ประวัติความเป็นมา
กลุ่มสื่อชาวบ้าน "มะขามป้อม"
เริ่มเกิดขึ้นในช่วงที่สังคมบอบช้ำจากวิกฤตการณ์ทางการเมือง
เป็นห้วงเวลาของการฟื้นฟูสังคม จากกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยยุค 14
ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 ที่กลับมารวมตัวกันอีกครั้งใน พ.ศ.2523
โดยเป็นกลุ่มที่มีความถนัดด้านการละคร นักเขียน กวี นักดนตรี นักแสดง
กลุ่มสื่อชาวบ้าน(มะขามป้อม) ใช้กระบวนการ “ละครเร่”
เป็นเครื่องมือในการทำงาน เพื่อพัฒนาวัฒนธรรมชุมชน ในฐานะเป็นสื่อกลางเล็กๆ
ที่สะท้อนปัญหาชาวบ้านสู่สังคม รูปแบบการทำงาน คือ การแสดงละครเร่
และละครรณรงค์ จากนั้นเริ่มพัฒนาเพิ่มเติมการอบรมทักษะละคร การแสดง
และการอบรมครูในระบบการศึกษาเพื่อผลิตสื่อการสอนแบบละคร
โดยนำเอกลักษณ์เด่นของเมือง
ไทยมาผสมผสานกับวัฒนธรรมตะวันตกกลายมาเป็น
“ละครร่วมสมัย” และใช้กระบวนการละครเยาวชนเพื่อการพัฒนา เน้นหนักไปที่
"การพัฒนาชุมชน" และทำให้เกิดแนวคิดเรื่องละครชุมชน การสื่อสารเพื่อชุมชน
กลยุทธ์หลักจึงเป็นการมุ่งพัฒนาศักยภาพให้เยาวชนในชุมชนสามารถรวมตัวกัน
ทำงานละครเพื่อการพัฒนาภายในชุมชนของตนเองได้ด้วยตนเอง
ทั้งนี้ในระยะยาวได้พยายามให้เกิดการพัฒนากลุ่มละครเยาวชนที่มีความยั่งยืน
มีการรวมกลุ่มจัดกิจกรรมสร้างเสริมความเข้าใจอันดีงามของคนในสังคม
วิสัยทัศน์
มูลนิธิสื่อชาวบ้าน (มะขามป้อม) เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร มุ่งใช้สื่อละครเพื่อสร้างกระบวนการสื่อสารเพื่อการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมในการ ปรับเปลี่ยนและพัฒนาสังคมมากว่า 25 ปี โดยใช้สื่อละครในสองลักษณะคือ ลักษณะแรกใช้สื่อละครในฐานะสื่อการแสดง (Product) เพื่อพัฒนาผู้ชมหรือผู้รับสารให้เข้าใจหรือตระหนักในสาระที่ส่งไป ลักษณะที่สองใช้สื่อละครในฐานะกระบวนการ (Process) เพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และพัฒนาผู้ส่งสาร ให้กลายเป็นผู้ผลิตและสื่อสารได้ด้วยตัวเอง
พันธกิจ
- พัฒนาสื่อสำหรับประชาชนโดยนำเสนอข่าวสาร ความรู้และประเด็นปัญหาทางสังคมผ่านกิจกรรมสาระ ความบันเทิงในรูปแบบที่เหมาะสมและง่ายต่อการทำความเข้าใจของประชาชน
- ใช้สื่อทางวัฒนธรรม เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และความรู้อย่างไม่มีพรมแดนระหว่างชุมชนกับชุมชนเพื่อสังคมส่วนรวม
- เพื่อสนับสนุนการทำงาน ถ่ายทอด เผยแพร่ เทคนิคการใช้สื่อให้กับบุคคล กลุ่มบุคคล และองค์กรต่างๆ ให้สามารถผลิตสื่อเพื่อ การพัฒนาได้ด้วยตนเอง
วัตถุประสงค์การดำเนินงาน
- เพื่อผลิตละครกลุ่มย่อย เป็นสื่อทางเลือกของประชาชนรากหญ้า
