ชมรมดอกหญ้าอาสา
จัดตั้ง: 8 ต.ค. 2558
ข้อมูลองค์กร

­

ประวัติความเป็นมา

ส่งเสริมให้เยาวชนในระดับ เตรียมอุดมศึกษา ทั้งสายสามัญ และสายวิชาชีพ รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ด้วยการทำกิจกรรมเพื่อสาธารณะ และสิ่งแวดล้อม แบบมีส่วนร่วมกับท้องถิ่น ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จะได้รู้จักการแบ่งปัน และอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างมีความสุข

­

วิสัยทัศน์

เราจะสรรค์สร้าง กิจกรรมที่สร้างสรรค์

­

พันธกิจ

• ให้เยาวชนให้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ รู้จักการเสียสละส่วนตัว เพื่อส่วนรวม
• เพื่อป้องกันเยาวชนจากยาเสพติด และอบายมุข
• เพื่อสร้างแกนนำเยาวชนชมรมดอกหญ้า ให้เป็นผู้นำ มีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง
• เพื่อสร้างเครือข่ายกลุ่มเยาวชนที่มีจิตสาธารณะ

­

วัตถุประสงค์การดำเนินงาน

  • ให้เยาวชนให้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ รู้จักการเสียสละส่วนตัว เพื่อส่วนรวม
  • เพื่อป้องกันเยาวชนจากยาเสพติด และอบายมุข
  • เพื่อสร้างแกนนำเยาวชนชมรมดอกหญ้า ให้เป็นผู้นำ มีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง
  • เพื่อสร้างเครือข่ายกลุ่มเยาวชนที่มีจิตสาธารณะ

­

ผู้บริหารองค์กร

  • นายสุริยัน ตื้อยศ อาจารย์ที่ปรึกษาชมรมดอกหญ้า

­

รูปแบบการบริหารจัดการ

ระบบการบริหารงาน

มี ผู้ประสานงานชมรม เป็นแกนหลักในการดำเนินกิจกรรม โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาคอยดูแล ให้คำแนะนำ และหน่วยงานองค์กรภาคีร่วมส่งเสริมกิจกรรมให้คำปรึกษา ในการดำเนินกิจกรรมชมรม แบ่งงานออกเป็น 4 ส่วน คือ

  • ฝ่ายกิจกรรม ประกอบด้วย ผู้ประสานงานชมรม ประธานโครงการ และคณะกรรมการในโครงการต่างๆ มีหน้าที่ในการดูแลกิจกรรมชมรมทั้งหมด
  • ฝ่ายวิชาการ ได้แก่ อาจารย์ที่ปรึกษาชมรม และประธานโครงการต่างๆ ซึ่งจะเป็นผู้ร่วมกันร่างโครงการขึ้น
  • ฝ่ายบัญชี การเงิน และเลขานุการโครงการ คอยตรวจสอบดูแลด้านการเงิน และงบประมาณโครงการต่างๆ
  • ฝ่ายบริหารงานทั่วไป เช่น ฝ่ายประชาสัมพันธ์, ฝ่ายประสานงานโครงการ ทำหน้าที่เผยแพร่กิจกรรมที่กำลังจะดำเนินโครงการ หรือกำลังดำเนินโครงการ ให้สมาชิกชมรม และผู้สนใจทั่วไปรับทราบ

หมายเหตุ : ประธานโครงการ โดยให้ทีมงานบริหารคือนักศึกษารุ่นพี่ได้หมุนเวียนเปลี่ยนกันมารับหน้าที่ บริหารงานโครงการ หรือประธานโครงการเพื่อฝึกภาวะความเป็นผู้นำ

นอกจาก นี้สมาชิกชมรมดอกหญ้า จะเลือกผู้ประสานงาน ซึ่งเป็นเยาวชนที่ตั้งใจ และมีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรม ประมาณ 7-8 คน และในการประชุมสมาชิกทุกเดือน ทุกคน สามารถเสนอกิจกรรม เพื่อกำหนดเป็นแผนงาน หรือโครงการในแต่ละปีได้ จากนั้น กลุ่มผู้ประสานงาน จะแบ่งกันทำหน้าที่เป็นประธานแต่ละโครงการ และเข้าไปเป็นคณะกรรมการ ทำหน้าที่ด้านอื่นๆ ในกิจกรรมหรือโครงการที่ตนไม่ได้เป็นหัวหน้าโครงการ เพื่อให้สามารถเรียนรู้งานในตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ ได้อย่างทั่วถึง ซึ่งในส่วนของผู้ประสานงานเอง จะมีการประชุมพูดคุย เพื่อหารือ และสรุปผลการดำเนินงานกันทุกสัปดาห์ โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาชมรม เป็นผู้คอยให้คำแนะนำในทุกด้านๆ

