ประวัติความเป็นมา
มูลนิธิเด็กตระหนักว่า
การดูแลคุ้มครองและให้การศึกษาแก่เด็กป็นภาระหน้าที่ที่ทุกคนควรรับผิดชอบ
ร่วมกัน และต้องลงมือกันวันนี้
ปัจจุบันประเทศไทยยังประสบปัญหาเกี่ยวกับเด็กขาดแคลนปัจจัยพื้นฐาน
ขาดสารอาหาร ไม่มีที่อยู่อาศัยขาดความรักความอบอุ่น
ลอดจนไม่ได้รับการศึกษาก่อให้เด็กบางคนใช้ชีวิตอย่างไร้จุดหมายกลายเป็นเด็ก
เร่ร่อน... เกิดปัญหาเด็กยากจนถูกส่งไปขายแรงงานตามโรงงาน
หรือถูกล่อลวงไปค้าประเวณี
ปลายปี ๒๕๒๑
โครงการของมูลนิธิเด็กจึงเริ่มก่อตั้งขึ้น เพื่อทำงานด้านการศึกษา
การขาดสารอาหารของเด็ก สิทธิเด็กและศิลปวัฒนธรรมเพื่อเด็กยากไร้ในสังคมไทย
ทุก
โครงการของมูลนิธิเด็ก จึงอยู่บนหลักการที่ว่า "เด็กต้องมีร่างกาย อารมณ์
จิตใจที่สมบูรณ์ก่อนที่จะก้าวไปสู่ การพัฒนาทางด้านสติปัญญา และสังคม
ทุกกิจกรรมเกิดขึ้นเพื่อป้องกันปัญหา
และสร้างทางเลือกเพื่อมุ่งไปสู่การสร้างสรรค์สังคม
สำหรับเด็กเพื่อให้พวกเขาสามารถพัฒนาได้เต็มที่
พันธกิจ
- ช่วยหลือเด็กด้านปัจจัยพื้นฐาน การดำเนินชีวิตและสวัสดิการต่าง ๆ ให้เด็กมีพัฒนาการที่เหมาะสมทางร่างกาย สติปัญญา และจิตใจ
- ค้นหาทางเลือกทางการศึกษาที่เหมาะสม ให้เด็กใช้สิทธิ เสรีภาพในการรับฟังความคิดเห็น
- ค้นหางานศิลปะ ดนตรี นิทานที่ส่งเสริมจินตนาการ และ ความคิดสร้างสรรค์ให้เด็กในสังคม
- ช่วยเหลือเด็กที่ถูกละเมิดสิทธิให้พ้นจากความทุกข์ทรมาน เช่น ถูกทารุณ ทอดทิ้ง ใช้แรงงานที่ผิดกฎหมาย และเป็นโสเภณีเด็กให้มีโอกาสดีสำหรับชีวิตในอนาคต
- ส่งเสริมบทบาทของครอบครัวให้เป็นรากฐานที่ดีแก่ชีวิตเด็ก
- กระตุ้นเตือนสาธารณชนให้ตระหนักในเรื่อง "การพิทักษ์สิทธิ" ของเด็ก และ "ปัญหา" เด็กไทย
วัตถุประสงค์การดำเนินงาน
- สนับสนุนสิทธิของเด็กตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิของเด็ก องค์การ สหประชาชาติ
- ช่วยเหลือเด็กที่ทุกข์ยากและถูกทอดทิ้งให้มีโอกาสพัฒนาอย่างสมบูรณ์ ทั้งทางด้านร่ายกายและจิตใจ โดยยึดหลักการให้ความช่วยเหลือตามสิทธิที่เด็กควรจะได้รับ ไม่ใช่จากความสมเพช เวทนา
- จัดหารูปแบบการศึกษาและดูแลเด็กให้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนา สังคม
- เป็นสื่อประสานความเข้าใจอันดีระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่
- ให้ความช่วยเหลือหรือร่วมมือกับผู้ที่มีจุดมุ่งหมายเกี่ยวกับการศึกษา
- ส่งเสริมศิลปะวิทยาการวัฒนธรรม และการสังคมสงเคราะห์ร่วมกับองค์กรการกุศลอื่นๆ เพื่อสาธารณประโยชน์
รูปแบบการบริหารจัดการ
มูลนิธิ
เด็กมีระบบการบริหารจัดการที่มีการแบ่งงานกันอย่างชัดเจน
โดยแต่ละโครงการย่อยจะมีเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครปฏิบัติหน้าที่และมีส่วน
ร่วมคิดในโครงการของตนเองอย่างชัดเจน
และมีอิสระทำให้มีความคล่องตัวในการทำงาน
โดยสำนักงานกรรมการมูลนิธิเด็กจะมีส่วนช่วยในการประสานงานระหว่าง
ผู้บริหารองค์กร
ศ.นพ.เสม พริ่งพวงแก้ว | กรรมการที่ปรึกษาอาวุโส |
ศ.นพ.ประเวศ วะสี | ประธานกรรมการ |
คุณหญิงอัมพร มีศุข | รองประธานกรรมการ |
ศ.นพ.อารี วัลยะเสวี | กรรมการเหรัญญิก |
นายโสภณ สุภาพงษ์ | ประธานกรรมการบริหาร |
นายพิภพ ธงไชย | กรรมการเลขานุการ |
นายสรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ | กรรมการที่ปรึกษาทางกฎหมาย |
ศ.นพ.ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ | กรรมการ |
นพ.สันต์ สิงหภักดี | กรรมการ |
