มูลนิธิศักยภาพเยาวชน
จัดตั้ง: 8 ต.ค. 2558
ข้อมูลองค์กร

­

ประวัติความเป็นมา

มูลนิธิศักยภาพเยาวชน ก่อตั้งโดยใช้ชื่อ “โครงการวัยรุ่นป้องกันเอดส์” เมื่อ พ.ศ. 2538 โดย Tamar Fenaud, Frans Balamouf, Jerramy Hess ซึ่งเป็นเยาวชน ที่จบการศึกษาชั้นปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยบราวน์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชน ได้ใช้และพัฒนาศักยภาพของตนเอง ในการแก้ไขปัญหาเอดส์ ต่อมาได้มีอาสาสมัครและเจ้าหน้าที่ที่เป็นเยาวชนเป็นทีมบริหารจัดการโดย เยาวชนไทย และได้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิศักยภาพเยาวชน เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2547 โดยงานหลักของมูลนิธิฯ แบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่

  • งานภาคสนาม ให้เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครลงพื้นที่ทั้งชุมชน และโรงเรียนในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ เพื่อพัฒนาศักยภาพเยาวชนให้มีความเป็นผู้นำ สามารถพึ่งพาตนเอง และเป็นที่ปรึกษาของเพื่อนๆ ได้ 
  • งานฝึกอบรม เพื่อฝึกให้แกนนำเยาวชน อาสาสมัคร หรือองค์กร เกิดแนวคิด และทักษะการจัดกระบวนการเรียนรู้ เป็นการหนุนเสริมให้เรียนรู้เท่าทันสถานการณ์ในสังคม และสอดคล้องกับความต้องการของเยาวชน 
  • งานด้านสื่อเพื่อเด็กและ เยาวชน เป็นการสื่อสารสถานการณ์ปัญหาศักยภาพ สิทธิ บทบาท หน้าที่ของเด็กและเยาวชน เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหา โดยเน้นการสร้างส่วนร่วมของเด็กและเยาวชน รวมถึงการใช้กิจกรรมที่เกิดขึ้นในกระบวนการสื่อสาร เป็นเครื่องมือในการพัฒนาทักษะชีวิตของเด็กและเยาวชน

­

วิสัยทัศน์

เยาวชนมีทักษะชีวิต และศักยภาพ สามารถสร้างกระบวนการเรียนรู้รากเหง้า เท่าทันโลกาภิวัตน์ รวมทั้งสามารถพึ่งพาตัวเองได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

­

พันธกิจ

เปิดโอกาสให้เยาวชนได้ใช้และ พัฒนาศักยภาพของตนเอง ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม แบบเพื่อนช่วยเพื่อน สร้างกระบวนการให้เยาวชนเห็นคุณค่าของตนเอง ฝึกความรับผิดชอบตัวเองและสังคม มีความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง มีภาวะผู้นำ มีความต้องการที่จะมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการป้องกัน ลดผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อ เอช ไอ วี / เอดส์ รวมถึงสร้างสุขภาวะ และการร่วมพัฒนาสังคม

­

วัตถุประสงค์การดำเนินงาน

มูลนิธิศักยภาพเยาวชนเป็นองค์กรที่ไม่ตั้งวัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน แต่ทำงานตามปรัชญา คือ

  • การเรียนรู้ระยะยาว ประกอบกับการฝึกทักษะชีวิต คือกระบวนการที่มีประสิทธิ ภาพสูงสุด
  • การทำงานเรื่องเยาวชน ต้องเริ่มจากจุดที่เยาวชนเป็น
  • เยาวชนผู้ผ่านการอบรม คือผู้ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการถ่ายทอดสู่เยาวชน
  • การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องทำกิจกรรมร่วมกับผู้ได้รับผลกระทบจากเรื่องนั้น
  • เยาวชนควรเข้าไปมีส่วนร่วมในนโยบายที่มีผลกระทบต่อเยาวชน

