ประวัติความเป็นมา
เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.2527
โครงการเล็กๆ สำหรับผู้หญิงได้ถือกำเนิดขึ้นโดยมีชื่อว่า
"ศูนย์ข่าวผู้หญิง"
ทำหน้าที่ให้ข้อมูลแก่ผู้หญิงที่ต้องการเดินทางไปทำงานต่างประเทศ
เพื่อป้องกันมิให้ผู้หญิงต้องถูกล่อลวงสู่การค้าประเวณี ทั้งยังผลิตสื่อการ
ศึกษาสำหรับผู้หญิงในสาขาอาชีพต่างๆ ต่อมาในปี พ.ศ.2528
ศูนย์ข่าวผู้หญิงได้ตระหนักถึงปัญหาความรุนแรงในครอบครัว
จึงได้จัดทำโครงการบ้านพักผู้หญิงเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้หญิงที่ประสบ
ปัญหาถูกสามีทำร้ายร่างกาย
พร้อมทั้งรณรงค์เผยแพร่ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว และได้จัดทำโครงการคำหล้า
เพื่อกระตุ้นให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการหยุดยั้งการนำเด็กเข้าสู่
กระบวนการค้าประเวณี
โดยเริ่มจากการใช้หนังสือคำหล้าเผยแพร่ผ่านครูในโรงเรียนเพื่อเป็นสื่อการ
ศึกษากับเด็ก นักเรียน
ด้วยปัญหาสิทธิความไม่เท่าเทียมและการใช้ความ
รุนแรงในรูปแบบต่างๆ ในปี พ.ศ. 2530
มูลนิธิผู้หญิงจึงเกิดขึ้นเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้หญิงและเด็กที่ประสบ
ปัญหา เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์
ตลอดจนรณรงค์ให้สังคมได้ตระหนักถึงปัญหาที่ผู้หญิงเผชิญอยู่ในปัจจุบัน
รวมถึงอบรมอาสาสมัครเพื่อคุ้มครองช่วยเหลือผู้หญิง
และเด็กในชุมชนทั้งชาวไทยและเยาวชนชาวเขาที่ประสบปัญหาความรุนแรงทางเพศ
ความรุนแรงในครอบครัว
โดยการประสานงานและขอความสนับสนุนจากองค์กรท้องถิ่นและหน่วยงานอื่น ๆ
เพื่อร่วมกันรณรงค์เผยแพร่สร้างจิตสำนึกของคน
ในชุมชนให้ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดกับผู้หญิงและเด็ก
วิสัยทัศน์
คุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของผู้หญิงและเด็ก
พันธกิจ
ช่วยเหลือ คุ้มครองหญิงและเด็กที่ประสบปัญหา รณรงค์ให้สังคมตระหนักถึงการถูกละเมิดสิทธิของผู้หญิง พร้อมเก็บข้อมูล ดำเนินงานวิจัย และผลักดันกฎหมายให้ผู้หญิงได้รับสิทธิเสมอภาคเท่าเทียมผู้ชาย
วัตถุประสงค์การดำเนินงาน
- ให้ความช่วยเหลือ แก่ผู้หญิงที่ทุกข์ยากและด้อยโอกาสในสังคม
- ให้การศึกษา และผลิตสื่อที่เหมาะสมแก่ผู้หญิงในสาขาอาชีพต่างๆ
- สนับสนุนสิทธิ ของผู้หญิงตามที่ระบุไว้ในปฏิญญาสากล ขององค์การสหประชาชาติ
- เพื่อวิจัยและเผยแพร่ข้อมูล ที่เกี่ยวกับผู้หญิงและดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อการพัฒนาผู้หญิง
- เพื่อร่วมมือกับองค์การสาธารณะประโยชน์อื่น
- ส่งเสริมสิทธิของผู้บริโภค สื่อสารมวลชน และใช้สื่อสารมวลชนเพื่อสาธารณะประโยชน์
ผู้บริหารองค์กร
- คุณหญิงอัมพร มีศุข กรรมการที่ปรึกษา
- ศรีสว่าง พั่ววงศ์แพทย์ กรรมการที่ปรึกษา
- เฉลิมศรี ธรรมบุตร กรรมการที่ปรึกษา
- ศิริพร สะโครบาเนค ประธาน
- อมรา พงศ์ศาพิชญ์ รองประธาน
- กฤตยา อาชวนิจกุล กรรมการ
- รังสิมา ลิมปิสวัสดิ์ กรรมการและเลขาธิการ
- สุกัญญา นิธังกร กรรมการ
- ศุทธินี สันตบุตร กรรมการ
- อัญชนา สุวรรณานนท์ กรรมการ
- ดาราวรรณ ธรรมารักษ์ กรรมการ
- วราภรณ์ แช่มสนิท กรรมการ
รูปแบบการบริหารจัดการ
มูลนิธิ ผู้หญิง เป็นองค์กรพัฒนาเอกชน ที่ตั้งขึ้นมาตั้งแต่ ปี 2530 เพื่อช่วยเหลือผู้หญิงและเด็กให้หลุดพ้นจากปัญหาความรุนแรงทางสังคม มีโครงสร้างการบริหาร งาน ดังนี้ คณะกรรมการ ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา และมีเจ้าหน้าที่ทำงานประจำอยู่ในฝ่ายต่างๆ ซึ่งการดำเนินงานของมูลนิธิแบ่งออกเป็น 3 ฝ่ายดังนี้
