ประวัติความเป็นมา
มูลนิธิรักษ์เด็ก ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคม 2541 ด้วยการสนับสนุนงบประมาณจัดตั้ง จากองค์การ SAVE THE CHILDREN สหรัฐอเมริกา และได้ทำงานเพื่อสังคม โดยเฉพาะกับกลุ่มเด็ก เยาวชน สตรี และผู้ด้อยโอกาสมาตลอด เพื่อเปิดโอกาส เสริมสร้างการพัฒนา ตลอดจนเติมขีดความสามารถแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานต่างๆ ที่ทำงานร่วมกัน ทำให้ให้เด็กและเยาวชน และครอบครัวในภาคเหนือตอนบน ที่อยู่ในภาวะยากลำบาก มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และอยู่ร่วมในสังคมได้อย่างมีความสุข โดยมีการดำเนินงาน ดังนี้
- งานช่วยเหลือ และปกป้องคุ้มครองเด็ก
- การแจกทุนยังชีพ เป็นการช่วยเหลือเบื้องต้น โดยพิจารณาให้ความช่วยเหลือเด็กที่ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์ พ่อแม่เสียชีวิต อาศัยอยู่กับผู้ปกครองที่ยากจน มีรายได้ไม่เกินเดือนละ 3,000 บาท ซึ่งทางมูลนิธิจะให้เพียงครั้งเดียว จำนวน 2,400 บาท พร้อมทั้งส่งเสริมให้แต่ละครอบครัวมีรายได้เพิ่มขึ้น หรือมีอาหารบริโภคอย่างพอเพียง ด้วยการฝึกอาชีพ เช่น เลี้ยงจิ้งหรีด เลี้ยงปลา เลี้ยงกบ ทำงานฝีมือ ฯลฯ
- การสร้างความเข้าใจกับ ครอบครัว โรงเรียน และชุมชน ในการดูแลเด็กที่ถูกล่วงละเมิดสิทธิ ถูกทอดทิ้ง ถูกกระทำ หรือเด็กที่กระทำความผิด โดยมีการเชื่อมโยงกับพื้นที่โครงการ และคณะกรรมการคุ้มครองเด็กของจังหวัด เพื่อให้เด็กสามารถยืนหยัดในสังคมได้
- งานพัฒนาทักษะชีวิตและฟื้นฟู สภาพจิตใจเด็ก โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน จัดกิจกรรมเสริมทักษะชีวิต ให้เด็กรู้จักตัวเอง ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สังคม อารมณ์ และสิ่งแวดล้อม เสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับเด็ก เด็กกับครู และเด็กกับผู้ปกครอง พร้อมทั้งฟื้นฟูสภาพจิตใจไม่ให้ถดถอย
- งานช่วยเหลือและฟื้นฟูอาชีพ ผู้ประสบภัยพิบัติ เป็นการให้ความช่วยเหลือด้านอาชีพ เพื่อให้ประชาชนผู้ประสบภัยสามารถกลับมาดำรงชีวิต และเลี้ยงชีพได้ตามอัตภาพ
- งานเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ กับโรงเรียน และชุมชน โดยการจัดทีมวิทยากรออกไปอบรม สร้างความรู้ ความเข้าใจในด้านต่างๆ ให้แก่ครู แกนนำชุมชน ตลอดจนผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเด็ก เช่น การสร้างความตระหนักในสิทธิเด็ก ความเข้าใจเรื่องโรคเอดส์ เป็นต้น
- งานด้านติดต่อสื่อสาร เพื่อเป็นสื่อกลางในการนำเสนอปัญหาเชื่อมโยงองค์ความรู้สู่การปฏิบัติ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงาน ตลอดจนนำเสนอข้อมูล ข่าวสาร งานวิจัยแก่เด็กกลุ่มเป้าหมาย บุคคล และหน่วยงานที่เป็นเครือข่ายการทำงานร่วมกัน ซึ่งแบ่งเป็น 3 ช่องทาง คือ นิตยสาร“เพื่อนเด็ก” ราย 2 เดือน สำหรับเครือข่ายโรงเรียนเพื่อนเด็กในประเทศไทย 987 โรงเรียน, รายการวิทยุ“รักษ์เด็ก” สำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ม.ก.) เชียงใหม่ เอ.เอ็ม 612 กิโลเฮิร์ซ ทุกวันเสาร์ เวลา 12.05-12.55 น. และช่องทางสุดท้ายคือเว็บไซต์รักเด็ก www.rakdek.or.th
