กลุ่มกัลยาณมิตรเพื่อการเสริมสร้างเครือข่ายวิถีพุทธ (กคพ.)
จัดตั้ง: 8 ก.ค. 2558
ข้อมูลองค์กร

ประวัติความเป็นมา

กลุ่มกัลยาณมิตรเพื่อการเสริม สร้างเครือข่ายวิถีพุทธ(กคพ.)เกิดจากความคิดริเริ่มของ พระมหาพงศ์นรินทร์ ฐิตวํโส ที่ต้องการสนับสนุนการทำงานของเครือข่ายวิถีพุทธ ซึ่งเป็นเครือข่ายที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการศึกษา การเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน อาทิ โครงการโรงเรียนวิถีพุทธ โครงการประกวดโครงงานคุณธรรมเฉลิมพระเกียรติ “เยาวชนไทย ทำดี ถวายในหลวง” โดยมีภารกิจหลักคือประสานความร่วมมือในการทำงานระหว่างองค์กรต่างๆ ได้แก่ โรงเรียนรุ่งอรุณ โรงเรียนทอสี โรงเรียนอนุบาลหนูน้อย สพฐ.ศูนย์คุณธรรม มูลนิธิโรงเรียนรุ่งอรุณ สถาบันอาศรมศิลป์ เป็นต้น เพื่อให้เครือข่ายที่ทำงานด้านการศึกษาวิถีพุทธ ด้านเด็กและเยาวชนเหล่านี้ ได้ร่วมกันมีพื้นที่ทางความคิด ทำงานร่วมกัน และทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันต่อไป

­

วิสัยทัศน์

เสริมสร้างและพัฒนาเครือข่ายองค์กรและบุคคล ที่ทำงานเกี่ยวกับการศึกษาวิถีพุทธ และการเรียนรู้แบบองค์รวมของเด็กและเยาวชน

­

พันธกิจ

ประสานความร่วมมือระหว่าง องค์กรต่าง ๆ ที่ทำงานเกี่ยวกับการศึกษาวิถีพุทธ และการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ใหม่ๆ ที่ส่งเสริมการทำความดีและสื่อสารความดี

­

วัตถุประสงค์การดำเนินงาน

  • ประสานงานและดำเนินการให้เกิดเครือข่ายการศึกษาวิถีพุทธ ในทุกภูมิภาค และทุกมิติอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
  • เชื่อม ประสานภาคีเครือข่ายต่างๆ ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และพัฒนาความเป็นกัลยาณมิตรให้เกิดขึ้นอย่างแท้จริง เพื่อร่วมกันคิดและช่วยกันทำงานต่อไป
  • คิดค้นและพัฒนานวัตกรรมเพื่อส่งเสริมการศึกษาวิถีพุทธ และส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนอย่างเป็นองค์รวม
  • สนับสนุน และติดตามเพื่อให้เกิดการรวบรวมประมวลข้อมูล การวิเคราะห์วิจัย และสังเคราะห์องค์ความรู้ใหม่ ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันขององค์กรภาคีเครือข่ายต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้เป็นฐานความรู้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนสืบต่อไป

­

ผู้บริหารองค์กร

  • พระมหาพงศ์นรินทร์ ฐิตวํโส ประธานกลุ่มกัลยาณมิตรเพื่อการเสริมสร้างเครือข่ายวิถีพุทธ(กคพ.)
  • พระมหาวิชาญ สุวิชาโน หัวหน้าพระวิทยากร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดยานนาวา
  • พระมหานภันต์ สนฺติภทฺโท พระวิทยากรหัวหน้ากลุ่มพัฒนาจิต “เพื่อชีวิตดีงาม” วัดสระเกศ กรุงเทพฯ
  • พระเจษฎา สมาหิโต พระวิทยากรแกนนำโครงการโรงเรียนวิถีพุทธอ่างทอง วัดลานช้าง จังหวัดอ่างทอง
  • พระสรยุทธ์ ชยปญฺโญ รักษาการเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม จังหวัดเชียงใหม่
  • รศ.บุญนำ ทานสัมฤทธิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ร่วมก่อตั้งโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ
  • รศ.ประภาภัทร นิยม ผู้อำนวยการโรงเรียนรุ่งอรุณและสถาบันอาศรมศิลป์ เหรัญญิก กคพ.
  • ดร.สิริกร มณีรินทร์ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ร่วมก่อตั้งโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ
  • ดร.อรทัย มูลคำ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา
  • นางสาวนราทิพย์ พุ่มทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม
  • นายปกรณ์ ตันสกุล รองอธิบดีกรมการศาสนา
  • นายพงษ์ชัย ศรีพันธุ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
  • นางสาววิไลวรรณ ถึกไทย ผู้แทนศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม
  • นางบุบผาสวัสดิ์ รัชชตาตะนันท์ ผู้บริหารโรงเรียนทอสีและเครือข่าย 3 ประสาน ร.ร.วิถีพุทธ
  • นางสาวอนินทิตา โปษะกฤษณะ ผู้บริหารโรงเรียนอนุบาลหนูน้อย-บ้านพุทธประถมและเครือข่าย ๓ ประสาน ร.ร.วิถีพุทธ
  • ดร.ไพรัช สู่แสนสุข อาจารย์วิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร
  • นายพิสุทธิ์ เกรียงบูรพา ศิลปินธรรมะบันเทิง กลุ่มเรียนเชิญผู้มีจิตศรัทธา
  • ดร.บรรเจอดพร สู่แสนสุข ผู้ประสานงาน โครงการโรงเรียนวิถีพุทธ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. กระทรวงศึกษาธิการ เลขานุการ กคพ.