­

เงื่อนไขความสำเร็จขององค์กร

  • ชมรม ได้สร้างอาคารเรียน ในท้องถิ่นทุรกันดารแล้ว 3 หลัง คือ ที่บ้านห้วยหินลากนอก อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย 1 หลัง, ในโรงเรียน ตชด.บ้านดอยล้าน ต.วาวี อ.แม่สรวย จ.เชียงราย 1 หลัง และโรงเรียนบ้านใหม่พัฒนา ต.วาวี อ.แม่สรวย จ.เชียงราย 1 หลัง
  • ซ่อมแซมอาคารเรียนบ้านกกน้อย ต.ห้วยชมพู อ.เมือง จ.เชียงราย
  • สร้างอาคารบ้านพักเด็กไกลบ้าน 1 หลัง ให้แก่นักเรียนโรงเรียนเทคนิคดุสิต ต.ช.ด.บ้านห้วยส้านลีซอ ต.ห้วยชมพู อ.เมือง จ.เชียงราย
  • สร้าง ห้องน้ำห้องส้วม และที่แปรงฟันให้นักเรียน จำนวน 2 แห่ง คือ ที่โรงเรียนเทคนิคดุสิต ต.ช.ด.บ้านห้วยส้านลีซอ และโรงเรียนบ้านห้วยชมพู ต.ห้วยชมพู อ.เมือง จ.เชียงราย
  • ร่วมมือกับชุมชนบ้านห้วยส้านลีซอ ต.ห้วยชมพู อ.เมือง จ.เชียงราย สร้างฝายแม้ว 2 จุดในพื้นที่ และแนวกันไฟ เป็นระยะทาง 3 กิโลเมตร
  • มีเยาวชนสนใจเข้าร่วมเป็นสมาชิก จำนวน 320 คน
  • เยาวชนเกิดจิตสาธารณะ รู้จักคิดสร้างสรรค์เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม และรู้จักแบ่งปันแก่ผู้ด้อยโอกาส
  • เยาวชนรู้จักการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ ร่วมถึงรณรงค์ลดภาวะโลกร้อน
  • เยาวชนเกิดทักษะความเป็นผู้นำ คิดเป็น ทำเป็น มีทัศนคติที่ดีต่อสังคม รู้จักการทำงานร่วมกันเป็นทีม และแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
  • เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างชุมชน กับเยาวชน แม้จะเสร็จสิ้นกิจกรรมไปแล้ว
  • เป็นการเสริมสร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับเด็กในท้องถิ่นทุรกันดาร
  • เสริมสร้างเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ให้กับชุมชน
  • เกิดเครือข่ายเยาวชน ที่พร้อมจะร่วมกันทำงานเพื่อบำเพ็ญประโยชน์แก่สังคม
  • ลดปัญหาสังคม อันเนื่องมาจากการใช้เวลาว่างในทางที่ผิดของวัยรุ่น

­

เงื่อนไขความสำเร็จขององค์กร

  • ในการทำกิจกรรม หรือโครงการ ได้รับความร่วมมือจากชุมชน ทั้งด้านแรงกาย แรงใจ และสมทบทุนทรัพย์บางส่วน
  • กิจกรรมที่ทำเป็นการพัฒนาที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง
  • มีการติดตามการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องในพื้นที่เดิม
  • สมาชิก ชมรม ทำงานด้วยความสมัครใจ และมีจิตอาสา ไม่เน้นงบประมาณเป็นที่ตั้ง โดยหากไม่มีงบประมาณสนับสนุนจากภายนอก ก็ทำงานได้ตามกำลังความสามารถ และถ้ามีงบประมาณสนับสนุน ก็สามารถต่อยอดได้
  • สมาชิก รุ่นพี่ ที่เรียนจบแล้ว ยังติดต่อและให้การสนับสนุนรุ่นน้อง ทั้งการร่วมออกค่าย หรือช่วยรวบรวมสิ่งของ ทุนทรัพย์ จากที่ทำงาน ส่งมาให้รุ่นน้อง เพื่อใช้ในการทำกิจกรรม
  • องค์กร ที่ให้การสนับสนุนด้านทุนทรัพย์ เล็งเห็นความตั้งใจจริงของคนทำ งาน และเกิดความมั่นใจว่าเงินทุกบาทเกิดประโยชน์ต่อผู้ด้อยโอกาส โดยเฉพาะในการก่อสร้างสิ่งสาธารณูปโภค สาธารณูปการต่างๆ ชมรมจะไม่รับเงินสด แต่ให้ร้านค้าวัสดุก่อสร้างวางบิล และเก็บเงินโดยตรงจากองค์กรที่บริจาค
  • ความ สัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างรุ่นพี่กับรุ่นน้องในชมรม ตลอดจนสมาชิกชมรมกับชุมชน ซึ่งระหว่างดำเนินโครงการ จะมีกิจกรรมเชื่อมความสามัคคีกันตลอด เช่น กีฬา เกมส์ เป็นต้น
  • ได้ รับความร่วมมือจากหน่วยงาน องค์กร ที่ทำงานในท้องถิ่น ในการขยายผลออกไปในแนวราบ สร้างเครือข่ายเยาวชนที่มีความพร้อมในการทำงานเพื่อสาธารณะมากขึ้นเรื่อยๆ