วิสัยทัศน์
- เด็กทุกคนในพื้นที่ของแผนงาน โครงการของมูลนิธิฯ เข้าถึงโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามสิทธิ ได้รับการปลูกฝังและเรียนรู้ทักษะชีวิต ได้รับการคุ้มครองจากการล่วงละเมิด การเลือกปฏิบัติและการทอดทิ้ง
- มูลนิธิฯ เป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องสิทธิเด็กและทักษะชีวิต มีการดำเนินงานแผนงานโครงการได้ผลดี เป็นตัวอย่างการ-ดำเนินงานเพื่อเด็กที่สามารถขยายผลให้เกิดประโยชน์สูงสุด แก่เด็กในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย
พันธกิจ
เน้น“สร้างเสริมสิทธิและทักษะ ชีวิตแก่เด็กที่ด้อยโอกาส โดยเฉพาะสิทธิด้านการ ศึกษาและทักษะชีวิตเพื่อแก้ปัญหา พฤติกรรมเสี่ยง และการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามอัตภาพของตนเอง” มีการให้ความช่วยเหลือและคุ้มครองเด็ก เยาวชน และครอบครัว เพื่อให้เด็กได้รับประโยชน์สูงสุด ได้รับการพัฒนาอย่างเหมาะสมตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ขณะเดียวกันก็ได้รับการดูแลเอาใจใส่จากบุคคล และสถาบันต่างๆ ที่ประสานงานกันอย่างต่อเนื่อง
วัตถุประสงค์การดำเนินงาน
- เพื่อให้เด็ก เยาวชน และครอบครัวมีโอกาสได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิต
- ให้ความช่วยเหลือและคุ้มครองเด็กที่ผู้ละเมิดสิทธิตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ของสหประชาชาติ
- เพื่อให้ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเด็ก เยาวชน และครอบครัว สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมได้
- เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และชุมชน เกิดการประสานความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก เยาวชนและครอบครัว
- เพื่อ ให้ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเด็ก เยาวชนและครอบครัวทั้งหญิงและชาย สามารถระดมทรัพยากรสนับสนุนการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก เยาวชน และครอบครัว
ผู้บริหารองค์กร
- นายเกรียงไกร ไชยเมืองดี ผู้อำนวยการมูลนิธิรักษ์เด็ก
รูปแบบการบริหารจัดการ
การบริหารของมูลนิธิรักษ์เด็กมีรูปแบบคือมีประธานกรรมการมูลนิธิรักษ์เด็กและ คณะกรรมการบริหาร เป็นบอร์ดใหญ่ และแบ่งงานออกเป็น 4 ส่วน คือ
- งานด้านบริหาร ได้แก่ งานบัญชีและการเงิน งานธุรการ งานบุคคล งานพัฒนาบุคลากร งานระดมทุนและทรัพยากร
- งานโครงการ ประกอบ ด้วย ฝ่ายงานปกป้องคุ้มครองเด็ก ฝ่ายงานภาคสนาม และฝ่ายงานธุรการ ซึ่งแต่ละโครงการจะมีผู้จัดการโครงการรับผิดชอบ และมีผู้ประสานงานโครงการประจำพื้นที่ กับเจ้าหน้าที่สนับสนุนในแง่ธุรการ
