ประวัติความเป็นมา
มูลนิธิกระจกเงา
เริ่มต้นจากกลุ่มเพื่อนนักกิจกรรม
ซึ่งเป็นอาสาสมัครละครเพื่อการพัฒนาเยาวชน(พ.ศ. 2531)
ของกลุ่มสื่อชาวบ้านหรือที่หลายคนรู้จักในนาม กลุ่มมะขามป้อม
โดยรวมกลุ่มกันในช่วงที่สังคมไทยเกิดวิกฤติการณ์ทางการเมือง และได้ก่อตั้ง
กลุ่มศิลปวัฒนธรรมกระจกเงา เพื่อร่วมกันทำงานกิจกรรมค่าย สื่อ
สะท้อนเรื่องราวปัญหาทางสังคม ต่อมาในช่วงปลายปี 2534 จึงเปลี่ยนเป็น
“มูลนิธิกระจกเงา”
มูลนิธิกระจกเงา เกิดจากกลุ่มคนที่มีหัวใจอาสาสมัคร
หัวใจของคนหนุ่มสาวที่อยากเห็นสังคมที่งดงาม แสวงหาความหมาย
การมีชีวิตอย่างมีคุณค่า เชื่อว่าการทำงานเพื่อสังคมไม่ใช่ความฝัน
แต่เป็นการทำงานบนโลกแห่งความเป็นจริงขอเพียงกล้าคิดและลงมือปฏิบัติ
มูลนิธิกระจกเงาทำงานอยู่ในภาคเมืองและชนบท
รวมทั้งพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติต่างๆ
ปรากฏตัวเป็นกระจกเงาสะท้อนปัญหาสังคม
เรื่องราวของความเป็นจริงที่คนบางกลุ่มอาจมองไม่เห็น
วิสัยทัศน์
มูลนิธิกระจกเงาอยากเห็นสังคม มีส่วนร่วม มีสติและใช้ปัญญาในการป้องกันแก้ไขปัญหาและพัฒนาสังคม เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ที่เข้มแข็งและมีความสุข และอยากเห็นกระจกเงาเป็นสถาบันบ่มเพาะนักกิจกรรม ที่มุ่งมั่นสร้างสรรค์นวัตกรรมทางสังคมเพื่อพัฒนาสังคม
พันธกิจ
ร่วมผลักดันให้สังคมมีส่วน ร่วม มีสติและใช้ปัญญาในการป้องกันแก้ไขปัญหาและพัฒนาสังคมโดยผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น ค่ายอาสาสมัครในพื้นที่ประสบภัย บ่มเพาะนักกิจกรรมที่มุ่งมั่นทำงานเพื่อสังคม ทำกิจกรรมพัฒนาโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสังคมด้านต่างๆ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาสังคม
วัตถุประสงค์การดำเนินงาน
ความสำเร็จของการดำเนินงาน
- ด้านปริมาณ
ด้วย ความเชื่อว่า ปัญหาสังคมในปัจจุบันมีความซับซ้อนและมีปริมาณมากมายเกินกว่าคนเล็ก ๆ เพียงไม่กี่คนจะแบกรับไว้ได้ และธรรมชาติของปัญหาสังคมไม่มีทางหมดไป มูลนิธิกระจกเงาจึงร่วมสร้างคนจากรุ่นสู่รุ่น เพื่อให้เป็นสายธารที่ไม่จบสิ้น ทำให้ปัจจุบันสามารถมีอาสาสมัครในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งระยะสั้นและระยะยาวในการเข้ามามีส่วนร่วมต่อกิจกรรมทางสังคม นับหมื่นคน
- ด้านคุณภาพ
กิจกรรม ต่างๆขององค์กรให้ความสำคัญกับการทำงานในลักษณะของงานอาสาสมัคร การทำงานด้วยจิตอาสาอย่างแท้จริง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ร่วมช่วยเหลือสังคม รวมทั้งสามารถ ผลักดันให้สังคมเกิดความตื่นตัว ตระหนักถึงปัญหา และร่วมหาทางแก้ไข ขยายผลไปสู่วงกว้างและเกิดผลสำเร็จ
เงื่อนไขความสำเร็จขององค์กร
- ระบบการบริหารจัดการ
มูลนิธิกระจกเงา มีโครงสร้างการบริหารจัดการใน 4 ศูนย์หลัก ได้แก่ กรุงเทพฯ ระนอง เชียงราย และพังงา
เนื่องจาก แต่ละพื้นที่มีสภาพปัญหาที่แตกต่างกันไป ด้วยลักษณะการทำงานที่กระจายงานไปตามศูนย์หลักเหล่านี้ จึง ทำให้สามารถช่วยเหลือและแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด โดยในแต่ละศูนย์ยังมีคณะกรรมการบริหารงานซึ่งทำหน้าที่กำหนดทิศ ทางและกิจกรรมของแต่ละศูนย์
คณะกรรมการบริหารของของศูนย์หลัก ยังเป็นตัวแทนในการวางแผนการทำงานในภาพรวมของมูลนิธิฯ ทำให้กลไก การบริหารงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
- ระบบงาน
- ระบบการทำงานที่เชื่อมโยงถึงกันอย่างรวดเร็วและเปิดโอกาสให้สมาชิกในองค์กร แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เช่น ระบบ Intranet ภายในองค์กรที่ช่วยเป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่าง ๆ
- ศูนย์กรุงเทพฯยังมีกิจกรรมวิชา NGOs ครั้งละ 1 ชม.เพื่อให้สมาชิกในองค์กร นำประเด็นต่าง ๆ ทางสังคมมาถก เถียงพูดคุยกัน ซึ่งอาจไม่เกี่ยวข้องกับงานโดยตรง แต่ประเด็นเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ในการทำงานได้ต่อไป
- สำหรับนักศึกษาฝึกงานยังมีกระบวนการปฐมนิเทศและถอดบทเรียนเมื่อนักศึกษาฝึกงานจบกิจกรรม
- ด้วยคำแนะนำ ให้ความรู้ และสร้างความเข้าใจทั้งก่อนการทำงาน ระหว่างการทำงาน และหลังการทำงานเหล่านี้ ทำให้สมาชิกในองค์กรสามารถทำงานและสร้างผลงานที่มีประสิทธิภาพ
- เนื้อหา
การ ทำงานของมูลนิธิกระจกเงา มีแนวทางในการเลือกประเด็นเนื้อหางานที่สนใจและมีภูมิความรู้กับเรื่องที่ทำ เช่น การจัดการเรื่องภัยพิบัติ เมื่อมีประสบการณ์จากการจัดการในพื้นที่สึนามิ ทำให้เข้าใจสภาพปัญหา เข้าใจการจัดการ และสามารถต่อยอดการทำงานไปสู่พื้นที่อื่นๆ
หรือใน การทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งมูลนิธิกระจกเงามีบุคลากรที่มีพื้นฐานด้านไอทีเป็นทุนเดิม ทำให้สามารถต่อยอดการทำงานเกิดเป็นโครงการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ จากการทำงานที่ตนเองมีความถนัดและมีภูมิความรู้ ทำให้การทำงานต่างๆของมูลนิธิฯประสบความสำเร็จ
บทความที่น่าสนใจ
มูลนิธิกระจกเงา
ที่อยู่: 41 อาคารเลิศปัญญา ชั้น 9 ห้อง 907 ซอยเลิศปัญญา (ซ.ศรีอยุธยา 12) ถนนศรีอยุธยา แขวงพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 1040
โทรศัพท์: 0-2642-7991-2
โทรสาร: 0-2642-7991 ต่อ 18
Website: http://www.mirror.or.th
|