มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.)
จัดตั้ง: 8 ต.ค. 2558
ข้อมูลองค์กร

­

ประวัติความเป็นมา

มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก เกิดขึ้นจากรวมตัวของกลุ่มนักวิชาการ นักศึกษา จัดทำโครงการแด่น้องคนเล็กของเรา เพื่อเผยแพร่ปัญหาเด็กขาดสารอาหารและรณรงค์หารายได้สนับสนุนโครงการอาหาร กลางวัน และหลังจากนั้นได้มีการรวมตัวกับนักวิชาการด้านสื่อ สภาการหนังสือพิมพ์ สมาคมนักหนังสือพิมพ์ สมาคมนักข่าว และกลุ่มประสานงานศาสนาเพื่อสังคม จัดตั้งกลุ่มส่งเสริมสื่อมวลชนเพื่อเด็ก ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเผยแพร่ในเรื่องสื่อมวลชนกับเด็ก รณรงค์เพื่อให้เกิดสื่อที่ดีและส่งเสริมสนับสนุนสื่อที่ดีสำหรับเด็ก

­

ต่อมาในช่วงปี พ.ศ. 2524 ปัญหาแรงงานเด็กเริ่มรุนแรงขึ้น องค์กรอาสาสมัครเอกชน 8 องค์กร และผู้ทรงคุณวุฒิที่สนใจปัญหาแรงงานเด็ก จึงได้ได้ร่วมกันจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือแรงงานเด็กขึ้น เพื่อดำเนินกิจกรรมต่างๆ อันจะเป็นประโยชน์ต่อเด็กที่เข้าสู่ตลาดแรงงานก่อนวัยอันสมควร โดยมุ่งหวังที่จะพิทักษ์ปกป้องเด็กมิให้ถูกใช้แรงงานตรากตรำ และรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักในปัญหาแรงงานเด็ก ซึ่งหลังจากแต่ละกลุ่มได้ดำเนินงานของตนเองมาระยะเวลาหนึ่ง และมองเห็นว่าการทำงานพัฒนาการเด็ก จะต้องดำเนินไปพร้อมๆ กันในทุกๆ ด้าน มิใช่เพียงด้านใดด้านหนึ่ง หากรวมไปถึงการพัฒนาทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สติปัญญาและสังคม จะช่วยเอื้อให้เด็กเติบโตเป็นบุคคลที่มีคุณภาพและมีคุณธรรม จึงได้จัดตั้งเป็นมูลนิธิ โดยร่วมกับ 3 องค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับพัฒนาเด็ก คือ โครงการแด่น้องคนเล็กของเรา กลุ่มส่งเสริมสื่อมวลชนเพื่อเด็ก และศูนย์ช่วยเหลือแรงงานเด็ก จัดตั้งเป็นมูลนิธิฯภายใต้ชื่อ “มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก” ขึ้น ในวันที่ 31 มีนาคม 2525 เป็นองค์กรสาธารณกุศลลำดับที่ 179 เมื่อปี 2532

­

วิสัยทัศน์

มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก มุ่งมั่นทำงานเพื่อประโยชน์สุขของเด็ก โดยต้องการให้เด็กได้รับการพัฒนาอย่างรอบด้าน มีสุขภาพกายและจิตที่ดี แข็งแรง ได้รับการศึกษาและเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีพัฒนาการและความสุขตามวัย มีความอบอุ่น ปลอดภัยและมั่นคงในชีวิต มีการทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์เป็นประโยชน์ต่อตนเองและชุมชน

­

พันธกิจ

สร้างกิจกรรมให้เด็กมี พัฒนาการรอบด้านตามวัย ทั้งทาง ร่างกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์และสังคม ศึกษาและเผยแพร่ปัญหาและผลกระทบที่มีต่อเด็กในด้านต่างๆ ให้สังคมรับทราบรับรู้อยู่เสมอ ส่งเสริมให้มีพื้นที่การเล่นที่สร้างสรรค์และปลอดภัยสำหรับเด็กในชุมชนและ สังคม

­

วัตถุประสงค์การดำเนินงาน

  • ส่งเสริมพัฒนาการเด็กรอบด้านทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม โดยทำงานระดับรากหญ้า ระดับชาติและนานา
    ชาติ เพื่อคิดค้นผลักดันการแก้ไขปัญหาเด็กเยาวชนอย่างสร้างสรรค์
  • ส่งเสริมให้มีพื้นที่การเล่นที่สร้างสรรค์และปลอดภัยสำหรับเด็กในชุมชนและสังคม
  • ส่งเสริมให้เกิดชุมชนปกป้องเด็ก
  • รณรงค์ให้แรงงานเด็กได้รับการศึกษาและพัฒนา
  • ส่งเสริมให้เกิดพื้นที่สร้างสันติสุขสำหรับเด็ก
  • ผลักดันการจัดตั้งกองทุนสื่อสร้างสรรค์เพื่อเด็กเยาวชน
  • ผลักดันให้มีกฎหมายคุ้มครองแรงงานเด็กทำงานบ้าน