- งานสารสนเทศ ประกอบด้วย งานบรรณาธิการ ฝ่ายข้อมูล-ประสานงาน และงานผลิต
- งานสำนักงาน ประกอบด้วย งานบัญชี การเงิน งานเลขานุการ
ทั้งนี้ ในการประชุมสามัญประจำปี จะมีการประชุมทบทวนแผนกลยุทธ์ ซึ่งวางไว้ระยะ 3 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงานยิ่งขึ้น และเมื่อครบกำหนดจัดทำแผนกลยุทธ์ใหม่ จะมีการจัด WORKSHOP ให้เจ้าหน้าที่ทุกคนร่วมแสดงความคิดเห็น และดึงผู้มีประสบการณ์จากภายนอกองค์กรเข้ามาเป็นที่ปรึกษา จากนั้นจึงจะนำเสนอต่อคณะกรรมการมูลนิธิฯ เพื่อให้คณะกรรมการชี้แนะ หรือกำกับ เพื่อให้แผนกลยุทธ์สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
เงื่อนไขความสำเร็จขององค์กร
- มีเด็ก เยาวชน และผู้ได้รับผลประโยชน์โดยตรง จากการดำเนินงานของมูลนิธิ จำนวน 6,382 คน
- มีผู้ได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมกิจกรรม เช่น ครู ผู้นำชุมชน อาสาสมัคร บุคลากรจากองค์กรพันธมิตร จำนวน 34,897 คน
- ช่วยลดปัญหาการละเมิดสิทธิเด็กในทุกรูปแบบ ทั้งการทารุณกรรมเด็ก การล่วงละเมิดทางเพศ การใช้แรงงานเด็ก การกีดกันด้านการศึกษา ฯลฯ
- สามารถทำให้เด็กที่อยู่ในภาวะยากลำบาก ด้อยโอกาสกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข สร้างรอยยิ้มและมีความหวังได้อีกครั้ง
- ทำให้สังคมตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็กในภาคเหนือ
- กระตุ้นให้ชุมชน และโรงเรียน ตื่นตัว ในการปกป้องคุ้มครองเด็ก
- เด็ก และครอบครัว มีการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตไปในทางที่ดีขึ้น
- สามารถ เชื่อมโยงการทำงานกับองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประ สิทธิภาพและพัฒนาการทำงานในรูปแบบสหวิชาชีพในการให้ความช่วยเหลือเด็ก
- มี กระบวนการสื่อสาร เช่น รายการวิทยุกระจายเสียง, นิตยสาร, เว็บไซด์ ที่ทำงานร่วมกับเครือข่ายครู เด็ก หน่วยงาน แกนนำชุมชน ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน หนุนศักยภาพในการดูแลเด็ก ให้พวกเขามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
องค์ความรู้จากการดำเนินงาน
- เด็ก ไทยยังขาดสิทธิหลายเรื่อง ที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลเพิ่มขึ้น เช่น ด้านสัญชาติ การศึกษา การถูกล่วงละเมิดสิทธิพื้นฐาน การถูกล่วงละเมิดทางเพศ เป็นต้น
- ปฐม เหตุของการศึกษาที่อ่อนแอ ไม่ได้มาจากโรงเรียนเท่านั้น แต่เริ่มต้นจากครอบครัวที่พ่อแม่มีการศึกษาน้อยทำให้ดูแลลูกได้ไม่ดีเท่าที่ ควร
- วัย รุ่นไทยขาดกระบวนการเรียนรู้ทักษะชีวิต มีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย ทำให้ติดโรคเอดส์ หรือท้องก่อนแต่ง ขณะที่วัยรุ่นตะวันตก นิยมอยู่ก่อนแต่ง และมีเพศสัมพันธ์กันค่อนข้างมาก แต่มีปัญหาติดโรคเอดส์ และท้องก่อนแต่งน้อยกว่า
