ประวัติความเป็นมา
ปี พ.ศ.2538
เกิดการรวมตัวกันของกลุ่มเยาวชนจากหลากหลายโรงเรียนในประมาณ 30 คน
ที่มีใจรักกิจกรรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
จึงคิดที่อยากจะจัดค่ายอนุรักษ์ธรรมชาติ
และให้ความรู้เกี่ยวกับการเป็นพี่เลี้ยงในค่ายเยาวชน
จึงติดต่อขออนุญาตใช้พื้นที่ของกรมป่าไม้ในการจัดกิจกรรม
อย่างไรก็ตามในการติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่ของรัฐจำเป็นจะต้องมีหน่วย
งานหรือ “บุคคลที่น่าเชื่อถือได้” มารับรองในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการ
กลุ่มเยาวชนจึงได้ขอความช่วยเหลือไปยัง “อาจารย์ไตรมาศ สาโหมด”
ซึ่งเป็นอาจารย์สอนวิทยาศาสตร์เคยจัดค่ายการเรียนรู้ให้เด็กๆ
ในโรงเรียนฤทธิณรงค์รอนอยู่เป็นประจำ ให้ช่วยเป็นที่ปรึกษาโครงการ
อาจารย์ไตรมาศ เองเล็งเห็นว่า กลุ่มเยาวชน
มีความคิดและความตั้งใจในการสละเวลาเพื่อช่วยเหลือสังคม
จึงรับเข้ามาเป็นที่ปรึกษาให้ตั้งแต่ค่ายแรก กระทั่งถึงปัจจุบัน
ในฐานะ
ที่อาจารย์ไตรมาศ เป็นอาจารย์ประจำอยู่ในโรงเรียนฤทธิณรงค์รอน
ในการจัดค่ายครั้งแรกจึงได้เขียนโครงการขอรับทุนจากโรงเรียนฯโดยมีเจ้า
หน้าที่ป่าไม้เป็นผู้อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม
คุณค่าของป่าและสัตว์ป่า
พร้อมกับชักจูงให้เยาวชนกลุ่มดังกล่าวรวมกลุ่มกันและทำงานเพื่อธรรมชาติสิ่ง
แวดล้อมต่อไป
กระทั่งเยาวชนกลุ่มดังกล่าวกลับมาจากค่ายครั้งที่ 1
ก็เกิดความรัก ความตระหนักต่อความสำคัญของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
จึงมีความเห็นร่วมกันว่าจะสร้างคนรุ่นต่อๆไป
ให้มีโอกาสเรียนรู้และสัมผัสธรรมชาติ
และกระตุ้นให้เกิดแนวร่วมเยาวชนอนุรักษ์ธรรมชาติ
โดยตั้งกลุ่มเยาวชนอนุรักษ์ธรรมชาติว่า “กลุ่มต้นหญ้า”
ทั้งนี้หลังจาก
การจัดค่ายครั้งที่ 1 กลุ่มเยาวชนต้นหญ้าก็ไม่ได้รับทุนจากโรงเรียนฯ
อีกเนื่องจากโรงเรียนไม่มีทุนสนับสนุน ประกอบกับเด็กๆ
มาจากหลากหลายโรงเรียนทำให้ผู้บริหารโรงเรียนมีความจำเป็นที่จะต้องเลิกการ
สนับสนุน แต่กลุ่มเยาวชนต้นหญ้าก็ยังเดินหน้าจัดกิจกรรมค่ายธรรมชาติทุกๆ
ปีๆ ละ 2 ครั้ง โดยขอรับบริจาคอาหารจากวัด และทุนในการเดินทางจากการ
“เล่นดนตรีเปิดหมวก” และขอเงินสนับสนุนจากบุคคลทั่วไป กระทั่งปัจจุบัน
วิสัยทัศน์
• มุ่งเน้นให้เยาวชนมีส่วนร่วมในการหวงแหนและตระหนักต่อการใช้ทรัพยากร
• ส่งเสริมการกล้าแสดงออกของเยาวชน
• เน้นการจัดกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยไม่หวังผลตอบแทน
