ประวัติความเป็นมา
กลุ่มต้นน้ำเกิดขึ้นจากการรวม ตัวของเยาวชนจำนวน 20 คนในปี พ.ศ.2544 ที่มีโอกาสเข้าไปสัมผัสการทำงานเพื่อสังคมในการณรงค์และเผยแพร่ความรู้ เรื่องเอดส์และเพศศึกษาจนมีแนวคิดที่ว่า “เยาวชนน่า จะทำอะไรให้สังคมได้บ้าง” จึงรวมตัวกันจนกลายเป็นกลุ่มเยาวชนที่ทำงานเพื่อสังคมในหลายด้านและเริ่มใช้ ชื่อกลุ่มต้นน้ำเมื่อ วันที่ 19 พฤศจิกายน 2545 โดยมียึดมั่นคำว่า "สายน้ำแห่งความฝัน สร้างสรรค์เยาวชน" เป็นแนวทางในการทำงาน เพราะเมื่อเปรียบสังคมเป็นสายน้ำที่ยิ่งใหญ่ เยาวชนก็คงเป็นส่วนเล็กๆ ของต้นกำเนิดของสายน้ำ ซึ่งเยาวชนเองน่าจะสร้างสรรค์ให้น่าอยู่ได้เช่นเดียวกัน จากวันนั้นถึงวันนี้กลุ่มต้นน้ำได้จัดกิจกรรมเพื่อสังคมมากมาย และยังดำเนินกิจกรรมร่วมกับภาคีในภาคส่วนต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นกิจกรรมไปที่เยาวชนเป็นหลัก ซึ่งกลุ่มต้นน้ำเชื่อว่ารากฐานที่แท้จริงของสังคมคือการพัฒนาเยาวชนนั่นเอง
วิสัยทัศน์
มุ่งสร้างเยาวชนอาสาสมัครรักบ้านเกิด
พันธกิจ
ปลูกฝังให้เด็กเยาวชนตระหนัก ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน พร้อมหันมาช่วยกันป้องกันรักษาชุมชนและสังคมให้ดีขึ้น เป็นการสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนในพื้นที่ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
วัตถุประสงค์การดำเนินงาน
- เพื่อสร้างสรรค์พลังของเยาวชนอาสาสมัครให้มีส่วนร่วมและการพัฒนาสังคม ชุมชนและประเทศ
- สร้างมุมมองเยาวชนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพของเยาวชนและสามารถทำงานได้อย่างเป็นระบบ
- ส่งเสริมสนับสนุนเยาวชนให้เกิดแนวคิดที่จะช่วยเหลือคนในชุมชน สร้างความตระหนัก รักบ้านเกิด และพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
- สร้างเครือข่ายเยาวชนในการทำงานแบบบูรณาการด้านการพัฒนาชุมชนของตนเอง
- สร้างเครือข่ายการทำงานระหว่างหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ในพื้นที่รวมทั้งเครือข่ายเยาวชนด้วยกันเอง
ผู้บริหารองค์กร
คณะทำงานกลุ่มต้นน้ำ
- นายกรกฤต ฉันรัตนโยธิน ประธานกลุ่มต้นน้ำอุบลราชธานี
- นายภูวนัตถ์ กอมณี รองประธานกลุ่มต้นน้ำ
- นายวิชา สารบูรณ์ ผู้ประสานงานกลุ่ม
- นางสาวสุวรรณา สารภี เลขานุการและเหรัญญิก
- นางสาวลัดดาวัลย์ ศรีลาเลิศ อาสาสมัคร
- นางสาวสุธัญญา พวงเขียว อาสาสมัคร
- นายไพฑูรย์ สุดโททอง อาสาสมัคร
- นายยุทธนา ศรีวัฒนานนท์ อาสาสมัคร
- นางสาวสุทาธินี โคตรคันทา อาสาสมัคร
- นายอัฐชา ภารการ อาสาสมัคร
- นางสาวเกศสินี เที่ยงทำ อาสาสมัคร
- นายวินัย มนัส อาสาสมัคร
- นางสาวบุญยืน พัตรา อาสาสมัคร
- นายวุฒิพงษ์ วิไลลักษณ์ อาสาสมัคร
คณะที่ปรึกษา
- โรงพยาบาลเขื่องใน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี
- มูลนิธิรักษ์ไทยอุบลราชธานี
- หัวหน้าบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดอุบลราชธานี
- ผศ. ชื่น ศรีสวัสดิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี
รูปแบบการบริหารจัดการ
- ประธานกลุ่ม : ทำหน้าที่ดูแลการดำเนินงานโดยรวมของกลุ่ม ประสานงานกับหน่วยงานภาคี เป็นตัวแทนกลุ่มในโอกาสต่างๆ รับผิดชอบโครงการ และประสานงานกับแหล่งทุนต่างๆ เพื่อสนับสนุนการจัดทำโครงการ
- รองประธาน : ทำ หน้าที่ช่วยเหลืองานของประธานกลุ่ม ประสานงานกิจกรรมในพื้นที่อำเภอเขื่องในซึ่งเป็นพื้นที่หลักในการทำงาน รับผิดชอบดูแลโครงการส่งต่อรอยยิ้ม
- ผู้ประสานงานกลุ่ม : ทำหน้าที่ประสานงานกับอาสาสมัครในการจัดกิจกรรมโครงการต่างๆ แจ้งข่าวความเคลื่อนไหวของกิจกรรม ดูแลงานประชาสัมพันธ์กิจกรรมกลุ่ม ดูแลเว็บไซด์ รับผิดชอบโครงการที่ได้รับมอบหมาย
- เลขานุการและเหรัญญิก : รับผิดชอบและจัดทำเอกสารการเงิน รายงานความก้าวหน้าโครงการ และช่วยเหลืองานประธานกลุ่มตามที่ได้รับมอบหมาย
