ประวัติความเป็นมา
ธนาคารไทยพาณิชย์
ยังคงดำเนินงานภายใต้ปณิธานอันแน่วแน่ด้วยคุณภาพควบคู่คุณธรรมมาโดยตลอด
โดยถือว่าการดำเนินกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อสังคม
เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของการดำเนินแนวนโยบายของธนาคาร และได้ก่อตั้ง
มูลนิธิสยามกัมมาจล (Siam Commercial Foundation) ขึ้นเมื่อวันที่ ๒๕
พฤษภาคม ๒๕๓๘ เพื่อให้เป็นหน่วยงานที่ดำเนินการในส่วนของกิจกรรมเพื่อสังคม
การนำคำว่า “สยามกัมมาจล” มาตั้งเป็นชื่อมูลนิธิ
จึงถือเป็นการยืนยันถึงเจตนารมณ์ขององค์กรที่คำนึงถึงประโยชน์ต่อประชาชน
และประเทศชาติ นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รวมไปถึงอนาคต
ในระยะแรก
มูลนิธิสยามกัมมาจล มีบทบาทในการสนับสนุนงานด้านการศึกษา ศิลปวัฒนธรรม
การอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
และด้วยความตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาเยาวชน
ผู้ซึ่งจะเติบโตเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ ดังนั้น ในปี พ.ศ.๒๕๕๑
เป็นต้นไป ธนาคารได้มอบหมายให้ มูลนิธิสยามกัมมาจล
เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินกิจกรรมด้านการพัฒนาเยาวชน และชุมชน
วิสัยทัศน์
การพัฒนาประเทศจำเป็นจะต้อง สร้างจิตอาสาให้เกิดขึ้นในสังคมไทย เพราะสำนึกของการอาสาเสียสละเพื่อส่วนรวมเป็นพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันอย่าง สันติ และรวมพลัง (Synergy) ในการพัฒนาผลงานไปสู่ความสำเร็จ การสร้างจิตอาสาให้เกิดขึ้นในประชากรทุกกลุ่มจึงต้องเริ่มจากการปลูกฝัง สำนึกจิตอาสาให้เกิดขึ้นในเยาวชนเพื่อให้เยาวชนเป็นสื่อกลางในการสร้างการมี ส่วนร่วมของคนในสังคม
พันธกิจ
สร้างจิตอาสาในสังคมไทย ผ่านการพัฒนาเยาวชน และชุมชน
วัตถุประสงค์การดำเนินงาน
คำอธิบาย : แสวงหา สนับสนุน ประสานงาน/เชื่อมโยง ศูนย์กลางข้อมูล
- แสวงหา โครงการที่มีคุณค่าต่อชุมชน และการพัฒนาเยาวชน
- สนับสนุน โครงการที่มีคุณค่าต่อชุมชน และการพัฒนาเยาวชน
- ประสานงาน และ เชื่อมโยง เครือข่ายจิตอาสา
- เป็น ศูนย์กลางข้อมูล การดำเนินงานจิตอาสา
ผู้บริหารองค์กร
มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก(มพด.)มีกรรมการที่มาจากหลากหลายวิชาชีพ แต่ละท่านจะมีความเชี่ยวชาญแต่ละด้าน ดังนี้
- นายจิรายุ อิศรางกูร ณอยุธยา ประธานกรรมการ
- ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช รองประธานกรรมการ
- นายอานันท์ ปันยารชุน กรรมการ
- นายวิชิต สุรพงษ์ชัย กรรมการ
- ม.ร.ว.ดิศนัดดา ดิศกุลกรรมการ
- คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม กรรมการ
- นางกรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการ
- นายสมภพ อมรรัตนศักดิ์ กรรมการและเหรัญญิก
- นางปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร กรรมการและเลขานุการ และ ผู้จัดการมูลนิธิ
รูปแบบการบริหารจัดการ
แนวทางการดำเนินงาน : ๔ ด้าน
- แสวงหา โครงการที่มีคุณค่าต่อชุมชน และดำเนินการสนับสนุนในลักษณะของการ “ต่อยอด” เพื่อสร้างคุณค่าเพิ่ม (Value added) จากกิจกรรมที่มีอยู่แล้ว
