ประวัติความเป็นมา
• ๒๖ ธันวาคม ๒๕๔๗ เวลา ๐๗.๕๙
น. เกิดแผ่นดินไหวในพื้นมหาสมุทรอินเดีย นอกฝั่งตะวันตกเกาะสุมาตรา
ความรุนแรง ๙.๓ ริกเตอร์
คลื่นยักษ์ใช้เวลาเดินทางจากจุดที่เกิดแผ่นดินไหวถึงจังหวัดภูเก็ต ๑๑๒ นาที
และทยอยเข้าถึงทั้ง ๖ จังหวัดอันดามัน ไปถึงสตูลที่สุดท้ายด้วยเวลา ๒๖๖
นาที
• พื้นที่ประสบภัยพิบัติอยู่ใน ๖ จังหวัด รวม ๒๔ อำเภอ /
กิ่งอำเภอ ๗๘ ตำบล ๒๙๒ หมู่บ้าน จังหวัดพังงาประสบภัยรุนแรงที่สุด
รวมเสียหาย ๕๔,๖๗๒ คน ๑๒,๐๖๘ ครอบครัว บ้านเสียหาย ๖,๗๙๙ หลัง
พื้นที่การเกษตร ๒,๓๘๙ ไร่ เรือประมงขนาดใหญ่ ๑,๒๒๒ ลำ เรือประมงขนาดเล็ก
๓,๔๒๖ ลำ เรือท่องเที่ยวขนาดใหญ่ ๒๔๑ ลำ เรือท่องเที่ยวขนาดเล็ก ๓๑๓ ลำ
•
วันที่ ๒๖ – ๒๗ ธันวาคม ๔๗ องค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้ ภาคประชาสังคม
และเพื่อนมิตรส่วนกลาง ส่งคนลงไปประจำชุมชน เริ่มต้นการรวมคน
ตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราว
• ๒๘ ธันวาคม ๔๗ คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนสำนักงานปฎิบัติการ
ภาคใต้ โครงการพัฒนาชุมชนเป็นสุขที่ภาคใต้ สมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านภาคใต้ กลุ่มเพื่อนอันดามัน โครงการวิจัย
เชิง
ปฎิบัติการชีวิตสาธารณะ ท้องถิ่นน่าอยู่ที่ภาคใต้ รวม ๖ องค์กรร่วมจัดตั้ง
เครือข่ายความร่วมมือฟื้นฟูชุมชนชายฝั่งอันดามัน (Save Andaman Network :
SAN ) ขึ้นเป็นองค์กรรวมพลังฟื้นฟูกอบกู้ชุมชน
โดยการหนุนเสริมและเป็นองค์กรร่มของมูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
และเพื่อนมิตรจากทั่วประเทศ เช่น เครือซิเมนต์ไทย
กองทุนไทยพาณิชย์เพื่อผู้ประสบภัย ซึ่งได้
ดำเนินงานร่วมกันต่อเนื่องถึงปัจจุบัน
•
หลังจากก่อตั้งได้หนึ่งเดือนได้มีการจัดวางระบบองค์กร ระบบการปฎิบัติงาน
และระบบการเงินบัญชี โดยความช่วยเหลือจากอาสาสมัครภาคธุรกิจ
บริษัทหลักทรัพย์ภัทรจำกัด (มหาชน) และ Ernst & Young Services limited
• ในด้านกฎหมายและสิทธิชุมชน SAN ได้ร่วมกับสภาทนายความ มูลนิธิชุมชนไท ศูนย์กฎหมายมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เครือข่ายสลัมสี่ภาค จัดตั้ง ศูนย์กฎหมายและสิทธิชุมชนอันดามัน เป็นองค์กรประสานงานกลางเพื่อดำเนินการช่วยเหลือด้านสิทธิและกฎหมาย
• เดือนมีนาคม ๒๕๕๒ เครือข่ายความร่วมมือฟื้นฟูชุมชนชายฝั่งอันดามัน ได้จัดตั้งเป็น มูลนิธิอันดามัน
วิสัยทัศน์
แนวคิด
การฟื้นฟูชุมชนโดยการริเริ่ม คิด วางแผน และดำเนินการพัฒนาโดยชุมชน
และเป็นไปเพื่อพัฒนาความสามารถของชุมชนในการปกครองตนเองและจัดการกับอนาคต
