โครงการต่อกล้าให้เติบใหญ่ ปีที่ 2
เวทีนำเสนอความก้าวหน้าต่อยอดผลงานวิทยาศาสตร์และคอมพิวเตอร์
ระหว่างวันที่ 31 กรกฎาคม - 1 สิงหาคม พ.ศ. 2557
ณ ห้องประชุม Auditorium บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร สวทช. จ.ปทุมธานี
วัตถุประสงค์การจัดงาน
- เพื่อทราบความก้าวหน้าของการพัฒนาผลงานของเยาวชน ระยะแรก
- เพื่อรับฟังปัญหาของการพัฒนาผลงาน และให้ความช่วยเหลือเยาวชน
- เพื่อให้ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาต่อยอดผลงานกับเยาวชน
- เพื่อให้เยาวชนได้ทบทวนเป้าหมาย และแผนดำเนินงานของการพัฒนาผลงานของตนเอง
กลุ่มเป้าหมาย
- แกนนำเยาวชนโครงการต่อกล้าให้เติบใหญ่ 13 โครงการ โครงการละ 3 คน
- ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และและเทคโนโลยี และด้านธุรกิจ จำนวน 15 ท่าน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- เห็นความก้าวหน้าของการพัฒนาผลงานเยาวชน และแนะแนวทางไปสู่การต่อยอดทางด้านธุรกิจ และเกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้งานจริง
- เยาวชนได้แนวทางในการพัฒนาผลงาน และแนวทางการแก้ไขปัญหาการดำเนินงานของตนเอง
- เยาวชนมีเป้าหมายการพัฒนาผลงานไปสู่ผู้ใช้ (User) ที่ชัดเจน
เวลาและสถานที่
ระหว่างวันที่ 31 กรกฎาคม - 1 สิงหาคม พ.ศ. 2557
ณ ห้องประชุม Auditorium บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร สวทช. จ.ปทุมธานี
โครงการต่อกล้าให้เติบใหญ่ ปีที่ 2
บันทึกเวทีนำเสนอความก้าวหน้าต่อยอดพัฒนาผลงานของเยาวชนต่อกล้าให้เติบใหญ่
ระหว่างวันที่ 31 กรกฎาคม - 1 สิงหาคม พ.ศ. 2557
ณ ห้องประชุม Auditorium บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร สวทช. จ.ปทุมธานี
วัตถุประสงค์การจัดงาน
1.เพื่อทราบความก้าวหน้าของการพัฒนาผลงานของเยาวชน ระยะแรก
2.เพื่อรับฟังปัญหาของการพัฒนาผลงาน และให้ความช่วยเหลือเยาวชน
3.เพื่อให้ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาต่อยอดผลงานกับเยาวชน
4.เพื่อให้เยาวชนได้ทบทวนเป้าหมาย และแผนดำเนินงานของการพัฒนาผลงานของตนเอง
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.เห็นความก้าวหน้าของการพัฒนาผลงานเยาวชน และแนะแนวทางไปสู่การต่อยอดทางด้านธุรกิจ และเกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้งานจริง
2.เยาวชนได้แนวทางในการพัฒนาผลงาน และแนวทางการแก้ไขปัญหาการดำเนินงานของตนเอง
3.เยาวชนมีเป้าหมายการพัฒนาผลงานไปสู่ผู้ใช้ (User) ที่ชัดเจน
กิจกรรมการเรียนรู้ ทบทวน และวางแผนการทำงาน โดยใช้เครื่องมือ Timeline
วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เวลา 13.30 – 16.30 น.
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้เยาวชนได้ทบทวนการดำเนินงานที่ผ่านมา และเป้าหมายสำเร็จของผลงาน
โจทย์ชวนคิด
1.เป้าหมายและผลลัพธ์ในการพัฒนาผลงานคืออะไร
2.User กลุ่มเป้าหมายคือใคร
3.กลุ่มตัวอย่างที่จะนำไปทดลองคือใคร
4.ที่ผ่านมาทำอะไรไปแล้วบ้าง (Post it)
5.ได้ผลป็นอย่างไร
6.ปัญหา/อุปสรรค ที่พบมีอะไรบ้าง แก้ไขอย่างไร
7.แผนที่จะทำต่อไปคืออะไร (Post it)
8.อะไรคือข้อกังวลที่จะต้องทำในระยะต่อไป
9.ต้องการคำแนะนำหรือช่วยเหลือจากกรรมการเรื่องอะไรบ้าง
กิจกรรมนำเสนอความก้าวหน้าต่อยอดพัฒนาผลงานของเยาวชนต่อกล้าให้เติบใหญ่
วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2557 เวลา 9.00 – 16.00 น.