­

ผู้บริหารองค์กร

  • นางสาวสิริลักษณ์ อังกูรพิริยะ ผู้อำนวยการมูลนิธิศักยภาพเยาวชน

­

รูปแบบการบริหารจัดการ

ระบบการบริหารงาน

มี คณะกรรมการบริหาร ซึ่งมีประธานมูลนิธิ เป็นที่ปรึกษาในการดำเนินงาน และมีผู้อำนวยการ คอยดูแลให้การปฏิบัติงานในมูลนิธิเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ แบ่งงานออกเป็น 4 ส่วน คือ

  • งานด้านบริหาร ประกอบด้วยฝ่ายระดมทุนและทรัพยากร ฝ่ายบัญชีและการเงิน ฝ่ายประสานงาน โดยมีผู้อำนวยการมูลนิธิ คอยดูแลในภาพรวม
  • งานด้านสื่อ ประกอบด้วยอาสาสมัคร งานข้อมูล งานผลิต และผู้ประกาศ
  • งานพัฒนาศักยภาพเยาวชน ประกอบด้วย แกนนำเยาวชน อาสาสมัคร และทีมที่ปรึกษา
  • งานด้านจัดอบรม ประกอบด้วย ฝ่ายข้อมูล ฝ่ายฝึกอบรม ฝ่ายพัฒนาเด็กและเยาวชน และฝ่ายต่างประเทศ

ใน การทำงานเจ้าหน้าที่ ร่วมกับอาสาสมัคร จะร่วมประชุมประจำปี ซึ่งใช้เวลา 3-4 วัน เพื่อสรุป ประเมินผลงานในปีที่ผ่านมา และวางแผนงานประจำปีร่วมกัน โดยมีคณะกรรมการบริหารเป็นที่ปรึกษา

­

ความสำเร็จขององค์กร

  • แต่ละปี มีแกนนำเยาวชนผ่านการอบรมจัดกระบวนการความรู้ และสร้างเสริมความเป็นผู้นำเยาวชน ประมาณ 200 คน
  • มีเด็กที่ผ่านกระบวนการให้ความรู้จากกลุ่มแกนนำเยาวชน ประมาณปีละ 1,000 คน
  • แกนนำเยาวชนมีพัฒนาการ ทั้งด้านความคิด และทักษะปฏิบัติ กล้าแสดงออก สามารถเป็นผู้นำของเพื่อนๆ ได้
  • เยาวชนที่ผ่านมากรอบรม สามารถถ่ายทอดความรู้สู่เพื่อนเยาวชนด้วยกันเองได้
  • เด็กและเยาวชนลดความสุ่มเสี่ยงในการได้รับเชื้อเอชไอวี และผลลัพธ์จากพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม
  • เยาวชนรู้จักการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่น
  • เยาวชนเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง รู้จักคุณค่า และใช้ความสามารถของตนอย่างถูกต้องเหมาะสม
  • เยาวชนรู้จักใช้สติ ในการขบคิดและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิต ให้ลุล่วงไปด้วยดี
  • การทำงานของกลุ่มเยาวชน เป็นที่ยอมรับของโรงเรียน เพื่อน และผู้ใหญ่ในสังคม

­

เงื่อนไขความสำเร็จขององค์กร

  • คน ทำงานมีโอกาสได้สัมผัสกับผู้ได้รับผลกระทบ และเรียนรู้ถึงชีวิตพวกเขาเหล่านั้น ทำให้เข้าใจ และสามารถนำไปปรับใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • การ ทำงาน เริ่มจากจุดที่เยาวชนเป็น เช่น เด็กท้องก่อนแต่งและทำแท้ง ก็ต้องเริ่มต้นจากจุดนี้ ไม่ใช่เรื่องของศีลธรรม การประพฤติตัวเป็นกุลสตรีที่ดี
  • แกนนำเยาวชน และอาสาสมัคร สามารถโทรศัพท์ติดต่อขอคำแนะนำปรึกษาจากทางเจ้าหน้าที่ได้ตลอดเวลา
  • คนทำงานเน้นทำงานตามปรัชญา และมีความเชื่อมั่นในศักยภาพของเยาวชนเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว

