มูลนิธิศิลปะเพื่อมวลมนุษย์
จัดตั้ง: 8 ต.ค. 2558
ข้อมูลองค์กร

­

ประวัติความเป็นมา

จากความตระหนักถึงสิทธิความ เสมอภาคของบุคคล และความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพของคนพิการ ให้ทัดเทียมกับบุคคลธรรมดา ทั้งด้านการศึกษา อาชีพ และการดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีคุณค่า และมีศักดิ์ศรี ดังปรากฏในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 และเพื่อสอดคล้องกับที่สหประชาชาติได้กำหนดให้ปี ค.ศ. 1993-2002 เป็นทศวรรษคนพิการเอเชียและแปซิฟิก โครงการศิลปะเพื่อมวลมนุษย์ “Art for All” จึงริเริ่มและจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2540 โดยรองศาสตราจารย์ ดร. ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ คณบดีคณะศิลปะศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีหลักการที่มุ่งเน้นใช้ศิลปะเป็นเครื่องมือกล่อมเกลาจิตใจ ปลูกฝัง ส่งเสริมคุณธรรมโดยการให้คนพิการทุกประเภท คนไม่พิการ คนด้อยโอกาส มาทำกิจกรรมร่วมกันช่วยเหลือกัน เติมเต็มสิ่งที่ขาดหายให้แก่กัน เรียนรู้ร่วมกันอย่างเอื้ออาทร ซึ่งจะช่วยให้ผู้ด้อยโอกาส/ผู้พิการพบเห็นศักยภาพของตนเอง เห็นคุณค่าของตนเองที่ยังสามารถช่วยเหลือคนอื่นได้ จนเป็นแรงผลักดันให้สามารถก้าวข้ามขีดจำกัด ลืมความพิการ ลุกขึ้นมาใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าในสังคมได้อย่างมีความสุข ขณะที่คนไม่พิการและคนด้อยโอกาสที่ได้เห็นเพื่อนที่ลำบากกว่าก่อให้เกิด สภาวะสะเทือนใจ และนำมาเป็นพลังในการผลักดันให้มีการใช้ชีวิตอย่าคุ่มค่าต่อไป
นอกจาก นี้ยังมุ่งเน้นในศิลปะเป็นเครื่องมือบำบัด ฟื้นฟูสภาพจิตใจ สร้างความสงบสุขในชีวิตสำหรับนักโทษที่ถูกกักขังอยู่ในคุก พร้อมทั้งมุ่งทำนุ บำรุงศิลปวัฒนธรรมที่ยังคงหลงเหลือมิให้เลือนหายไปจากประเทศ

­

วิสัยทัศน์

การก้าวข้ามขีดจำกัด หมายถึง การก้าวข้ามขีดจำกัดทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา มุ่งไปสู่การพัฒนาศักยภาพด้านความคิดสร้างสรรค์โดยการเรียนรู้ และแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างมีคุณธรรมเพื่อสังคมในอนาคต

­

พันธกิจ

ใช้ศิลปะเป็นเครื่องมือในการ สร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับเยาวชน และมุ่งเน้นการกระตุ้นเตือนให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญของศิลปะ ซึ่งเป็นเครื่องมือ สู่การคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ รวมถึงการนำศิลปะเข้าสู่วิถีชีวิตชุมชน โดยมีการดำเนินการในรูปแบบต่างๆ อาทิ การจัดประชุม การจัดประกวด การจัดสัมมนา การจัดนิทรรศการ ตลอดจนการจัดค่าย เป็นต้น

­

วัตถุประสงค์การดำเนินงาน

  • ปลูกจิตสำนึกเยาวชนให้ตระหนักในคุณค่าความเป็นมนุษย์ เพื่อประพฤติปฏิบัติตนเป็นคนดี และมีคุณค่าต่อสังคม
  • พัฒนา ศักยภาพทางความคิด / ริเริ่ม/สร้างสรรค์และปรับเปลี่ยนทัศนคติ ค่านิยมของผู้ด้อยโอกาส/ผู้พิการ เพื่อยกระดับศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
  • สร้างสรรค์เจตคติและค่านิยมอันดีงามของสังคมต่อเพื่อนมนุษย์ โดยเคารพในความหลากหลาย สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
  • ค้นหาแนวทางการดำเนินชีวิต เพื่อพัฒนาให้อยู่ในสังคมอย่างมีศักดิ์ศรี โดยไม่เป็นภาระของสังคม

­

ผู้บริหารองค์กร

กรรมการผู้ก่อตั้งมูลนิธิศิลปะเพื่อมวลมนุษย์

  • รศ.ดร. ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ (ประธาน)
  • คุณ ประสงค์ องค์ปรีชากุล
  • รศ.สพ.ญ.ดร. นันทริกา ชันซื่อ
  • คุณ อำพันธ์ ศรีภักดี
  • คุณดารุณี ธรรมโพธิดล

­

บุคลากรมูลนิธิศิลปะเพื่อมวลมนุษย์

  • สมถวิล บุญน้อม : ผู้จัดการสำนักงาน
  • พิลาส จริงจริต : ประสานงานมูลนิธิฯ
  • อนุธิดา หลงกอหราบ : ประสานงานโครงการ
  • วชิรา เตอินทร์ : พัสดุและรวบรวมผลงาน
  • อภิชาต บ่อผล :พลขับยานพาหนะ
  • จิรเดช สานิเกตุ : สถานที่จัดกิจกรรม

