ประวัติความเป็นมา
ชมรมกลุ่มเกลียวเชือก
เริ่มก่อตั้งเมื่อปี 2539 โดยกลุ่มสโมสรนักศึกษา 3-4 คน
ที่มีแนวคิดอยากทำกิจกรรมด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง
และต่อมาเมื่อสมาชิกชมรมมากขึ้น ประกอบกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม
ภายในท้องถิ่นเปลี่ยน แปลงอย่างรวดเร็ว
จนเกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำระหว่างจิตใจกับวัตถุ
ทางชมรมจึงได้หันมาดำเนินกิจกรรมกับสังคม ชุมชน
ตลอดจนถึงกิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตย มากขึ้น โดยแบ่งงานออกเป็น 3 ส่วน
ได้แก่
๏ งานภายในมหาวิทยาลัย
เป็นการจัดกิจกรรมรณรงค์ให้เยาวชนตระหนักถึงคุณค่าของสิ่งแวดล้อม
และร่วมมือกันอนุรักษ์-เฝ้าระวังทรัพยากรธรรมชาติ
ซึ่งกิจกรรมจะมีทั้งการเดินรณรงค์ในวันสำคัญ เช่น วันสิ่งแวดล้อมโลก
วันเลือกตั้ง การจัดกิจกรรมปลูกป่า และจัดนิทรรศการให้ความรู้ รำลึกถึงสืบ
นาคะเสถียร เป็นต้น
๏ งานภายนอกมหาวิทยาลัย
มีการประสานงานกับองค์กรที่ทำงานช่วยเหลือสังคมและชุมชนในด้านต่างๆ เช่น
พัฒนาสังคมและความมั่นคง สาธารณสุขจังหวัด สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน
เชียงราย ฯลฯ เพื่อพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำ สร้างจิตอาสา และ
เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างรุ่นพี่กับรุ่นน้อง กิจกรรมจะเน้นการจัดค่าย
ทั้งค่ายความรู้ และค่ายพัฒนาสิ่งสาธารณูปโภค
๏ งานระดมทุน
ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สร้างการมีส่วนร่วม และความสามัคคีได้เป็นอย่างดี
แม้ว่าทางมหาวิทยาลัยจะสนับสนุนงบประมาณส่วนหนึ่ง
และบางกิจกรรมมีหน่วยงานภายนอกเข้ามาเสนอให้ชมรมฯ เข้าไปทำกิจกรรม
โดยมีงบประมาณให้อย่างเพียงพอ แต่กิจกรรมอีกส่วนหนึ่ง ที่กำหนดขึ้นโดยชมรม
ยังขาดแคลนงบประ มาณดำเนินงาน ดังนั้นสมาชิกชมรมต้องช่วยกันระดมทุน
ซึ่งมีหลายวิธีการ เช่น การเปิดกล่องรับบริจาค การร่วมมือกับชมรมดาวกระจุย
ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดแสดงคอนเสิร์ตดาวกระจุย
เพื่อจำหน่ายบัตรหาทุน
วิสัยทัศน์
สร้างสังคมเอื้ออาทร และผู้นำเยาวชน ที่มีจิตอาสา
พันธกิจ
ส่งเสริมให้กลุ่มนักศึกษา ทำกิจกรรมด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และบำเพ็ญประโยชน์ช่วยเหลือสังคม ชุมชน ในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย และพื้นที่จังหวัดเชียงราย ตามสภาพปัญหา หรือวาระโอกาส เพื่อสร้างจิตอาสา และฝึกทักษะความเป็นผู้นำ โดยกิจกรรม จะมีทั้งการออกค่าย การรณรงค์ จัดเวทีให้ความรู้ จัดนิทรรศการ และมีการประสานงานกับองค์กร หน่วยงาน ที่ทำงานด้านการพัฒนา รวมทั้งองค์กรท้องถิ่น ทำให้การช่วยเหลือสังคม และชุมชน เป็นไปอย่างสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์การดำเนินงาน
- เพื่อให้นักศึกษาเกิดทักษะในการทำงาน และกระตุ้นให้เกิดจิตอาสา รู้จัก การบำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวม
- เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ของสมาชิกชมรม ระหว่างรุ่นพี่และรุ่นน้อง
- เพื่อให้นักศึกษามีทักษะผู้นำ และความรับผิดชอบ
- เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
- เพื่อปลุกจิตสำนึกให้นักศึกษา และประชาชนเห็นความสำคัญของ ทรัพยากรสิ่งแวด ล้อม
ผู้บริหารองค์กร
นายศุภชัย อินต๊ะโน ประธานชมรมกลุ่มเกลียวเชือก
รูปแบบการบริหารจัดการ
ระบบการบริหารงาน มีประธานชมรม เป็นแกนนำในการบริหารร่วมกับคณะกรรมการชมรม ระบบงาน แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
- งานด้านบริหาร ประกอบด้วยฝ่ายการเงินเหรัญญิก ฝ่ายงานเลขานุการ ฝ่ายประชาสัมพันธ์- ติดต่อประสานงาน และอาจารย์ที่ปรึกษา
- งาน กิจกรรมและวางแผน ซึ่งแต่ละปีจะกำหนดไว้ 13 กิจกรรมหลัก และมีกิจกรรมย่อยแทรกตามวาระโอกาส โดยแต่ละกิจกรรม จะมีประธานโครงการ และทีมงานที่ถูกเสนอรายชื่อ คัดเลือกให้เป็นคณะกรรมการโครงการ คอยดูแลรับผิดชอบในส่วนของตนเอง
