เมื่อวันที่ ๒๖ – ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๗ ที่ผ่านมา กลุ่มเครือข่ายเยาวชนคนสร้างหนังแห่งประเทศไทย (Young Filmmakers of Thailand) ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมอบรมการผลิตสารคดีสั้นเล่าเรื่องเมืองเราให้กับเยาวชนจากพื้นที่ต่างๆ กว่า 12 พื้นที่ทั่วประเทศ และหลังจากที่จบจากค่ายไป เยาวชนทั้ง 12 พื้นที่ ได้เริ่มดำเนินการทดลองผลิตสารคดีสั้นของตัวเอง
ปัจจุบันเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการฯ ผลิตผลงานสารคดีสั้นเสร็จสิ้นแล้ว ด้วยเหตุนี้ทางเครือข่ายเยาวชนคนสร้างหนังแห่งประเทศไทยจึงมีความประสงค์ในการจัดฉายภาพยนตร์สารคดีสั้นเล่าเรื่องเมืองเราขึ้น ในวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๗ ที่โรงแรมอมารี ดอนเมือง กรุงเทพฯ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องราวระหว่างโครงการที่เยาวชนแต่ละกลุ่มทำในชุมชน รวมถึงประสบการณ์การเรียนรู้จากการทำสารคดีสั้นของกลุ่มแกนนำเยาวชนที่ผ่านการอบรม
มูลนิธิสยามกัมมาจลเล็งเห็นถึงโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างแกนนำเยาวชนในแต่ละพื้นที่ จึงสนับสนุนให้กลุ่มเครือข่ายเยาวชนคนสร้างหนังแห่งประเทศไทยจัดกิจกรรมดังกล่าวขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อรับชมและแลกปลี่ยนเรื่องราวจากผลงานของเยาวชนแต่ละกลุ่ม
2. เพื่อเป็นการถอดบทเรียนการทำงานของเยาวชนจากการทำโครงการ
สารคดีสั้นถ่ายถอดเรื่องราวและคุณค่า จากการลงมือทำโครงการพัฒนาชุมชน จำนวน 8 เรื่อง ของเยาวชนในเครือข่ายมูลนิธิสยามกัมมาจล ได้ถูกนำมาฉายในงาน ฉายหนัง “เล่าเรื่องเมืองเรา” เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2557 ที่ผ่านมา
● เรื่องขี้เดียด... กลุ่มเยาวชนบ้านดอนหนองโจน จ.ร้อยเอ็ด สะท้อนภาพเยาวชนที่เห็นปัญหา และพยายามสืบค้นต้นตอของปัญหา และหาข้อมูลผลกระทบ ตั้งคำถามกับผู้ใหญ่ที่จัดการสิ่งปฏิกูล เช่น ปล่อยขี้จากรถดูดส้วม ทิ้งขยะลงในป่าชุมชนใกล้ๆ ท้องนา ที่อาจจะส่งผลต่อสภาพแวดล้อม และสุขภาพของคนในชุมชน คลิกเพื่อชมสารคดี
● เรื่องน้ำมือ... นักเรียนชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ โรงเรียนสันป่าไร่ จ.ตาก ที่รวมตัวกันลงชุมชน ศึกษาสภาพป่า พูดคุยชวนพ่อแม่ในชุมชนลดการถากถางพื้นที่ป่า เพื่อนำมาทำไร่ข้าวโพด ทำให้ได้เห็นว่า พ่อ-แม่ในชุมชนเห็นคุณค่าของผืนป่าที่จะเป็นแหล่งอาหารของลูกหลานต่อไป คลิกเพื่อชมสารคดี
● เรื่องสุขจริง?... กลุ่มเยาวชนฮักนะเชียงยืน จ.มหาสารคาม เล่าเรื่องปัญหาของชุมชนบ้านแบก ที่ใช้สารเคมีในการปลูกแตง แคนตาลูป ทำเกษตรพันธสัญญา ที่ส่งผลต่อสภาพดิน และสุขภาพของพ่อ-แม่-ลูกหลาน และบทบาทของกลุ่มเยาวชนในการชวนชุมชนป้องกันตัวเองจากสารเคมี และหาทางออกในการทำเกษตรอินทรีย์ คลิกเพื่อชมสารคดี
● เยาวชนอาสาร่วมใจพัฒนา... กลุ่มเยาวชนโรงเรียนแม่พริกวิทยา จ.ลำปาง เล่าเรื่องกลุ่มเยาวชนลงชุมชนแก้ปัญหาขยะ โดยร่วมมือกับผู้ใหญ่ในชุมชนชวนแยกขยะ และจัดทำธนาคารขยะในชุมชน คลิกเพื่อชมสารคดี
● บ้านเราสงขลา... ชมรมต้นคิด โรงเรียนมหาวชิราวุธ จ.สงขลา เล่าเรื่องความผูกพันของคนในชุมชนเมืองเก่าสงขลา ย่านถนนนครนอก นครใน ถนนนางงาม สะท้อนให้เห็นภาพความ "รัก" เมืองเก่าที่คนในชุมชนสะท้อนผ่านประเด็นความห่วงใยในถนนหนทาง อาคารเก่าสถาปัตยกรรม แบบ ชิโน-โปรตุกีส ของชุมชนชาวจีนฮกเกี้ยน สภาพแวดล้อม ย่านร้านอาหารเก่า ซึ่งเป็น "เสน่ห์เมืองเก่า" และความเปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน คลิกเพื่อชมสารคดี