ณ ห้องประชุม Auditorium บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร สวทช. จ.ปทุมธานี
กล่าวต้อนรับโดย ดร.กว้าน สีตะธนี
รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
เรียนกรรมการที่มาวันนี้ทุกท่าน สวัสดีน้องๆทุกคน หลายๆท่านเคยเจอกันในเวทีอื่น แต่ในเวทีนี้คงแตกต่างจากการแข่งหรือการประกวด และคงจะป็นเวทีที่สร้างและพัฒนาพวกเราด้วย ในการที่เราจะพัฒนาผลงานของเรา เป้าหมายก็คือว่า ตอนเรามาคุยกันครั้งแรกเรามาประกวด เราภาคภูมิใจว่าเราประกวดแล้วได้รางวัล แล้วเราก็มาเข้าร่วมในโครงการต่อกล้าเติบใหญ่นี้ แล้วเราก็พบว่าสิ่งที่เราภาคภูมิใจในความสำเร็จนั้น มันสำเร็จแค่ที่เราเท่านั้นเอง มันไม่ได้สำเร็จเท่าคนอื่น แล้วเราก็รู้ว่าสิ่งที่เราทำมันไม่ได้เป็นความต้องการของคนอื่น ถ้าเรามีเป้าหมายจะทำไปสู่ผู้ใช้ให้สนใจมันมีขั้นตอนที่ค่อนข้างยากทีเดียว เพราะฉะนั้นโครงการนี้จะเป็นโครงการที่อยากพัฒนาให้เรามองว่าจะพัฒนาผลงานของเราอย่างไรให้ก้าวไปสู่สิ่ที่ผู้ใช้ต้องการ การที่เราจะให้โครงการเรามีชื่อเสียงหรือเป็นที่ยอมรับได้ ไม่ใช่แค่สำเร็จที่แค่ตัวเรา แต่มันต้องสำเร็จมาจากคนอื่น คนอื่นเขามองโครงการเราใช้ได้ บางครั้งสนใจอยากจะจ่ายเงินด้วย อันนี้เป็นสิ่งที่การันตีว่าผู้ใช้อยากได้โครงการของเราจริงๆ ที่ผ่านมาเราประกวด NSC เราสำเร็จแค่ที่ตัวเราเป็นส่วนใหญ่ แต่โครงการนี้เราต้องทำขึ้นไปอีกขั้น อีกก้าวหนึ่งใหญ่ๆ ที่ต้องมาเรียนรู้ เพราะฉะนั้นเวทีนี้จึงไม่ใช่เวทีแข่งขันกับเพื่อน แต่เป็นเวทีที่เราแข่งกับตัวเองเพื่อสร้างผลงาน แล้วผู้ใช้จะเป็นผู้ตอบเราเองว่าผลงานเราใช้ได้หรือไม่ กรรมการที่มาวันนี้จะเข้ามารับฟัง จะช่วยชี้แนะ ช่วยแนะนำ และปีที่แล้วทางมูลนิธิสยามกัมมาจลก็ถอดบทเรียนเพื่อนๆของปีที่แล้วออกมา พวกเราคงได้อ่านกันแล้ว และปีนี้ก็เช่นกัน ฉะนั้นจึงอยากให้พวกเราเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับรุ่นต่อไปด้วย เพราะฉะนั้นจึงอยากจะฝากให้พวกเราใช้ประสบการณ์ในเวทีนี้ให้เป็นประโยชน์สูงสุด และขอขอบคุณมูลนิธิสยามกัมมาจลที่ให้การสนับสนุน และให้คำแนะนำในการดำเนินโครงการนี้ อยากจะให้พวกเราใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่กรรมการชี้แนะและแนะนำให้เป็นประโยชน์อย่างเต็มที่ และประสบความสำเร็จในการพัฒนาผลงานทุกคน...ขอบคุณครับ
คุณกุลประภา นาวานุเคราะห์
ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