รศ.ดร.ประกอบ คุปรัตน์ | กรรมการ |
เงื่อนไขความสำเร็จ
- ระบบการบริหารงาน
ด้วยยุทธศาสตร์การดำเนินงานของมูลนิธิเด็กที่ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะให้การดูแลคุ้มครองและให้การศึกษาแก่เด็กที่ประสบปัญหาต่างๆ ให้มีพัฒนาการที่เหมาะสมทั้งสุขภาพกาย และจิตใจ มูลนิธิจึงได้แบ่งการดำเนินงานออกเป็นด้านต่างๆ 7 ด้านคือ สถาบันการศึกษาและศิลปวัฒนธรรม สถาบันสวัสดิการและพัฒนาการเด็ก โครงการยุวโพธิชน สถาบันการ์ตูนไทย โครงการช่วยเหลือเด็กไร้รัฐ โครงการกรณีพิเศษ เช่น งานช่วยเด็กและครอบครัวผู้ประสบภัยสึนามิ และสำนักงานกรรมการมูลนิธิเด็ก ซึ่งเป็นสำนักงานกลางรับเรื่องและให้การสนับสนุนโครงการต่างๆ การดำเนินงานในแต่ละด้านจะมีเป้าหมายแตกต่างกัน ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ชัดเจน และไม่ซ้ำซ้อน ประกอบกับพื้นที่การดำเนินงานที่ไม่มาก เพียง 8 จังหวัดเท่านั้น ทำให้มูลนิธิสามารถดูแลและให้ความช่วยได้อย่างทั่วถึง กอปรกับมูลนิธิเด็กมีคณะกรรมมูลนิธิที่เป็นนักวิชาการและผู้ทรงคุณวุฒิหลากหลายด้าน ทั้งด้านสังคม การศึกษา สาธารณสุข และกฎหมายที่ช่วยวางกรอบการทำงานของมูลนิธิได้ชัดเจนและตรงกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ - ลักษณะเนื้องาน
ด้วยลักษณะของการทำงานที่มุ่งเน้นเพื่อช่วยเหลือและแก้ปัญหาให้แก่เด็ก ทำให้มูลนิธิฯ ต้องประสบปัญหาหลายหลายรูปแบบ ซึ่งถือเป็นบทเรียนใหม่ที่สร้างความท้าทายให้แก่บุคลากรผู้ปฏิบัติงาน รวมถึงการช่วยเหลือแม้เพียงคนเดียวให้หลุดพ้นจากปัญหาและกลับไปมีชีวิตที่ดีได้อย่างปกติ ถือเป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีกำลังใจที่จะทำงานต่อไป
องค์ความรู้จากการดำเนินงาน
มูลนิธิเด็กทำงานบนพื้นฐานสภาพปัญหาของสังคมที่เกี่ยวข้องกับเด็กและครอบครัว โดยใช้หลักแห่งการให้ความช่วยเหลือเยี่ยวยาทางด้านร่างกายและจิตใจในเบื้องต้น และให้โอกาสทางด้านการศึกษาเพื่อนำพาไปสู่การพัฒนาตนเอง พร้อมกับรณรงค์เผยแพร่ให้ความรู้ความเข้าใจกับคนในสังคมได้รับทราบ จนเกิดการเปลี่ยนแปลงความคิดและพฤติกรรมของคนในสังคม ทำให้สามารถคลี่คลายปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็กและครอบครัวได้ จนนำไปสู้การพัฒนาที่ขึ้นของสังคมไทย
รางวัลความสำเร็จ
- โครงการบ้านทานตะวัน และโรงเรียนหมู่บ้านเด็ก ได้รับรางวัลซีเรส สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ (Queen Sirikit Ceres Medel) ประเภทองค์กร จากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (FAO) เมื่อวันที่ 20 ต.ค. 2535
- ศ.นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว ประธานกรรมการมูลนิธิเด็ก ได้รับคัดเลือกให้เป็นบุคคลดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2535 ด้านการพัฒนาสังคมสาธารณสุข ของคณะกรรมการเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ เมื่อวันที่ 3 ก.ย. 2535
- คุณหญิงอัมพร มีศุข รองประธานกรรมการมูลนิธิเด็ก ได้รับรางวัลซีเรส สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ (Queen Sirikit Ceres Medel) ประเภทบุคคล จากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชา ชาติประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (FAO) เมื่อวันที่ 20 ต.ค. 2536