● ปะทิว... กลุ่มเยาวชนรักคลองบางสน โรงเรียนปะทิววิทยา จ.ชุมพร เล่าเรื่องราวจากพายุไต้ฝุ่นเกย์ ที่พัดเข้า ชุมชน ทำให้ทำลายบ้านเรือน นำมาสู่การอนุรักษ์ข้าวสายพันธุ์ "เหลืองปะทิว" ที่กลุ่มเยาวชนร่วมกันอนุรักษ์ฐานอาชีพที่กำลังจะหมดไป คือ การทำนาของชุมชน รวมทั้งเห็นคุณค่าของการ แปรรูปข้าวมาสู่ อาหารชนิดอื่นๆ เช่น ขนมจีน ขนมไทยต่างๆ ท่ามกลางความรุกล้ำของฐานอาชีพสมัยใหญ่ที่เน้นบริโภคนิยม ผลิตผลจำนวนมาก ให้ได้ราคา เช่น การปลูกปาล์มน้ำมัน มากกว่าคุณค่าของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คลิกเพื่อชมสารคดี
● คนเล็กเปลี่ยนโลก กลุ่มเยาวชน ต.เขายายเที่ยง จ.นครราชสีมา เล่าเรื่องราวการทำงานพึ่งตนเอง ด้านต่างๆ เช่น เลี้ยงไก่ไข่ ปลูกเห็ด เป็นต้น คลิกเพื่อชมสารคดี
● เปลี่ยน... กลุ่มเยาวชนโรงเรียนบ้านสันป่าไร่ จ.ตาก เล่าเรื่องปัญหาขยะพลาสติกอันมากมายในชุมชน ที่มาพร้อมกับการบริโภคใหม่ๆ ของชุมชนปกาเกอะญอ คนรุ่นใหม่ก็มีพฤติกรรมทิ้งง่ายๆ ข้างทางทำให้ปัญหาขยะเกลื่อนกลาด คำถามคือ คนรุ่นใหม่จะมีวิธีการในการจัดการปัญหาขยะที่กำลังเพิ่มมากขึ้นนั้นอย่างไร คลิกเพื่อชมสารคดี
-------------------------------------------------------------------------------------------------------
สารคดีสั้นทั้งหมดเกิดจากการลงมือทำจริงของเยาวชน จนเกิดเป็นความสำเร็จและความภาคภูมิใจของน้องๆ ทุกคน ในวันฉายหนัง น้องๆ ได้รับคำแนะนำจากคุณปรัชญา ปิ่นแก้ว และ คุณประจวบ ผลิตผลการพิมพ์ ถึงเรื่องการพัฒนาฝีมือให้ดียิ่งขึ้นไป โดยสามารถสรุปประเด็น ได้ดังนี้
1.การทำสารคดีควรเลือกเรื่องที่น่าสนใจ เป็นเรื่องใหม่หรือประเด็นใหม่ ที่คนส่วนใหญ่อาจไม่รู้ หรือ ไม่เคยเห็นมุมนี้มาก่อน เพราะ จะช่วยทำให้คนดูอยากติดตามตลอด
2.นำเสนอประเด็นให้ชัด เพียงประเด็นเดียว และเจาะลึกลงไปในประเด็นนั้น ดังนั้นการทำข้อมูลหรือการรู้และเข้าถึงข้อมูลจึงเป็นสิ่งสำคัญ
3.ต้องกล้าที่จะนำเสนอในมุมที่ต่างออกไป แต่ต้องดูว่าเรามีความสามารถหรือมีข้อจำกัดแค่ไหน ถ้าจะมีผลกระทบต่อการทำงานของเรา อาจต้องพิจารณาให้ดี
4.ลดการเล่าเรื่องโดยการเล่าหรือบรรยายให้น้อยที่สุด แต่ต้องกลับมาคิดว่า เราจะสื่อสารด้วยภาพอย่างไรให้คนดูเข้าใจมากที่สุด
5.ดำเนินเรื่องอย่างต่อเนื่องและเป็นธรรมชาติ ลดการใช้บทพูด หรือ การสร้างบทให้คนพูด เพราะสารคดีไม่ใช่ภาพยนตร์
6.ควรตรวจสอบเรื่องเสียงที่แทรกเข้ามาระหว่างถ่ายทำ ถ้าไม่สามารถแก้ไขได้ควรมีคำบรรยายให้ผู้ชมเข้าใจ
7.การใช้ข้อความ หรือการขึ้นข้อความ (subtitle/ text) ควรตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนทุกครั้ง เพื่อไม่ให้เนื้อหาผิดเพี้ยนไปจากสิ่งที่เรื่องกำลังเล่า
8.การเล่าเรื่องกับภาพที่นำเสนอควรสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน
9.การสัมภาษณ์หรือเล่าเรื่องจากบุคคลต่างๆ หากเป็นคำตอบซ้ำกัน ควรเลือกบางคนเท่านั้น เนื้อหาที่ดีหรือคำตอบที่ดีควรเป็นคำตอบที่ขยายความซึ่งกัน และต่อเนื่องกันมากกว่าการนำเสนอด้วยคำตอบที่ซ้ำกัน
10.การนำเสนอเรื่องหรือภาพที่ไม่ราบเรียบเกินไป จะช่วยทำให้คนดูอยู่กับสารคดีและให้ความสนใจมากขึ้น ซึ่งทำได้โดยการนำเสนอภาพจากมุมกล้องที่แตกต่างออกไปจากการเล่าเรื่องแบบเดิม
----------------------------------------------------------------------------------------------------
หลังจากการชมสารคดีสั้นแล้ว มูลนิธิสยามกัมมาจลได้ชวนเยาวชนทั้งหมด ร่วมถอดบทเรียนเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานและความสำเร็จจากการลงมือทำสารคดีสั้น
ในประเด็นต่างๆ โดยสรุปได้ ดังนี้