ของชุมชนได้
กระบวนการ
มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน หนุนช่วยการจัดตั้งกลุ่มองค์กรชุมชน
และเสริมศักยภาพให้สามารถเป็นหลักในการพัฒนาชุมชน
และนำปัญหาต่างๆที่มีอยู่ในชุมชนมาสู่การแก้ไขอย่างเป็นระบบ
ทั้งนี้โดยให้ความสำคัญกับการนำหลักการทางศาสนา
และวัฒนธรรมท้องถิ่นมาเป็นหลักในการดำเนินการ
จุดมุ่งหมาย
การพัฒนาที่ยั่งยืน คือ ชุมชนมีความเข้มแข็ง มีความเป็นประชาธิปไตย
และธรรมาภิบาล มีกองทุน
และกลุ่มธุรกิจที่ชุมชนบริหารเองเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ
และการสร้างวินัยทางการเงิน
ชุมชนมีการดูแลรักษาและใช้ประโยชน์ทะเลและทรัพยากรชายฝั่งอย่างยั่งยืน
พันธกิจ
ผลการดำเนินงานฟื้นฟูชุมชนที่ผ่านมา
•
คลื่นสึนามิ ณ ชายฝั่งอันดามัน 26 ธันวาคม 2551 ชุมชน 418 ชุมชนประสบภัย
ระดับเสียหายรุนแรงจำนวน 47 ชุมชน เสียหายบางส่วนจำนวน 360 ชุมชน
และไม่ได้รับความเสียหาย 11 ชุมชน
• SAN
ร่วมกับผู้สนับสนุนและองค์กรภาคีความร่วมมือ
ดำเนินการฟื้นฟูชุมชนชายฝั่งจำนวน 121 ชุมชน
เป็นชุมชนที่ได้รับความเสียหายรุนแรงจำนวน 22 ชุมชน
ได้รับความเสียหายเฉพาะเรือและบ้านเรือนบางส่วน 99 ชุมชน
โดยจัดตั้งอู่ซ่อมสร้างเรือชุมชนจำนวน 36 อู่
ดำเนินการซ่อมสร้างเรือประมงพื้นบ้าน จำนวน 1,570 ลำ
สนับสนุนการจัดหาเครื่องมือประมงทดแทนที่เสียหายจำนวน 1,650 ราย
เครื่องยนต์เรือ 541 ราย ซ่อมสร้างบ้านจำนวน 377 หลัง
•
ด้านการพัฒนาอาชีพและกลุ่มเศรษฐกิจชุมชน ได้เกื้อหนุน
การพัฒนากลุ่มเศรษฐกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
ประกอบด้วยการสนับสนุนและพัฒนาระบบการบริหารจัดการกลุ่มกองทุนหมุนเวียน
ชุมชน 23 กลุ่ม ใน 23 ชุมชน
มีสมาชิกรวม 975 คน กลุ่มออมทรัพย์ 20
กลุ่ม สมาชิก 1,405 คน กลุ่มอาชีพ 22 กลุ่ม สมาชิก 689 คน แพปลาชุมชน 5 แพ
สมาชิก 76 คน ซึ่งเป็นแหล่งรับซื้อขายสัตว์น้ำที่เป็นธรรม
•
ด้านการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ดำเนินการสนับสนุน ๕๓ ชุมชน
จัดการระบบนิเวศน์ทะเลร่วม ๑๑ เขตนิเวศน์ คลอบคลุมป่าชายเลน หญ้าทะเล
ปะการัง และการกำหนกฎชุมชนในการทำการประมงทะเลอย่างยั่งยืน ในจังหวัดสตูล
ตรัง กระบี่ พังงา ภูเก็ต
• ด้านกฎหมายและสิทธิชุมชน
ได้เกื้อหนุนชุมชนผู้ประสบภัยให้สามารถอยู่อาศัยในที่ดินเดิมได้ในทุกชุมชน
ที่เอกชนและรัฐใช้โอกาสสึนามิทำลายบ้านขับไล่ชุมชนออกจากที่ดินทำกินเดิม
รวม ๖ ชุมชน และปลูกสร้างบ้านใหม่ที่ได้รับความเสียหายครบ
ทุกหลังรวม ๑๐๙ หลัง
• เจรจากับรัฐจัดหาที่ดินใหม่ให้กับชุมชนซึ่งประสงค์จะย้ายจากชายฝั่งที่เสี่ยงภัยจำนวน ๒ ชุมชน และช่วยสร้างบ้านใหม่จำนวน ๑๑๓ หลัง