­

องค์ความรู้จากการดำเนินงาน

  • การ ได้สัมผัสวิถีชีวิตที่แตกต่างจากสังคมเมือง ไร้แสงสี ไม่มีไฟฟ้า แต่เด็กในพื้นที่กลับใฝ่เรียนรู้ และชุมชนก็ดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด ทำให้เยาวชนเกิดความรู้สึกเปรียบเทียบ เพราะส่วนใหญ่ได้รับเงินจากพ่อแม่ให้มาเรียนหนังสือ ประมาณวันละ 100 บาท และผลลัพธ์คือเยาวชนเหล่านี้ ตระหนักถึงความสำคัญของการประหยัด และดำรงชีวิตอย่างพอเพียง รู้จักใช้จ่ายอย่างมีสติมากขึ้น
  • การ เข้าไปทำงานแบบมีส่วนร่วม ไม่ได้ให้หรือแจกฟรี ทำให้ชุมชนมองเห็นคุณค่าของกิจกรรมที่ร่วมกันทำ และรู้สึกหวงแหน ดูแล ไม่ปล่อยปละละเลย

­

รางวัลความสำเร็จ

  • พ.ศ. 2550 ได้รับรางวัลกลุ่มเยาวชนดีเด่น ด้านพัฒนาสังคม จังหวัดเชียงราย จาก อบจ.เชียงราย
  • พ.ศ.2548 ได้รับรางวัลเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ และผู้ทำคุณประโยชน์ต่อเยาวชน สาขาพัฒนาเยาวชน บำเพ็ญประโยชน์ อาสาสมัคร สวัสดิการและประสานงาน จากสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพัฒนาเด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  • พ.ศ. 2545 ได้รับรางวัลดีเด่นกลุ่มเยาวชน ของสำนักปิดป้ายราคาสินค้า กรม การค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
  • พ.ศ. 2545 ได้รับรางวัลโครงการกลุ่มพลังสีฟ้า จากกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์

โครงการขององค์กร
  • กิจกรรมค่ายอาสาพัฒนา ถือเป็นกิจกรรมหลักของชมรม ที่จัดขึ้นทุกปี มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนเกิดจิตสาธารณะ รู้จักการเสียสละ และแบ่งปันให้ผู้อื่น ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนเกิดทักษะในการทำงานร่วมกับชาวบ้าน โดยในการออกค่ายแต่ละครั้ง จะมีสมาชิกชมรม ทั้งที่กำลังเรียนอยู่ ในสถาบันต่างๆ และจบการศึกษาไปแล้ว มาร่วมกันทำกิจกรรมด้วยความสมัครใจ
  • โครงการค่ายป่าอยู่เย็น คนเป็นสุข เป็นโครงการที่จัดทำขึ้น เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชนชนบท หรือพื้นที่ห่างไกล ทุรกันดาร โดยในการดำเนินงานจะดึงชุมชนเข้ามาช่วย เพื่อให้เกิดความรู้สึกมีส่วนร่วม หรือเป็นเจ้าของ และเฝ้าระวังรักษา ดูแลกันต่อไป
  • โครงการ 80 ปี ทำความดีเพื่อในหลวง เป็นการจัดกิจกรรมเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสทรงมีพระชนมายุครบ 80 พรรษา โดยกิจกรรมจะเน้นให้ความสำคัญกับทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้ชุมชนสามารถจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยเหลือตัวเองได้ในระยะยาว
รวมมือร่วมใจ/ขยายผล
  • ต้องการส่งเสริมความรู้ อบรมเฉพาะด้าน แก่สมาชิกชมรม อาทิ ทักษะความเป็นผู้นำ, การสร้างจิตอาสา
  • ต้องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์กับเครือข่าย หรือองค์กรอื่นๆ ที่ดำเนินกิจกรรมในลักษณะเดียวกัน
  • ต้องการประชาสัมพันธ์กิจกรรมโครงการบ้าง เพื่อให้เยาวชน และคนในสังคมได้รับรู้ และมีการขยายผล เกิดเครือข่ายในการทำงานเพิ่มมากขึ้น
  • ต้องการงบประมาณสนับสนุนในการทำกิจกรรมชมรม
ติดต่อองค์กร
ชมรมดอกหญ้าอาสา
ที่อยู่: 73/6 ต.ป่าก่อดำ อ.แม่ลาว เชียงราย 57250
โทรศัพท์: 0-5377-8088
โทรสาร: 0-5377-8088