- เด็ก ที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน ส่วนใหญ่จะอยู่ตามแนวตะเข็บชายแดน หรือชนบทห่างไกล โดยเป็นกลุ่มที่มีปัญหาซับซ้อน เช่น ไร้สัญชาติ ปัญหาชาติพันธุ์ ดังนั้นจึงต้องเร่งแก้ไขที่ต้นเหตุ ก่อนที่จะมีการอพยพเข้ามาในเขตเมือง มาอยู่ตามสถานที่ก่อสร้าง หรือสถานบริการต่างๆ ซึ่งถือเป็นการออกอาการปลายทาง
- สังคมไทย ยังมองข้ามปัญหาเกี่ยวกับเด็ก สังเกตได้จากความช่วยเหลือ หรือทุน มักจะมาจากต่างประเทศมากกว่า
รางวัลความสำเร็จ
มูลนิธิดีเด่น ภาคที่ 10 รางวัลที่ 3 จากสมาคมสันบาต มูลนิธิแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อปี 2548
- โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่โรงเรียนและชุมชนเพื่อเพิ่มทักษะในการยืนหยัดสู้ชีวิต เป็นการ เสริมสร้างความสามารถ ในการยืนหยัดสู้ชีวิต ปรับตัวอยู่ร่วมกับสังคมอย่างมีความสุขตามอัตภาพ และมีสุขภาวะที่สมบูรณ์ตามวัย สามารถดำรงชีวิตอย่างมีเป้าหมาย รู้จักวางแผนชีวิต กล้าเผชิญกับปัญหา มีแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างมีเหตุผล สามารถพึ่งตนเองได้อย่างมีศักยภาพ ตลอดจนพัฒนาขีดความสามารถในการให้ความช่วยเหลือ และพัฒนาแก่เด็กที่ได้รับผลกระทบจากเอดส์ แก่คณะทำงานของชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่
- โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งโรงเรียนและชุมชนในการพัฒนาเด็กปฐมวัย เป็น โครงการที่มุ่งเน้นยกระดับการพัฒนาของเด็กปฐมวัย 0-6 ปี ที่ยังไม่มีโอกาส ได้ร่วมกับการพัฒนาอย่างเหมาะสม โดยดำเนินการส่งเสริมให้ผู้ดูแลเด็ก และหน่วยงานในท้องถิ่นเพิ่มคุณภาพการดูแล และพัฒนาบริการใหม่ๆ ในการทำงานร่วมกับครอบครัวของเด็ก เพื่อร่วมกันขจัดอุปสรรคการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ และการศึกษา
- โครงการปกป้องคุ้มครองฟื้นฟูเด็กและครอบครัวที่อยู่ในภาวะยากลำบาก เป็นการพัฒนาระบบกลไกการปกป้องคุ้มครองเด็ก การฟื้นฟูเด็กและครอบครัว ระบบการส่งต่อเด็ก โดยเน้นที่เด็กเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา
- มูลนิธิฯ ต้องการต่อยอดฐานการทำงานโครงการต่างๆ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องสิทธิเด็ก, ทักษะชีวิต เพื่อให้แต่ละโครงการมีประสิทธิภาพสูงสุด หรือเป็นโครงการตัวอย่างที่สามารถพิสูจน์ ขยายผลได้
- อยากให้ภาครัฐให้ความสำคัญ สนับสนุนงบประมาณในการทำงานในพื้นที่ ตลอดจนให้โอกาสในการนำเสนอ เสริมสร้างความเข้มแข็งระบบข้อมูลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้การช่วยเหลือเด็กเป็นไปอย่างทั่วถึง และครอบคลุมยิ่งขึ้น
- ส่ง เสริมให้เกิดการทำงานในระบบสหวิชาชีพ ในการช่วยเหลือเด็กที่ถูกล่วงละเมิด หรือเด็กกระทำผิด เพื่อจะได้ลงพื้นที่ช่วยเด็กอย่างทันท่วงที
มูลนิธิรักษ์เด็ก
ที่อยู่: 159/26 หมู่บ้านอนุสารวิลล่า ถนนเชียงใหม่-ฮอด ต.ป่าแดด อ.เมือง เชียงใหม่ 50100
โทรศัพท์: 0-5350-1246
โทรสาร: 0-5350-1247
Email: tlsdf@csloxinfo.com
Website: http://www.rakdek.or.th
|