•
ให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมายและการดำเนินคดีในศาล 25 พื้นที่ 28ชุมชน
เป็นคดีความที่สิ้นสุดแล้วในปี ๕๐-๕๑ จำนวน 217 คดี
โดยมีการเจรจากับเอกชนคู่กรณีตกลงจัดสรรที่ดินอยู่ร่วมกัน
ปัจจุบันมีคดีที่อยู่ในระหว่างการดำเนินคดีในชั้นศาล จำนวน 335 คดี หรือ
420 ราย และอยู่ในชั้นศาลอุทธรณ์ 6
คดดำเนินการฟ้องต่อศาลปกครองนครศรีธรรมราช 2 คดีใน 2 ชุมชน เป็นการอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานของรัฐ และกรณีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย
งบประมาณการดำเนินงานฟื้นฟูชุมชนจากปี ๒๕๔๘ ถึง ปัจจุบัน ใช้งบประมาณรวม ๑๗๐ ล้านบาทโดยมีองค์กรหลักประกอบด้วย มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เครือซิเมนต์ไทย สภาธุรกิจตลาดทุนไทยและสมาคมตลาดหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ภัทร องค์การไดเร็ครีลีฟ อเมริกา องค์การออคเฟมประเทศเบลเยียมและอังกฤษ องค์การเอคชั่นเอด กองทุนไทยพาณิชย์เพื่อผู้ประสบภัย
การดำเนินงานในปัจจุบัน
กลุ่มเป้าหมาย
จังหวัดสตูล ๑๒ หมู่บ้าน
จังหวัดตรัง ๒๑ หมู่บ้าน
จังหวัดกระบี่ ๖ หมู่บ้าน
จังหวัดภูเก็ต ๘ หมู่บ้าน
จังหวัดพังงา ๘ หมู่บ้าน
รวม ๕๖ หมู่บ้าน ประกอบด้าน ๘ แผนงาน
1. แผนงานอบรมและศึกษาดูงานแนวคิดการพัฒนา
2. แผนงานศึกษา พัฒนาระบบบัญชีธุรกิจชุมชนและจัดทำคู่มือบัญชีการเงินชุมชน
3. แผนงานพัฒนาระบบบริหารจัดการกลุ่มเศรษฐกิจชุมชน
4. แผนงานศึกษาระบบตลาดสัตว์น้ำ ดำเนินการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบที่จังหวัดสตูล
5. แผนงานศึกษาผลิตภัณฑ์ชุมชน การพัฒนาระบบแปรรูปสัตว์น้ำ
6. สนับสนุนการจัดตั้งกลุ่มธุรกิจชุมชน
7.แผนงานเชื่อมประสานการพัฒนาระบบบัญชีการเงินและธนาคารชุมชน
8. การสนับสนุนทุนชุมชนที่ต้องการทุนดำเนินธุรกิจเพิ่มเติมในรูปการร่วมทุน
9. การเตรียมความพร้อมเผชิยภัยธรรมชาติ
10.การสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ การจัดตั้งกลุ่ม และกิจกรรมทางสังคมของกลุ่มเด็กและเยาวชน
ทำงานและระบบทีมงาน
มูลนิธิอันดามัน มีผู้ปฎิบัติงานรวม ๒๓ คน แบ่งเป็นทีมย่อย ๗ ทีม ประกอบด้วย
1. สำนักงานกลาง รวม ๔ คน
2. ทีมพื้นที่จังหวัดตรัง ๗ คน
3. ทีมพื้นที่จังหวัดกระบี่ คนทำงานชุมชน ๒ คน
4. จังหวัดภูเก็ต-พังงา ๓ คน
5. จังหวัดสตูล ๕ คน
6. ทีมพัฒนาระบบเตือนภัยและการเตรียมความพร้อม ๒ คน
7. ทีมศูนย์กฎหมายทนายอาสาสมัคร ๑ คน
มูลนิอันดามัน
ที่อยู่: 35/1 หมู่ 4 ต.ควนปริง อ.เมือง ตรัง 92000
|