- งานด้านสถานที่ มีการแบ่งงานออกเป็นฝ่ายพัสดุ ฝ่ายยานพาหนะ ฝ่ายศิลป์ ฝ่ายบริการ และฝ่ายการเงิน ซึ่งจะทำหน้าที่จัดสถานที่ เพื่อดำเนินกิจกรรมต่างๆ
เนื้อหา
- แต่ละ ปีการศึกษาจะมีการเสนอรายชื่อ เพื่อคัดเลือกประธานชมรม คณะ กรรมการบริหาร และประธานโครงการต่างๆ เพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางดำเนินกิจกรรมหลัก และพิจารณากิจกรรมย่อยที่สมาชิกชมรมฯ เสนอขึ้นมา โดยดูความสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และการมีส่วนร่วมของสมาชิกเป็นหลัก
เงื่อนไขความสำเร็จขององค์กร
- ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในชมรมเหมือนพี่น้อง โดยรุ่นพี่จะช่วยดูแลรุ่นน้อง และสามารถพูดคุยปรึกษากันได้ทุกเรื่อง
- คนทำงานด้วยใจ จึงรู้สึกสนุกกับงาน และเต็มใจทำ แม้จะพบกับความเหน็ดเหนื่อยและลำบาก
- ได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัย และชุมชน ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ
องค์ความรู้จากการดำเนินงาน
- การ ทำงานร่วมกันเป็นทีม ต้องมีความสามัคคี รู้จักให้อภัย เอื้อเฟื้อห่วงใยกัน และเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น ต้องพูดคุย ปรับความเข้าใจกันด้วยเหตุผล
- การสร้างจิตอาสา ต้องใช้เวลาในการปลูกฝัง ไม่สามารถเกิดขึ้นในทันที ทันใด โดยในเฉพาะในยุคบริโภคนิยม ที่สภาพแวดล้อมไม่ค่อยเอื้ออำนวย
รางวัลความสำเร็จ
- พ.ศ. 2550 ได้รับรางวัลกลุ่มเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ สาขาพัฒนาเยาวชน อาสา สมัคร สวัสดิการ และการมีส่วนร่วมของเยาวชน จากสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ
- พ.ศ. 2550 ได้รับรางวัลกลุ่มเยาวชนดีเด่น ของจังหวัดเชียงราย จากองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย
- ได้รับรางวัลชมรมเกรดเอ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เป็นประจำทุกปี ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งชมรม ในปี 2539 เป็นต้นมา
- โครงการ เกลียวเชือกสัมพันธ์ เป็นโครงการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างรุ่นพี่กับรุ่นน้อง และสร้างทักษะความเป็นผู้นำ สร้างคนทำงานที่มีจิตอาสา โดยใช้กิจกรรมค่ายและสันทนาการ เป็นหลัก
- โครงการหนาวนี้ออกพื้นที่ กับเกลียวเชือก เป็นกิจกรรมออกค่ายอาสา ที่ทำเป็นประจำทุกปี ในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ระหว่างเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ และหากกิจกรรมยังไม่เสร็จสิ้น ก็จะนัดหมายลงพื้นที่อย่างต่อเนื่องกระทั่งแล้วเสร็จ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างจิตอาสาให้กลุ่มเยาวชน ในการช่วยเหลือสังคม ชุมชน หรือโรงเรียน ที่อยู่ในท้องถิ่นห่างไกล และมีปัญหาด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ หรือขาดแคลนสิ่งสาธารณูปโภค เครื่องอุปโภค บริโภค ซึ่งในการเลือกพื้นที่ออกค่าย จะประสานงานกับสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน เชียงราย
- โครงการรำลึก สืบ นาคะเสถียร เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นช่วงเดือนกันยายน ของทุกปี เพื่อกระตุ้นจิตสำนึกให้อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยในวันที่ 1 กันยายน ซึ่งเป็นวันครบรอบการเสียชีวิตของสืบ นาคะเสถียร จะทำบุญถวายสังฆทาน อุทิศส่วนกุศลให้สืบ และภายในเดือนกันยายน ก็จะมีกิจกรรมปลูกป่า ตามวัด สถานที่ราชการ หรือในเขตป่าชุมชน พร้อมกับชักชวนให้ประชาชนที่สนใจเข้าร่วมด้วย
ต้องการหน่วยงาน ที่ช่วยสนับสนุนด้านงบประมาณในการทำกิจกรรม เพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของชมรมฯ
ชมรมกลุ่มเกลียวเชือก
ที่อยู่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ต.บ้านดู่ อ.เมือง เชียงราย 57100
โทรศัพท์: 0-5377-6019, 0-5377-6046, 08-6729-6728
Email: narin_46@hotmail.com
Website: http://www.hg2007.th.gs
|