มูลนิธิอาสาพัฒนาเด็ก
จัดตั้ง: 8 พ.ย. 2558
ข้อมูลองค์กร

­

ประวัติความเป็นมา

มูลนิธิอาสาพัฒนาเด็ก เริ่มแรกใช้ชื่อว่า “กลุ่มอาสาพัฒนาเด็ก” ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2540 และจดทะเบียนเป็นมูลนิธิในปี 2548 ทั้งนี้เพราะพบว่าในตัวเมืองเชียงใหม่มีเด็กเข้ามาเร่ร่อนจำนวนมาก โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก คือกลุ่มที่มีปัญหาครอบครัวแตกแยก กับกลุ่มเด็กชนเผ่าที่อพยพเข้ามาตามเพื่อน หรือผู้ปกครองซึ่งเข้ามาเร่ร่อนขอทาน ขายดอกไม้ และหากไม่ได้รับการชี้แนะที่ดี เด็กเหล่านี้อาจถูกเพื่อนที่มีปัญหาเหมือนกัน ชักชวนให้ติดยาเสพติด ขายบริการทางเพศ หรือก่ออาชญากรรมได้
นอกจากนี้ การเก็บรวบรวมข้อมูลแบบมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการสื่อสารเรื่องเพศและเอดส์ใน กลุ่มเยาวชนเร่ร่อนตามพื้นที่ต่างๆ ของเชียงใหม่ ยังพบว่าเมื่อเติบโตเข้าสู่ระดับเยาวชน คนกลุ่มนี้ก็จะเสี่ยงต่อโรคเอดส์สูง เพราะมีพฤติกรรมเปลี่ยนคู่นอน ใช้ยาเสพติด และขายบริการทางเพศ โดยส่วนใหญ่ยังขาดการสื่อสารพูดคุยเรื่องเพศและเอดส์ที่เหมาะสม เช่น จะมีการพูดเรื่องเพศสัมพันธ์มากกว่าที่จะพูดถึงความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เรื่องเพศและเอดส์ หรือเยาวชนอาข่าเพศหญิงยังไม่กล้าที่จะพูดคุยเรื่องเพศกับแฟนของตนเอง อายที่จะใช้ถุงยางอนามัย ขณะที่เยาวชนชายมีการซื้อและขายบริการทางเพศ ส่วนเยาวชนกลุ่มอื่นถึงแม้จะมีความรู้เรื่องโรคเอดส์แต่ยังมีความคิดความ เชื่อ ความเข้าใจที่ผิดๆ บางเรื่อง เช่น คนอ้วน คนขาวสวย หล่อ ไม่เป็นเอดส์ ฯลฯ นำมาซึ่งการขาดการป้องกันตนเองในขณะที่มีเพศสัมพันธ์
แนวทางในการ ทำงานของมูลนิธิอาสาพัฒนาเด็ก จึงเป็นการคุ้มครองสิทธิเด็ก ให้ความช่วยเหลือ ตลอดจนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็กและเยาวชนเร่ร่อน ให้กลายเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพของสังคม ซึ่งแบ่งตามลักษณะการทำงานได้ดังนี้