­

ผู้บริหารองค์กร

มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก(มพด.) มีกรรมการที่มาจากหลากหลายวิชาชีพ แต่ละท่านจะมีความเชี่ยวชาญแต่ละด้าน ดังนี้

  • นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว ประธานกิตติมศักดิ์
  • นางสาวศรีสว่าง พั่ววงศ์แพทย์ ประธานกิตติมศักดิ์
  • รศ.ดร.โคมทม อารียา ประธานกรรมการ
  • รศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ รองประธานกรรมการ
  • นางสาวสุดา ติวยานนท์ รองประธานและเหรัญญิก
  • นางสาวสุชาดา ไทยบรรเทา เลขานุการ และกรรมการ
  • ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี กรรมการ
  • ดร.ฉันทนา บรรพศิริโชติ กรรมการ
  • ดร.อุบลรันต์ ศิริยุวศักดิ์ กรรมการ
  • ดร.สายฤดี วรกิจโภคาทร กรรมการ
  • ดร.เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ กรรมการ
  • ผศ.วลัยทิพย์ สาชลวิจารณ์ กรรมการ
  • นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ กรรมการ
  • นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ กรรมการ
  • นางสาวเข็มพร วิรุณราพันธ์ ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก
  • นางสาวสว่างจิตต์ สุวภาพ ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก

­

รูปแบบการบริหารจัดการ

มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.) ขับเคลื่อนการดำเนินงานผ่านกลไกการบริหารองค์กรที่มีโครงสร้างพิเศษ ประกอบด้วยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีความเชี่ยวชาญหลายด้าน ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา กำหนดนโยบาย และให้คำปรึกษา กระจายอำนาจการบริหารให้กับผู้รับผิดชอบโครงการ/แผนงาน มีบทบาทในการคิดสร้างสรรค์การดำเนินงานอย่างเต็มที่ และนำไปสู่การปรึกษาหารือกับคณะที่ปรึกษา ซึ่งแบ่งสายความรับผิดชอบตามความเชี่ยวชาญ และทำงานกันอย่างใกล้ชิด โดยในปี 2550 มพด.มีโครงสร้างการบริหารองค์กร ประกอบด้านการดำเนินงานใน 2 ด้านคือ ด้านวิชาการ และด้านบริหาร โดยงานด้านวิชาการประกอบด้วยการดำเนินกิจกรรมตามโครงการหลัก 5 โครงการ คือ โครงการแด่น้องผู้หิวโหย โครงการแรงงานเด็ก โครงการสร้างเสริมสื่อมวลชนเพื่อเด็ก โครงการครอบครัวและชุมชนพัฒนา และฝ่ายรณรงค์เผยแพร่ปัญหาเด็ก ซึ่งแต่ละด้านจะมีกรรมการโครงการที่มาจากคณะกรรมการบริหารรับผิดชอบดำเนินการตามความเชี่ยวชาญ มีทีมงานและผู้ประสานงานซึ่งประกอบ
ด้วยเจ้าหน้าที่ประจำและอาสาสมัคร

­

เงื่อนไขความสำเร็จขององค์กร

  • ระบบการบริหารจัดการ
  • การ มีโครงสร้างการบริหารที่มีคณะกรรมการเป็นผู้ทรงคุณวุฒิหลายด้านซึ่งนอกจาก กำกับนโยบายการดำเนินงานของมูลนิธิฯ แล้ว ยังเป็นที่ปรึกษาในการดำเนินงานเฉพาะด้านของแต่ละโครงการ/แผนงาน และลงมือปฏิบัติร่วมด้วยอย่างใกล้ชิด ทำให้สามารถผลักดันโครงการ/แผนงานที่มีลักษณะเคลื่อนไหวทันต่อสถานการณ์ ปัญหาที่เปลี่ยนแปลง
  • ระบบงาน
  • เน้น การผลักดันนโยบายมาสู่รูปธรรมการปฏิบัติตามโครงการ/แผนงานหลักที่ได้ร่วมกัน วางกรอบการทำงานไว้ โดยมีรูปแบบที่แตกต่างกันไปในแต่ละโครงการหลัก ส่วนใหญ่เน้นการสร้างกลไกการทำงานที่ให้กลุ่มเป้าหมายและผู้เกี่ยวข้องเป็น ผู้ลงมือทำ เพื่อให้เกิดกลไกที่ต่อยอดได้เองในกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่มหรือแต่ละพื้นที่ นั่นคือ การสร้างความสัมพันธ์ หนุนเสริมศักยภาพของกลุ่มเป้าหมาย ทำงานผ่านระบบเครือข่าย สร้างอาสาสมัครเพื่อการต่อยอดและเป็นแกนหลักในการดำเนินกิจกรรมโดยมีเจ้า หน้าที่มูลนิธิผู้รับผิดชอบแต่ละโครงการเป็นพี่เลี้ยง
  • เนื้อหา
  • การมีเนื้อหาสาระที่ทันสมัยสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายและสถาน การณ์การเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ทำให้เกิดการกิจ
    กรรมต่อเนื่องและเห็นผลสำเร็จในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี ซึ่งเนื้อหาที่ปรับเปลี่ยนนี้มา
    จาก การประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างต่อเนื่องตลอดการดำเนินงานในทุก ๆ กิจกรรม ทำให้ทราบข้อเท็จจริงและปํญหาของเด็กที่เกิดขึ้น เช่น ในอดีต มพด.ทำงานด้านทุพโภชนาการเด็กมาเป็นเวลานาน แต่ระยะหลังสภาพปัญหาเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ เช่นปัญหาเด็กออกเรียนกลางคัน เด็กถูกทอดทิ้ง เด็กมีภาวะโภชนาการเกิน(โรคอ้วน) ดังนั้นในการทำงานหรือกำหนดเนื้อหางาน จึงต้องติดตาม ประเมินสถานการณ์ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เท่าทันกับสภาพปัญหาที่ เปลี่ยนแปลงไป

