กลุ่มยุวชนสร้างสรรค์
จัดตั้ง: 8 ก.ค. 2558
ข้อมูลองค์กร

­

ประวัติความเป็นมา

เพราะต้องการเห็นเยาวชนของ ชาติเป็นเด็ก เก่ง ดี และมีสุข กลุ่มยุวชนสร้างสรรค์จึงถูกพัฒนาขึ้นมาตั้งแต่ปี 2539 ต่อยอดจากกิจกรรม”พี่ช่วยน้อง” ในลักษณะการให้ทุนการศึกษา และกิจกรรมค่ายที่เน้นหลักธรรมของท่านพุทธทาส ของ “กลุ่มลานสนสัมพันธ์” มาสู่กิจกรรมรวมเครือข่ายเด็กในจังหวัดสุราษฎร์ ที่เน้นการให้เด็กได้คิดเอง ทำเอง เปิดโลกการเรียนรู้นอกห้องเรียนที่จะทำให้เด็กคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น เกิดการพัฒนาที่เป็นการสร้างแกนนำรุ่นพี่รุ่นน้องดูแลสืบทอดกันต่อมาจนถึง ปัจจุบัน รวมทั้งสร้างสัมพันธ์เชื่อมโยงความเข้าใจกับผู้ใหญ่ทั้งภายในและภายนอกจน เกิดความร่วมมือสนับสนุนกิจกรรมพัฒนาศักยภาพเยาวชน และเป็นกิจกรรมที่ทำให้ “เสียงเด็ก” เข้าไปมีบทบาทในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของตน

­

วิสัยทัศน์

กระบวนการเรียนรู้แนวใหม่ เพื่อเด็ก เก่ง ดี มีสุข

­

พันธกิจ

ส่งเสริมและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมของกลุ่มเยาวชน

­

วัตถุประสงค์การดำเนินงาน

เพื่อ สร้างเสริมกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเยาวชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้เป็นเด็กที่คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น (เก่ง ดี มีสุข) ผ่านการทำกิจกรรมในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การจัดค่ายเยาวชน การทำงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นในประเด็นที่เด็ก ๆ ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ช่วยกันหาความรู้ หาคำตอบ และแนวทางแก้ไข

­

ผู้บริหารองค์กร

  • นายนิวัตร์ โฮ้เต้กิม

­

รูปแบบการบริหารจัดการ

กลุ่ม ยุวชนสร้างสรรค์เป็นกลุ่มเยาวชนที่รวมตัวกันอย่างไม่มีโครงสร้างชัดเจน เพราะเป็นการรวมตัวกันของกลุ่มเยาวชนหลายพื้นที่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในลักษณะเครือข่าย มีกระบวนการทำงานเป็นทีมเป็นหัวใจของการทำงาน ใช้ความสัมพันธ์แบบรุ่นพี่รุ่นน้องและการทำกิจกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นใน ด้านต่าง ๆที่มีทั้งที่มาจากตัวเด็กเอง ครู และชุมชน เป็นแกนในการทำงาน โดยเฉพาะการใช้งานวิจัยเป็นเครื่องมือจัดการเรียนรู้/กิจกรรมการเรียนรู้ที่ เหมาะสม และยังยึดโยงเด็กให้เข้าใจตนเอง เข้าใจสังคมชุมชนของตนเองมากยิ่งขึ้น กิจกรรมที่เกิดขึ้นจึงถูกพัฒนาขึ้นอย่างหลากหลาย มีทั้งการให้ทุนการศึกษา การจัดค่ายเยาวชน และการทำโครงการวิจัย โดยมีรุ่นพี่ที่ถูกพัฒนาขึ้นรุ่นแล้วรุ่นเล่าเป็นพี่เลี้ยง และยังคงมี ครูนิวัตร์ และครูเจริญศรี โฮ้เต้กิม สองแกนนำผู้ก่อตั้งยังคงเป็นที่ปรึกษาและคอยผลักดันกิจกรรมเพื่อเปิดโลกการ เรียนรู้แนวใหม่ให้กับเยาวชนจังหวัดสุราษฎร์ฯอย่างต่อเนื่อง ผ่านการเชื่อมโยงการทำงานกับเครือข่ายทั้งกลุ่มเด็ก หน่วยงาน องค์กรภายในและภายนอก กล่าวโดยสรุป น่าจะมีโครงสร้างการบริหาร กล่าวคือ

  • มีครูนิวัตร์และครูเจริญศรี โฮ้เต้กิม เป็นที่ปรึกษา เชื่อมโยงการสนับสนุนการทำกิจกรรมจากทั้งภายในและภายนอก
  • ใช้ระบบการทำงานแบบพี่เลี้ยง ที่มีแกนนำรุ่นพี่ที่อาสามาช่วยการทำกิจกรรมของน้อง ๆ ในลักษณะต่าง ๆ มีระบบพี่น้องภายในกลุ่ม
  • ใช้ กระบวนการทำงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ผ่านการคิดเอง ทำเอง ค้นหาความรู้ วิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุจากเรื่องใกล้ตัวที่เด็กริเริ่มเอง ร่วมกันหาทางออก และลงมือทำ เป็นการเรียนรู้จากการปฏิบัติ


