"โครงการต่อกล้าให้เติบใหญ่"
อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการพัฒนาโครงการ และตัดสินโครงการรอบที่ 2
ระหว่างวันที่ 4 - 8 พฤษภาคม 2557
ตามที่ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ร่วมกับมูลนิธิสยามกัมมาจล ดำเนินโครงการ "ต่อกล้าให้เติบใหญ่" เพื่อพัฒนากลไกการจัดการโครงการพัฒนาเยาวชนที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งสนับสนุนการต่อยอดผลงานของเยาวชนให้สามารถพัฒนาต่อไปสู่ผู้ใช้งาน
เพื่อเป็นการเสริมศักยภาพการพัฒนาโครงการให้กับเยาวชนที่ผ่านการคัดเลือกผลงานโครงการรอบแรก จึงจัดกิจกรรม "อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการพัฒนาโครงการ และตัดสินโครงการรอบที่ 2" ระหว่างวันที่ 4 - 8 พฤษภาคม 2557 ซึ่งเป็นการเติมเต็มศักยภาพให้แก่เยาวชนในเรื่องต่างๆ เช่น การเรียนรู้เรื่อง User Experience and User Interface การบริหารจัดการโครงการ (Project Management) เทคนิคการนำเสนออย่างมืออาชีพ (Professional Presentation Techniques) เพื่อนำมาปรับกับข้อเสนอผลโครงการ และนำเสนอเพื่อคัดเลือกรอบที่ 2 ต่อคณะกรรมการด้วยตนเอง
"โครงการต่อกล้าให้เติบใหญ่"
อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการพัฒนาโครงการ และตัดสินโครงการรอบที่ 2
ระหว่างวันที่ 4 - 8 พฤษภาคม 2557
วันที่ 8 พฤษภาคม 2557
ณ ห้อง 306 อาคารศูนย์การประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย สวทช. จ.ปทุมธานี
การนำเสนอผลโครงการเยาวชน เพื่อพิจารณาคัดเลือกรอบที่ 2
ข้อเสนอแนะผลงานโครงการเยาวชนจากคณะกรรมการ
1. โครงการ : ZombiO – นายซอมบี้กับเคมีที่รัก
- พรีเซ้นท์สวยและทำได้ดี
- ถ้าอยากจะรู้ว่าขายได้หรือไม่ได้ ให้ถามเพื่อนหรือตัวเองว่าจะซื้อแอพฯแบบนี้หรือไม่
- ตัวชี้ขาดอยู่ที่คอนเท้นท์ต้องมีความคุ้มค่า มีหลายหัวข้อเรื่อง และความยากของการทดลองถ้าเป็นเรื่องที่ทดลองได้ไม่ยากก็ไม่มีเหตุผลที่ต้องซื้อ
- ทำอย่างไรคนถึงจะซื้อ - software จะต้องตอบโจทย์คนหมู่มากได้ เช่น ครูเป็นคนให้ซอฟ์ตแวร์ทำการทดลองให้ดูที่โรงเรียนแล้วเด็กกลับมาใช้ที่บ้าน /จะทำอย่างไรให้ครูซื้อ
- มีเกี่ยวข้องกันมากแค่ไหนที่เอาการทดลองไปพ่วงกับการสอบเอ็นทรานท์ การทดลองทำให้เข้าใจและทำคะแนนได้มากขึ้นแค่ไหน ไม่ฉะนั้นแค่การทำข้อสอบเยอะๆ ก็คะแนนมากขึ้นได้
- การมีแอนนิเมชั่นเพื่อแก้ปัญหาการทำความเข้าใจเนื้อหาส่วนที่ยาก เราต้องไปเอาคอนเท้นท์ที่เป็นอย่างที่ว่ามาทำเพื่อให้ตอบโจทย์ผู้ใช้
- ถ้าจะช่วยแก้ปัญหาคนที่มีปัญหาจินตนาการตามบทเรียนไม่ออก เหมาะกับนักเรียนกลุ่มไหน ใช้ในสถาบันกวดวิชาอาจไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย
- ในแผนงานดูเหมือนมีการพัฒนาจนเกือบเสร็จแล้วไปทดลอง จริงๆเราทดลองระหว่างทางได้ และเก็บ feed back ว่าผู้ใช้คิดอย่างไร เป็นโมเดลต่อยอดก่อนพัฒนาลง tablet
- ถ้าเน้นขายโรงเรียนกวดวิชา เขาสนใจ lead motion หรือไม่ / เข้าใจว่าคนที่เขาไปติวเขาไม่ได้อยากสนุกแต่อยากให้คะแนน
- ไม่ควรเสียเวลาไปกับลีพโมชั่นแต่น่าจะทุ่มเทเวลากับการพัฒนาเนื้อหา
- คิดให้ชัดว่าลูกค้าคือกลุ่มไหนแน่ ถ้าเป็นกลุ่มที่เรียนในห้องแล้วครูเอามาช่วย คือกลุ่มที่เรียนแล้วต้องสนุก / กลุ่มเอาคะแนน จะไม่สนใจสนุก พวกนี้ต้องการโจทย์เยอะแล้วแล้วอ่านเฉลย moodของเด็กม. 6 คือเตรียมสอบ แต่ ม. 4-5 mood คือทำอย่างไรจะสนุกกับการเรียน เท่าที่ฟังพูดไปในทิศทางสนุกมากกว่า ถ้าแบบนั้นอาจจะไม่ใช่ อ.อุ๊ที่เข้าไปหา แต่น่าจะเป็น สวทช.
