มูลนิธิดวงประทีป
จัดตั้ง: 8 ต.ค. 2558
ข้อมูลองค์กร

­

ประวัติความเป็นมา

จากปัญหาความแออัด และยากจนในเขตชุมชนคลองเตย ที่พ่อแม่ผู้ปกครองต้องออกทำมาหากินตั้งแต่เช้าจรดค่ำ ทำให้เด็กๆ ในชุมชนขาดการเอาใส่ใจดูแล และถูกทอดทิ้งให้อยู่ตามลำพัง ทำให้เกิดการมั่วสุม และชักชวนไปในทางที่ผิด อันทำให้เกิดปัญญาสังคมตามมา การให้ “การศึกษา” จึงเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยเหลือไม่ให้เกิดเหตุการณ์เหล่านี้ มูลนิธิดวงประทีปจึงทำหน้าที่ในการอบรม เลี้ยงดู และสั่งสอนบุตรหลานของคนในชุมชนคลองเตยที่ผู้ปกครองส่วนใหญ่ไม่มีเวลาในการ อบรม เลี้ยงดู ให้เด็กเหล่านี้ได้รับการศึกษา และมีแนวทางในการดำเนินชีวิตที่ดี ห่างไกลยาเสพติด และสิ่งยั่วยุทางสังคมที่นับวันจะรุนแรงและหลากหลายมากขึ้น โดยจัดตั้งเป็นโรงเรียนชนบทหมู่บ้านพัฒนาขึ้นในพื้นที่ชุมชนแออัดคลองเตย และเก็บค่าเล่าเรียนเพียงเล็กน้อยหรืออาจไม่เก็บเลยในบางครอบครัว ถือเป็นการสร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับเยาวชนชุมชนคลองเตย และช่วยแบ่งเบาภาระของครอบครัวเป็นอย่างมาก

­

วิสัยทัศน์

เพื่อการศึกษาเด็กยากจน และพัฒนาคนยากไร้

­

พันธกิจ

สร้างพื้นฐานที่ดีในด้านต่างๆ ให้กับเด็กและเยาวชนในชุมชนคลองเตยและใกล้เคียง ซึ่งเป็นกลุ่มเยาวชนที่ถูกละเลย หรือมีภาวะเสี่ยงของการถูกโน้มนำไปในทางที่ผิด ด้วยการปลูกฝังความคิดในเชิงบวก การสร้างเสริมความรู้ การศึกษา และสภาวะผู้นำ รวมไปถึงการสร้างจิตสำนึกในการดูแลพื้นที่ที่อาศัยอยู่ให้เป็นชุมชนที่ดี มีระบบระเบียบในการดูแลตนเองมากยิ่งขึ้น

­

วัตถุประสงค์การดำเนินงาน

  • ให้ โอกาสทางการศึกษาแก่เด็ก เยาวชนในชุมชนที่ยากจน รวมทั้งฝึกฝนวิชาชีพและอบรมการฝีมือ เพื่อให้เป็นพลเมืองดี มีวิชาความรู้ มีความ สามารถที่จะทำมาหาเลี้ยงตนเอง และครอบครัวต่อไปในอนาคต
  • ส่ง เสริมให้เด็กและเยาวชนมีพลานามัยสมบูรณ์ ได้รับการปลูกฝังคุณธรรมให้เป็นกัลยาณชน เพื่อดำรงชีพเป็นกำลัง เป็นประโยชน์ต่อสังคม และชาติบ้านเมือง
  • ช่วยเหลือและสนับสนุนการศึกษา การวิจัยเกี่ยวกับสภาวะและปัญหาชุมชนที่ยากจนให้เกิดความเข้าใจ และดำเนินการพัฒนาได้อย่างถูกต้อง
  • เผย แพร่ความรู้ทั้งทางวิชาการ และประสบการณ์เกี่ยวกับการให้การศึกษา การฝึกฝน การอบรมแก่เด็กและเยาวชน ตลอดจนเผยแพร่สารคดีเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม มนุษย์สัมพันธ์ และพัฒนาชุมชนที่ยากจน
  • ให้ความร่วมมือกับองค์กรการกุศลอื่นๆ เพื่อสาธารณประโยชน์
  • ส่งเสริม และสนับสนุนให้องค์กรชุมชนเข้มแข็ง