­

รูปแบบการบริหารจัดการ

กลุ่มกัลยาณมิตรเพื่อการเสริมสร้างเครือข่ายวิถีพุทธ(กคพ.)มี โครงสร้างการทำงานมาจากกลุ่มคนที่ทำงานเครือข่ายวิถีพุทธเดิม ซึ่งทำงานเกี่ยวกับการศึกษาและการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนอยู่แล้ว รูปแบบการบริหารจัดการกลุ่มนี้จึงเป็นการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ โดยเน้นการ “สร้างเวทีทางความคิด” และ “การเชื่อมประสานการเรียนรู้ร่วมกัน” ผ่านโครงการและนวัตกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นใหม่ ที่ใช้ขับเคลื่อนการทำงานและเสริมสร้างให้เกิดเครือข่ายใหม่ๆ ไปด้วย ทั้งนี้เนื่องจากเครือข่ายต่างๆ อาจเป็นกลุ่มคนที่ทำงานด้านเดียวกัน แต่ยังไม่มีเวทีร่วมกันคิด-ร่วมกันทำงาน กลุ่มกัลยาณมิตรฯจึงเป็นทำหน้าที่สนับสนุนและเชื่อมโยงการทำงานระหว่างกลุ่ม ต่างๆ ร่วมกัน
โดยคณะทำงานในกลุ่มกัลยาณมิตรเพื่อเสริมสร้างเครือข่ายวิถีพุทธ(กคพ.) จะมาจากสองฝ่ายได้แก่ ฝ่ายพระสงฆ์และฆราวาส โดยทั้งสองฝ่ายจะทำหน้าที่ร่วมกัน ในลักษณะ “ธรรมอาสาสมัคร” โดย มีบทบาทหน้าที่เป็นกัลยาณมิตรต่อกันและกันในการปรึกษาหารือ ร่วมกันคิด ร่วมกันทำงาน และร่วมกันเรียนรู้ เพื่อให้การดำเนินงานประสบผลสำเร็จไปพร้อมกับการพัฒนาตนเอง

­

เงื่อนไขความสำเร็จขององค์กร

  • กุศลเจตนาและสัมมาทิฏฐิ ของคณะบุคคลที่เข้ามาร่วมทำงานในลักษณะ “ธรรมอาสาสมัคร”
  • เกิด จากจุดประสงค์ร่วมกันของบุคลากรในกลุ่มคือ การมุ่งทำนุบำรุงและสืบต่อพระพุทธศาสนาในด้านการศึกษา และการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนอย่างเป็นองค์รวมตามหลักไตรสิกขา
  • ความร่วมมือ ร่วมใจ รับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกันอย่างเป็นกัลยาณมิตร ของทุกคนในกลุ่ม
  • เกิดจากความคุ้นเคยจากการทำงานด้านเดียวกันมานาน ทำให้เกิดความสนิทสนมและรวมกลุ่มกันทำงานด้วยใจจริง
  • เกิดจากองค์ความรู้และความสามารถของบุคคลากรภายในกลุ่ม ทำให้การทำงานต่างๆประสบผลสำเร็จ