- เรื่องคอนเท้นท์เป็นเรื่องหลัก ถ้าเนื้อหาน้อยไม่คุ้มค่ากับการโหลด ที่มาของคอนเท้นท์ น่าจะทำsurvey แล้วถามให้ชัดว่าเขาต้องการอะไร ถามทั้งเด็กกลุ่มนั้น หรือ ประสานกับ สสวท.เพื่อทำความเข้าใจบทเรียนในหลักสูตร
- ทำต้นทางให้ชัด / กระบวนการที่ทำให้รู้ข้อมูล user ต้องทำให้เยอะ / การพัฒนาระบบปฏิบัติการเป็นขั้นสุดท้าย
- การใช้งบประมาณ ชีวิตจริงมีค่าใช่จ่ายในการดำเนินการ เช่นค่าเดินทาง การติดต่อกับผู้ใช้ ควรมีการสำรองงบเอาไว้ส่วนนี้
2. โครงการ : Monster land
- ยังไม่เห็นภาพว่ามันแตกต่างกับเกมอื่นอย่างไร
- เป้าหมาย 5 % ของตลาดคือเท่าไหร่ ของคนไทย หรือ นานาชาติ / ทั้งหมด 100% ของไทย คือคนเท่าไหร่? จะได้ทำการประเมินความเป็นไปได้ถูกต้อง
- ในเมื่ออยู่บน App store อยู่แล้ว ทำไมไม่ขายทั่วโลก การทำความเป็นไทยต้องทำให้เนียนๆ จะได้ขายได้ / คนไทยโหลดเสียเงินในไทยมีน้อย /ต้องทำสำรวจตลาดให้ดี /
- ให้คนที่ไม่รู้จักมาทดลองเล่นแล้วขอความเห็น ถ้าเป็นคนรู้จักจะเกรงใจกันไม่กล้าพูดตรงๆ
- ต้องไปศึกษาคนที่ทำเกมแล้วประสบความสำเร็จทำอย่างไร /
- ถ้าเอาตัวการ์ตูนที่เอาออกมาให้ดูจะไม่ซื้อ ต้องทำให้เป็น Universal Design ถ้าต้องการลูกค้ากว้างต้องทำให้ เด็กและ ผู้หญิงก็เล่นได้
- เกมต้องง่ายไม่ต้องใช้สมองมาก คนทุกเพศทุกวันใช้ได้
- เรื่องการนำเสนอโครงการ เดินไปเดินมาชวนเวียนหัว / ใช้ตัวหนังสือเล็กมาก / ใช้สไลด์ด้านบนไม่คุ้ม
- การให้โหลดฟรีแล้ว in ad ต้องใช้จิตวิทยาสูง ทำอย่างไรให้คนอยากจะกด/ ถ้าเป็นการจ่ายเงินเพื่อซื้อ Avatar คงไม่ซื้อ
- PR จาก NECTEC ที่บอกว่าให้ช่วยประชาสัมพันธ์ ในภาพโครงการต่อกล้าทำได้แต่ให้ช่วยขายคงไม่ได้
3. โครงการ : องค์รักษ์พิทักษ์หัวใจ
- หาข้อมูลเพิ่มเติมให้มากขึ้น สิ่งสำคัญคือทำแล้วต้องมีคนใช้ กลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้ต้องการอะไร ครู / หมอ / นักเรียน ต้องการเนื้อหาอะไรบ้าง
- อะไรจะทำให้เขาสนใจซื้อหลังจากที่เขาลองใช้แล้ว
- ใน App store มีแอพฯเกี่ยวกับการทางการแพทย์ที่มีอยู่แล้วมากมาย / ศึกษาดูว่าแอพฯที่ดีทำงานอย่างไร
- อะไรคือโจทย์ของนักเรียนมัธยม ทำอย่างไรให้ดูแล้วเข้าใจ
- หัวใจเป็นส่วนหนึ่งของระบบเลือดต้องเชื่อมโยงระบบเลือดทั้งระบบ
- Concept content กลุ่มเป้าหมาย ชัดหรือไม่ ต้องกลับไปทำการบ้าน