- อาสาสมัคร : ช่วยเหลือกิจกรรมโครงการของกลุ่ม ร่วมวางแผน เสนอ แนะความเห็นและตัดสินใจเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินกิจกรรมของกลุ่ม
เงื่อนไขความสำเร็จขององค์กร
- เยาวชนและคนในชุมชนมีวิธีแก้ไขปัญหาในชุมชนของตนเองได้อย่างถูกต้อง
- ทุกเครือข่ายทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
- เยาวชนมีกระบวนการคิด วิเคราะห์ปัญหาและมีวิธีการทำงานแบบมีส่วนร่วมได้อย่างถูกต้อง
- ชุมชน รู้จักและตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลชุมชนของตนเอง ทำให้เยาวชนได้รับการยอมรับในบทบาทการให้ความรู้และเป็นผู้ประสานในงานพัฒนา ชุมชนต่างๆ
องค์ความรู้จากการดำเนินงาน
- ระยะ เวลา 3 ปีนับแต่มีการรวมตัวของกลุ่มเยาวชน สมาชิกทุกคนจะต้องมีการถอดบทเรียนถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ ปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน ทุกครั้งหลังการดำเนินงานเสร็จสิ้น เพื่อให้ทำงานเป็นระบบมากยิ่งขึ้น
- เกิดกระบวนการเรียนรู้และมีความคิดเชิงภาวะผู้นำ อันจะนำไปสู่กิจกรรมสร้างสรรค์ในกลุ่มเด็กและเยาวชน
- เปิดโอกาสให้เด็กในพื้นที่และคนในชุมชนได้มีโอกาสทำงานด้านการพัฒนาชุมชนร่วมกัน
- สร้างความต่อเนื่องและความยั่งยืนในการพัฒนาศักยภาพ ด้านการเป็นผู้นำในเด็กและเยาวชนที่ด้อยโอกาส
- ครอบครัวและองค์กรต่างๆในชุมชน เข้ามามีบทบาทและมีส่วนร่วมสนับสนุน ในการดำเนินกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับเด็กและเยาวชน
รางวัลความสำเร็จ
- รอยยิ้ม ของผู้ได้รับความช่วยเหลือและพลังของเยาวชนที่ รวมตัวกันเป็นอาสาสมัคร ถือเป็นทุนทางสังคมที่ช่วยกันพัฒนาสร้างสรรค์สังคม
ผลงาน/โครงการที่น่าสนใจ
- ปี พ.ศ.2544 - 2546 จัดละครรณรงค์ด้านสุขภาพ ในวันเอดส์โลก จังหวัดอุบลราชธานี
- ปี 2545 จัดค่ายสร้างสรรค์คนดีอำเภอเขื่องใน(ร่วมกับโรงพยาบาลเขื่องใน)
- ปี 2546 – 2547 จัดกิจกรรมห้องสมุดเคลื่อนที่ ตามโรงเรียนชายแดน ไทย – ลาว จังหวัดอุบลราชธานี (ร่วมกับมูลนิธิรักษ์ไทย จังหวัดอุบลราชธานี)
- ปี 2547 – 2548 จัดอบรมแกนนำเยาวชนเรื่องเอดส์และเพศศึกษา ในโครงการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อเอดส์ในชุมชน พื้นที่ อ.เดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี,อำเภอ ขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ (ร่วมกับมูลนิธิรักษ์ไทย)
- ปี 2548 จัดค่ายเยาวชนรักษ์สิ่งแวดล้อม ให้กับเยาวชนในชุมชนบ้านวังอ้อ และ วังถ้ำ ตำบลหัวดอน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี ณ ป่าดงใหญ่วังอ้อ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี โดยการสนับสนุนงบประมาณจาก อาสาสมัครพัฒนาจากประเทศสหรัฐอเมริกา
- ปี 2548 ร่วมก่อตั้งเครือข่ายเยาวชนต้นน้ำ ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของกลุ่มเยาวชนที่ทำงานด้านเอดส์ในจังหวัด อุบลราชธานี ศรีสะเกศ มุกดาหาร นครพนม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ จำนวน 23 กลุ่มเยาวชน
- วันที่ 1 มิถุนายน 2548 – 31 มีนาคม 2549 จัดกิจกรรมโครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายเยาวชนทำงานด้านเอดส์ เขต 7 โดยสนับสนุนงบประมาณจากองค์การยูนิเซฟประเทศไทย
- เดือน ตุลาคม 2550 จัดกิจกรรมโครงการส่งต่อรอยยิ้ม “ซ่อมบ้านให้ยายน้อย”
- สำหรับหน่วยงาน หรือบุคคลใดที่สนใจโครงการและกิจกรรม ทางกลุ่มต้นน้ำยินดีเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะแรงกาย แรงใจ และสิ่งของ เพื่อช่วยเหลือสังคม
- การสนับสนุนและร่วมประชาสัมพันธ์กิจกรรมจะทำให้การช่วยเหลือเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น
กลุ่มต้นน้ำ
ที่อยู่: 4 /3 ถนนสุริยาตร์ ซอย 2 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง อุบลราชธานี 34000
โทรศัพท์: 0-4524-3520,0-4526-3907,08-6653-0539
Email: wicha_manu@hotmail.com
Website: http://www.konthaiban.com
|