เรียน ดร.กว้าน และคณะกรรมการทุกท่าน สวัสดีน้องๆผู้พัฒนาผลงานทุกคน เมื่อสักครู่คุณกว้านได้พูดถึงความเป็นมาแล้ว พี่ปูขอให้กำลังใจกับน้องๆดีกว่า ที่ผ่านมาเราแข่งขันมาตลอดตั้งแต่ส่ง Proposal เข้ามา แข่งขันในภูมิภาค และเข้ามาในงานไอซีที และพวกเราเลือกที่จะไขว่ขว้าเข้ามาในโครงการต่อกล้าให้เติบใหญ่ ซึ่งมูลนิธิสยามกัมมาจลให้การสนับสนุน และอยากจะเห็นน้องๆ ระดับมัธยม ระดับอุดมศึกษา เป็นเฒ่าแก่ตัวน้อยๆ พัฒนาผลงานของเราให้ไปถึงปลายทางจริงๆ แต่จะทำยังในเมื่อเรายังขาดหลายเรื่องๆในทางธุรกิจ ตอนที่น้องๆทำอาจจะยังมองว่าพอแค่สนุกสนาน แต่บางครั้งสิ่งที่เราคิดต่อยอดให้ถึงปลายทางจริงๆว่าตอนนี้เราสนุกกันเอง แต่ถ้าเราทำสำเร็จแล้วคนข้างนอกเขาสนุกกับเราด้วยน่าจะเป็นผลดี และมีประโยชน์มากๆสำหรับเรา
น้องๆเองได้แข่งขันตั้งแต่เดือนมีนาคมจากงานไอซีที แล้วสมัครเข้าร่วมโครงการต่อกล้าให้เติบใหญ่ ซึ่งมีประมาณ 67 โครงการ แล้วถูกคัดกรองจากคณะกรรมการจนเหลือ 30 โครงการ และได้รับการอบรมที่หาดตะวันรอน ได้รับการให้ความรู้เรื่องแผนธุรกิจ เรื่องการนำเสนอให้มีประสิทธิภาพ จะขายของอย่างไร จะนำเสนออย่างไรให้คนสนใจ เรื่องการบริหารจัดการโครงการ Project Management และได้รับการอบรมที่บ้านวิทย์อีกรอบเมื่อเดือนมิถุนายน จนมาวันนี้เป็นรอบที่ 3 แล้วที่เราได้มาเจอกัน ในวันนี้ตั้งแต่เริ่มการรับสมัครไม่มีการแข่งขัน มีแต่ว่าเราจะทำอย่างไรให้น้องๆทำโครงการได้ประสบความสำเร็จ และเรากำลังแข่งกันกับตัวเอง เราจะทำอย่างไรให้ก้าวข้ามผ่านสิ่งที่เป็นปัญหา พี่ๆ กรรมการที่มาในวันนี้จะเป็นผู้ช่วยให้กับน้องๆ วันนี้ทำให้เต็มที่ตักตวงความรู้ให้มาก ขอเป็นกำลังใจให้น้องๆทุกคนค่ะ
คำแนะนำและความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญถึงแนวทางการพัฒนาต่อยอดผลงานของเยาวชน
โครงการต่อกล้าให้เติบใหญ่ ครั้งที่ 1
1. โครงการบุญอิ่มริมรั้ว Cooking Family
- อาหารที่เอามาทำในเกมเป็นอาหารไทย อาจจะลองเปลี่ยนชื่อเป็น Thai Cooking Family เพื่อส่งเสริมอาหารไทยกับชาวต่างชาติ เพราะทำ 2 ภาษาทั้งไทยและภาษาอังกฤษ
- เพิ่มเสียง Sound Effect
- ลองไปศึกษาเกม Cooking Mama เรามีอะไรโดดเด่นเหมือนเขาไหม และเรามีข้อแตกต่างอย่างไรที่จะชูให้เกมเราน่าเล่นกว่า
- เรื่อง On Play station ไปดูว่าควรปรับปรุงหรือพัฒนาอย่างไรบ้าง
2. โครงการเครื่องย้อมเส้นไหมด้วยเซลล์ไฟฟาเคมี Quick Drying
- ให้ทำอุปกรณ์มาทำให้สมบูรณ์ในอันดับแรก และปลอดภัยสำหรับผู้ใช้
- เราทำเรื่องที่เกี่ยวกับภูมิปัญญาชาวบ้าน เพราะฉะนั้นเราไม่ควรจะไปทำอะไรที่ไปเปลี่ยนวิถีเขามาก
3. โครงการ Easy Phone for Blind
ผู้เชี่ยวชาญ : อ.วันทนีย์ พันธชาติ
ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส สถาบันเทคโนโลยีเพื่อคนพิการและผู้สูงอายุ
- การทำงานกับกลุ่มคนพิการ หลักการคือการออกแบบที่เรียกว่า Universal Design ไม่ว่าใครจะทำโปรแกรมอะไร ขอให้นึกไปถึงคนใช้ที่เรามักจะลืม คือกลุ่มคนพิการ ว่าอย่างน้อยที่สุดเขาจะต้องเข้าโปรแกรมได้
- สำหรับโปรแกรมตัวนี้มันกลายเป็นกลับกัน คือ มันทำให้คนพิการอย่างเดียวมันอาจจะไม่ใช่การตอบโจทย์ของโลกปัจจุบัน ที่เราต้องการให้ทุกคนใช้โปรแกรมร่วมกันได้
- เสนอว่าในเมื่อพัฒนามาในลักษณะนี้ เอางานที่เราทำ และเอาอะไรที่มันเป็น feature สำคัญของโครงการเราในขณะนี้ ที่ดูอยู่ว่าจะเป็นเรื่อง address แอปพลิเคชันที่เป็น address แล้วเรามีการสื่อสารด้วยเสียง ใช้การสั่งการด้วยเสียงไปเลือกเบอร์โทรศัพท์ที่ต้องการ เช่น เราต้องการชื่อใคร เราจะได้เบอร์โทรศัพท์ แล้วต้องพูดทวนออกมา แอพฯตัวนี้ใช้กรณีที่ไม่ต้องใช้มือ ก็จะได้ประโยชน์
4. โครงการ Bad Green
ผู้เชี่ยวชาญ : ดร.เทพชัย ทรัพย์นิธิ
หัวหน้าห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีภาษาธรรมชาติและความหมาย
หน่วยวิจัยวิทยาการสารสนเทศ
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
- ข้อดี คือพยายามเลือก Concept ของสิ่งแวดล้อม กราฟฟิค แบล็คกราวสวยงาม และเลือกตั้งชื่อได้ดี
- มีประเด็นที่อยากให้ทบทวน คือ เราเริ่มจากการที่เรามีกลุ่มเป้าหมายที่อายุ 20-29 ปี ถ้าน้องๆ เรียน UX/UI แล้ว จะจำได้ว่ามันมี Concept ที่ชื่อ “Persona” เราต้องลงลึกไม่ใช่แค่อายุอย่างเดียว ต้องระบุคนที่มาใช้ คือใคร อายุเท่าไร เป็นเพศอะไร มีพฤติกรรมการใช้อย่างไร เราต้องนึกหน้าเขาออกว่าเขาเป็นใคร ต้องลงลึกไปถึงตรงนั้น แล้วค่อยจินตนาการ ถ้ากลุ่มนี้ คือกลุ่มคนที่จะมาเล่นเกม เราจะได้ตรงกลุ่มเป้าหมายจริงๆ
- ในส่วนที่เป็นเกม มีคอมเม้นท์ 2 จุด หนึ่ง เราตั้งราคาเรียบร้อยแล้ว ประมาณการว่าน่าจะเล่นจบเมื่อไร เราอาจจะต้องลองทบทวนดูว่ามันเหมาะสมหรือไม่ อีกอัน คือมันเป็นเกม RPG เพราะฉะนั้นจุดจบมันอยู่ที่ไหน มันจะดึงดูดให้คนเข้ามาเล่นได้อย่างไร เป็นอีกจุดหนึ่งที่ต้องทบทวน ซึ่ง 2 อันนี้ประเด็นสำคัญมันจะอยู่ตรงที่ว่า กรรมการดูแล้วยังไม่เห็น story board ของการเล่นที่ชัดเจน เราอาจจะต้องไปดู story board ของมันว่าเริ่มต้นจนจบเป็นอย่างไรบ้าง
- อาจจะต้องไปหา content เรื่องสิ่งแวดล้อมที่น่าสนใจเข้ามาเพิ่ม
5. โครงการ Military Assistant Robot (Airboat)
ผู้เชี่ยวชาญ :คุณปฤษฎา หิรัญบูรณะ
ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ สวทช.