- การต่อยอดไม่จำเป็นต้องขยายกลุ่มเป้าหมาย ควรโฟกัสว่าเราต้องการกลุ่มเป้าหมายใดให้ชัดและทำให้ลึก
- อยากต่อยอดเพราะนักเรียนไม่สนใจ เขาไม่สนใจเพราะเราเลือกกลุ่มเป้าหมายผิด เขาไม่มีความสนใจเรื่องนั้นจริงๆ หรือ แอพฯของเราไม่น่าสนใจ เราได้เก็บ feedback มาหรือไม่ก่อนเปลี่ยนไปหากลุ่มเป้าหมายอื่น
- คู่แข่งเยอะ ใน App store, Play store ข้อแตกต่างที่ชัดเจนคืออะไร ถ้าไม่มีต้องสร้างขึ้น
- ใช้เวลาศึกษา code graphic ให้มากขึ้น
- ควรพัฒนาบน device ที่เป็นที่นิยม (smartphone) มากกว่า PC และ tablet ซึ่งอยู่ในขาลง
4. โครงการ : ระบบอัจฉริยะสำหรับการจัดการอุปกรณ์ และสื่อมัลติมีเดีย
- มีระบบที่มีอยู่แล้วหรือไม่ ราคาเท่าไหร่ ควรทำการศึกษา
- ปัญหาคืออะไรที่เป็นปัญหาใหญ่ที่สุด? / การประหยัดไฟฟ้า / การควบคุม / การจอง
- ถ้าไม่มีคนที่อธิบายวิธีการใช้ หรือใช้แล้วเกิดปัญหาจะทำอย่างไร? / แก้ปัญหาการใช้บุคลากรได้จริงหรือไม่?
- พยายามมองตามว่าระบบทำงานอย่างไร / มันอัจฉริยะอย่างไร จากการนำเสนอคิดภาพไม่ออก
- การนำเสนอตอนเสนอแผนพัฒนา ไล่ลำดับย้อนกลับหลัง อินดี้มาก
5. โครงการ : Scavenger Hero
- ชอบการนำเสนอเพราะมีที่มาที่ไป เล่า Background ได้ดี
- มีแผนการศึกษาที่ดี แต่กลุ่มเป้าหมายไม่ชัด / กลุ่มที่เราจะขายชอบอะไร / การแยกขยะ ไม่ค่อยเข้าทางกลุ่มเป้าหมาย
- ที่ไปศึกษาคนที่เล่นอินเตอร์เน็ต อายุ 15-25 ปี / อายุของกลุ่มเป้าหมายคิดว่าเป็นกลุ่มเป้าหมายหลอก กลุ่มเป้าหมายจริงคือเด็ก 10 ขวบที่พ่อแม่จะเป็นคนจ่ายเงินให้
- ถ้าจะทำขายผู้ปกครองต้องทำ package ที่สื่อสารกับเขาได้ดี
- เก็บขยะน่าสนใจ แต่ไม่ใช่ขายให้คนเสียเงิน แนะนำให้ใช้วิธีการตลาดแบบคนซื้อไม่ได้ใช้ คนใช้ไม่ได้ซื้อ เช่น ขายให้ CSR บริษัทพลังงาน เล่นเกมเก็บคะแนนแล้วเอาไปแลกกาแฟ หรือของรางวัลได้จริง หรือ อบต. ซึ่งจะมีงบดูแลโรงเรียนในท้องถิ่นอยู่แล้ว เป็นช่องทางในการนำไปเสนอขายให้เอาไปใช้ในโรงเรียน หรือ เอาไปร่วมพัฒนากับโครงการที่ distribute ถังแยกขยะ เป็นสื่อเรียนรู้การแยกขยะ
- อะไรคือเหตุผลที่เลือกสสส.เป็น partner ไม่แน่ใจว่าเข้า scope เขารึเปล่า
- ต้องเช็คว่าเรื่องราวที่เราผูกจะเหมาะไหมกับกลุ่มเป้าหมาย ถ้าเอากลุ่มเดิม อาจจะต้องทำให้เซ็กซี่กว่านี้
6. โครงการ : Personal Health Assistant