• คาดหวังสร้างเยาวชนให้มีความรู้เรื่องธรรมชาติ เป็นคนมีจิตใจดี เอื้ออาทรต่อเพื่อนมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
พันธกิจ
ปลูกฝังจิตสำนึกให้เด็กและเยาวชนรัก หวงแหนและตระหนักต่อการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุด
วัตถุประสงค์การดำเนินงาน
- ปลูกฝังจิตสำนึกให้เด็กและเยาวชนรัก หวงแหนและตระหนักต่อการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุด
- ดำเนินกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อเด็กและเยาวชน
- ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม
- เสริมสร้างความเป็นผู้นำ
- เป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็กและเยาวชน
- ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
- ไม่ทำงานเคลื่อนไหวในทุกกรณี
- สละแรงกายและแรงใจเพื่อกระทำกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยไมหวังสิ่งตอบแทน
ผู้บริหารองค์กร
- อาจารย์ไตรมาศ สาโหมด ที่ปรึกษากลุ่ม
- นางสาวบงกช ประทุมพันธุ์ นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง ประธานกลุ่ม
- นายกิตติพันธ์ สุริยัง รองประธานกลุ่ม
- นางสาวสิริมาส เกตุแก้ว นักศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประสานงาน
- นางสาววลีรัตน์ ดิษฐ์รอด มหาวิทยาลัยมหิดล เลขานุการ
- นายวิทยา เกิดทวี มหาวิทยาลัยรามคำแหง หัวหน้าฝ่ายสวัสดิการ
- นายฐันดร เกษจันทร์ ราชภัฎธนบุรี หัวหน้าฝ่ายวิชาการ
- นางสาวมัณฑนา ผ่องประภา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ หัวหน้าฝ่ายสันทนาการ
- นางสาวสุนิสา วงศ์จิรัง เหรัญญิก
- นายอรรถพงษ์ อตมศิริกุล คณะกรรมการ ฯลฯ
รูปแบบการบริหารจัดการ
กลุ่มเยาวชนต้นหญ้ามีรูปแบบการบริหารจัดการที่แบ่งหน้าที่กันค่อนข้างชัดเจน ดังนี้
- ที่ปรึกษากลุ่ม- ทำหน้าที่ให้คำแนะนำกับเยาวชน
- ประธานกลุ่ม-ทำหน้าที่วางแผนงาน ควบคุมการทำงานและดูแลภาพรวม
- ประสานงาน – ทำหน้าที่ติดตามงานที่ประชุมวางแผนไว้ ติดต่องานกับทุกฝ่าย และรับงานจากประธาน
- มีเลขานุการ-ทำหน้าที่บันทึกเรื่องการประชุม,รายงาน,ติดตามผล,ควบคุมเวลาในการประชุม
นอกจาก นี้ยังมีฝ่ายการเงิน ,ฝ่ายกิจกรรม, ฝ่ายสวัสดิการ,ฝ่ายประชาสัมพันธ์และเอกสาร ทำให้เกิดการแบ่งบทบาทในการรับผิดชอบอย่างชัดเจน แต่อย่างไรก็ตามเมื่อฝ่ายใดหรือส่วนใดมีปัญหาก็ตามทุกคนในกลุ่มเยาวชนต้น หญ้าจะร่วมมือกันแก้ไขปัญหาและผลักดันภารกิจบรรลุเป้าหมายร่วมกันเสมอ
ความสำเร็จ