- ฝ่ายบริการสังคม ทำ หน้าที่ให้ความช่วยเหลือ คุ้มครองแก่ผู้หญิงและเด็กที่ประสบปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ความรุนแรงทางเพศ และถูกละเมิดสิทธิในรูปแบบต่างๆ ทั้งไทยและต่างชาติที่ถูกล่อลวงหรือเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ โดยการให้คำแนะนำปรึกษา ความช่วยเหลือเฉพาะหน้า และความช่วยเหลือด้านกฎหมาย ตลอดจนประสานงานส่งต่อหน่วยงานต่างๆเพื่อให้ผู้ประสบปัญหาได้รับการบริการ ทางสังคม และเยียวยาทั้งร่างกายและจิตใจ
- ฝ่ายข้อมูล และรณรงค์ ทำ หน้าที่ประสานความร่วมมือกับสื่อมวลชนด้านต่างๆเพื่อสร้างเครือข่ายในการส่ง ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อผู้หญิง รวมทั้งการผลิตสื่อต่างๆ เช่น จดหมายข่าวศูนย์ผู้หญิง เพื่อเผยแพร่แก่สมาชิกผู้สนใจ นอกจากนี้ยังรวบรวมข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวกับความรุนแรงต่อผู้หญิง การค้าหญิงและเด็ก รวมถึงสิทธิของผู้หญิงเพื่อทำงานวิจัย สร้างองค์ความรู้ อันจะนำไปสู่การผลักดันให้เกิดนโยบายและกฎหมายที่คุ้มครองสิทธิและส่งเสริม ความก้าวหน้าของผู้หญิงต่อไป
- ฝ่ายชุมชน ทำ หน้าที่ส่งเสริมบทบาทชุมชนในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้หญิงและเด็ก และกระตุ้นให้ชุมชนตระหนักถึงสถานการณ์ปัญหา และความต้องการเฉพาะของผู้หญิง โดยจัดอบรมเพื่อให้ข้อมูลแก่เครือข่ายในชุมชน เพื่อสร้างความตระหนักในปัญหาความรุนแรงรวมถึงการละเมิดสิทธิในรูปแบบต่างๆ ที่เกิดกับผู้หญิงและเด็ก ตลอดจนการเสริมสร้างศักยภาพแก่หญิงและเด็กให้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของ ตนเองและปัญหาของชุมชน สร้างโอกาสในการแสดงความคิดเห็น และนำเสนอปัญหาของตนในเวทีสาธารณะต่างๆ
ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ในแต่ละฝ่ายจะมีการพัฒนาโครงการและสร้างกิจกรรมที่สอดรับกับบทบาทของตน โดยจุดแข็งในการบริหารงานของมูลนิธิคือเจ้าหน้าที่ทุกคนต้องรับรู้ถึงภาพรวมการทำงานของทุกฝ่าย เพื่อ ให้เกิดการทำงานที่เสริมซึ่งกันและขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน โดยประเด็นงานภาพรวมของมูลนิธิจะเปลี่ยนไปตามสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม อีกทั้งเน้นการทำงานร่วมกับภาคีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างแนวร่วมและพลังในการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิผู้หญิงและเด็กอย่าง เป็นรูปธรรม
เงื่อนไขความสำเร็จขององค์กร
- แหล่งเงินทุนที่ให้การสนับสนุนมูลนิธิไม่มีการกำหนดกรอบการทำงาน มีความยืดหยุ่นสูง
- การทำงานคณะทำงานเป็นไปในลักษณะของเพื่อนร่วมงาน
- เจ้าหน้าที่มีการประชุมร่วมกันทุกเดือนเพื่อรับรู้ภาพรวมการทำงานของทุกฝ่าย อันจะช่วยให้เกิดการขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน
- เจ้าหน้าที่มีความตั้งใจและมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือ คุ้มครองสิทธิของผู้หญิงที่ประสบปัญหา
- ประเด็นในการทำงานเป็นโจทย์ที่ตอบสนองต่อความต้องการของสังคม
- มี กระบวนการทำงานที่ครบวงจรตั้งแต่การช่วยเหลือผู้หญิงที่ประสบปัญหา มีการเก็บข้อมูล ทำวิจัยเพื่อสังเคราะห์ที่มาของปัญหา สร้างองค์ความรู้ เพื่อรณรงค์และสร้างความตระหนักต่อสังคม รวมถึงเป็นข้อมูลในการผลักดันนโยบาย กฎหมาย หรือระบบการรองรับของรัฐบาลเข้ามาช่วยเหลือ