  • งานภาคสนาม
    เป็นการทำงานของเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครที่ออกไปตาม สถานที่ต่างๆ เพื่อพบปะกับเด็กและเยาวชนเร่ร่อน ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ ตามตลาด สวนสาธาร ณะ บาร์เบียร์ แหล่งชุมชน ลงทำงานคลุกคลีทำความรู้จักสร้างความสัมพันธ์กับเด็ก รวมทั้งแม่เด็กบางรายที่นำลูกมาขอทานหรือขายพวงมาลัย ให้เกิดการยอมรับ ตลอดจนให้ความช่วยเหลือเด็กกรณีเร่งด่วน รักษาพยาบาลเบื้องต้น ให้คำปรึกษาปัญหา และใช้กระบวนการฝึกทักษะชีวิตลงไปทำกิจกรรมต่างๆ กับกลุ่มเด็กให้เด็กได้เล็งเห็นถึงทางเลือกที่มุ่งหวังไว้ เช่น กลับสู่ครอบครัว เข้าเรียนหนังสือ ฝึกอาชีพ ฯลฯ นอกจากนี้ยังมุ่งให้เด็กมีทักษะชีวิตเพื่อป้องกันตนเองจากการเข้าสู่ กระบวนการขายบริการทางเพศ โรคเอดส์ และยาเสพติด 
  • งานบ้านพัก
    เป็น บ้านที่อยู่ห่างจากตัวเมือง และมีสภาพค่อนข้างเป็นชนบท โดยมุ่งรองรับเด็กและเยาวชนเร่ร่อน ต่อเนื่องจากงานภาคสนาม เพื่อให้ความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนในด้านปัจจัยสี่ ฝึกให้เด็กทำการเกษตรเพื่อพึ่งพาตนเอง และส่งเสริมการทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อสุขภาพ เช่น ศิลปะ ดนตรี กีฬา เกม กิจกรรมด้านการศึกษาทั้งในและนอกระบบ อันเป็นกระบวนการลดพฤติกรรมเสี่ยงและผลักดันให้เด็กเกิดแนวทางในการดำเนิน ชีวิตที่มีคุณภาพ
  • งานศูนย์บริการเด็กและเยาวชน
    เป็นศูนย์ให้ บริการเด็กและเยาวชนเร่ร่อน ซึ่งใกล้กับแหล่งที่เด็กพักอาศัย ทำให้สามารถเข้ามาใช้บริการได้ง่าย โดยจะให้บริการทั้งด้านการศึกษา คำปรึกษา ศิลปะ ทักษะอาชีพขั้นพื้นฐาน รักษาพยาบาลเบื้องต้น สุขภาพอนามัย และจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิต เพื่อป้องกันการเข้าสู่การขายบริการทางเพศ และป้องกันโรคเอดส์ รวมถึงการส่งต่อกรณีเร่งด่วน
  • งานฝึกทักษะชีวิต
    เป็น กิจกรรมที่มุ่งเน้นฝึกทักษะในการดำเนินชีวิต คือ การคิดวิเคราะห์สร้างสรรค์ การคิดหาทางเลือก และการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล ความตระหนักในคุณค่าของตนเอง โดยมีเป้าหมายอยู่ 2 ระดับ คือเพื่อให้เด็กมีพฤติกรรมที่ปลอดภัยจากโรคเอดส์ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง ทักษะชีวิตที่ฝึกให้กับเด็ก เช่น การประเมินสถานการณ์ การเจรจาปฏิเสธต่อรองอย่างรักษาน้ำใจ การควบคุมอารมณ์ภายใต้ความกดดัน ซึ่งทักษะต่างๆ จะสอดแทรกไว้ในกิจกรรมต่าง ๆ เช่น เกม, ละคร, สนทนากลุ่มย่อย ที่สร้างให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของเด็กมากที่สุด
  • งานป้องกันการเคลื่อนย้ายของกลุ่มเด็กเร่ร่อนจากตะเข็บชายแดนสู่ จ.เชียงใหม่
    เป็น งานเชิงป้องกันการเคลื่อนย้ายของกลุ่มเด็กเร่ร่อนจาก อ.แม่สาย จ.เชียงราย มาสู่ จ.เชียงใหม่ และพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กเร่ร่อน พร้อมทั้งป้องกันเด็กจากธุรกิจทางเพศ

­

วิสัยทัศน์

พัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชนเร่ร่อน หรือด้อยโอกาส

­

พันธกิจ

ติดตามให้ความช่วยเหลือเด็ก และเยาวชน ที่มีอายุตั้งแต่ 4-25 ปี ซึ่งด้อยโอกาส หรือเป็นบุคคลเร่ร่อน ทั้งในรูปแบบการให้อาสาสมัครลงพื้นที่พบปะเด็ก การฝึกทักษะชีวิตเด็ก การคุ้มครองสวัสดิภาพ บำบัด-ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ตลอดจนคืนเด็กสู่ครอบครัวโดยได้รับการสนับสนุนจากหลายหน่วยงาน เช่น องค์การยูนิเซฟประเทศไทย, มูลนิธิพัฒนาเครือข่ายเอดส์ สหภาพยุโรป, ชมรมกรุณา ประเทศญี่ปุ่น, สถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย และองค์กร Give2Asia เป็นต้น

­

วัตถุประสงค์การดำเนินงาน

  • เพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงกลุ่มเด็กเร่ร่อนและเด็กด้อยโอกาส
  • พัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเด็กเร่ร่อนและเด็กด้อยโอกาส
  • ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการช่วยเหลือเด็ก เร่ร่อนและด้อยโอกาส
  • ดำเนินการ หรือร่วมมือกับองค์กรการกุศลอื่น เพื่อสาธารณประโยชน์

­

ผู้บริหารองค์กร

  • นางเรณู อรรฐาเมศร์ ประธานกรรมการมูลนิธิอาสาพัฒนาเด็ก

­

รูปแบบการบริหารจัดการ

ระบบการบริหารงาน มีคณะกรรมการมูลนิธิเป็นบอร์ดใหญ่ ประกอบด้วยประธานกรรมการ และคณะกรรมการบริหาร โดยแบ่งระบบงาน แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