- ฟังค์ชั่นดูแลเรื่องการกิน น่าจะมี list menu เป็นอาหารไทยให้เลือกจะทำให้ได้ค่าที่แม่นยำ
- ฟังตอนแรกกลุ่มเป้าหมายเหมือนผู้สูงอายุกับคนป่วย แต่กลุ่มเป้าหมายกลายเป็นคนรักสุขภาพซึ่งกว่ามาก
- ถ้าใช้กับบริษัทประกันชีวิต – ไม่น่าจะเวิร์ก จะใส่ข้อมูลหลอก / แต่ถ้าใช้กับโรงพยาบาลจะใส่ข้อมูลจริง
- ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ -ปัจจุบัน ตอนนี้ มีคนมาคุยกับอาจารย์ว่าจะทำแอพฯแบบนี้เป็นรายที่ 14
- ควรแบ่งเงินส่วนหนึ่งไปทำกราฟฟิค ดีไซน์ - ฟังค์ชั่นดี แต่ยังไม่สวย
- สาเหตุที่แอพฯอื่นทำแค่ด้านเดียวเพราะ ถ้าจะทำให้ดีทั้งสามด้าน ก็ต้องทำงานเยอะ แอพฯที่ทำเฉพาะทางเขาทำได้ดี
7. โครงการ : Magic Classroom - ระบบห้องเรียนอัจฉริยะ
- ชื่อโปรดักท์ไม่สื่อกับสิ่งที่ใช้งาน
- ทำการบ้านมาดี
- ทำไมถึงต้องเปลี่ยนจากสวิตช์มาเป็นระบบเซ็นเซอร์ ในเมื่อมีราคาสูงกว่า ใช้ยากกว่า
- ถ้ามีกล้องเดียว ตำแหน่งคนไม่แน่นอน - ต้องไปทดสอบ person detection / motion censer
8. โครงการ : Scan to Buy ซื้อง่ายด้วย QR
- จะติดตามระบบขนส่งได้อย่างไร? ถ้าสั่งสินค้าแล้วยังไมได้จะติดตามได้ยังไง ?
- เคยเห็นระบบแบบนี้ที่ประสบความสำเร็จมากของ Tesco ระบบแบบนี้ที่มันเกิดขึ้นจริงคือมาจากฝั่งร้านค้า ระบบเป็นเพียงส่วนประกอบ Tesco และ Big C ตอนนี้มีระบบอยู่แล้ว จะทำอย่างไรให้เข้าไปตามร้านให้ใช้ได้จริงๆอาจจะเป็นร้านค้าขนาดเล็กก่อนก็ได้
- ระบบของเรามีอะไรที่พิเศษมากกว่าที่เขาจะยอมซื้อได้
9. โครงการ : Jack Find the Treasure
- ลองไปศึกษาหลักสูตรสถานศึกษา เป้าหมายการเรียนรู้ในแต่ละระดับชั้นเพื่อให้แอพฯเอาไปช่วยให้ครูในโรงเรียนทำให้เด็กศึกษาคำศัพท์ได้สนุกขึ้น
- ถ้าเราไม่ได้เป็นเด็กประถม อย่าไปคิดไปเองว่าสนุก ให้ทดสอบกับผู้ใช้จริง
- ในตลาดมีแอพฯแบบนี้มากและพัฒนาไปถึงรูปประโยคและออกเสียงได้ ตัวอย่างประโยค อะไรคือสิ่งที่เราแตกต่าง
- กลุ่มเป้าหมายจริงคือ พ่อแม่ รูปแบบการประชาสัมพันธ์ต้องแตกต่างจากเนื้อหาในเกม
- ซอฟแวร์ในการพัฒนาเกม เราต้องคำนึงถึงที่มาให้ถูกต้องด้วย
10. โครงการ : Quick Dying เครื่องย้อมเส้นไหมด้วยไฟฟ้าเคมี
- ลดการเผาถ่านช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม – ได้คำนึงถึงการไฟฟ้าหรือไม่ว่าใช้ไฟมากน้อยเพียงใด?