- เน้นการสนับสนุนให้คนในพื้นมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาของตนเอง
- มี การสร้างเวทีให้ผู้หญิงได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อสร้างความมั่นใจ และความเข้มแข็งในกล้าลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อสิทธิของตนเองมากขึ้น
- การ ทำงานที่ไม่เน้นผลชี้วัดที่ปริมาณ แต่มุ่งหวังในคุณภาพชีวิตของผู้หญิงที่จะได้รับการคุ้มครอง และมีสิทธิที่เสมอภาคเท่าเทียมผู้ชายมากขึ้น
- ใช้ ประสบการณ์ และสถานการณ์จริงมาถ่ายทอดเป็นบทเรียนให้แก่สังคมได้เรียนรู้ในรูปแบบที่ หลากหลายเพื่อความเหมาะสมต่อกลุ่มเป้าหมายที่ต่างวัย ทั้งวารสาร หนังสือนิทาน เป็นต้น
องค์ความรู้จากการดำเนินงาน
สิ่ง สำคัญนอกจากการช่วยเหลือเฉพาะหน้าแก่ผู้หญิงและเด็กที่ประสบปัญหา คือต้องมีกระบวนการทำงานที่ครบวงจร กล่าวคือต้องมีการทำงานวิจัยเชิงลึกควบคู่ไปด้วย เพื่อสร้างข้อมูล องค์ความรู้ที่ถูกต้องและนำไปใช้เป็นข้อมูลในการดำเนินการ ผลักดันกฎหมาย และการสร้างกลไกในการรองรับ ช่วยเหลือผู้หญิงละเด็ก ที่สำคัญเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครต้องเป็นผู้เสียหายเข้าไปใช้ระบบบริการของ รัฐ เพื่อเรียนรู้ว่ากลไกที่พัฒนาขึ้นนั้นมีมีประสิทธิภาพหรือไม่ มีข้อดี ข้อเสีย หรือข้อจำกัดที่ส่วนใด เพื่อเป็นข้อมูลในการนำมาผลักดันให้กฎหมาย ระบบการรองรับมีประโยชน์ต่อผู้หญิงมากที่สุด
รางวัลความสำเร็จ
- มูลนิธิผู้หญิง ได้รับเลือกให้เป็นองค์กรภาคเอกชนดีเด่น ด้านการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนสตรี เนื่องในวันสตรีสากล 8 มี.ค. 2549
- คุณ ศิริพร สะโครบาเนค ประธานมูลนิธิผู้หญิง ได้รับการประกาศเกียรติคุณในสาขาบุคคลในภาคเอกชนดีเด่น ด้านการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของสตรี
- โครงการช่วยเหลือหญิงและเด็กต่างชาติ ช่วย เหลือเฉพาะหน้าแก่ผู้หญิงและเด็กต่างชาติตามสถานที่ต่าง ๆ อาทิ กองตรวจคนเข้าเมือง สถานีตำรวจ และโรงพยาบาล โดยให้ความช่วยเหลือสิ่งจำเป็นพื้นฐาน เช่น มร่วมมือกับสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อเผยแพร่แก่ครูให้ใช้สื่อคำหล้าและคำแก้วในการเรียนการสอนแก่เด็กชั้น ประถม พร้อมทั้งจัดอบรมเชิงปฏิบัติการกับกลุ่มครูเพื่อติดตามผลของการใช้สื่อคำ หล้า และได้เผยแพร่ต่อไปยังผู้นำสตรีและเยาวสตรี
- โครงการสานชีวิตหญิงและเด็กอันดามัน หรือ กิจกรรมรณรงค์เรื่องการฉลาดไม่ซื้อ การงดซื้อ 1 สัปดาห์ เป็นการเชิญชวนให้ใช้ชีวิตโดยไม่ซื้อสินค้าที่ไม่จำเป็น แล้วทบทวนตัวเองมีทางเลือกอะไรบ้างในการใช้ชีวิตแบบนี้ เช่นการหากิจกรรมที่มีประโยชน์ทำ ซึ่งอาจทำคนเดียวหรือรวมกลุ่มกันทำก็ได้
- สนับสนุนการพัฒนาบุคลากรของมูลนิธิ
- สนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่
- สนับสนุนการถอดองค์ความรู้เนื้อหางานของมูลนิธิ
- ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของมูลนิธิ
มูลนิธิผู้หญิง
ที่อยู่: 295 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 62 เขตบางพลัด แขวงบางยี่ขัน กรุงเทพมหานคร 10700
โทรศัพท์: 0-2433-5149, 0-2435-1246
โทรสาร: 0-2434-6774
Email: info@womenthai.org
Website: http://www.womenthai.org/
|