- เรื่องแรกเป็นเรื่องความมุ่งมั่นตั้งใจ ทำการบ้านมาเยอะ พอทำการบ้านมาเยอะแล้ว ถ้าเกิดว่าเราตั้งใจทำออกมาขายจริงๆ เวลาทำธุรกิจลูกค้าเขาแบ่งเป็น Blue Ocean / White Ocean แต่ของเขาเป็น Blue Lagoon มันเป็นบึงเล็กๆ เพราะว่ามันแคบมาก แต่มันเป็น Blue Lagoon ที่อุดมสมบูรณ์ ที่เล็กแคบแต่ทรัพยากรที่จะใช้เขามีกำลังจ่ายสูงมาก
- ซึ่งตรงนี้ถ้าจะกลับไปทำการบ้านให้ดีเราจะต้องดูว่า ถ้าจะทำให้ขายได้มันเป็นโปรเจคระดับชาติเลย แต่ใช้เวลานาน ต้นทุนสูง ถ้ายังมุ่งมั่นตั้งใจว่าจะทำตรงนี้อยู่ แบบนี้เราต้องแบ่งเป็น phase ของเรา ว่าแต่ละ phase เราจะเอาเสร็จแค่ไหน อย่างเบื้องต้นตอนนี้ เอาให้ทุกอย่างเสร็จก่อน ทั้งในเรื่องของ control ต่างๆ ระยะการเลี้ยว
- มันไม่ได้เสียหายอะไรที่จะเป็น Tool ของอะไรสักอย่างที่ใช้ประกอบกับอุปกรณ์อื่นๆ หรือแม้แต่กลุ่มที่เป็น DIY ที่ทำประโยชน์อะไรสักอย่างของเขาเองภายในระยะเวลาสั้นๆ ไม่จำเป็นที่จะต้องไป approve กับโปรเจคระดับชาติ ไปสรรพาวุธ ทหารบก เรือ อากาศ หรือว่าจะไปต่างประเทศ เบื้องต้นเราเอาตรงนี้ไปก่อน
6. โครงการ Personal Health Assistant
ผู้เชี่ยวชาญ : ดร.จุฬารัตน์ ตันประเสริฐ
ผู้อำนวยการ หน่วยวิจัยสารสนเทศการสื่อสาร และการคำนวณ
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
- สำหรับโปรเจคนี้เปลี่ยนสโคปงานจากที่ยื่นโครงการตอนแรก จากไปทำเรื่องการกิน นอน ออกกำลังกาย ของเราแต่ละคน ซึ่งกรรมการมีคอมเม้นท์ว่าน่าจะไปทำกับโรคใดโรคหนึ่งเลย น้องก็เลือกโรคเบาหวาน ซึ่งไปคุยกับคุณหมอมาแล้ว ซึ่งมาถูกทาง เพราะเราไปเก็บ requirement ที่เป็นโรคเรื้อรังหรือโรคเบาหวาน มีอะไรที่ต้องการเอาระบบไอทีมาเข้าไปช่วยได้บ้าง ซึ่งปัญหาที่คุณหมอให้มาก็คือว่า คนไข้มักจะปลอมผลตรวจน้ำตาล เพราะคุณหมอให้จดใส่สมุดก็มักจะจดแบบต่ำ เพราะฉะนั้นสิ่งที่น้องจะทำคือทำระบบที่เชื่อมตรวจจากเครื่องตรวจโดยอัตโนมัติ เพื่อเก็บไว้ในฐานข้อมูล ซึ่งกรรมการก็เห็นด้วยกับสิ่งที่จะใน phase นี้
- สิ่งที่เราอยากเสนอให้เพิ่ม คือว่าผู้ใช้ไม่ว่าจะผู้ป่วยหรือผู้ดูแล เขาน่าจะสามารถเข้าไปดูประวัติได้ว่าหนึ่งเดือนที่ผ่านมาน้ำตาลเป็นอย่างไร ถ้าจะให้ดีให้เพิ่ม feature ซึ่งอาจจะไปขอกฎกติกาจากคุณหมอดูว่าถ้าน้ำตาลมันสูงเกิน 120 mg/dL ในหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา 3 วัน น่าจะขึ้นเตือนว่าอะไร ให้ไปหากฎพวกนี้แล้วไปใส่ในระบบเพื่อเตือนให้คนไข้ได้ดูแลสุขภาพได้ดีขึ้น นี่ก็เป็น Phase แรกที่เราอยากจะได้ภายในวันที่ 17 กันยายน 58 นี้
7. โครงการ Scan to buy
ผู้เชี่ยวชาญ :ดร.สรรพฤทธิ์ มฤคทัต
นักวิจัย ห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีภาพ หน่วยวิจัยวิทยาการสารสนเทศ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
- Phase แรกน้องควรสโคปไปที่การทำแคตาล็อกของสินค้า อาจจะเป็นสินค้า OTOP หรือสินค้าที่เรามีก็ได้ ให้สแกนได้คิวอาร์โค้ด/เออาร์โค้ด พร้อมที่จะเอามาโชว์ ว่านี่เป็นแคตตาล็อกที่เป็นกระดาษแต่สแกนด้วยกล้องแล้วเป็นโมเดลแบบนี้
- แล้วสินค้าที่เราจะเลือกควรเป็นสินค้าที่มี shape ที่น่าสนใจ ไม่ใช่กระป๋องน้ำอัดลม ธรรมดา