- เพื่อสนับสนุนให้ชุมชนสร้างสรรค์สื่อของตนเองและประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม
- เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายของชุมชนแต่ละส่วนของสังคมเข้าด้วยกันด้วยสื่อละคร
- เพื่อพัฒนาชุมชนผู้ทำงานด้านละครในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ
ผู้บริหารองค์กร
- นางศรีศักดิ์ ไทยอารีย์ ประธานกรรมการ
- นายประดิษฐ์ ประสาททอง เลขาธิการ(หัวหน้าฝ่ายการแสดง)
- นายกวิน ชุติมา เหรัญญิก
- รศ.ดร.กาญจนา แก้วเทพ กรรมการ
- ดร.ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล กรรมการ
- นางสาววิลัดดา วนดุรงค์วรรณ กรรมการ(หัวหน้าฝ่ายการแสดง)
- นายวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ กรรมการ
- นางลักขณา คุณาวิชยานนท์ กรรมการ
- นางสาวปองจิต สรรพคุณ กรรมการ(หัวหน้าฝ่ายละครชุมชน)
- นายพฤหัส พหลกุลบุตร กรรมการ(หัวหน้าฝ่ายละครการศึกษา)
- นางสาวญาดา เกรียงไกรวุฒิกุล หัวหน้าฝ่ายต่างประเทศ
รูปแบบการบริหารจัดการ
โครงสร้าง การบริหารงานมูลนิธิสื่อชาวบ้าน(มะขามป้อม)ประกอบด้วย คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ในด้านการละคร นักเขียน กวี นักดนตรีและนักแสดง โดยเฉพาะนายประดิษฐ์ ประสาททอง เลขาธิการมูลนิธิสื่อชาวบ้าน(มะขามป้อม) เจ้าของรางวัล “ศิลปินศิลปาธร สาขาศิลปการแสดง ประจำปี 2548 ของกระทรวงวัฒนธรรม” ผู้มากความสามารถทางดนตรีได้แก่ ซอด้วง จะเข้ การรำไทย ลิเก รำตัด ฯลฯ อีกทั้งเป็นผู้มีแนวคิดร่วมสมัย นำเรื่องราวปัญหาในสังคมยุคปัจจุบันมาเรียงร้อยให้ประยุกต์ไปกับงานศิลปะการ แสดงของไทย เกิดแนวทางการดำเนินงานหลักของมะขามป้อมที่ใช้ละครร่วมสมัยเป็นตัวขับ เคลื่อนการพัฒนาชุมชนมาตั้งแต่ปี 2543 มาจนถึงปัจจุบัน ด้านการพัฒนาองค์กร มีการจัดวางโครงสร้างอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น และพยายามปฏิบัติตามโครงสร้างนั้น มีการบริหารงานภายใต้ฝ่ายที่คอยหนุนเสริมองค์กรอยู่ 4 ฝ่าย ได้แก่
- ฝ่ายละครชุมชน รับหน้าที่จัดอบรมและสร้างกลุ่มละครเยาวชนในชุมชนต่างๆ
- ฝ่ายละครการศึกษา ผลิตละครที่มีคุณค่า ส่งเสริมความคิด จินตนาการ และ จิตใจที่ดีงามให้กับเด็กและเยาวชน
- ฝ่ายการแสดง ดูแลรับผิดชอบการผลิตละครที่มีขนาดใหญ่ เพื่อนำมาแสดงในงาน เทศกาล โอกาสต่างๆจากหน่วยงาน องค์กร ทั้งภาครัฐและเอกชน
- ฝ่าย ต่างประเทศ สร้างความสัมพันธ์กับองค์กร เพื่อประชาชน กลุ่มพัฒนาชุมชนต่างๆ กลุ่มสิทธิมนุษยชน สถาบันการศึกษาทางเลือก และกลุ่มทางวัฒนธรรมหลายแห่ง