­

องค์ความรู้จากการดำเนินงาน

เยาวชน เป็นผู้มีศักยภาพในตัวเองอยู่แล้ว เพียงแต่อาจไม่รู้ตัว จึงต้องมีเวที หรือเปิดโอกาส โดยมีคนที่เข้าใจพวกเขาคอยสนับสนุน พวกเขาก็จะแสดงความสามารถ หรือเดินไปสู่จุดมุ่งหมายได้อย่างเหมาะสม และถูกทาง

โครงการขององค์กร
  • โครงการกล้าเลือก กล้ารับผิดชอบ เป็น โครงการที่จัดทำขึ้น เพื่อพัฒนาแกนนำเยาวชนให้มีศักยภาพความเป็นผู้นำ มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องและส่งผลกระทบต่อตนเอง โดยเฉพาะเรื่องเอดส์ เพศศึกษา ยาเสพติด สิทธิเด็กและเยาวชน
  • โครงการเพื่อเราและเพื่อน มี วัตถุประสงค์เพื่อให้เยาวชนสามารถดูแลตนเองได้ และมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือเพื่อน ชุมชน สังคม โดยเฉพาะด้านเอดส์ และเพศศึกษา จึงจัดกิจกรรมอบรมให้อาสาสมัครอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 2 เดือน และให้อาสาสมัครกระจายออกไปสอนเด็กมัธยม ผ่านรูปแบบของการเล่นเกมส์ ฝึกทักษะ ทำกิจกรรมต่างๆ
  • โครงการสื่อเพื่อเด็กและเยาวชน เป็นการ เปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในการผลิตสื่อที่เกี่ยวข้องกับ สิทธิ บทบาท หน้าที่ ตลอดจนสภาพปัญหาของเด็กและเยาวชน โดยผลิตรายการโทรทัศน์ ออกอากาศทางเคเบิลทีวีในท้องถิ่นสัปดาห์ละ 1 ตอน
  • โครงการเยาวชนนักสื่อสาร มีวัตถุประสงค์โครงการ คือสร้างเยาวชนนักสื่อสารเรื่องเอดส์ และเพศศึกษา ผ่านกระบวนการเรียนรู้สื่ออย่างมีส่วนร่วม และให้เยาวชนสร้างสื่อต้นแบบที่นำไปให้ความรู้ต่อเนื่องได้ โดยเน้นการผลิตสื่อวิทยุเป็นหลัก
  • โครงการอาสาสมัครรู้เท่าทันสื่อ มีวัตถุประสงค์คือ สร้างแกนนำอาสาสมัครรู้เท่าทันสื่อ เพื่อให้เยาวชนสามารถใช้สื่อไปในทางที่เหมาะสม และพัฒนาตัวเอง รวมทั้งแกนนำสามารถนำความรู้ไปเผยแพร่ได้ในสถาบันการศึกษาของตน
  • โครงการฝึกอบรมผู้จัดกระบวนการฝึกอบรมเยาวชน มีวัตถุประสงค์ คือการพัฒนาทักษะคนทำงาน ให้สามารถหนุนเสริมการเรียนรู้ ได้เท่าทันสถานการณ์สังคมและเหมาะสมกับความต้องการของเด็กและเยาวชน
รวมมือร่วมใจ/ขยายผล

ต้องการขายผลกิจกรรมการ พัฒนาศักยภาพเยาวชน เช่น โครงการกล้าเลือกกล้ารับผิดชอบ โครงการอาสาสมัครรู้เท่าทันสื่อ ให้กว้างขวางและครอบคลุมยิ่งขึ้น

ติดต่อองค์กร
มูลนิธิศักยภาพเยาวชน
ที่อยู่: 56/80 ถ.สนามบินเก่า ต.สุเทพ อ.เมือง เชียงใหม่ 50200
โทรศัพท์: 0-5327-4157, 0-5380-8493
โทรสาร: 0-5380-8493