ประวัติความเป็นมา
ชมรมเด็กรักนก เกิดขึ้นจากการรวมตัวของเด็กๆที่เคยอาศัยอยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จัด ตั้งขึ้นโดยหลวงพ่อคำเขียน สุวัณโณ เจ้าอาวาสวัดภูเขาทอง บ้านท่ามะไฟหวาน ที่ต้องการให้ความช่วยเหลือชาวบ้านในบริเวณดังกล่าว เมื่อเด็กๆ กลุ่มนี้เติบโตขึ้น ก็ยังแวะเวียนมาเล่นอยู่ในวัดประจำด้วยความผูกพันกับหลวงพ่อ กอปรกับในช่วงเวลาดังกล่าวพระอิศรา และพระไพศาล วิสาโล ซึ่งเป็นพระรุ่นใหม่ ได้เข้ามาช่วยส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของเด็กๆ กลุ่มนี้ด้วยการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและธรรมมะ โดยอาศัยนกเป็นสื่อ และก่อตั้งเป็นชมรมเด็กรักนกบ้านท่ามะไฟหวานเมื่อเดือน มีนาคม 2534 ซึ่งภายหลังจากที่ พระอิศรา ลาสิกขาในปี 2538 ทำให้กิจกรรมของชมรมหยุดชะงักลง กระทั่งปี 2541 นายวิชัย นาพัว หนึ่งในสมาชิกของชมรมเด็กรักนกและเป็นเยาวชนในหมู่บ้าน หลังจากได้รับประสบการณ์ในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติจากมูลนิธิ คุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปภัมภ์ จึงกลับมารวมกลุ่มกับเพื่อนๆ ซึ่งเป็นเยาวชนในหมู่บ้านและเคยทำกิจกรรมในวัยเด็กร่วมกัน เพื่อส่งเสริมการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ ด้วยการอาศัยความรู้ประสบการณ์เดิมในการเสริมสร้างกระบวนกาเรียนรู้กับเด็กๆ ในหมู่บ้าน และขยายกิจกรรมสู่โรงเรียน บนเทือกเขาภูแลนคา ในกิจกรรมห้องเรียนธรรมชาติ โครงการศึกษาและสำรวจนกบนเอกเขาภูแลนคา พร้อมทั้งร่วมเป็นองค์กรเครือข่ายกับสมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่ง ประเทศไทย
วิสัยทัศน์
สร้างความรู้ ความเข้าใจ และปลูกจิตสำนึกให้เด็กและเยาวชนรักและหวงแหนในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
พันธกิจ
• รวมกลุ่มเยาวชนในพื้นที่บนเทือกเขาภูแลนคา จังหวัดชัยภูมิที่มีความสนใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์นกและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น
• ส่งเสริมด้านการศึกษาให้กับกลุ่มเด็กและเยาวชนในท้องถิ่น โดยเฉพาะเรื่องสิ่งแวดล้อมและลุ่มน้ำลำประทาว
•
ปลูกจิตสำนึกให้เด็กและชาวบ้านในพื้นที่ตระหนักถึงสถานการณ์สิ่งแวดล้อม
ให้ความสำคัญกับการดูแล ฟื้นฟู และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
วัตถุประสงค์การดำเนินงาน
เน้น การทำงานกับเด็ก และเยาวชน โดยร่วมมือกับชุมชน วัด และโรงเรียน 19 โ แห่ง ใน 5 ตำบล คือ ตำบลซับสีทอง ตำบลท่าหินโงม อำเภอเมือง ตำบลบ้านธาตุ อำเภอภูเขียว ตำบลท่ามะไฟหวาน ตำบลเก่าย่าดี อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ เพื่อสร้างความเข้าใจ สร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้เด็กรู้จักชุมชนท้องถิ่นของตนเอง รู้สภาพปัญหา กระตุ้นให้เกิดจิตสำนึกในการแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะในการฟื้นฟู ดูแล และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ผู้บริหารองค์กร