- อายุเฉลี่ยคนทำการย้อมอายุเท่าไหร่? จะใช้เรียนรู้การใช้เครื่องได้หรือไม่?
- การควบคุมคุณภาพตั้งต้นของครั่งและน้ำด่างมีการควบคุมคุณภาพได้อย่างไรเพราะเป็นวัตถุดิบที่ได้จากธรรมชาติ
- จุดประสงค์ของเครื่องนี้ผลิตเพื่อย้อมสีเคมีหรือสีธรรมชาติ? อย่าไปแนะนำชาวบ้านให้ใช้สารเคมี เพราะเป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อม และสิ่งที่เขาทำคือการขายภูมิปัญญา แต่เห็นด้วยถ้าเอาวิทยาศาสตร์ไปพัฒนาต่อยอด
- ถ้าแน่ใจว่ายังไม่มีใครทำให้ไปจดสิทธิบัตรเครื่องและวิธีการย้อม
11. โครงการ : การพัฒนาประสิทธิภาพการเคลื่อนที่ของแบบจำลอง Airboat ด้วยการเคลื่อนที่เชิงมุม
- อยากให้คุยกับเป้าหมายก่อนแล้วค่อยทำว่า ทำเพื่ออะไร? – พัฒนา Airboat หรือเพื่อกู้ระเบิด
- ควรมีการพูดคุยสอบถามความต้องการจากผู้ใช้ก่อน ถ้าเป้าหมายคือผลิตเพื่อการกู้ระเบิด ควรคุยกับ EOD เพราะในการกู้ระเบิดมีความต้องการในรายละเอียดมาก ไปถามสเป็กให้ชัด (ถ้าติดต่อไม่ได้ อ.กฤษฎายินดีติดต่อให้)
- ไอเดียดีแต่ภายในระยะเวลา 4 เดือน จะทำให้เป็นจริงได้หรือไม่ เพราะเป็นการทำงานเรื่องความปลอดภัยและชีวิตคนจะต้องมั่นใจได้ 100 % ว่าไม่มี error
- ฝันใหญ่ - ถ้ามีเวลาน้อยต้องแบ่ง phasing ของโครงการ กำหนดเป้าหมายของแต่ละช่วงให้ชัดเจน ไม่เช่นนั้นจะใช้เวลาหลายปีแล้วหาความสำเร็จไม่ได้
- เราอาจจะทำแค่การควบคุมการเคลื่อนที่ของ Airboat ที่เราทำได้ดี อาจจะเป็นตัวช่วยในการส่งอุปกรณ์บางในการเก็บกู้ระเบิด เช่น ส่งกล้องเข้าไปแล้วส่งภาพถ่ายมาที่เจ้าหน้าที่ เพียงแค่นี้ก็สามารถจดสิทธิบัตรได้ ในส่วนอื่นแนะนำว่าให้ไปร่วมงานกับคนที่ทำอยู่แล้ว
- ถ้าจบโครงการต่อกล้าแล้วยังไปไม่ถึงเป้าที่จะทำ แนะนำให้คุยกับนักวิจัยของ NECTEC ที่ทำเรื่องความมั่นคง เพื่อหาทุนในการทำงานต่อ
12. โครงการ : ระบบการจัดเก็บข้อมูลผู้ป่วยสำหรับโรคทางพันธุกรรม
- สิ่งที่ควรทำ คือ ไปคุยกับลูกค้าบ่อยๆ(คุณหมอเจ้าของโปรเจค) มีการทดลองการใช้งานเป็นระยะ
- ต้องศึกษาข้อมูลในมุมอื่นด้วย บางเรื่องเป็นเรื่องที่อยากได้แต่ไม่สามารถทำไม่ได้ เพราะมีข้อกำหนดของแพทยสภาและกฎหมายเรื่องการส่งต่อข้อมูลและการรักษาความลับ
- มีโปรแกรมของ Nestec ที่มี function - family folder collector อยู่แล้ว มีการใช้จริงทั่วประเทศและในรพ.ต่างจังหวัดที่มีการเยี่ยมบ้าน ถ้ามีอยู่แล้วอาจจะไม่ต้องพัฒนาใหม่
13. โครงการ : Monmon Dash ม่อนๆซ่อนผ้า
- กลุ่มเป้าหมาย ม.ต้น ที่รักความเป็นไทย เป็นกลุ่มเป้าหมายที่มีน้อย ควรคำนวณดูว่าประชากรของกลุ่มเป้าหมาย 1-3 รวมกันแล้วมีมากน้อยแค่ไหน
