ประวัติความเป็นมา
พ.ศ. 2524 ศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กเป็นโครงการหนึ่งของมูลนิธิเด็ก จนกระทั่งได้ก่อตั้งเป็นมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก เมื่อ ปี พ.ศ.2540 เพื่อทำงานช่วยเหลือ ปกป้อง คุ้มครองเด็กที่ถูกละเมิดสิทธิตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 18 ปี ทั้งเด็กที่ถูกละเลยทอดทิ้ง ถูกทำร้ายทารุณ ถูกล่วงเกินทางเพศ ถูกล่อลวงบังคับให้ค้าประเวณี ถูกใช้แรงงานอย่างไม่เป็นธรรม ถูกลักพา รวมถึงเด็กที่กระทำความผิด
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมูลนิธิ ศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก มีแนวทางการทำงานเพื่อสร้างให้องค์กรเป็นเสมือนศูนย์สาธิตครบวงจร และเป็นต้นแบบในการทำงานคุ้มครองและป้องกันเด็กทุกกลุ่ม โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมที่เอื้ออาทรสำหรับเด็ก โดยได้ดำเนินงานตามกระบวนการคุ้มครองเด็กดังนี้
- งานให้บริการเด็กและครอบครัวที่ถูกละเมิดสิทธิเด็ก ซึ่งประกอบด้วย
- งานคุ้มครองสิทธิเด็ก ให้ความช่วยเหลือเด็กให้ปลอดภัยจากการถูกกระทำด้านต่างๆ ด้วยการตรวจสอบติดตาม การสืบค้นข้อเท็จจริง ผ่านทีมสหวิชาชีพ ซึ่งประกอบด้วย วิชาชีพสาธารณสุข วิชาชีพกฎหมาย วิชาชีพสังคมสงเคราะห์ เป็นต้น ขณะเดียวกันก็ได้มีการผลักดันนโยบายเพื่อการคุ้มครองเด็กให้มีประสิทธิภาพ อาทิ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ซึ่งการทำงานได้ครอบคลุมไปถึงเด็กที่อยู่ในเครือข่ายลุ่มน้ำโขงด้วย
- งานบำบัดและฟื้นฟู มีการประสานงานกับจิตแพทย์และทีมจิตเวช เพื่อหาแนวทางเยียวยาสภาพร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และครอบครัว เด็ก เน้นการบำบัด ฟื้นฟู เพื่อให้เด็กสามารถกลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างเป็นปกติ โดยมีการเปิดรับอาสาสมัครเข้าร่วมจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เด็กในรูปแบบ ต่างๆ อาทิ ศิลปะบำบัด ดนตรีบำบัด เป็นต้น
- งานป้องกันปัญหาการละเมิดสิทธิเด็ก และพัฒนาระบบการคุ้มครองเด็ก แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ
- งานพัฒนาเด็กและสังคม เป็นการป้องกันเด็กจากภัยอันตรายและความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ ผ่านการเสริมสร้างทักษะให้กับเด็กในการรู้จักป้องกันตนเอง การปรับเปลี่ยนทัศนคติ และให้ความรู้กับพ่อแม่ผู้ปกครองให้เลี้ยงดูลูกอย่างเหมาะสม ไม่ใช้ความรุนแรง รวมถึงการสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับครูในการปฏิบัติต่อเด็กอย่างเหมาะสม สนับสนุนเครือข่ายชุมชน เพื่อร่วมกันสร้างสังคมที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก
- งานพัฒนาระบบคุ้มครองสิทธิเด็กในประเทศไทย เป็นการพัฒนาระบบกลไก ทักษะบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ไปพร้อมๆกับการผลักดันและร่วมกำหนดแนวนโยบาย กฎหมาย และวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองและป้องกันปัญหาการละเมิดสิทธิ เด็ก