- ในเรื่องการถ่ายภาพไม่จำเป็นต้องขึ้นโมเดลซ้ำอีก ใช้โปรแกรมการถ่ายภาพก็ได้แล้วค่อยมาขึ้นรูปเอา จะได้ไม่ต้องเสียเวลามาสร้างโมเดลซ้ำอีก
8. โครงการ BRIHT ระบบควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าอัตโนมัติ
ผู้เชี่ยวชาญ :ดร.สรรพฤทธิ์ มฤคทัต
นักวิจัย ห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีภาพ หน่วยวิจัยวิทยาการสารสนเทศ
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
- มีคอมเม้นท์จากกรรมการคือมีคู่แข่งเยอะในตลาด และทำ advance ไปเยอะ ฮาร์ทแวร์ก็ราคาถูก ซอฟท์แวร์ ก็อยู่บน mobile มือถือได้ เพราะฉะนั้นน้องหา feature เพิ่มอะไรซักอย่าง ที่ทำให้น้องต่างจากคนอื่น อย่างเรื่องประหยัดพลังงาน ก็ควรเข้าไปคุยกับบริษัทที่เขาเน้นเรื่องนี้ อย่างเช่น SCG
- ความคิดเห็นส่วนตัว ถ้ามุมประหยัดพลังงานใช้ไม่ได้ เน้นเรื่องขายความฉลาด smart home น้องไปขายคอนโดหรู ขายบ้านหรู ถ้าเป็นแบบนั้นน้องต้องไปพัฒนาเพิ่มลง mobile คนน่าจะสนใจมากกว่า
9. โครงการ Monmon Dash
- อยากเห็นจุดเด่นคืออะไร อย่างที่บอกว่าจะเอา feature เด่นๆมารวมกัน ถ้าอย่างนั้นก็ทำให้มัน smooth เล่นอย่างไรก็ได้ให้มันสนุก ทั้งนี้พยายายามทำให้มันเป็นอัตลักษณ์ของเราด้วย เช่น คาแรคเตอร์ตัวละคร
- ที่สำคัญมีกรรมการบางท่านบอกว่าหัวใจของเกมเราไม่มี ลองคิดให้ออกว่าหัวใจของเกมเราคืออะไรนอกจากวิ่งไปเฉยๆ ต่างจากที่อื่นและท้องตลาดอย่างไร ถ้าเราอยากจะขายมันต้องแตกต่าง
10. โครงการ Beamify
ผู้เชี่ยวชาญ : ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย
หัวหน้าห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีเสียง หน่วยวิจัยวิทยาการสารสนเทศ
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
- เห็น Potential เยอะในการต่อยอดไปใช้งาน มีกรรมการหลายท่านถามว่ามัน Merge กับ Bumper เอามา Bump กัน แล้วแชร์ไฟล์ได้
- จุดเด่นของ Beamify คือเรื่องของ Multi-core มันกระโดดข้ามไปได้
- มีการพัฒนา feature ให้สอดคล้องกับความต้องการพื้นฐานของคนใช้สมาร์ทโฟนปัจจุบัน เช่น เรื่องแชท
- เรามองเห็นโอกาสที่จะนำไปใช้งานในรูปแบบของกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มย่อย มากกว่าการที่จะให้ดาวน์โหลดผ่าน google play ที่ใครๆก็เข้ามาใช้ได้ เนื่องจากว่าเป็นเรื่องของ security แต่ถ้าเป็นกลุ่มย่อยอย่างเช่นกรุ๊ปทัวร์ หรือเข้าป่า ไปต่างประเทศหรือไปที่ไหนก็ตาม กรุ๊ปเล็กๆเราไม่ต้องไปสนใจเรื่อง Register WIFI/3G ที่นั่นอีกแล้ว กลุ่มย่อยเหล่านี้มันก็สอดคล้องกับสิ่งที่เคยได้พูดไว้ว่า security ที่มี host ในการดูแล ID เป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะต้องทำ เราควรจะถ่ายทอดรูปแบบการใช้งานในกลุ่มย่อยมากกว่าจะเปิดให้ใครดาวน์โหลดก็ได้ เรื่อง security control เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพิจารณา ทั้งนี้ก็เป็นอิสระของเราที่จะ control มันแบบไหน อย่างไร มันคงจะมีหลายวิธี ตอนนี้ก็อยากเห็นมากๆตอนเดือนกันยายน ว่าเราจะได้ใช้ และสามารถเอาไปใช้ในหลายๆที่ได้
11. โครงการ Jack find the treasurer
ผู้เชี่ยวชาญ :คุณปฤษฎา หิรัญบูรณะ
ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ สวทช.