เงื่อนไขความสำเร็จขององค์กร

  • กิจกรรม หลักของกลุ่มยุวชนสร้างสรรค์ คือ การสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับเด็ก ๆ และตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา ได้นำงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นมาเป็นแนวทางในการทำกิจกรรมกับเยาวชน โดยยึดหลักการให้เด็กช่วยกันคิด ช่วยกันเลือกประเด็นที่ตัวเองมีความสนใจ และร่วมกันหาความรู้ ร่วมกันคิดวางแผนทำกิจกรรมนั้นให้เป็นไปตามเป้าหมาย โดยมีพี่ ๆ ทำหน้าที่ให้คำปรึกษา นั่นคือ การมีระบบพี่น้องภายในกลุ่ม
  • การ ยึดมั่นแนวทางการทำงานอย่างมีส่วนร่วม ในความหมายแบบเข้มที่เยาวชนมีบทบาทหลักในการดำเนินงานทุกขั้นตอนจากการ ตัดสินใจร่วมกันของสมาชิก ทำให้เด็ก ๆ เกิดการพัฒนาวิธีคิด มีความสามารถหลาย ๆ ทางในกระบวนการพัฒนากลุ่มเยาวชนของตนเองได้ต่อไป เกิดการสร้างแกนนำรุ่นแล้วรุ่นเล่าสืบทอดกันมาู่
  • การ มีหลักศาสนาคอยยึดเหนี่ยวจิตใจ โดยทุกกิจกรรมจะสอดแทรกหลักธรรมของท่านพุทธทาส แห่งสวนโมกข์ฯเพื่อให้เด็กได้ซึมซับ โดยวัฒนธรรมการเรียนรู้ที่ได้รับสืบทอดคือวัฒนธรรมการเรียนรู้ภายในตัว การเรียนรู้ในเชิงศาสนธรรมเป็นแนวสำคัญของกลุ่ม ซึ่งมีกระบวนการเรียนรู้อย่างบูรณาการกับแบบแผนการเรียนรู้ทุก ๆ ด้าน และยังมีกิจกรรมการเรียนรู้ที่สวนโมกข์สม่ำเสมอ
  • สามารถ พัฒนาพี่เลี้ยงที่มีความสามารถในการทำงานแบบมีส่วนร่วม การร่วมมือกับเยาวชนในการสื่อสาร สร้างความเข้าใจกับพ่อแม่ ครู และชุมชน
  • สามารถ สร้างการเรียนรู้รูปแบบใหม่ ที่เป็นการเรียนรู้หลายมิติ ใช้ชีวิตเป็นตัวตั้ง เรียนไปปฎิบัติไป เรียนรู้เพื่อพัฒนาชีวิตด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เป็นการเรียนรู้ที่มีการประสานระหว่างเรื่องราวความเป็นจริงของชีวิตกับสิ่ง แวดล้อมที่อยู่ ท่ามกลางบรรยากาศแห่งการเรียนรู้
  • การ เรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติจริง การทบทวน สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง กระทั่งการวางแผนกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อก้าวต่อตามความสนใจของเด็ก ๆ ทำให้เห็นพัฒนาการที่เกิดขึ้นกับตัวเด็กคือ กระตุ้นให้อยากค้นหาและพัฒนาสิ่งที่ทำอยู่มีความสนใจและชวนคิดสิ่งใหม่อยู่ เสมอ
  • เกิด เครือข่ายกัลยาณมิตรของ บุคคล/องค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกจังหวัดที่เข้าใจและหนุนช่วย การสร้างกิจกรรมเรียนรู้เด็กในรูปแบบต่าง ๆ เป็นการเชื่อมโยงกันอย่างสร้างสรรค์ ในลักษณะแสวงหาจุดร่วม สงวนจุดต่าง ใช้การชวนเด็ก ๆ และครูมาร่วมกันเรียนรู้ จากประเด็นของเด็ก โรงเรียน ชุมชน โดยใช้กระบวนการที่เหมาะสม ทั้งนี้เครือข่ายกัลยาณมิตรของกลุ่มยุวชนสร้างสรรค์ ได้แก่ กลุ่มเพื่อนลานสนสัมพันธ์ กลุ่มน้ำใจครู มูลนิธิการศึกษาเพื่อชีวิตและสังคม มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม มูลนิธิธรรมสวัสดิ์ เครือข่ายเยาวชน 4 ภาค เป็นต้น
  • กลุ่มยุวชนสร้างสรรค์สามารถนำกระบวนการต่าง ๆ มาปรับใช้อย่างเหมาะสมกับตนเอง ภายใต้กรอบคิดและวัฒนธรรมของกลุ่มที่ชัดเจน ได้แก่
    1. การศึกษาโดยกลุ่มเยาวชนที่มีรูปแบบการเรียนรู้ 7 รูปแบบ คือ การศึกษาจากการปฎิบัติ การสื่อสารประชาสัมพันธ์/รณรงค์ ชุมชนศึกษา การซึมซับถ่ายทอดแบบอย่างที่ดี การสนทนาที่ลึกซึ้ง การศึกษาดูงาน และการฝึกอบรม
    2. มีการสืบสานสายใยถึงครอบครัว และชุมชน
    3. มีบรรยากาศการเรียนรู้ที่สนุก สดชื่น แจ่มใส เมื่อเข้ามาอยู่ในระบบสายสัมพันธ์ภายในกลุ่ม ที่มีการช่วยเหลือกันด้วยความเป็นพี่น้อง
โครงการขององค์กร
  • โครงการวิจัยศึกษารูปแบบและแนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยการสนับสนุนทุนจาก สกว.

ชื่อหัวหน้าโครงการ : กลุ่มยุวชนสร้างสรรค์

ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้ : 57/7 ม.5 ต.บางกุ้ง อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000

โทรศัพท์ : 077-303-034,077-213-175์

โทรสาร :

Website :


  • โครงการส่งเสริมและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ โดยการสนับสนุนทุนจาก สกว.

ชื่อหัวหน้าโครงการ : กลุ่มยุวชนสร้างสรรค์

ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้ : 57/7 ม.5 ต.บางกุ้ง อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000

โทรศัพท์ : 077-303-034,077-213-175์

โทรสาร :

Website :


  • โครงการ ศึกษาแนวทางการจัดการปัญหาขยะอย่างสร้างสรรค์โดยกลุ่มเยาวชนต้นกล้านาใหญ่ โรงเรียนบ้านนาใหญ่ อ.พุนพิน โดยการสนับสนุนทุนจาก สกว.

ชื่อหัวหน้าโครงการ : กลุ่มยุวชนสร้างสรรค์

ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้ : 57/7 ม.5 ต.บางกุ้ง อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000

โทรศัพท์ : 077-303-034,077-213-175์

โทรสาร :

Website :


  • โครงการศึกษาแนวทางการฟื้นฟูคลองใน ต.คลองน้อย โดยกลุ่มเยาวชนคลองน้อย อ.เมือง โดยการสนับสนุนทุนจาก สกว.

ชื่อหัวหน้าโครงการ : กลุ่มยุวชนสร้างสรรค์

ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้ : 57/7 ม.5 ต.บางกุ้ง อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000

โทรศัพท์ : 077-303-034,077-213-175์

โทรสาร :

Website :


  • โครงการวิจัยศึกษาแนวทางการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติในภูมินิเวศน์ลุ่มน้ำคันธุลี โดยการสนับสนุนทุนจาก สกว.

ชื่อหัวหน้าโครงการ : กลุ่มยุวชนสร้างสรรค์

ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้ : 57/7 ม.5 ต.บางกุ้ง อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000

โทรศัพท์ : 077-303-034,077-213-175์

โทรสาร :

Website :


  • เป็นกลุ่มเยาวชนเครือข่ายในโครงการสืบสานภูมิปัญญาโดยการสนับสนุนของวิทยาลัยการจัดการทางสังคม (วจส.)

ชื่อหัวหน้าโครงการ : กลุ่มยุวชนสร้างสรรค์

ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้ : 57/7 ม.5 ต.บางกุ้ง อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000

โทรศัพท์ : 077-303-034,077-213-175์

โทรสาร :

Website :


  • การเรียนรู้ในวิถีทางสุขภาวะ โดยการสนับสนุนจากโครงการพัฒนาชุมชนเป็นสุขที่ภาคใต้ ดับบ้านดับเมือง เรียนรู้อยู่ดีที่ภาคใต้

ชื่อหัวหน้าโครงการ : กลุ่มยุวชนสร้างสรรค์

ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้ : 57/7 ม.5 ต.บางกุ้ง อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000

โทรศัพท์ : 077-303-034,077-213-175์

โทรสาร :

Website :

รวมมือร่วมใจ/ขยายผล

เชื่อมโยงเครือข่าย/การสนับสนุนการทำกิจกรรมเรียนรู้เยาวชน

ติดต่อองค์กร
กลุ่มยุวชนสร้างสรรค์
ที่อยู่: 57/7 ม.5 ต.บางกุ้ง อ.เมือง สุราษฎร์ธานี 84000
โทรศัพท์: 077-303-034