- วิชัย นาพัว
- ศรีนวล เนตรนคร
- นางสาวศรีนวน ชัยนคร
- นายเสน่ ชัยทอง
- เด็กชายยงกิจ นันทราช และเด็กๆ
รูปแบบการบริหารจัดการ
ชมรม เด็กรักนกมีแกนนำที่ทำหน้าที่บริหารชมรม 4 คน โดยทั้ง 4 คนจะทำหน้าที่เท่าเทียมกัน ด้วยเหตุที่แกนนำทั้ง 4 คนใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในชมรม คือกิน นอนอยู่ที่ชมรมทำให้มีโอกาสประชุมหารือกันอยู่เป็นประจำ โดยงบประมาณสำหรับใช้ในการจัดทำกิจกรรมส่วนใหญ่มาจากการรับจ้างจัดค่าย อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แต่งานดังกล่าวก็ไม่มีมาก อย่างไรก็ตามขณะนี้ชมรมได้จัดทำเข็มกลัดนกและกำลังทำสมุดบันทึก(ทำมือ) ออกขายเพื่อนำรายได้มาใช้จัดกิจกรรมให้กับเด็กๆ ต่อไป สำหรับทีมงานอื่นๆ นั้นส่วนใหญ่จะเป็นอาสาสมัครที่แวะเวียนเข้ามาช่วยเหลือบ้างบางครั้งเมื่อมี การจัดกิจกรรมที่ต้องการใช้กำลังคน ส่วนอาหารต่างๆ ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมส่วนใหญ่ได้รับการช่วยเหลือจากวัดภูเขา
เงื่อนไขความสำเร็จขององค์กร
- เป็นชมรมที่ดำเนินการโดยกลุ่มคนที่มีความต้องการฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง
- แกนนำหลักในชุมชนเป็นคนในพื้นที่ ซึ่งมีความรักความหวงแหนในท้องถิ่นและทรัพยากรในท้องถิ่นเป็นต้นทุนสำคัญ
- แกน นำมีความมุ่งมั่นเอาจริงเอาจังตระหนักในปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง แวดล้อม แม้จะต้องเผชิญกับอุปสรรคมากมายรอบด้าน แต่ยังคงเดินหน้าทำกิจกรรมต่อไป
- แม้ว่าชมรมเด็กรักนกจะต้องพบเจออุป สรรค์และกระแสธารของคนที่ไม่เห็นด้วยกับแนวทางของชมรม แต่ชมรมฯ จะไม่ใช้วิธีการเผชิญหน้ากับฝ่ายที่ทำลายธรรมชาติ ทำให้ปัจจุบันชมรมฯ มีมิตรมากกว่าศัตรู
- มีพระสงฆ์ และครูในโรงเรียน 19 แห่งเป็นแนวร่วมสำคัญในการทำกิจกรรม
- แม้ว่า จะไม่มีแหล่งทุนสนับสนุนทำให้แกนนำไม่มีเงินเดือนเลี้ยงตัวเองมากว่า 10 ปี แต่มีความพยายามในการช่วยเหลือตัวเองและหาทางทำกิจกรรม อย่างต่อเนื่อง โดยไม่ใช้เงินเป็นตัวตั้ง ฉะนั้นบางครั้งเด็กที่ต้องการไปดูนกร่วมกันหางบประมาณด้วยการประดิษฐ์ของที่ ระลึก เช่น เข็มกลัดรูปนก วาดรูปนก ทำสมุดบันทึก ออกจำหน่ายเพื่อเป็นรายได้สำหรับชมรมต่อไป
- มีแกนนำซึ่งเคยเป็น สมาชิกชมรมเด็กรักนกมาตั้งแต่ยังเยาว์วัย ทำให้เมื่อเติบโตขึ้นจึงได้ใช้ประสบการณ์ความรู้ที่สั่งสมมา ปรับใช้ ปรับปรุง ให้ได้เทคนิคและวิธีการที่ดียิ่งขึ้น
องค์ความรู้จากการดำเนินงาน
- องค์ความรู้ในการดูนก สำรวจนก
- องค์ความรู้ในการดูแล ฟื้นฟูป่า