­

ผู้บริหารองค์กร

  • ดร. สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา ประธาน
  • นายอุดม เย็นฤดี รองประธาน
  • ดร. วิทวัส คงคากุล รองประธาน
  • นางประทีป อึ้งทรงธรรม (ฮาตะ) เลขาธิการ
  • นางมิ่งพร อึ้งทรงธรรม รองเลขาธิการ
  • นายสมพงษ์ พัดปุย เหรัญญิก
  • นางสาวเพ็ญวดี แสงจันทร์ ผู้จัดการมูลนิธิฯ

­

รูปแบบการบริหารจัดการ

ใน แต่ละปีจะมีการกำหนดแผนงาน และนโยบายของมูลนิธิฯ ขึ้น โดยหัวหน้าโครงการต่างๆ เป็นผู้เขียนแผน และนำเสนอโดยผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการ และผู้บริหารของมูลนิธิฯ เมื่อผ่านการพิจารณาแล้ว หัวหน้าโครงการต่างๆ จะมีหน้าที่นำแผนงานนั้นไปปฏิบัติเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย และแผนการดำเนินงานหลักของมูลนิธิฯ ต่อไป

­

เงื่อนไขความสำเร็จขององค์กร

  • มีการส่งบุคลากรของมูลนิธิไปศึกษาดูงานในที่ต่างๆ เพื่อนำกลับมาปรับปรุงงานของมูลนิธิฯ ให้เกิดความทันสมัยและใช้ประโยชน์ได้จริง
  • การ แลกเปลี่ยนตำแหน่งหน้าที่ของหัวหน้าโครงการต่างๆ ทำให้เกิดการเรียนรู้ของหัวหน้าโครงการอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งยังเป็นการนำสิ่งแปลกใหม่เข้าสู่แต่ละโครงการ
  • การ ให้โอกาสเด็กและเยาวชนได้ลงมือทำกิจกรรมด้วยตัวเอง โดยไม่มีการบังคับหรือชี้นำ ส่งผลให้เยาวชนเติบโตและมีความกล้าที่จะเป็นผู้นำชุมชนได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
  • การ มองเด็กและเยาวชนที่เข้ามาในมูลนิธิฯ เหมือนญาติพี่น้อง ทำให้เด็กเกิดความไว้ใจ จนสามารถบอกเล่าเรื่องราวปัญหาที่ไม่สบายใจของตนเองให้มูลนิธิฯ รับรู้ได้อย่างเต็มที่ ทำให้มูลนิธิฯ สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างตรงจุด
  • การ ลงพื้นที่ของเจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ ทำให้ทราบปัญหาและเกิดความใกล้ชิดกับคนในชุมชน เกิดความไว้วางใจและการยอมรับซึ่งกันและกันในการแก้ปัญหาต่างๆ ของชุมชน

­

องค์ความรู้จากการดำเนินงาน

  • การ แก้ไขปัญหาชุมชนต้องให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในแก้ไขปัญหา เพราะ คนภายนอกชุมชนเข้าไปช่วยได้เพียงแค่ช่วยให้เกิดกระบวนการแก้ไขด้วยตัวของเขา เองเท่านั้น
  • ผู้ที่จะทำงานกับชุมชนไม่ควรอยู่กับที่ ควรลงไปหาชุมชนเพื่อรับทราบปัญหาที่แท้จริงสำหรับการแก้ไขที่ถูกทาง
  • การ ศึกษาไม่ควรให้เฉพาะกับเด็กเท่านั้น ผู้ใหญ่ก็ควรได้รับการศึกษาด้วยเช่นกัน หากผู้ใหญ่ไม่เห็นความสำคัญของการศึกษาโอกาสทางการศึกษาของเด็กก็จะลดน้อย ถอยลงตามไปด้วย
  • การ ปรับเปลี่ยนหมุนเวียนของเจ้าหน้าที่ภายในองค์กร สร้างความหลาก หลายและช่วยให้เกิดการปรับตัวกับงานใหม่ที่ได้รับ ส่งผลให้งานดังกล่าวประสบผลสำเร็จ
  • หาก ต้องการให้เด็กมีความคิด ควรปล่อยให้เด็กได้คิดอย่างเต็มที่ ไม่ควรชักนำ บงการ หรือสั่งให้ทำ เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่ช่วยให้เด็กคิดได้ แต่กลับทำให้เด็กๆ รอคอยแต่คำสั่งจนคิดไม่เป็น