- งานพัฒนาระบบคุ้มครองเด็กในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ให้ความช่วยเหลือเด็กจากประเทศในแถบลุ่มน้ำโขง ได้แก่ ไทย ลาว พม่า กัมพูชา เวียดนาม และจีน โดยให้บุคลากรและสถาบันที่มีบทบาทหน้าที่ในการคุ้มครองเด็ก เกิดความตระหนักและจัดระบบในการคุ้มครองเด็กทุกกระบวนการอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันและช่วยเหลือเด็กและผู้หญิงที่ถูกละเมิดสิทธิ โดยเฉพาะปัญหาการค้ามนุษย์ในประเทศไทย เช่น โครงการต่อต้านการค้าหญิงและเด็กในระดับอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เป็นต้น
วิสัยทัศน์
สร้างสังคมเอื้ออาทรสำหรับเด็ก
พันธกิจ
ให้ความช่วยเหลือคุ้มครองเด็ก ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 18 ปี ที่ถูกกระทำทารุณ ถูกทอดทิ้ง และเด็กที่ถูกแสวงประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ โดยให้ความช่วยเหลือเด็กและครอบครัวที่ประสบปัญหาทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศในลุ่มแม่น้ำโขง โดยร่วมกับทีมสหวิชาชีพอาศัยมาตรการทางสังคมสงเคราะห์ จิตเวช และกฎหมาย เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการตรวจสอบติดตาม การสืบค้นข้อเท็จจริง การคุ้มครองสวัสดิภาพ การฟื้นฟูเยียวยา ตลอดจนการคืนเด็กสู่สังคม รวมถึงการผลักดันให้เกิดการพัฒนากลไกด้านการคุ้มครอง
วัตถุประสงค์การดำเนินงาน
- สนับสนุน ส่งเสริมสิทธิเด็กตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิแห่งองค์กรสหประชาชาติ
- ให้ความช่วยเหลือและคุ้มครองเด็กผู้ถูกละเมิดสิทธิตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งองค์กรสหประชาติ
- ศึกษาและเสนอแนวทางในการปกป้องและคุ้มครองสิทธิเด็กในประเทศไทย ให้เป็นไปตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งองค์กรสหประชาชาติ
- ร่วม มือกับหน่วยงานที่ทำงานด้านเด็กและสิทธิมนุษยชนและภาคเอกชนในการปกป้องและ คุ้มครองเด็กทุกกรณี เป็นสื่อประสานความเข้าใจอันดีระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่
- ให้ความช่วยเหลือหรือร่วมมือกับผู้ที่มีจุดมุ่งหมายเกี่ยวกับการศึกษา
- ส่งเสริมศิลปะวิทยาการวัฒนธรรม และการสังคมสงเคราะห์ร่วมกับองค์กรการกุศลอื่นๆ เพื่อสาธารณประโยชน์
ผู้บริหารองค์กร
- นายสรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ ผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก
รูปแบบการบริหารจัดการ
โครงสร้าง การทำงานของมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก มีคณะกรรมการมูลนิธิเป็นบอร์ดใหญ่ มีผู้อำนวยการและคณะกรรมการบริหารซึ่งมีการแบ่งงานออกเป็น 3 ส่วน คือ
- งานด้านบริหาร ประกอบด้วยฝ่ายบัญชีและการเงิน ฝ่ายต่างประเทศ งานพัฒนาองค์กร งานประชาสัมพันธ์และระดมทรัพยากร
- งานพัฒนาและวิจัย ประกอบด้วย งานพัฒนาระบบการคุ้มครองเด็ก งานข้อมูลและวิจัย งานพัฒนาระบบการคุ้มครองเด็กลุ่มน้ำโขง และทีมที่ปรึกษา
- งานด้านบริการเด็กและครอบครัว ประกอบด้วย ฝ่ายคุ้มครองสิทธิเด็ก ฝ่ายพัฒนาแหล่งรองรับ,สถานแรกรับ สถานพัฒนาและฟื้นฟู(บ้านอุ่นรัก) และ ฝ่ายพัฒนาเด็กและสังคม โดยในแต่ละฝ่ายจะมีหัวหน้างานและเจ้าหน้าที่ ซึ่งจะรับผิดชอบในส่วนการดำเนินงานของตนเอง
ทั้งนี้ ในแต่ละปีจะมีการประชุมระหว่างผู้อำนวยการและหัวหน้าฝ่ายเพื่อร่วมกันวางแผน งาน กำหนดยุทธศาสตร์ โดยผู้ปฏิบัติงานมีส่วนสำคัญในการวางกรอบงาน โดยดูจากสถานการณ์การทำงานในปัจจุบันเป็นหลัก และวางทิศทางในการก้าวไปข้างหน้าในการช่วยเหลือเด็กร่วมกัน