- เยาวชน ที่เข้าร่วมกิจกรรมค่ายธรรมชาติส่วนใหญ่จะเปลี่ยนวิถีชีวิต คือใช้ชีวิตที่ง่ายขึ้น เยาวชนบางคนกิน อยู่ หลับนอนอย่างสุขสบายไม่เคยได้สัมผัสกับดินก็เปลี่ยนแปลงเป็นคนที่ไม่ รังเกียจดิน กินอยู่ง่าย ไม่เรื่องมาก
- เยาวชนรู้คุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ป่าไม้ สัตว์ป่า
- เยาวชนที่เข้าร่วมค่ายธรรมชาติ เกิดความตระหนักและต้องการช่วยสานต่อกิจกรรมของกลุ่มให้กับเยาวชนรุ่นหลังต่อไปเรื่อยๆ
- เยาวชนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ไม่ทำตัวให้เป็นภาระของสังคม
- สามารถสร้างเยาวชนที่มีจิตอาสาได้ทุกๆ ปีๆละไม่ต่ำกว่า 20 คน
- กลุ่ม เยาวชนต้นหญ้าดำเนินกิจกรรมมา 13 ปีผลิตเยาวชนรุ่นใหม่ๆ ทุกๆ ปีปัจจุบันเป็นรุ่นที่ 13 แต่ยังมีเยาวชนรุ่นพี่เก่าๆ ยังวนเวียนช่วยเหลือกิจกรรมของกลุ่มอยู่ไม่ขาด (ตั้งแต่รุ่น 3 –รุ่น 12 ยังคงทำกิจกรรมอยู่)
- เยาวชนเผยแพร่เรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติต่อไปยังครอบครัว กลุ่มเพื่อนทั้งในและนอกโรงเรียน
- เยาวชน กลุ่มต้นกล้าที่ผ่านกระบวนการของกลุ่มแล้วจบออกไปไม่ว่าจะเรียนหรือทำงาน ส่วนใหญ่จะตระหนักเห็นคุณค่าของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บางคนทำงานแล้วก็มีส่วนในการผลักดันให้บริษัทสนับสนุนงบประมาณในการช่วย เหลือสังคมและสิ่งแวดล้อม
- กลุ่มเยาวชนต้นหญ้ามีความยั่งยืนและทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องมา 13 ปีโดยไม่มีแหล่งทุนสนับสนุนงบประมาณให้
เงื่อนไขความสำเร็จขององค์กร
- ไม่ ใช้เงินในการทำกิจกรรมเป็นตัวตั้ง แต่จะใช้ภารกิจเป็นตัวตั้งและทำให้ถึงเป้าหมายโดยมองว่าเงินไม่ใช่ปัจจัย หลัก เพราะแม้บางครั้งไม่มีเงินทำกิจกรรม สมาชิกกลุ่มก็จะเรี่ยไรกันเองหรือไปเล่นดนตรีเปิดหมวกเพื่อหารายได้
- สมาชิก กลุ่มมีใจมุ่งมั่น และทุ่มเทในการทำกิจกรรม แม้บางคนจะจบชั้นมัธยมปลายไปศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาแล้ว แต่ก็ยังกลับมาช่วยเหลือกลุ่ม หรือบางคนเรียนจบออกไปทำงานแล้วก็ยังหาเวลาหยุดงานเพื่อทำกิจกรรมของกลุ่ม
- การ มีที่ปรึกษาที่เป็นอาจารย์จึงเน้นการทำกิจกรรมซึ่งจะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อ การเรียน หากผู้ใดที่ปัญหาเรื่องการเรียนจะต้องหยุดการทำกิจกรรมเพื่อจัดการกับการ เรียนให้เรียบร้อยก่อน
- มี ธรรมนูญของกลุ่มฯที่เคร่งคัด เน้นเรื่องการเรียน ห้ามเรื่องชู้สาว และการประพฤติผิดเรื่องยาเสพติด หากใครละเมิดธรรมนูญของกลุ่มจะมีกระบวนการสืบสวนหาข้อเท็จจริง กดดันให้เลิกพฤติกรรมหรือหากไม่เชื่อฟังจะต้องหยุดการทำกิจกรรมในนามของ กลุ่ม