­

องค์ความรู้จากการดำเนินงาน

  • นวัตกรรมการเรียนรู้ด้านการทำความดี และนวัตกรรมการแก้ปัญหาความเสื่อมทรามทางคุณธรรมและศีลธรรมในเด็กและเยาวชน
  • การสร้างพื้นที่และค่านิยมเชิงรุกในการทำความดีอย่างเป็นรูปธรรมและเป็นระบบ
  • เกิด ภาคีเครือข่ายที่ทำงานด้านเด็กและเยาวชนที่มาจากเด็กและเยาวชนเองเพิ่มมาก ขึ้น (แต่ทั้งนี้ ภาคีเครือข่ายเหล่านี้ ยังไม่มีเวทีหรือพื้นที่การแสดงออกอย่างเป็นทางการที่มีความมั่นคงและต่อ เนื่อง กคพ. จึงเป็นกลุ่มประสานงานหาแหล่งทุนและองค์กรแนวร่วมมาสนับสนุนการรวมกลุ่มของ ภาคีเครือข่ายเหล่านี้ให้ทำงานด้านเด็กและเยาวชนได้อย่างต่อเนื่องและเข้ม แข็งต่อไป)
  • • การสื่อสารความดี เพื่อให้ทราบถึงกิจกรรมอาสาสมัครแก้ไขปัญหาและสร้างสรรค์สังคมของเด็กและ เยาวชน ในรูปแบบสื่อเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่คิดสร้างสรรค์และผลิตโดยเด็กและเยาวชนเอง (กคพ. ยังต้องสร้างกระบวนการฝึกอบรมและเรียนรู้เรื่องการทำสื่อในเชิงลึก ให้เพิ่มมากขึ้นและต่อเนื่อง ร่วมทั้งต้องหาแหล่งทุนและพื้นที่การแสดงออกแก่เด็กและเยาวชนในการสื่อสาร ความดีอย่างต่อเนื่องด้วย)

­

รางวัลความสำเร็จ

(ปิด ทองใต้ฐานพระ) ความสุขจากการได้เห็นความดีที่งอกงามขึ้นในจิตใจของเด็กเยาวชน และพลเมืองของประเทศนั้นคือรางวัลที่แท้จริง ก็เพียงพอแล้ว

โครงการขององค์กร
  • โครงการประกวดโครงงานคุณธรรม เฉลิมพระเกียรติ
  • “เยาวชนไทย ทำดี ถวายในหลวง”
    โครง งานคุณธรรม เป็นนวัตกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการทำความดีมีคุณธรรมแบบเชิงรุก โดยให้ผู้เรียนที่เป็นเด็กและเยาวชนเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของกิจกรรมการ เรียนรู้นี้ ผ่านเทคนิควิธีการเรียนรู้แบบโครงงาน โดยประเด็นที่เลือกทำโครงงานนั้นเกิดขึ้นมาจากความสนใจและความคิดริเริ่มของ ผู้เรียนเอง เน้นการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติงานจริง ด้วยความพากเพียรพยายามอย่างจดจ่อต่อเนื่องในช่วงระยะเวลาที่ยาวนานพอสมควร (ต้องไม่น้อยกว่า 2 เดือน) ในลักษณะวิจัยปฏิบัติการ (action research) นำไปสู่การแก้ไขปัญหาด้านความเสื่อมทรามทางศีลธรรมและส่งเสริมการบ่มเพาะ ความดีมีคุณธรรมอย่างเป็นรูปธรรมและเป็นระบบ รวมทั้งการขยายความมีส่วนร่วมไปสู่บุคคลต่างๆในสถานศึกษาและชุมชนของตนเอง หรือชุมชนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
รวมมือร่วมใจ/ขยายผล

ต้องการสนับสนุนการทำโครงงานคุณธรรมทุกรูปแบบ ของเด็กและเยาวชนให้มีการต่อยอดขยายผลเพิ่มมากขึ้น

  • เชื่อมประสานกลุ่มเด็กและเยาวชนที่ทำโครงงานคุณธรรมให้ร่วมกันเป็นเครือข่ายในระดับท้องถิ่น ภูมิภาค และระดับประเทศ
  • สร้างโครงการและนวัตกรรมการเรียนรู้ใหม่ๆ เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีพื้นที่และเกิดค่านิยมนำในการทำความดีเพิ่มมากขึ้น
  • ต้องการ ถอดองค์ความรู้การกระตุ้นและส่งเสริมการทำความดีของครูที่ปรึกษาโครงงาน ต้องการสร้างเครือข่ายพระสงฆ์ที่ปรึกษาที่ทำงานด้านการศึกษาและส่งเสริมการ เรียนรู้ของเด็กและเยาวชนให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม
ติดต่อองค์กร
กลุ่มกัลยาณมิตรเพื่อการเสริมสร้างเครือข่ายวิถีพุทธ (กคพ.)
ที่อยู่: 9/9 หมู่ 5 ซอย 33 ถ.พระราม 2 แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร 10150
โทรศัพท์: 0-2840-2501-4
โทรสาร: 0-2870-7514