- องค์ความรู้ในการจัดค่ายอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
- องค์ความรู้ในการทำกิจกรรมร่วมกับเด็กและเยาวชน
รางวัลความสำเร็จ
- รางวัลลูกโลกสีเขียว ประเภทกลุ่มเยาวชน ประจำปี 2548
- โครงการดูนก สำรวจนก และทำพื้นที่นกเล่นน้ำ
ปลูกจิต สำนึกในการรักและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ (สัตว์ป่า ป่าไม้ น้ำ สิ่งแวดล้อม) โดยใช้ “นก” เป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างความรัก และเชื่อมโยงสู่กระบวนการเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์นก น้ำ ป่า สิ่งแวดล้อม และการอยู่ร่วมกันระหว่างคน และทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุล - โครงการสำรวจนกที่ช่วยขยายพันธุ์
สำรวจ เชิงลึกเกี่ยวกับนกที่ช่วยขยายพันธุ์พืชโดยไม่ต้องปลูกเพื่อให้ชาวบ้าน ตระหนักในความสำคัญของนกที่ช่วยขยายพันธุ์พืช และความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ กระทั่งนำไปสู่การอนุรักษ์นกที่ช่วยขยายพันธุ์พืชอย่างจริงจัง - โครงการธรรมยาตราเพื่อลุ่มน้ำลำประทาว
เป็น กิจกรรมรณรงค์เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ที่เน้นเรื่องน้ำกับป่า เพื่อให้ชาวบ้านและสังคมตระหนักถึงสถานการณ์สิ่งแวดล้อม และเห็นความสำคัญของปัญหาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม โดยการ ทบทวนอดีต แล้วชี้ให้เห็นความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน - โครงการฟื้นฟูป่าต้นน้ำลำประทาว
เป็นการ ปลูกป่าและดูแลป่าต้นน้ำลำประทาวโดยชุมชน พระ โรงเรียน และประสานให้องค์กรภายนอกชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการฟื้นฟูป่าต้นน้ำลำประ ทาวพื้นที่กว่า 5,000 ไร่
- แหล่งทุนส่วน ใหญ่ให้ความสำคัญกับการเป็น “องค์กร” มากกว่าผลงานของการทำกิจกรรม ซึ่งทางชมรมเด็กรักนก มีสถานภาพเป็นเพียงกลุ่มคน จึงขาดแหล่งทุนที่จะสนับสนุนงบประมาณอย่างต่อเนื่อง
- ต้องการงบประมาณในการจัดทำคู่มือศึกษานกบนเทือกเขาภูแลนคา
- การร่วมกันรณรงค์เผยแพร่สถานการณ์ของนกและการห้าม ล่านกในโรงเรียนต่อชาวบ้านและสังคม
- การส่งเสริมอาชีพเพื่อสร้างรายได้ให้กับสมาชิกกลุ่ม
- ต้องการอาสาสมัครทำงานต่อเนื่องหรือบางกิจกรรมที่ต้องการการเตรียมงานจำนวนมาก
- อุปกรณ์ในการดูนกมีจำนวนน้อยและบางส่วนชำรุดเสียหาย
- ยาน พาหนะ เนื่องจากการเดินทางไปสำรวจนกทุกครั้ง จำเป็นต้องอาศัยยานพาหนะในการขนย้ายสัมภาระและเด็กๆ เข้าร่วมกิจกรรม 15-20 คน ในแต่ละครั้ง ปัจจุบันทางชมรมได้ขอยืมรถยนต์จากทางวัดภูเขาทองแต่สภาพของรถเก่ามาก ประกอบกับบางครั้งรถของทางวัดก็ติดธุระเช่นเดียวกันทำให้ขาดการทำกิจกรรมใน บางช่วง
ชมรมเด็กรักนก
ที่อยู่: ชมรมเด็กรักนก 8 หมู่ 11 ต.แก้งคร้อ ชัยภูมิ 36150
โทรศัพท์: 08-5026-3682
|