- ใช้ยุทธศาสตร์พัฒนาเครือข่าย (Networking) และใช้ประโยชน์จากฐานทรัพยากรของธนาคารที่มีอยู่
- เชื่อมโยงให้เกิดจิตอาสาในพนักงานผ่านกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้พนักงานช่วยเหลือสังคมและชุมชน
- สร้างความเคลื่อนไหวทางสังคมให้เห็นคุณค่าของเยาวชนทำดี
การดำเนินงานของมูลนิธิสยามกัมมาจล
๑.ด้านการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
- ผู้ประสบภัยสึนามิ
- ผู้ประสบภัยพิบัติอื่นๆ
๒.ด้านเยาวชนและชุมชน
- สนับสนุนการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในโรงเรียน
- สนับสนุนการทำงานของเยาวชนจิตอาสาต่อชุมชน
- สนับสนุนการสร้างเครือข่ายเยาวชนจิตอาสา
- สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพองค์กรพันธมิตรด้านเยาวชน และชุมชน
- จัดทำ และบริการฐานข้อมูลเยาวชน และภาคีจิตอาสา
เงื่อนไขความสำเร็จขององค์กร
- โครงการพัฒนาเยาวชนตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง กความสำเร็จของโครงการพัฒนาเยาวชนตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง เกิดจากการที่โครงการพัฒนา เยาวชนฯ ได้สนับสนุนให้ครู และนักเรียนทำความเข้าใจในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และได้ลงมือปฏิบัติจริงผ่าน โครงการต่างๆ ที่สอดคล้องกับบริบทของแต่ละโรงเรียน จนกระทั่งซึมซับและค่อยๆ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และเมื่อมีความรู้ความเข้าใจดีแล้ว โครงการพัฒนาเยาวชนฯ ยังสนับสนุนให้ครู และนักเรียนแกนนำเป็น ผู้ขยายผลการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงทั้งในและนอกโรงเรียนต่อไป ในขณะเดียวกันพนักงานของธนาคารที่สมัครเป็นวิทยากรอาสาของธนาคารได้ถ่ายทอด ความรู้ที่มีความชำนาญให้กับครู และนักเรียนในโรงเรียนต่างๆ เกิดความภาคภูมิใจที่ได้เป็นผู้แทนธนาคารทำประโยชน์ให้สังคม บทเรียนความสำเร็จ คลิก
- โครงการช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิ โดยกองทุนไทยพาณิชย์เพื่อผู้ประสบภัย การ ดำเนินโครงการฟื้นฟูผู้ประสบภัยสึนามิ ภายใต้การสนับสนุนของกองทุนไทยพาณิชย์เพื่อผู้ประสบภัย สามารถฟื้นฟูจิตใจสมาชิกในครอบครัวผู้สูญเสียให้กลับมาใช้ชีวิตตามปกติ และเสริมสร้างกลไกการการฟื้นฟูชุมชนผ่านการทำงานของอาสาสมัคร รวมทั้งสร้างการมีส่วนร่วมของเยาวชน และกลุ่มผู้หญิงในการเข้าร่วมจัดการแก้ไขปัญหาในชุมชนของตัวเองได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ซึ่งนับเป็นรากฐานสำคัญของชุมชนเข้มแข็ง เงื่อนไขที่ส่งผลให้เกิดผลสำเร็จในโครงการ มีดังนี้
1. ระยะเวลาในการเข้าไปสนับสนุนโครงการ
กองทุน ไทยพาณิชย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย ได้ให้การสนับสนุนการดำเนินโครงการฟื้นฟูผู้ประสบภัยสึนามิ หลังจากที่เหตุการณ์พิบัติภัยประมาณ 1 ปี ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่การช่วยเหลือจากหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ผ่านไประยะหนึ่งแล้ว ทำให้มองเห็น “ช่องว่าง” ของความช่วยเหลือได้ค่อนข้างชัดเจน ดังนั้นการสนับสนุนโครงการจึงเข้าไปเติมเต็มช่องว่างดังกล่าว ด้วยการมุ่งเน้นไปยังกลุ่มเป้าหมายอันได้แก่สตรี และเด็ก ที่ “ตกหล่น” จากความช่วยเหลือจากองค์กรอื่นๆ