­

รางวัลความสำเร็จ

ครูประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิดวงประทีป ได้รับรางวัลจากทั้งใน และ นอกประเทศ ดังนี้

  • ปี 2517 ได้รับรางวัล เยาวชนดีเด่นแห่งเอเชีย จากสถานีโทรทัศน์ NHK ประเทศญี่ปุ่น
  • ปี 2521 ได้รับรางวัล รามอนแม็กไซไซ สาขาบริการชุมชน จากมูลนิธิรามอนแม็กไซไซ ประเทศฟิลิปปินส์
  • ปี 2523 ได้รับรางวัล ผู้นำเยาวชนดีเด่นของโลก จากมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • ปี 2541 ได้รับรางวัลเพชรงาม สาขาอาชีพสตรีที่อุทิศตนให้สาธารณะประโยชน์ จากรายการวิทยุเวทีผู้หญิง
  • ปี 2543 นิตยสารกุลสตรี มอบโล่เกียรติยศคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 9 ยอดกุลสตรีแห่งปี ในสายงานสังคมสงเคราะห์
  • ปี 2543 นิตยสาร บิสซิเนสวีค ฉบับเดือนมิถุนายน เลือกเป็น สตาร์ ออฟ เอเชีย ในสาขาผู้นำทางความคิด
  • ปี 2547 ได้รับพระราชทานรางวัล The Global friend's Award และ รางวัล The World's Children'sPrizeจาก พระราชินี ซิลเวีย แห่ง สวีเดน โดยองค์กร The World's Children's Prize for the Rights of the Child
  • ปี 2548 ได้รับการแต่งตั้งจากสำนักงานข้าหลวงใหญ่ ด้านสิทธิมนุษยชน องค์การสหประชาชาติ (Office of The High Commissioner or Human Right, United Nations) โดยเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ให้ดำรงตำแหน่งกรรมการ Board of Trustess of the United Nation Voluntary Trust Fund for Contemporary Forms of Slavery
  • ปี 2550 ได้รับรางวัล Outstanding Women in Buddhism Awards จาก UN. (United Nation)

โครงการขององค์กร
  • โครงการอนุบาลดวงประทีป
  • โครงการทุนการศึกษา
  • โครงการพัฒนาเยาวชน
รวมมือร่วมใจ/ขยายผล

สร้างพื้นฐานที่ดีใน ด้านต่างๆ ให้กับเด็กและเยาวชนในชุมชนคลองเตยและใกล้เคียง ซึ่งเป็นกลุ่มเยาวชนที่ถูกละเลย หรือมีภาวะเสี่ยงของการถูกโน้มนำไปในทางที่ผิด ด้วยการปลูกฝังความคิดในเชิงบวก การสร้างเสริมความรู้ การศึกษา และสภาวะผู้นำ รวมไปถึงการสร้างจิตสำนึกในการดูแลพื้นที่ที่อาศัยอยู่ให้เป็นชุมชนที่ดี มีระบบระเบียบในการดูแลตนเองมากยิ่งขึ้น

ติดต่อองค์กร
มูลนิธิดวงประทีป
ที่อยู่: 34 ล๊อค 6 ถ.อาจณรงค์ คลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
โทรศัพท์: 0-2671-4045-8
โทรสาร: 0-2249-5254