- ชื่นชมที่มีความต้องการจะใช้ของถูกลิขสิทธิ์
- คิดแผนโปรโมทเป็นเรื่องดีเพราะแอพฯตอนนี้มีเยอะมาก (เกมไทยอย่างพระนเรศวร พยายามโปรโมทก็ติดตลาดได้ยาก)
- ให้ลองไปเทสกลุ่มเป้าหมายจริงๆว่า เขาเล่นเกมแล้วสนุกพอที่จะยอมจ่ายเงินหรือไม่
- ลองหาเรื่องราวมาช่วยทำให้เกมสนุกขึ้น( เช่น Angry Bird สนุกไม่ใช่เพราะเอานกไปยิงหมูอย่างเดียวแต่เพราะนกโดนขโมยไข่เลยแค้น)
- บอกว่าเป็นเกมมอญซ่อนผ้าเข้าใจว่าเอาเครื่อง 6 เครื่องมา interact ตัวละครวิ่งไปรอบๆ 6 เครื่องกันน่าจะสนุก
- ทำเกมต้องอดทน ศึกษาเยอะๆ ลองทำความเข้าใจผู้ใช้ให้มากๆ วิเคราะห์ความสำเร็จของเกมดังๆ
14. โครงการ : Easy Phone for Blind โปรแกรมช่วยเหลือผู้พิการทางสายตา
- คนตาบอดมาตั้งแต่กำเนิดกับคนที่มาบอดที่หลังมีความแตกต่างกันในเรื่องการสั่งการเคลื่อนไหวของร่างกาย หรือ ความคิดเชิงภาพ อาจจะต้องศึกษาปัจจัยเหล่านี้ว่าต่างกันอย่างไร?
- Business model ถ้าไม่ทำเพื่อขายจะทำอย่างไรให้อยู่รอดได้
15. โครงการ : บุญอิ่มริมรั้ว
- เราตั้งราคา 0.99$ เพราะคิดว่าเป็นราคาที่ไม่แพง แต่ความจริงคือมันแพงกว่านี้ไม่ได้อีกแล้ว เพราะอย่าง Angry Bird หรือทุกๆคนก็ตั้งราคานี้ เขาไม่ได้ซื้อเพราะราคาถูกแต่เราต้องไปเพิ่มคุณค่ากับแอพฯของเราให้น่าซื้อจริงๆ
- (กรรมการ) เคยเล่น leap motion แล้วเมื่อยมือมาก คิดว่า leap ไม่น่าจะเหมาะกับเกม
- Midi controller ราคา 3000 บาทใครจะซื้อมาเล่นเกม ไม่มีฟังค์ชั่นนี้ดีกว่า
16. โครงการ : Media Beamer
- เรื่องเทคนิคมีความ advance แต่ คนมาใช้อย่างแพร่หลายได้ยาก จะทำอย่างไรให้คนโหลดแอพอย่างแพร่หลายและอนุญาตให้เป็นทางผ่านของข้อมูล
- ข้อจำกัดของการไม่มี wifi จะน้อยลงเรื่อยๆในอนาคตอันใกล้
- กลุ่มผู้ที่จะใช้เป็นกลุ่มเฉพาะทางจริงๆ จะหารายได้อย่างไร
- อยากให้คำนึงถึง UI เพราะขึ้นเป็นรหัสเครื่องไม่รู้ว่าใครเป็นใคร ทำให้รู้สึกว่าใช้แล้วไม่ปลอดภัย
17. โครงการ : ระบบตรวจจับโรคนาข้าวด้วยเทคนิคประมวลผลภาพ
- มีข้อจำกัดในการบินสำรวจอะไร จะแก้ปัญหาได้อย่างไร
- ถ้าเห็นสีของโรคได้ชัด การเดินไปดูน่าจะง่ายกว่าใช้โดรน
- เกษตรกรที่ใช้จริงๆ คือระดับ 100 ไร่ เป็นกลุ่มที่น้อยมาก
- เกษตรกรอยากเห็นระยะก่อโรคเพื่อป้องกันมากกว่าเห็นตอนเกิดโรคแล้ว
- น่าจะมีการติดกล้องซูมเพื่อจับภาพไข่ของแมลงได้เลย
- ผู้ซื้อจะซื้อก็ต่อเมื่อมีความแม่นยำสูง
- นอกจากอุปกรณ์แล้ว ค่าใช้จ่ายในการบินสำรวจครั้งละเท่าไหร่