  • งานด้านบริหาร ประกอบด้วยคณะกรรมการมูลนิธิ และฝ่ายการเงิน
  • งาน ด้านบริการเด็ก ประกอบด้วย ฝ่ายงานบ้านพักฟื้นฟูเด็ก, ฝ่ายงานศูนย์บริการเด็กและเยาวชน และฝ่ายบัญชี-สำนักงาน ซึ่งแต่ละส่วนงานจะมีผู้จัดการสาขา และเจ้าหน้าที่ รับผิดชอบในส่วนการดำเนินงานของตนเอง

ทั้งนี้ ในแต่ละปี จะมีการประชุมร่วมกัน ระหว่างคณะกรรมการมูลนิธิ กับผู้จัดการสาขา และเจ้าหน้าที่ เพื่อกำหนดแผนงาน และยุทธศาสตร์ ทั้งระยะสั้น 1 ปี และระยะยาว 5 ปี โดยบุคลากรในระดับปฏิบัติ ซึ่งมีโอกาสคลุกคลีกับเด็ก และรับทราบปัญหาต่างๆ มาตลอด จะเป็นผู้เสนอแผนงาน และมีฝ่ายบริหาร รวมถึงที่ปรึกษาให้ข้อเสนอแนะ เพื่อให้แผนงานและยุทธศาสตร์ในแต่ละปี ตรงกับสภาพปัญหา และความต้องการของกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด

ขณะ เดียวกัน แต่ละส่วนงาน ที่อยู่ในระดับปฏิบัติ ก็จะมีการประชุมระดมความคิดเห็นร่วมกันทุกเดือน เพื่อให้การดำเนินงานสอดคล้องกับแผนและยุทธศาสตร์ที่วางไว้ รวมถึงมองปัญหาใหม่ หรือปัญหาที่ยังแก้ไขไม่ได้ เพื่อนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมใหญ่ ในวาระต่อไป

­

เงื่อนไขความสำเร็จขององค์กร

  • การ ทำงานมีความยืดหยุ่นตามลักษณะปัญหาของเด็ก ไม่ยึดติดกรอบ และมีความสัมพันธ์ที่ดีกับเด็ก ทำให้เด็กยอมเข้าสู่บ้านพัก รู้สึกเป็นครอบครัวเดียวกัน เกิดความอบอุ่นและไว้วางใจ เมื่อมีปัญหา ก็กล้าพูดคุยปรึกษา
  • ใช้ ระบบแกนนำพี่ดูแลน้อง พัฒนาเด็กที่มีความพร้อมขึ้นมาเป็นพี่เลี้ยงหรืออาสาสมัคร ทำให้เด็กที่เข้ามาอยู่ในบ้านพัก หรือใช้บริการศูนย์บริการ รู้สึกมีส่วนร่วม จึงช่วยเป็นหูเป็นตา คอยแนะนำเด็กหรือเยาวชนเร่ร่อนคนอื่นๆ ให้เข้ามาที่ศูนย์บริการก่อนที่จะใช้ชีวิตแบบสุ่มเสี่ยงมากกว่าที่เป็นอยู่
  • มี สื่อ และเทคนิคประกอบการสอนที่ผสมผสานกันหลายรูปแบบ ทั้งเกม ศิลปะ การละเล่น การบำเพ็ญประโยชน์ต่อสาธารณะ และการสอนโดยตรง ทำให้เด็กไม่เบื่อหน่าย และกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ฒ
  • มีสื่อและการสอน ที่กระตุ้นให้เด็กคิดเป็น ทำเป็น นำศักยภาพของตนเองออกมาใช้ และรู้จักวางแผน มีเป้าหมายของชีวิต
  • ทำให้เด็กเร่ร่อนและด้อยโอกาส ได้สัมผัสบรรยากาศของบ้าน(พัก)ที่อบอุ่น และมีโอกาสได้เรียนหนังสือทัดเทียมกับเด็กทั่วไป

­

ด้านปริมาณ

  • นับ ตั้งแต่ปี 2540 ถึงปัจจุบัน มีเด็กและเยาวชนเร่ร่อน หรือด้อยโอกาส ได้รับการส่งเสริมความรู้ด้านการป้องกันโรคเอดส์ เพศ อนามัยเจริญพันธุ์ และฝึกอาชีพ เรียนรู้ทักษะชีวิต ประมาณ 1,000 คน และหมุนเวียนเข้ามาใช้บริการศูนย์บริการเด็กและเยาวชน อีกประมาณ 500 คน
  • ปัจจุบัน มีเด็กและเยาวชนด้อยเร่ร่อน หรือโอกาส อาศัยอยู่ในบ้านพักฟื้นฟู และได้รับการส่งเสริมให้เรียนหนังสือ จำนวน 90 คน และเรียนจบแล้วกว่า 30 คน