2. การทำงานผ่านองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาชุมชนในพื้นที่
ธนาคาร ไทยพาณิชย์ ตระหนักดีว่า ในการดำเนินโครงการช่วยเหลือผู้ประสบภัย จำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจงานด้านการพัฒนาชุมชนเป็นอย่างดี จึงได้ให้ความช่วยเหลือโดยผ่านการสนับสนุนการดำเนินโครงการขององค์กรพัฒนา เอกชน ที่ทำงานในพื้นที่อยู่แล้ว
3. รูปแบบการให้ความช่วยเหลือที่มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพของคนในพื้นที่
การ ดำเนินโครงการของ 3 องค์กร ภายใต้การสนับสนุนของกองทุนไทยพาณิชย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย มิได้มุ่งเน้นในการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน หากแต่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพของกลุ่มเป้าหมายให้สามารถพึ่งพาตัว เองได้ พร้อมทั้งสร้างกลไกการจัดการให้สมาชิกในชุมชนมีส่วนร่วมในการฟื้นฟู และพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งด้วยตัวเอง อันเป็นรากฐานในการฟื้นฟูศักยภาพของชุมชนให้เข้มแข็งต่อไปในอนาคต
โครงการพัฒนาเยาวชนตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง
ในปี 2548 คณะกรรมการกิจกรรมเพื่อสังคมของธนาคารมีนโยบายมุ่งเน้นกิจกรรมพัฒนาเยาวชนให้ดำเนินชีวิตโดยใช้สติปัญญา และคุณธรรมเป็นตัวนำการตัดสินใจ ในขณะที่ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ชี้นำถึงวิถีการดำเนินชีวิตที่ยึดหลักความพอประมาณ การคำนึงถึงเหตุและผลของการกระทำ ตลอดจนการสร้างภูมิคุ้มกันต่อความเสี่ยงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น ซึ่งต้องอาศัยการแสวงหาความรู้ในแขนงต่างๆ นำมาเชื่อมโยงและประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ในขณะเดียวกันต้องยึดมั่นในคุณธรรม เพื่อประโยชน์ของผู้อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสมดุล ซึ่งหลักการดังกล่าวเติมเต็มวัตถุประสงค์ของธนาคาร คณะกรรมการกิจกรรมเพื่อสังคมจึงได้จัดตั้ง “โครงการพัฒนาเยาวชนตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง” ขึ้น และร่วมมือกับโครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (ว.พ.) ในการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน นอกจากนี้ โครงการพัฒนาเยาวชนฯ ยังให้ความสำคัญกับกิจกรรมที่ใช้ทรัพยากรบุคคลที่ธนาคารมีอยู่ โดยเฉพาะการใช้ความรู้ความสามารถของพนักงานธนาคารมาร่วมกิจกรรมกับโรงเรียน อาทิ การพัฒนาองค์ความรู้ หรือการเป็นวิทยากรอาสาไปบรรยายให้ครู และจัดกิจกรรมกับนักเรียน เป็นต้น รายละเอียดคลิก
โครงการช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิ
เหตุการณ์ธรณีพิบัติสึนามิ เมื่อปลายปี 2547 ได้ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิต และทรัพย์สินของ พี่น้องในพื้นที่อย่างมหาศาล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