- เรื่องคำศัพท์ต่างๆดูแล้วมันค่อนข้างน้อย ลองดูว่ามีกระบวนการอะไรที่จะหาคำศัพท์ได้มากขึ้นนอกจากตัวคุณครูเองแล้ว
- เรื่องคำศัพท์ content ต่างๆ ในแง่ของสื่อการเรียนการสอน อย่างหนึ่งที่สำคัญที่สุด และทำให้คนนิยมใช้มากที่สุด คือมันใช้แล้วได้ผล คราวนี้จะทำอย่างไร ให้ของๆเรามันใช้แล้วได้ผล จะแนะนำว่าในโรงเรียนเขาจะมีหลักสูตรทางการศึกษา ลองเจาะเข้าไปในช่วงชั้นที่เราเล็งกลุ่มเป้าหมายไว้ ในหลักสูตรของชั้นนั้นๆ มันจะมีผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง เพราะฉะนั้นก็ดึงคำศัพท์มาเลยว่ามีอะไรบ้าง คำศัพท์เหล่านั้นที่ใช้ใน ป. 4 – ป.6 เพราะเป็นกลุ่มเป้าหมายของเรา เอาศัพท์เหล่านี้มาใส่ไว้ในเกม แล้วเอาไปให้น้องเล่น สิ่งที่ได้คือ น้องเล่นสนุก สอบทำคะแนนได้ พ่อแม่แฮปปี้ คุณครูดีใจ ทุกคนได้ประโยชน์
12. โครงการ Zombio นายซอมบี้กับเคมีที่รัก
ผู้เชี่ยวชาญ : คุณสันติ ผลวิรินทร์
บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด
- ถ้าน้องอยากจะจับแอปพลิเคชันนี้เป็นธุรกิจให้ใจเย็นๆ พัฒนาต่อไป เพิ่ม content เข้าไปเรื่อยๆ แล้วก็พยายาม Build Band ช่วงนี้เราก็แจกไปก่อน อย่างวันนี้ที่เราแจกฟรีไปก่อน รอวันหนึ่งที่เราพร้อมก่อน เราค่อยคิดถึงการขายจริงจัง
สรุปภาพรวมจากผู้เชี่ยวชาญที่มาให้คำแนะนำ
คุณสันติ ผลวารินทร์ “ขออนุญาตฝากถึงน้องๆทุกคน พี่มาครั้งแรกรู้สึกประทับใจมากซึ่งน้องๆทุกคนมีศักยภาพสูงมาก พี่ชอบความมุ่งมั่นของน้องๆทุกคนในวันนี้ อย่าไปยึดติดกับผลงาน แต่สิ่งที่ได้มากกว่าคือประสบการณ์ เพื่อนฝูงที่ได้มาเจอกัน บางครั้งการยึดติดกับผลงานแล้วไม่ยอมรับความจริงในโลกธุรกิจบางครั้งเราจะไปไม่รอด พี่ทำงานธุรกิจเอกชนมา 10 กว่าปี ได้เจอผู้บริหารระดับสูง ได้เจอเจ้าของกิจการ โดยเฉพาะบริษัทเกมรายใหญ่ ทุกวันนี้บริษัทเกมรายใหญ่อยู่ในสภาพที่ดิ้นรน Farmville ที่เรารู้จักออกมาบริษัทเกมดัง สุดท้ายพอถึงวันนี้แล้วไม่มีแล้ว นึกไม่ออกแล้วว่าเกมต่อไปจะเป็นอะไร เพราะฉะนั้นนี่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงในโลกธุรกิจ สิ่งที่อยากจะฝากกับน้องคือเก็บความมุ่งมั่นตรงนี้ไว้ พยายามต่อไป อย่าไปยึดติดกับผลงาน ถ้าธุรกิจล้มก็ให้ลุกขึ้นมาใหม่ เก็บเกี่ยวประสบการณ์จากตรงไว้”