­

ด้านคุณภาพ

  • ลดความเสี่ยงในการติดยาเสพติด, ค้าประเวณี, ถูกล่วงละเมิดทางเพศ และก่ออาชญากรรม ของกลุ่มเด็กและเยาวชนเร่ร่อน
  • เพิ่มช่องทางในการขอความช่วยเหลือให้แก่เด็ก
  • สามารถพัฒนาคู่มือครูข้างถนนแม่สายให้สามารถนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • เด็กเกิดทักษะชีวิต และมีความพร้อมเมื่อกลับเข้าสู่ครอบครัว หรือสังคม
  • มีโครงการที่เด็กสามารถใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และหารายได้ช่วยเหลือตนเอง
  • เด็ก เกิดความภาคภูมิใจในความสามารถของตน และเริ่มตระหนักถึงคุณค่าของชีวิต มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อยากเรียนหนังสือ อยากทำงานมากกว่าเร่ร่อน
  • เด็กเกิดความไว้วางใจอาสาสมัคร มีรอยยิ้ม และเสียงหัวเราะที่แสดงถึงความสุขในชีวิตมากขึ้น
  • สามารถ ส่งต่อเด็กไปยังบ้านพักที่มีศักยภาพและความพร้อมในการรองรับ กรณีที่เด็กไม่สามารถกลับสู่ครอบครัวได้ เช่น บ้านพักเด็กรุ่งอรุณ ซึ่งจะทำให้เด็กได้รับการศึกษาในระดับที่สูงกว่าภาคบังคับ

­

องค์ความรู้จากการดำเนินงาน

  • สาเหตุ หลักที่ทำให้เด็กออกมาเร่ร่อน คือครอบครัวแตกแยก หรือขาดความอบอุ่น การผลักดันให้เด็กคิด ตัดสินใจ ค้นหาตัวเอง และวางแผนชีวิตด้วยตัวของพวกเขาเอง เพื่อเตรียมพร้อมในการกลับสู่ครอบครัว และดำรงชีวิตในสังคมต่อไปนั้น ถือเป็นแนวทางที่ดีกว่าการให้เด็กเป็นฝ่ายรับ หรือพึ่งพาปัจจัยภายนอกทั้งหมด
  • การทำงานเกี่ยวกับเด็กเร่ร่อนและด้อยโอกาส ต้องเน้นที่คุณภาพ ไม่ควรเน้นปริมาณ เพราะจะทำให้ไม่สามารถช่วยเหลือเด็กได้อย่างแท้จริง
  • เด็ก เร่ร่อนมักจะกลัวถูกจับ หรือถูกส่งตัวไปอยู่สถานสงเคราะห์ จึงไม่ค่อยไว้ใจใคร ที่สำคัญคือเด็กบางรายติดยาเสพติดด้วย ในการทำงาน จึงต้องใช้ลักษณะค่อยเป็นค่อยไป พยายามเปิดใจให้เขาเข้ามาใช้บริการของศูนย์ หรือบ้านพัก และคอยให้บริการแบบเป็นมิตร โดยที่เด็กก็ต้องยอมรับกฎของศูนย์อย่างเต็มใจด้วย จึงจะนำไปสู่ผลสำเร็จได้์
  • การ ทำงานศิลปหัตถกรรม ไม่เพียงแต่สร้างความภูมิใจให้แก่เด็ก ยังสร้างพัฒนาการให้เด็กทั้งร่างกายและจิตใจ ทำให้เด็กมีสมาธิมากขึ้น ปรับพฤติกรรมโดยรวมไปในทางที่ดีกว่าเดิม

­

รางวัลความสำเร็จ

29 ตุลาคม 2550 ได้รับรางวัลการจัดที่พักอาศัยสำหรับผู้ด้อยโอกาส จาก IYSH Memorial Fund Sompo-Japan Prize