เงื่อนไขความสำเร็จขององค์กร
- ด้วย ยุทธศาสตร์การดำเนินงานของมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กที่มีเป้าหมายชัดเจน ในการสร้างสังคมที่เอื้ออาทรสำหรับเด็ก โดยการให้ความช่วยเหลือ คุ้มครอง ป้องกันเด็กให้มีความปลอดภัยจากการถูกกระทำในด้านต่างๆ ส่งผลให้การดำเนินงานดังกล่าวประสบผลสำเร็จ
- ระบบ การทำงานที่มีผู้บริหารที่เป็นผู้ใฝ่หาความรู้ มีการศึกษาดูงานในสถานที่ต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อหาแนวคิดและแนวทางการทำงานมาปรับใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการ ช่วยเหลือเด็ก
- คนทำงานมีส่วนร่วมสำคัญในการกำหนดแผนงาน
- การทำงานเป็นลักษณะเรียนรู้คู่กันไป มีการปรับเปลี่ยนการทำงานและเรียนรู้ร่วมกันระหว่างบุคลากรและภาคีเครือข่าย
- มี โครงสร้างการบริหารที่อยู่ในรูปแบบของคณะทำงาน และมีลักษณะการดำเนินงานที่ค่อนข้างยืดหยุ่น เจ้าหน้าที่มีอำนาจตัดสินใจได้ด้วยตนเอง หากกรอบงานไม่ส่งผลกระทบต่อเด็กหรือองค์กร
- บุคลากรส่วนใหญ่ทำงาน “ด้วยใจ” ที่อยากช่วยเหลือเด็ก
- มีการจัดเวทีประชุมแลกเปลี่ยนความรู้ และการเพิ่มศักยภาพพนักงานในการเข้าร่วมอบรมในหน่วยงานต่างๆ
- มีการจัดประชุม สัมมนาเพื่อพัฒนาศักยภาพทีมสหวิชาชีพเพื่อการปกป้องคุ้มครองเด็ก
- ความ สัมพันธ์ของคนในองค์กรเป็นไปในลักษณะของเพื่อนร่วมงานไม่ใช่เจ้านายและลูก น้อง มีการพูดคุยให้กำลังใจซึ่งกันและกัน และร่วมกันแก้ปัญหา
- รอยยิ้มและเสียงหัวเราะของเด็กๆ ที่ถูกทำร้ายคือแรงใจที่ “สร้างสุข” และ“ความภาคภูมิใจ” ให้แก่ผู้ปฏิบัติมีความมุ่งมั่นในการทำงานต่อไป
- มี การเผยแพร่ปัญหาการละเมิดสิทธิเด็กผ่านสื่อ อาทิ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร โทรทัศน์ ซึ่งช่วยเป็นสื่อกลางในการสร้างกระแสให้สังคมตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับ เด็กได้ในวงกว้าง
- มี การจัดกิจกรรมการอบรม ,เสวนา ,ค่าย เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการละเมิดสิทธิเด็กให้เด็ก พ่อแม่ ผู้ปกครองครู และชุมชน เพื่อร่วมสร้างสังคมที่เอื้ออาทรและปลอดภัย
- มีการดึงเครือข่ายชุมชนและสร้างแกนนำในการช่วยเป็นหูเป็นตา เฝ้าระวังการละเมิดสิทธิเด็ก
ความ สำเร็จภายใต้การดำเนินงานของมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก ตลอดระยะเวลา 25 ปีที่ผ่านมา เกิดผลสำเร็จที่น่าพอใจ โดยสามารถทำให้สังคมได้ตระหนักถึงปัญหาการละเมิดสิทธิเด็ก ให้ความช่วยเหลือคุ้มครองเด็กที่ถูกกระทำทารุณ ซึ่งทั้งหมดเกิดผลทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ ดังนี้
ด้านปริมาณ
- มูลนิธิฯได้ให้ความช่วยเหลือเด็กที่ถูกทารุณกรรมมีจำนวน 4,626 ราย แบ่งเป็น 1.กรณีล่วงเกินทางเพศ 1,535 ราย
2.กรณีโสเภณีเด็กและแสวงผลประโยชน์จากเด็ก 1,419 ราย
3.กรณีทำร้ายร่างกาย 599 ราย
4.กรณีแรงงานเด็ก 435 ราย
5.กรณีหาย-ลักพา 111 ราย
6.กรณีอื่นๆ (เด็กเร่ร่อน,ขอทาน,เด็กที่ได้รับการเลียงดูไม่เหมาะสม ฯลฯ) 567 ราย
ทั้งนี้ในแต่ละปีมีเด็กที่ถูกทำร้ายและได้รับการช่วยเหลือจากมูลนิธิฯประมาณ 180 ราย