คุณปฤษฎา หิรัญบูรณะ “สิ่งที่จะเพิ่มเติม ซึ่งพี่เจอในทุกกลุ่ม คือในมุมของเรื่องข้อมูลที่จะมาใช้ จริงๆอยากจะตั้งต้นในเรื่องแผนเลย คือแผนของเรามันสตาร์ทมาไม่ค่อยถูก มันสะเปะสะปะ ข้อมูลที่เราได้มามันค่อนข้างที่จะไม่มีคุณภาพ ที่เลวร้ายก็คือการคิดขึ้นมาเอง ดีขึ้นมาหน่อยคือ Pantip.com ขยับเข้ามาอีกชั้นคือ google จริงๆแล้วเรามีกระบวนการที่จะกลั่นกรองข้อมูล ไปดูข้อมูลที่เชื่อถือได้ อ้างอิงได้ แหล่งที่มาของข้อมูลต่างๆ ตัวอย่างเช่น บริษัทใหญ่ๆ แน่นอนเขาไม่เอาข้อมูล google มา ซึ่งพวกนี้เขาจะมีนักวิจัย ซึ่งตอนแรกเขาจะไปซื้อชั่วโมงมา เข้าไปดูข้อมูลสถาบันวิจัยแห่งชาติ หรือสถาบันการศึกษาที่เป็นสถาบันการวิจัย ซึ่งข้อมูลพวกนี้จะไม่ปรากฎโดยทั่วไปในสาธารณะ ดังนั้นในการได้ข้อมูลมามันสำคัญ เพราะสิ่งที่น้องตั้งเป้าจะทำ น้องสามารถทำมันได้หรือไม่ ซึ่งจะเทียบเป้ากับศักยภาพตัวเอง แล้วมันมีระยะห่างกันเท่าไร จะ 3 ปี 5 ปี โปรเจคนี้อาจจะแค่ 1 ปี แต่มันจะมี short term target- long term goal ในแต่ละ Quarter แล้ว short term target มันคืออะไร ทำอย่างไรที่จะบรรลุ target เพื่อบรรลุ goal ซึ่งในแต่ละ target น้องจะต้องมีอย่างหนึ่งที่เรียกว่า operation band ซึ่ง band ต่างๆเหล่านี้มันจะได้มาจากการที่น้องไปเอาข้อมูลมา เก็บข้อมูลมาให้หมด แต่ไม่ใช่การเอาข้อมูลดิบเอามาใช้เลย น้องต้องมาวิเคราะห์ข้อมูลให้เป็น information เพื่อเอาไปใช้วางแผน แต่อยากจะย้ำไว้ว่าข้อมูลต้องมาจากแหล่งที่เชื้อถือได้อันนี้สำคัญมากที่เดียว”
คุณธนชัย อำนวยสวัสดิ์ “ผมยังนึกไม่ออกว่าตอนที่ผมเรียน มศ.5 ผมจะทำได้แบบนี้หรือป่าว วันนี้ผมถูกเชิญมา ส่วนตัวผมผลักดันโครงการระดับประเทศหลายโครงการ ผมก็ดูศักยภาพและแววหลายคนสามารถไปได้ ซึ่งผมก็จะคอยดูวันนี้คุณมาขนาดนี้แล้ว วันหน้าคุณจะไปได้ขนาดไหน อันไหนที่ผมจะประกบและดึงขึ้นไประดับประเทศได้ผมก็ยินดี และผมเชื่อว่าในกลุ่มของพวกเราที่นั่งอยู่นี้มีแน่นอน พอจะแววบ้างแล้ว แล้วผมจะตามข้อมูลดูอีกที ขอบคุณมาก วันนี้รู้สึกว่าประเทศไทยยังมีคนเก่งอีกเยอะเลย”
คุณกุลประภา นาวานุเคราะห์ “วันนี้ที่น้องๆได้นำเสนอผลงาน เสนอแผนที่ได้ปรับปรุง แล้ววันนี้พี่ๆกรรมการได้มาดูแล้ว วัยตอนพี่ๆเท่ารุ่นน้องพี่ยังทำอะไรไม่ได้มากขนาดนี้ เราได้รับการเรียนโดยการป้อนจากครูอาจารย์เยอะ น้องๆมีโอกาสได้เข้าถึงข้อมูลได้ง่าย ณ วันนี้น้องๆมีคอมพิวเตอร์ มีสมาร์ทโฟน มีข้อมูลดีๆอยู่กับตัว เป็นโอกาสที่น้องๆได้ขยายโลกกว้าง โลกไร้พรมแดนที่น้องๆสามารถหาข้อมูลได้ แล้วการทำโครงการเราก็ต้องคิดด้วยว่าข้อมูลเราได้ปถึงแหล่งจริงหรือไม่ น่าเชื่อถือไม่ อย่างเช่นคำศัพท์ แรกๆเราอาจะเอามาจากคุณครูที่โรงเรียน แต่พอพัฒนาเพื่อให้คนใช้ทั่วไปแล้วมันจะมีปัญหาอะไรบางอย่าง”
*************************