นอกจาก นี้ ยังมีการร่างธรรมนูญองค์กร เพื่อการอยู่ร่วมกันของกลุ่มคน จำนวนมาก ทั้งด้านระเบียบการเงิน การจัดการความขัดแย้ง และระบบการรับบุคลากร เนื่องจากมีอาสาสมัครเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรเป็นจำนวนมาก และมีการจัดเก็บข้อมูล และเผยแพร่สื่อสาธารณะมากขึ้น
เงื่อนไขความสำเร็จขององค์กร
- ยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนงานของมูลนิธิฯ ส่วนใหญ่มาจากผู้จัดการและหัวหน้าฝ่าย
- บุคลากรในมูลนิธิฯ ได้รับการปลูกฝัง “ทัศนคติ” ในการทำงานกับเยาวชนและชุมชน
- ก่อน ทำโครงการต่างๆ เจ้าหน้าที่จะต้องลงมือปฏิบัติจริงก่อนที่จะนำไปใช้ พร้อมทำการประเมิน ปรับปรุง และแก้ไขส่วนบกพร่องในตัวของกิจกรรมต่างๆ และสรุปทำความเข้าใจร่วมกัน
- ก่อน ทำค่ายจะต้องมีการปรับกระบวนทัศน์ 3 ประการกับเจ้าหน้าที่คือ ปรับทัศนคติเจ้าหน้าที่เพื่อให้ทราบเป้าหมายของการดำเนินงาน ความรู้หรือเนื้อหาที่จะนำไปสอน และทักษะที่จำเป็นต้องมีเช่น การเป็นวิทยากร การแสดงละคร เป็นต้น
- มีกลไกการบริหารงานแบบครอบครัว เปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงาน แสดงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ตลอดเวลา
องค์ความรู้จากการดำเนินงาน
- การทำงานแบบทำไปเรียนรู้ไป ทำให้มูลนิธิสามารถสร้างชุดความรู้ในการขับเคลื่อนงานละครกับเยาวชนได้
- การดำเนินงานของอาสาสมัครจะยึดแนวคิดในการทำงานด้วยแนวที่ว่า “เฮฮา ได้สาระ แบบมีส่วนร่วม”
รางวัลความสำเร็จ
- รางวัลเยาวชนดีเด่นแห่งชาติและผู้ทำคุณประโยชน์ต่อเยาวชน ปี 2550 ของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
- นายประดิษฐ์ ประสาททอง ศิลปินศิลปาธร สาขาศิลปการแสดง ประจำปี 2548 ของกระทรวงวัฒนธรรม
ผลงานของกลุ่มละครมะขามป้อมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 จนถึงปัจจุบันมีไม่น้อยกว่า 80 เรื่องได้แก่
- โครงการร้อยคลื่นศิลป์ ร้อยคลื่นใจ ให้กันและกัน
- โครงการการเรียนรู้เรื่องเอดส์ผ่านกิจกรรมละคร
- โครงการวัยมันส์เท่าทันสื่อ
- โครงการ ละครเพื่อพัฒนาเยาวชน เป็นต้น
มูลนิธิสื่อชาว บ้าน(มะขามป้อม) พยายามลดการเขียนโครงการไปยังหน่วยงานต่างๆ โดยปรับโครงสร้างการทำงานให้สามารถอยู่ได้ด้วยตัวเองจากการเข้าร่วมจัด กิจกรรมในโปรแกรมของหน่วยงานภาครัฐและภาคธุรกิจ แต่หากมีผู้ใดต้องการร่วมบริจาคสนับสนุนกิจกรรมของมูลนิธิฯสามารถทำได้โดย บริจาคเงินเข้าบัญชี มูลนิธิสื่อชาวบ้าน(มะขามป้อม) ธนาคารกสิกรไทย บัญชีออมทรัพย์ สาขาสุทธิสาร หมายเลขบัญชี 069-2-59271-9
มูลนิธิสื่อชาวบ้าน(มะขามป้อม)
ที่อยู่: 55 อินทามระ ซอย 3 ถ.สุทธิสารวินิจฉัย สามเสนใน พญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
โทรศัพท์: 0-2616-8473
โทรสาร: 0-2616-8474
Website: http://www.makhampom.net
|