โครงการขององค์กร
  • โครงการศิลปหัตถกรรมเพื่อเด็กเร่ร่อน เป็น โครงการพัฒนาทักษะอาชีพของเด็กและเยาวชนเร่ร่อน หรือด้อยโอกาส ที่ใช้ศิลปะเป็นเครื่องมือในการบำบัดฟื้นฟูสภาพจิตใจของเด็ก ให้มีสมาธิ รู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเอง และเกิดความภาคภูมิใจที่สามารถหารายได้ด้วยตนเอง โดยเริ่มแรกมูลนิธิจะพาเด็กและเยาวชน ไปศึกษาดูงานตามสถานที่ต่างๆ หลังจากนั้นจึงจัดหาวิทยากรมาฝึกสอนตามความสนใจ พร้อมทั้งสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ และเปิดร้านจำหน่าย ชื่อ “ดอเด็กแกลลอรี่” ขึ้นมารองรับสินค้าที่ผลิตออกมาอย่างหลากหลาย โดยแบ่งรายได้ออกเป็น 3 ส่วนในอัตราที่ใกล้เคียงกัน คือให้เจ้าของผลงาน 30% ใช้เป็นทุนหมุนเวียน 40% และอีก 30% หักเข้ากองทุนการศึกษาและอาชีพ ซึ่งเปิดโอกาสให้เด็กเข้ามาร่วมบริหารจัดการกับกองทุนด้วย ปัจจุบันมีเด็กและเยาวชนเร่ร่อนหรือด้อยโอกาสประมาณ 200 คน ให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการ
  • โครงการมิตรข้างถนน เป็น โครงการที่จัดทำขึ้นเพื่อป้องกันการเคลื่อนย้ายของกลุ่มเด็กเร่ร่อนจากอำเภอ แม่สาย จ.เชียงราย มาสู่ จ.เชียงใหม่ และเน้นป้องกันเด็กจากธุรกิจทางเพศ รวมทั้งพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กเร่ร่อนที่อยู่ตามแนวตะเข็บชายแดน ด้าน อ.แม่สาย นอกจากนี้ยังเปิดบ้านพักชั่วคราวเพื่อรองรับเด็กเร่ร่อน ประสานส่งต่อกรณีเร่งด่วน พัฒนาทักษะชีวิตเพื่อป้องกันตนเองจากพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ทั้งยาเสพติด และโรคเอดส์ โดยได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิยุติการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศจากเด็ก
  • โครงการสื่อสารเรื่องเพศและเอดส์ มูลนิธิ อาสาพัฒนาเด็ก ได้ร่วมกับเยาวชนพัฒนากระบวนการทำงาน เพื่อให้เยาวชนมีศักยภาพในการสื่อสารเรื่องเพศและเอดส์ที่เหมาะสมกับกลุ่ม ของตนเอง โดยการสนับสนุนกิจกรรมเสริมความรู้ความเข้าใจ ปรับเปลี่ยนทัศนคติ และฝึกทักษะอย่างต่อเนื่อง จัดศูนย์เยาวชนเพื่อเป็นแหล่งบริการข้อมูลข่าวสารเรื่องเพศและเอดส์ที่เหมาะ สมกับเยาวชน ให้คำปรึกษา แนะนำการใช้ถุงยางอนามัย ส่งต่อรักษาพยาบาล ซึ่งกระบวนการทั้งหมดจะเน้นการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการร่วมคิด ร่วมทำ มีเป้าหมายเพื่อให้เยาวชนสามารถที่จะป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโรคเอดส์ได้
รวมมือร่วมใจ/ขยายผล
  • ต้องการ พัฒนาเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครให้เข้าระบบตามหลักกฎหมาย มีนักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  • ต้องการอาสาสมัคร ช่วยสอนเสริมให้แก่เด็ก ทั้งการศึกษาหลัก และด้านอาชีพ โดยเฉพาะการเกษตรและงานศิลปหัตถกรรม
  • ต้องการ ให้มีการฝึกอาชีพภายในศูนย์บริการเด็กและเยาวชนเร่ร่อนอย่างหลากหลายมากขึ้น เมื่อโตขึ้นเด็กจะได้สามารถนำไปประกอบเป็นอาชีพเลี้ยงตัวเองได้
  • อยาก ปรับปรุงด้านการตลาดของร้าน“ดอเด็กแกลลอรี่”ให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง มากขึ้น เพื่อให้คนทั่วไปยอมรับ และมองเห็นศักยภาพของเด็ก
ติดต่อองค์กร
มูลนิธิอาสาพัฒนาเด็ก
ที่อยู่: เลขที่ 95/1 หมู่ 6 บ้านแม่ผาแหน ต.ออนใต้ อ.สันกำแพง เชียงใหม่ 50130
โทรศัพท์: 0-5303-6095, 08-9850-6683
โทรสาร: 0-5303-6095