­

รูปแบบการบริหารจัดการ

การ บริหารจัดการมูลนิธิ มีคณะกรรมการมูลนิธิซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ ทำหน้าที่กำหนดยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนแต่ละปี และเป็นคณะที่ปรึกษาในการดำเนินงาน มีเจ้าหน้าที่ประจำซึ่งเป็นคนพิการทำหน้าที่สร้างสรรค์กิจกรรม ประสานงาน และใช้ระบบอาสาสมัคร ซึ่งส่วนใหญ่มาจากกลุ่มนิสิตนักศึกษา คณาจารย์ ข้าราชการ ทั้งจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันการศึกษาต่างๆ คอยทำหน้าที่เป็นพลังขับเคลื่อนให้ฟันเฟืองและวงล้อแห่งกิจกรรมความดีงามที่ หมุนไปอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

­

เงื่อนไขความสำเร็จขององค์กร

  • การ ที่เยาวชนผู้พิการทุกประเภท ผู้ไม่พิการ ผู้ด้อยโอกาส สามารถค้นพบศักยภาพของตนเอง เปลี่ยนทัศนคติ เห็นคุณค่าของตนเอง และใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขคือความปิติ เป็นพลังที่เป็นแรงผลักดันให้เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครมีกำลังใจในการทำงาน ต่อไป
  • เยาวชนผู้พิการคิดอยากช่วยเหลือเพื่อนและทำประโยชน์ให้สังคม เป็นแรงหนุนให้เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครทุกคนอยากทำความดี
  • พลัง ของอาสาสมัคร ซึ่งส่วนใหญ่มาจากกลุ่มนิสิตนักศึกษา คณาจารย์ ข้าราชการ ทั้งจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันการศึกษา ต่างๆ ทำหน้าที่เป็นพลังขับเคลื่อนให้ฟันเฟืองและวงล้อแห่งกิจกรรม ความดีงามที่หมุนไปอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เสมือนหนึ่งเป็นหัวใจแห่งความสำเร็จของค่าย "Art for All"

­

องค์ความรู้จากการดำเนินงาน

คน พิการทุกประเภทมีศักยภาพด้านความคิดสร้างสรรค์สามารถได้รับการส่งเสริม พัฒนาความคิดได้ แม้จะมีข้อจำกัดด้านร่างกาย สติปัญญาและอารมณ์ แต่มีจิตใจที่เข้มแข็ง อดทนฟันฝ่า ก้าวข้ามขีดจำกัดเหล่านั้นได้ไม่ยาก

­

รางวัลความสำเร็จ

  • โครงการ ดีเด่นของชาติ(สาขาพัฒนาสังคม) โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้พระราชทาน พระบรมราชวโรกาสให้เข้ารับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยาม บรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2545 ณ พระที่นั่งดุสิตาลัย

โครงการขององค์กร
  • ค่าย ศิลปะ “Art for All” มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้เยาวชนไม่พิการและพิการทุกประเภทจากทั่วประเทศมา ใช้ชีวิตและเรียนรู้ร่วมกันเป็นเวลา 5 วัน เพื่อให้เยาวชนได้พัฒนาความรู้และทักษะที่ได้รับการถ่ายทอดจากวิทยากร และเรียนรู้การใช้ชีวิตร่วมกันระหว่างเพื่อนปกติและเพื่อนพิการ
  • กิจกรรม Art for All : ประตูสู่จินตนาการ ใช้ศิลปะเป็นเครื่องมือบำบัด ฟื้นฟูจิตใจให้กับผู้ต้องขัง โดยแบ่งกิจกรรมออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ 1.กิจกรรมค่ายศิลปะ เน้นกลุ่มผู้ต้องขังที่มีกำหนดโทษจำคุก ตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปมาทำกิจกรรมร่วมกัน และ 2. กิจกรรมห้องเรียนศิลปะ เน้นกลุ่มผู้ต้องขังที่ต้องโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือโทษประหารชีวิต เพื่อให้ผู้ต้องขังได้รับความสุข และบรรเทาความตึงเครียดในระหว่างต้องโทษ
รวมมือร่วมใจ/ขยายผล
  • การสนับสนุน การบริจาคที่ดินเพื่อจัดตั้งค่ายถาวร (Art for All village)สำหรับใช้ดำเนินการสร้างกิจกรรมพัฒนาศักยภาพทางความคิดสร้างสรรค์ ของเยาวชนอย่างยั่งยืนโดยส่วนกลาง(เขตกรุงเทพและปริมณฑล)ไม่ต่ำกว่า 10 ไร และในส่วนภูมิภาคไม่ต่ำกว่า 100 ไร่
  • การเผยแพร่และสร้างเครือข่าย ความรู้อย่างเป็นรูปธรรม โดยต้องการสร้างเครือข่ายองค์ที่จะช่วยถ่ายทอดแนวคิดการใช้ศิลปะบำบัดเยาวชน ออกสู่สังคมให้ได้รับรู้ในมุมกว้างและทุกมิติผ่านทุกภาคส่วนของสังคมไทยทั้ง ภายในและต่างประเทศ
  • สนับสนุนงบประมาณในการทำกิจกรรม
  • การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การดำเนินกิจกรรมของมูลนิธิ
  • สร้างเครือข่ายพลังปัญญาที่จะเข้ามาช่วยกันระดมความคิด เพื่อสร้างสรรค์ความรู้และสิ่งใหม่ๆให้กับกิจกรรมและโครงการ
  • ต้องการพลังอาสาสมัคร
  • ต้องการพลังใจที่จะเข้ามาช่วยเชียร์ เยี่ยมเยียนและให้กำลังใจเด็กระหว่างทำกิจกรรม
ติดต่อองค์กร
มูลนิธิศิลปะเพื่อมวลมนุษย์
ที่อยู่: คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร 10330
โทรศัพท์: 0-2219-2606-7
โทรสาร: 0-2219-2608