มูลนิธิกระต่ายในดวงจันทร์
จัดตั้ง: 8 ต.ค. 2558
ข้อมูลองค์กร

­

ประวัติความเป็นมา

มูลนิธิกระต่ายในดวงจันทร์ เกิดขึ้นเมื่อปี 2543 จากการรวมตัวกันของบุคคลหลายสาขาอาชีพ ทั้งนักธุรกิจ นักออกแบบ พิธีกร นักโฆษณา ฯลฯ ที่เห็นความสำคัญในการดูแลสิ่งแวดล้อม งานหลักของมูลนิธิฯ คือการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะป่าไม้ มุ่งแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ เน้นการปลูกจิตสำนึกแทนการปลูกต้นไม้ โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ เด็กและเยาวชนที่ได้รับการสร้างจิตสำนึกผ่านกระบวนการเรียนรู้ทางธรรมชาติ โดยวิธีการทางศิลปะผ่านการสัมผัสธรรมชาติจริงในรูปแบบและวิธีการที่แตกต่าง เพื่อให้เกิดความเข้าใจและนำไปสู่การปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมที่เป็น มิตรต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้วยเชื่อว่าเมื่อเด็กๆ เกิดสำนึกที่ดีต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแล้วในอนาคตเมื่อเด็กเหล่านี้ เติบโตขึ้นก็จะเป็นคนที่มีคุณภาพ มีคุณค่าต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
มูล นิธิฯ สร้างจิตสำนึกให้เด็กและเยาวชนด้วยการสร้างกระบวนการให้เด็กได้สัมผัส ธรรมชาติจริง ภายใต้หลักความคิดว่า “ความจริง ความงาม ความดี” ผ่านกิจกรรมที่ออกแบบให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละวัย พร้อมสอดแทรก “ศิลปะขั้นพื้นฐาน” กับ “ความสนุก” เข้าไว้ด้วยกัน
มูลนิธิฯ ทำงานโดยไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว การลองผิดลองถูก ทำให้เกิดองค์ความรู้มากมาย ตั้งแต่เรื่องเล็กน้อยไปจนถึงเรื่องใหญ่ๆ ด้วยความชื่อว่าที่ว่า การลงมือทำจะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้น และทุกเมล็ดที่ปลูกลงไปแม้จะเกิดผลเพียงเล็กน้อย แต่ความเปลี่ยนแปลงเล็กๆ ก็สามารถเกิดขึ้นได้จริง เหมือนความเชื่อที่ว่าในดวงจันทร์มีกระต่าย และเมื่อเรามองไปทีไรก็จะเห็นกระต่ายตัวนั้นทุกครั้ง

­

วิสัยทัศน์

หากทำให้มนุษย์เข้าใจธรรมชาติมากขึ้น แม้อีกเพียงนิดเดียวก็เป็นงานที่มีค่าและควรทำอย่างยิ่ง

­

พันธกิจ

อำนวยความสะดวกในการฟื้นคืนมา ของป่าไม้ธรรมชาติ โดยการสนับสนุนให้คนได้รับความรู้ที่สำคัญและจำเป็นต่อการได้ และเอื้อประโยชน์ของป่าไม้ และเน้นการปลูก "จิตสำนึก" ให้รู้จัก รู้ใช้ รู้รักษา เกิดความรักและเห็นคุณค่าของธรรมชาติ

­

ปรัชญาความเชื่อ
ทุกสิ่งเป็นชีวิตเดียวกัน ย่อมมีส่วนได้ส่วนเสียร่วมกันปณิธานถ้าเราทำให้มนุษย์เข้าใจธรรมชาติมากขึ้น แม้อีกเพียงนิดเดียวก็เป็นงานที่มีค่าและควรทำอย่างยิ่ง


กลุ่มเป้าหมาย
เป้า หมายคือ ทำเพื่อ “สิ่งแวดล้อม” แต่กลุ่มเป้าหมายนั้นเล็งไป ที่มนุษย์ซึ่งเป็นผู้ที่สามารถสร้างสรรค์และทำลาย ทั้งนี้กลุ่มที่ เหมาะสมที่สุดคือ “เด็กและเยาวชน” เนื่องจากเป็นวัยที่เหมาะสม ในการปลูกจิตสำนึก อีกทั้งยังเป็นวัยที่ปลอดจากอุปสรรคในการ เรียนรู้และมากที่สุด