- มูลนิธิสามารถสร้างสถานพัฒนาและบำบัดฟื้นฟูเด็ก เพื่อให้การช่วยเหลือ ฟื้นฟูเด็กในทุกด้าน มีการเสริมสร้างทักษะต่างๆ การจัดหาครอบครัวทดแทน เพื่อช่วยเด็กให้สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปรกติ โดยในปี 2550 มีจำนวนเด็กที่อยู่ในความดูแลของบ้านแรกรับจำนวน 64 คน และบ้านอุ่นรัก จำนวน 65 คน
- มูลนิธิ สามารถคิดค้นพัฒนาหลักสูตรและการจัดกิจกรรมเพื่อให้เกิดการป้องกันปัญหา ละเมิดสิทธิเด็ก อาทิ กิจกรรมหลักสูตรตัวฉันเป็นของฉัน,กิจกรรมครอบครัวสัมพันธ์ และ กิจกรรมห้องเรียนพ่อแม่
ด้านคุณภาพ
- ทำให้สังคมเกิดความตระหนักถึงความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับเด็กในสังคม
- ชี้ให้สังคมรับรู้ว่ามีการละเมิดสิทธิเด็ก ทั้งการทารุณกรรม การล่วงละเมิดทางเพศ จากบุคคลในครอบครัว
- ลดปัญหาการละเมิดสิทธิเด็กในทุกรูปแบบ อาทิ การใช้แรงงานเด็ก การทารุณกรรมเด็ก และการล่วงละเมิดทางเพศเด็ก
- สามารถสร้างรอยยิ้มและเสียงหัวเราะให้เกิดขึ้นในเด็กได้อีกครั้ง
- สามารถพัฒนาการทำงานในรูปแบบสหวิชาชีพในการให้ความช่วยเหลือเด็ก
- มีการผลักดันกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองเด็กและครอบครัวได้สำเร็จหลายฉบับได้แก่
- พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาฉบับที่ 20
- พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546
- มีการจัดทำฐานข้อมูลการทารุณกรรมเด็กในประเทศไทย
- พัฒนางานวิจัยเรื่องปัจจัยเสี่ยงและมาตรฐานขั้นต่ำในการเลี้ยงดูเด็ก
- สามารถคิดค้นจัดทำหลักสูตร และกิจกรรมเพื่อให้เกิดการป้องกันปัญหาละเมิดสิทธิเด็ก เช่น หลักสูตรตัวฉันเป็นของฉัน
- ปี2550ทาง มูลนิธิฯได้ร่วมมือกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และองค์กรเครือข่ายในการผลักดันให้เกิดความร่วมมือในการในการป้องกันและปราบ ปรามการค้ามนุษย์ ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เช่น บันทึกข้อตกลงระหว่างรัฐบาลลางกับรัฐบาลไทย เป็นต้น
- มีการจัดกิจกรรมฝึกอบรมบทบาทสหวิชาชีพในการคุ้มครองเด็กให้กับทีมสหวิชาชีพในประเทศลาว
องค์ความรู้จากการดำเนินงาน
- การสร้างกระบวนการคุ้มครองเด็กที่ครบวงจร
- ที่มาของของปัญหาการละเมิดสิทธิเด็กแท้จริงคือครอบครัว
- การละเมิดสิทธิเด็กไม่เพียงมีผลต่อร่างกาย แต่ยังส่งผลกระทบต่อสภาวะจิตใจซึ่งต้องใช้เวลานานในการฟื้นฟู
- การ ช่วยเหลือเด็กที่ถูกละเมิดสิทธิ จำเป็นต้องใช้ทีมงานสหวิชาชีพที่มีองค์ความรู้มาทำงานร่วมกัน เพื่อป้องกันปัญหาเด็กถูกกระทำซ้ำ อาทิ เด็กที่ข่มขืนต้องให้ปากคำต่อเจ้าหน้าที่หลายครั้ง
รางวัลความสำเร็จ
- พ.ศ. 2535 หน่วยงานช่วยเหลือเยาวชน จากชมรมผู้สื่อข่าวอาชญากรรมในประเทศไทย
- พ.ศ. 2539 รางวัล C. Henry Kemp Award องค์กรดีเด่นด้านเด็กจากองค์กรที่ทำงานด้านเด็กระดับโลก ISPCAN (International Society for the Prevention on Child Abuse and Neglect)
- พ.ศ.2540 รางวัลสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชียประจำปี 2540 (Asian Human Right Award 1997) จากมูลนิธิมนุษยชนแห่งเอเชีย (Foundation for Human Rights in Asia)
- พ.ศ. 2541 นายสรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ ผู้อำนวยการรับรางวัลผู้บำเพ็ญประโยชน์เพื่อเยาวชนดีเด่นสาขากฎหมายประจำปี 2541 จากคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ (สยช.)
