองได้อย่างเป็นสุข ด้วยปรัชญา “สืบสานภูมิปัญญา พัฒนา
การจัดการ เพื่อสังคม”
พันธกิจ
สนับสนุนชุมชนท้องถิ่นในการ
จัดการชุมชนของตนเป็นศูนย์การเรียนรู้ หรือ “ห้องเรียนชุมชน”
ที่มีชุดความรู้ที่หลากหลาย เรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติจริง
เข้าใจผ่านการสัมผัสและซึมซับ ห้องเรียนไม่มีรั้ว ความรู้ไม่มีกำแพงกั้น
มีพ่อครู แม่ครู ปราชญ์ท้องถิ่นเป็นผู้ถ่ายทอดวิถีการดำรงชีวิต
ดังคำกล่าวที่ว่า “ที่ไหนมีชีวิต ที่นั่นมีความรู้ ที่ไหนมีชุมชน
ที่นั่นมีห้องเรียน” และขับเคลื่อน
ผ่าน 6 ยุทธศาสตร์หลักที่นำไปสู่สังคมเรียนรู้ คือการจัดการความรู้ของ
ชุมชน/เครือข่าย การสร้างพื้นที่ทางสังคม การสร้างพื้นที่ทางนโยบาย
(เกื้อหนุน) การสร้างนักจัดการความรู้ การประสานเครือข่ายพันธมิตร และ
งานบริหารยุทธศาสตร์
วัตถุประสงค์การดำเนินงาน
ผู้บริหารองค์กร
นายชัชวาล ทองดีเลิศ ผู้อำนวยการวิทยาลัยการจัดการทางสังคม
รูปแบบการการบริหารจัดการ วิทยาลัย การจัดการทางสังคมมุ่งเน้นการทำงานร่วมกับชุมชนท้องถิ่น และองค์กรภาคีต่างๆ ขยายฐานความสัมพันธ์ เชื่อมโยงคนทำงาน การทำงานของ วจส. จึงมีทั้งลักษณะทำเอง หนุนเสริม และร่วมทำกับภาคีพันธมิตร โดยมีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้วางกรอบนโยบายใน ภาพรวม วจส. ไม่เน้นการทำงานในลักษณะโครงการ แต่จะวางแผนและกำหนดภารกิจเพื่อกระจายการบริหารไปสู่สำนักงาน วจส.ในภูมิภาคต่าง ๆ ซึ่งมีทีมเจ้าหน้าที่ รับผิดชอบดำเนินการในภารกิจด้านต่าง ๆ โดยมี ผู้อำนวยการ วจส.ภาคดูแล เช่น ภารกิจสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ การเชื่อมโยงภาคี การผลักดันนโยบาย การทำสื่อแผ่นพับ วีซีดี หนังสือ เพื่อหนุนเสริมให้ชาวบ้านสามารถจัดกระบวนการ เรียนรู้ได้อย่างเข้มแข็ง เป็นต้น
ความสำเร็จขององค์กร
เงื่อนไขความสำเร็จขององค์กร
องค์ความรู้จากการดำเนินงานขององค์กร
รางวัลความสำเร็จ
แม้ผลงานของ วจส.จะไม่ได้รับรางวัลใดๆ แต่ในแง่ของการดำเนินงานถือว่าประสบความสำเร็จ โดยสามารถแบ่งเป็น 4 ด้านหลักๆ ได้แก่
การขยายผลศูนย์การเรียน
รู้ที่เข้มแข็งให้กว้างขวางมากขึ้น
อันจะทำให้สังคมเกิดความเปลี่ยนแปลงไปสู่การมีคุณภาพที่สูงขึ้นเป็นสังคมการ
เรียนรู้
โดยขณะนี้ วจส. อยู่ระหว่างการเชื่อมโยงกับองค์กรภาคีต่างๆ ได้แก่
• สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
• สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
• สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.)
• สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งในพื้นที่ (กกต.จังหวัด)
• สถาบันพระปกเกล้า สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์ • เครือข่ายนักวิชาการสถาบันต่างๆ
• สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
• เครือข่ายการศึกษาทางเลือก
• เครือข่ายครอบครัว
• สภาการศึกษาแห่งชาติ
• สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร
• สถาบันต้นกล้า
• เครือข่ายเกษตรกรภาคเหนือ
• เครือข่ายปกาเกอญอ
• โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา
• ฯลฯ
วิทยาลัยการจัดการทางสังคม (วจส.)
ที่อยู่: วิทยาลัยการจัดการทางสังคม (สำนักงานกรุงเทพฯ) : 97 ซอยพหลโยธิน 19/1 หมู่บ้านพหลโยธินกอล์ฟ ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
โทรศัพท์: 0-2939-4577-8
โทรสาร: 0-2939-4860
Website: http://www.thaiknowledge.org
|