ภารกิจ
สร้าง กระบวนการเรียนรู้ โดยมีหลักการว่าการเรียนรู้นั้นจะต้องเป็น ไป เพื่อให้เกิดการรักษาดูแล หรือป้องกัน พัฒนาสิ่งแวดล้อมภาย ใต้บรรยากาศที่สนุกสนาน สามารถสัมผัสได้ด้วย หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ (จิตนาการ)

­

คณะกรรมการกิตติมศักดิ์

นางกาญจนา สายสิริพร

นายประมุข แก้วเนียม

นางเตือนใจ ดีเทศน์

ดร.นันทนา คชเสนี

ดร.สายสุรี จุติกุล

นางปัทมน อดิเรกสาร

นายดำฤทธิ์ วิริยะกุล

นางสาวอภิรดี จูฑะศร

นายประพันธ์ ประภาสะวัต

นายสาธิต กาลวันตวานิช

นายอรรถจักร์ สัตยานุรักษ์

­

คณะกรรมการ

นายชาญชัย พินทุเสน ประธานกรรมการ

นายวิเชียร เจษฎากานต์ รองประธานกรมการ

นายคทา มหากายี กรรมการ

นางสาววริศรา ลี้ธีระกุล กรรมการ

นางสาวทรรศนีย์ รัตนเรืองไร กรรมการ

นางสาวอรนุช เตชะมหพันธ์ กรรมการและเหรัญญิก

นางสาวภัทราภรณ์ วนามหาศาล กรรมการและเลขานุการ

­

ผลงานเด่น
ระดับประเทศ
เพื่อ สร้างการเปลี่ยนแปลงในเมืองใหญ่ โดยสร้างโอกาสให้เด็กในเมืองได้เรียนรู้สิ่งแวดล้อม ป่า ชุมชนชนบท อีกทั้งสร้างกระแสให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อม ผ่านการดำเนินงานของ 3 โครงการ คือ

1. โครงการ keeee Camp เป็นโครงการหลักซึ่งเป็นโครงการระยะยาวมีศักยภาพสูงในการปลูกจิตสำนึกให้กับเด็ก และเยาวชน
2. โครงการ keeeep
3. โครงการกระต่ายตื่นตัว

พื้นที่ดำเนินการ : ทั่วประเทศ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม


ระดับพื้นที่หรือชุมชน

เพื่อให้เด็กเป็นผู้ที่ช่วยกันรักษาดูแลสิ่งแวดล้อมในชุมชนที่ตนเองอาศัยอยู่ ภายใต้โครงการ ปลุกจิตสำนึกในการ ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมระดับชุมชน ซึ่งมีโครงการย่อย 4โครงการ คือ

4.1 โครงการศึกษาธรรมชาติโดยศิลปะวิธี เป็นโครงการที่มีผลต่อการสร้างจิตสำนึกมีประสิทธิภาพ

4.2 โครงการเด็กสร้างสื่อ สื่อสร้างเด็ก

4.3 โครงการดนตรีรักษ์สิ่งแวดล้อม

4.4 โครงการสร้างอาชีพชุมชน

พื้นที่ดำเนินงาน: อุทยานธรรมชาติวิทยา จ.ราชบุรี โดยมีโรงเรียนสินแร่สยาม หมู่2 ต.สวนผึ้ง อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี เป็นพันธมิตร