- พ.ศ.2542 นายสรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ ผู้อำนวยการรับรางวัลปาฐกถาประสงค์ ตู้จินดา ครั้งที่ 7 จากภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2543 รางวัลองค์กรที่ทำคุณประโยชน์ต่อเยาวชน สาขากฎหมายและการปกป้องคุ้มครองสิทธิและสวัสดิภาพเด็กและเยาวชน จากคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ(สยช.)
- พ.ศ. 2548 นายสรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ ผู้อำนวยการรับรางวัลบุคคลภาคเอกชนดีเด่นด้านการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนสตรี จากสำนักกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
- กิจกรรมตัวฉันเป็นของฉัน กมี วัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างทักษะในการป้องกันภัยทางเพศให้แก่เด็กวัย 9-12 ปี ปัจจุบันมูลนิธิฯได้นำหลักสูตรไปฝึกอบรมให้ครูในโรงเรียนต่างๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เพื่อให้นำไปปรับใช้กับเด็ก ซึ่งปัจจุบันหลักสูตรดังกล่าวได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในแวดวงการทำงาน ด้านเด็ก
- กิจกรรมพัฒนาพ่อแม่ เป็น กิจกรรมที่เสริมสร้างความสัมพันธ์และความรู้และทักษะในการเลี้ยงดูลูก เช่น กิจกรรมห้องเรียนพ่อแม่ โดยมีการให้ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาและเลี้ยงดูลูก อีกทั้งยังมีกระบวนการกลุ่มพ่อแม่ช่วยเหลือกัน โดยปัจจุบันมูลนิธิฯได้มีการรวมตัวกันของกลุ่มพ่อ แม่ จนเกิดเป็น ชมรมครอบครัว ขึ้น ซึ่งมีสมาชิกเข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
- กิจกรรมโรงเรียนคุ้มครองเด็ก เป็น โครงการที่จัดทำขึ้นเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาในประเด็นเด็กกับความรุนแรงใน โรงเรียน ซึ่งเป็นปัญหาที่ซับซ้อน โดยให้ความสำคัญต่อการสร้างสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ภายใน โรงเรียน และเป็นการปกป้องคุ้มครองสิทธิเด็ก ในด้านความปลอดภัย การพัฒนา การบำบัดฟื้นฟู อันเป็นสิทธิพื้นฐานที่เด็กทุกคนควรได้รับจากสังคม
- กิจกรรมชุมชนคุ้มครองเด็ก เป็นการ จัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างสายสัมพันธ์อันดีในครอบครัวและพัฒนาแกนนำพ่อ แม่ สร้างเครือข่ายแกนนำชุมชนให้เรียนรู้เกี่ยวกับแนวคิดและแนวปฏิบัติในการ พัฒนาครอบครัวเพื่อสร้างชุมชนปลอดภัยสำหรับเด็ก
- ต้องการการสนับสนุนงบประมาณในการช่วยเหลือ คุ้มครองเด็ก
- ต้องการทุนสนับสนุนโครงการรณรงค์ Start to Stop ยุติการใช้ความรุนแรงต่อเด็กในทุกรูปแบบ
- ต้องการ ให้มีการขยายผลกิจกรรมการพัฒนาเด็กและสังคม อาทิ กิจกรรมตัวฉันเป็นของฉัน โรงเรียนคุ้มครองเด็ก ห้องเรียนพ่อแม่ เป็นต้น สู่เด็ก โรงเรียนและชุมชนในวงกว้างและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
- ทางมูลนิธิฯรับจัดอบรมโครงการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตพนักงานและครอบครัว
มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก
ที่อยู่: เลขที่ 979 ซอยจรัญสนิทวงศ์12 ถ. จรัญสนิทวงศ์ แขวงวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร 10600
โทรศัพท์: 0-2412-1196
โทรสาร: 0-2412-9833
Email: cpcrheadoffice@yahoo.com
Website: http://www.thaichildrights.org
|