- ศ.นพ.ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ กรรมการมูลนิธิเด็ก ในนามสถาบันวิจัยโภชนการ ได้รับรางวัลซีเรส สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ (Queen Sirikit Ceres Medel) ประเภทองค์กร
- นางรัชนี ธงไชย ครูใหญ่โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก ได้รับคัดเลือกให้เป็นบุคคลดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2535 ด้านการพัฒนาสังคมสาขาการศึกษาและพัฒนาจิตใจ ของคณะกรรมการเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ เมื่อวันที่ 3 ก.ย. 2535
- สำนักพิมพ์มูลนิธิเด็ก หนังสือ “ของเล่นเดินทาง” ได้รับรางวัลดีเด่นในการประกวดหนังสือเนื่องในสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ปี 2533 ประเภทหนังสือสำหรับเด็กเริ่มหัดอ่าน “ติดปีก” สมุดบันทึกนิทานประจำปี 2538 ได้รับเกียรติบัตรจากคณะกรรมการเอกลักษณ์แห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะส่งเสริมกิจกรรมเด็กและวิถีชีวิตการพัฒนาประชาธิปไตย เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ปี 2538 “ฉันคือปูลม” นิทานภาพสำหรับเด็ก ได้รับการซื้อลิขสิทธิ์เพื่อไปตีพิมพ์เผยแพร่ในประเทศญี่ปุ่น
- โครงการบ้านทานตะวัน
ช่วยเหลือเด็กและครอบครัวที่ยากจนประสบปัญหาเรื่องความไม่พร้อมในการเลี้ยงดูเด็ก ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 3 ขวบ โดยเด็กจะได้รับการดูแลจากเจ้าหน้าที่ที่มีความชำนาญในการดูแลเด็กให้มีพัฒนาการตามวัยทั้งด้านสุขภาพกายและใจ โดยให้ความสำคัญในเรื่องของอาหารและการเสริมสร้าง พัฒนาการต่างๆ และมีพี่เลี้ยงดูแลใกล้ชิดเด็กตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงกรณีที่ครอบครัวมีปัญหาเรื่องการดูแลเด็ก โครงการจะมีการแนะนำวิธีการดูแลเด็กให้กับครอบครัวเพื่อให้มีความพร้อมเมื่อรับเด็กกลับไปดูแลต่อไป
- โรงเรียนอนุบาลหมู่บ้านเด็กสานรัก
ดูแลให้ความช่วยเหลือเด็กจากครอบครัวยากจนและครอบครัวแตกแยก ที่มีอายุระหว่าง 3-6 ขวบ โดยจัดการเรียนการสอนให้เด็กได้มีพัฒนาการและส่งเสริมศักยภาพความพร้อมให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละคน ซึ่งจะทำให้เด็กเกิดความมั่นใจ และสามารถช่วยเหลือตัวเองได้เป็นอย่างดี
- โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก
ดูแลเด็กอายุระหว่าง 6-18 ปี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กกำพร้าและยากจน ขาดคนเลี้ยงดูเอาใจใส่ มีการจัดการเรียนการสอนและวิถีการดำเนินชีวิตในชุมชนที่สอดคล้องและเอื้อต่อการเยียวยาจิตใจที่บอบช้ำ เน้นการให้ความรัก ความอบอุ่น และความเข้าใจแก่เด็กๆ เตรียมความพร้อมให้เด็กได้ออกไปมีชีวิตในสังคมได้อย่างปกติ โดยเน้นการเรียนด้านวิชาการควบคู่กับการส่งเสริมด้านวิชาชีพ เพื่อให้เด็กมีความสามารถในการประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้
จากความสำเร็จของการ เป็นต้นแบบโรงเรียนทางเลือก ทั้งระดับอนุบาลและประถมศึกษา มูลนิธิจึงมีแผนที่จะขยายระดับการศึกษาของโรงเรียนหมู่บ้านเด็กให้ครอบคลุม ระดับมัธยมศึกษา เพื่อรอบรับเด็กที่ไม่สามารถเข้าเรียนในระบบปกติได้ และให้เด็กได้พัฒนาศักยภาพและความสามารถของตนเองต่อไปในระดับมัธยม
มูลนิธิเด็ก
ที่อยู่: เลขที่ 95/24 หมู่ 6 ซ.กระทุ่มล้ม 18 ถ.พุทธมณฑลสาย 4 ต.กระทุ่มล้ม อ.สามพราน นครปฐม 73220
โทรศัพท์: 0-2814-1418-7
โทรสาร: 0-2814-0369
Email: children@ffc.or.th
Website: http://www.ffc.or.th
|