ได้ดำเนินการรับบริจาคเงินจากประชาชนทั่วประเทศ
และได้รับเงินบริจาคเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 62.3 ล้านบาท
โดยทางธนาคารได้บริจาคสบทบเป็นจำนวนเงิน 20 ล้านบาท รวมเป็น 82.3 ล้านบาท
พร้อมทั้งนำเงินทั้งหมดจัดตั้งเป็น “กองทุนไทยพาณิชย์เพื่อผู้ประสบภัย” ขึ้น โดยธนาคารได้รับความกรุณาจาก ฯพณฯ นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการกองทุนฯ อีกทั้งยังมีกรรมการจากมูลนิธิซิเมนต์ไทย และกรรมการธนาคาร ร่วมเป็นคณะกรรมการกองทุน
กองทุนไทยพาณิชย์เพื่อผู้ประสบภัย
ได้ให้ความช่วยเหลือพี่น้องผู้ประสบพิบัติภัยสึนามิ ในพื้นที่ 6
จังหวัดชายฝั่งอันดามัน ผ่านการสนับสนุนโครงการขององค์กรพัฒนาเอกชน
อันประกอบด้วย มูลนิธิเด็ก มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สมาคมพัฒนาประชากร และชุมชน ซึ่งแต่ละหน่วยงานมีความชำนาญในการพัฒนาชุมชน และมีหลักการดำเนินงานตรงกับเจตนารมณ์ ของกองทุนฯ ที่
มุ่งเน้นการให้ความช่วยเหลืออย่างยั่งยืนแก่ สตรี เด็ก และเยาวชน
รวมทั้งผู้สูงอายุ ผู้สูญเสียเสาหลักในครอบครัว
โดยเฉพาะกลุ่มคนผู้ตกหล่นจากการช่วยเหลือให้สามารถลุกขึ้นตั้งหลักเริ่มต้น
ชีวิตใหม่ และพึ่งพาตัวเองได้ รายละเอียดคลิก
มูลนิธิสยามกัมมาจล มีเป้าหมาย ในการส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพเด็ก และเยาวชนให้ เติบโตเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีความรู้ คู่คุณธรรม มีจิตอาสาเพื่อสังคม โดยทำหน้าที่ “เชื่อมประสาน” องค์กรพันธมิตร,กลุ่มเยาวชน เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในรูปแบบของ “เครือข่าย” รวมทั้ง ทำหน้าที่ “สนับสนุน” ให้เกิดการทำงานร่วมกันในลักษณะ “ต่อยอด” และ “ยกระดับ” เพื่อให้การ ขับเคลื่อนงานพัฒนาเด็ก และเยาวชน ของประเทศมีพลังมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ มูลนิธิฯ ได้พัฒนาระบบเว็บไซต์ www.scbfoundation.com ขึ้น
- เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ของเยาวชนที่ เป็นศูนย์กลางในการสร้างเครือข่ายเยาวชนจิตอาสา
- เพื่อให้เกิดพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ความสำเร็จ ของเยาวชน บนชุมชนออนไลน์
- เพื่อให้เว็บไซต์ เป็นแหล่งค้นคว้าข้อมูลของ เยาวชน และคนทำงานด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชน
- เพื่อให้เว็บไซต์เป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงการทำงานของผู้ที่ต้องการสนับสนุนโครงการ ตลอดจน
การทำกิจกรรมร่วมกันของเยาวชน
มูล นิธิฯ มุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะมีโอกาสได้ร่วมทำงานกับ องค์กรเครือข่าย หน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา และกลุ่มเยาวชน ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเยาวชน และสังคมไทยต่อไป
มูลนิธิสยามกัมมาจล
ที่อยู่: 19 ถนนรัชดาภิเษก แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
โทรศัพท์: 0-2937-9901-7
โทรสาร: 0-2937-9900
Email: info@scbf.or.th
Website: http://www.scbfoundation.com
|