­

องค์ความรู้จากการดำเนินงาน

การ ดำเนินงานทุกกิจกรรมของ มพด. ให้ความสำคัญกับการสรุปประสบการณ์และการทำงานในลักษณะของงานอาสาสมัคร ซึ่งทำให้เกิดผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบพฤติกรรมการใช้ชีวิตและสามารถเป็น แบบอย่างให้กับคนอื่นได้

­

รางวัลความสำเร็จ

  • ปี 2547 รางวัลชนะเลิศ : เรื่องการทำงานที่สร้างการมีส่วนร่วมของคนในสังคมมายาวนานของประเทศไทย และติดอันดับ 1 ใน 8 ประเทศ ของ Asia Pacific NGO Awards 2004
  • ปี 2545 รางวัลชมเชย : สื่อการ์ตูนเพื่อแรงงานเด็ก "หนังสือการ์ตูนที่ผลิตขึ้น เพื่อส่งเสริมสังคมระดับอายุ 13 ปีขึ้นไป" และรางวัล "สื่อมวลชนดีเด่นเพื่อเยาวชน" จากสำนักงานส่งเสริม ส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็กเยาวชน ผู้ด้อยโอกาสคนพิการและผู้สูงอายุ(สท.)
  • ปี 2542 รางวัลชนะเลิศ : รางวัลชนะเลิศการออกแบบสนามเด็กเล่นนานาชาติ จาก International Association for the Child's Right to Play
  • ปี 2528 สปอร์ตโทรทัศน์ชุด "เด็กกินดิน" : โครงการแด่น้อยผู้หิวโหย ได้สร้างกระแสความสนใจแก้ปัญหาเด็ก ขาดสารอาหารอย่างกว้างขวาง
  • ปี 2528 มีส่วนในการผลักดันให้มีการปรับปรุงกฎหมายและมาตรการระดับชาติในการแก้ไขปัญหาแรงงานเด็ก
โครงการขององค์กร

โครงการแรงงานเด็ก

เป็นการให้ความช่วยเหลือแรงงานเด็กที่ถูกเอาเปรียบจากการทำงานหรือถูกใช้แรงงานอย่างไม่เหมาะสม โดยทำการวิจัยติดตาม
สถานการณ์อย่างใกล้ชิด ประสานการรับแจ้งเหตุ ให้ความช่วยเหลือ คุ้มครองและพัฒนา รวมทั้งรณรงค์ สื่อสารปัญหาแรงงาน
เด็กเพื่อให้สังคมเกิดความตระหนัก เกิดการผลักดันทั้งในเชิงนโยบายและการปฏิบัติ อาทิ ในปี 2550 ที่ผ่านมาซึ่ง เน้นการพัฒนา
กลไก การให้ความคุ้มครองช่วยเหลือและระบบสวัสดิการสำหรับแรงงานเด็กโดยเฉพาะ แรงงานเด็กทำงานบ้าน ก็ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่สำคัญ คือ มีผู้แจ้งเหตุมากขึ้น มีผู้สนใจสมัครเป็นอาสาสมัครมูลนิธิต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือเด็กมากขึ้น มีการรวมกลุ่มกันของนักวิชาการและผู้ทรงคุณวุฒิต่าง ๆ เกิดการผลักดันกฎหมายเพื่อคุ้มครองลูกจ้างทำงานบ้าน ที่สำคัญเกิดเครือข่ายวิทยุชุมชนตามแนวจังหวัดชายแดนเพื่อเป็นสื่อกลางการ ช่วยเหลือ เป็นต้น

รวมมือร่วมใจ/ขยายผล

สนใจร่วมมือทำงานกับทุกองค์กรเกี่ยวกับปัญหาของเด็กในด้านต่างๆเพื่อให้เกิดแรง กระเพื่อมในสังคม สามารถทำให้สังคมเกิดการรับรู้สภาพปัญหาของเด็กในปัจจุบันและหาทางแก้ไขต่อไป

ติดต่อองค์กร
มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.)
ที่อยู่: 143/109-111 ม.ปิ่นเกล้าพัฒนา ซอยวัดสุวรรณคีรี ถ.บรมราชชนนี แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10700
โทรศัพท์: 0-2433-6292, 0-2884-6236, 0-2435-5281
โทรสาร: 0-2435-5281