­

เงื่อนไขความสำเร็จของมูลนิธิกระต่ายในดวงจันทร์

  • คณะกรรมการกิตติมศักดิ์ เป็นส่วนเติมเต็ม ให้ข้อเสนอแนะ ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินโครงการ
  • ยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนงานของมูลนิธิฯ ส่วนใหญ่ออกมาจากระดับคณะกรรมการ
  • มีประธานคณะกรรมการ เป็น “ผู้รู้” ที่คอยให้คำแนะนำ และ ประเมินโครงการด้วยตนเองอย่างใกล้ชิด
  • มีบุคลากรในมูลนิธิฯที่มี “จิตสำนึก” เห็นความสำคัญของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • คณะกรรมการส่วนใหญ่มีเป้าหมายเดียวกันคือ ต้องการปกป้องธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • มีกลการบริหารงานแบบครอบครัว เปิดโอกาสให้ผู้ปฎิบัติงาน แสดงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ตลอดเวลา
  • เน้นการทำงานไปเรียนรู้ไป เพื่อสร้างชุดความรู้ในการขับเคลื่อนงานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกับเยาวชน
  • เน้น บรรยากาศในการเรียนรู้ที่กระตุ้นการเรียนรู้ เช่น ความสวยงาม ความสุข และความสนุกสนานบนฐานความ จริง ที่เด็กจะต้องเป็นผู้รับรู้เข้าไปในกายและจิตเอง โดยที่มูลนิธิฯจะไม่ยัดเยียดความรู้สึกและความรู้นั้นๆ
  • มีกระบวนการต่อยอดโดยให้เด็กฝึกปฏิบัติจริง
  • มีกิจกรรมเสริมศักยภาพของบุคคลากร โดยใช้วิธีการส่งเสริมให้บุคลากรแสวงหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเอง ตามความต้องการ
  • การ พัฒนาและใช้ความรู้นั้นๆ อาทิ Outcome mapping หรือการไปปรึกษาผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็ก พัฒนาการด้านเด็ก ด้านสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
  • ­

    บทความที่น่าสนใจ

  • กระต่ายในดวงจันทร์สร้างสรรค์สังคม
  • รวมมือร่วมใจ/ขยายผล


    ความร่วมมือกับองค์กรพันธมิตร

    มูลนิธิกระต่ายในดวงจันทร์ ต้องการความร่วมมือในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น ด้าน ปัจจัยที่เป็นทุนที่เป็นตัวช่วยขับเคลื่อนงาน มูลนิธิฯ อีกทั้ง ต้องการองค์ความรู้ จากผู้ที่จะมาแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน หรือช่วยให้การทำงานของมูลนิธิฯ เราก้าวหน้า ได้ เช่นองค์ความรู้เกี่ยวกับเด็ก เยาวชน เทคนิควิธีการประเมินโครงการ หรือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินโครงการฯ

    นอกจากนี้องค์กรหรือบุคคลทั่วไปสามารถร่วมมือกับมูลนิธิกระต่ายในดวงจันทร์ได้หลายวิธี

    • บริจาคเงินเข้าบัญชีมูลนิธิกระต่ายในดวงจันทร์ เลขที่บัญชี 103-1-016111 บัญชีสะสมทรัพย์ ธนาคารกรุงเทพฯ สาขายานนาวา
    • สมัครสมาชิกจุลสารโยกเยกเอย
      สมาชิกทั่วไปปีละ 200 บาท รับจุลสารโยกเยกเอย ปีละ 6 ฉบับ
      สมาชิกกิตติมศักดิ์ปีละ 1,000 บาท รับจุลสารโยกเยกเอยปีละ 6 ฉบับ และรับหนังสือพิมพ์สินแร่จิ๋วแต่แจ๋ว 
    • ร่วมมือโดยเลือกซื้อสินค้าของมูลนิธิกระต่ายในดวงจันทร์ อาทิ กระเป๋าผ้า การ์ดอวยพร สินค้าชุมชน (กระเป๋า สมุด)
    • ร่วมมือโดยเข้ามาเป็นอาสาสมัคร ซึ่งมีคุณสมบัติ (พอสังเขป) ดังนี้
      • มีความสามารถในการถอดบทเรียน
      • มีความสามารถด้านการเล่นดนตรี แต่งเพลง หรือร้องเพลง
      • ผู้เชี่ยวชาญระบบนิเวศ/ทรัพยากรธรณี/พันธุ์ไม้ และผู้เชี่ยวชาญด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับระบบความสัมพันธ์ในธรรมชาติ
      • ผู้เชี่ยวชาญการผลิตสื่อภาพยนตร์และ ละคร
      • ผู้มีความสามารถสอนภาษาอังกฤษแก่เด็ก ฯลฯ
    ติดต่อองค์กร
    มูลนิธิกระต่ายในดวงจันทร์
    ที่อยู่: ชั้น 7 อาคารอภิพรชัยหินอ่อนและแกรนิต 338/1 ถนนรัชดาภิเษก แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
    โทรศัพท์: 0-2275-2262-3
    โทรสาร: 0-2275-2261