- เปิด โอกาสให้เยาวชนรุ่นใหม่ได้ขึ้นมาเรียนรู้การทำกิจกรรมและรับผิดชอบหน้าที่ ชัดเจน ทำให้เยาวชนรุ่นใหม่ๆ เห็นคุณค่าในตัวเองขณะเดียวกันรุ่นพี่ที่สร้างน้องรุ่นใหม่ๆ ได้สำเร็จก็เกิดความภาคภูมิใจที่เห็นรุ่นน้องเป็นคนมีคุณค่ามีประโยชน์ต่อ สังคม
- มีกิจกรรมให้สมาชิกในกลุ่มได้พบปะ พูดคุย และสร้างสรรค์ร่วมกันเป็นประจำ
- มี ความรักความห่วงใยให้กันเหมือนกันคนในครอบครัวเดียวกัน ไม่เพียงแต่เรื่องกิจกรรมของกลุ่มเท่านั้นแต่รวมไปถึงเรื่องการเรียน การงาน ชีวิตส่วนตัวสมาชิกในกลุ่มจะคอยดูแลเอาใจใส่กันเสมอ
- มีผู้อำนวยการโรงเรียนฤทธิณรงค์รอน เอื้อเฟื้อสถานที่ให้กลุ่มต้นหญ้าได้ประชุม เตรียมงาน และนอนผักแรกก่อนวันเดินทางเข้าค่ายทุกๆ ปี
- การที่กลุ่มฯไม่มีองค์กรสนับสนุนงบประมาณ ทำให้มีอิสระในการดำเนินกิจกรรมและไม่มีปัญหาเรื่องการบริหารจัดการเงินทุน
- รุ่น พี่และอาจารย์ที่ปรึกษาของกลุ่มคอยกระตุ้น และให้กำลังใจ กับรุ่นน้องให้เกิดพลังและความมั่นใจที่จะก้าวขึ้นมาเป็น “พี่เลี้ยง” ในค่าย
- รุ่นพี่มีความเสียสละสูง ไม่เอาเปรียบรุ่นน้อง และไม่เห็นแก่ตัว
- คิดปรับปรุงรูปแบบกระบวนการอยู่เสมอ
- กิจกรรมทั้งหมดอยู่บนฐานความปลอดภัยของเยาวชน
องค์ความรู้จากการดำเนินงาน
- รูป แบบในการปลูกจิตสำนึกให้เยาวชนรัก หวงแหนธรรมชาติสิ่งแวดล้อมโดยการร้อยเรียงความรู้สึกตั้งแต่ระดับเริ่มต้น กระทั่งกิจกรรมที่กระทบความรู้สึกที่มีต่อธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง เช่น “กวางน้อย” และ “ป่ามองฉัน”
- รูปแบบการสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ธรรมชาติให้ลึกถึงความคิดและจิตใจกลุ่มเป้าหมาย
รางวัลความสำเร็จ
- กลุ่มเยาวชนต้นหญ้าเคยติดอันดับ 1 ใน 10 โครงการดีเด่นระดับประเทศ ในการชิงรางวัล Think Earth เมื่อ พ.ศ.2539
- กลุ่มเยาวชนต้นหญ้าได้รับการเชิญให้ไปทำกิจกรรมฐานการเรียนรู้ในวันชุมนุมลูกเสือโลกครั้งที่ 20 พ.ศ. 2546
บทความที่น่าสนใจ
- ค่ายปันหัวใจให้ผืนป่า
- ค่ายฝึกอบรมการเป็นพี่เลี้ยงค่ายธรรมชาติ
- โครงการแบ่งฝันปันรักสู่น้องน้อย
- ต้องการสถานที่ ในการทำกิจกรรม เช่นการประชุม เตรียมความพร้อมก่อนลงพื้นที่ เนื่องจากปัจจุบัน ขอใช้สถานที่ของโรงเรียนฤทธิณรงค์รอนอย่างไม่เป็นทางการ
- ต้องการงบประมาณสนับสนุนต่อเนื่อง
กลุ่มเยาวชนต้นหญ้า
ที่อยู่: โรงเรียนฤทธิณรงค์รอน บางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร 10600
โทรศัพท์: 086-5367419
โทรสาร: 02-4657893
Website: http://www.tonya.coolfreepage.com
|