
งานตลาดนัดความรู้ "เครือข่ายเรียนรู้สู่ความพอเพียง" ครั้งที่ 2 หัวข้อ "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง: จากหลักคิดสู่วิถีปฏิบัติ" ณ ศูนย์การประชุมไบเทค บางนา วันที่ 25-27 สิงหาคม 2553
ตลาดนัดความรู้เศรษฐกิจพอเพียงครั้งที่ 2
วัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้โรงเรียนเครือข่ายทั้ง 68 แห่งได้มีการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการจัดการเรียน การสอน ได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติเพื่อพัฒนาตนเองเป็น "ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา" และเป็นแกนนำในการขับเคลื่อนขยายผลเศรษฐกิจพอเพียง จากการดำเนินงานกับโรงเรียนต่างๆ มูลนิธิฯ พบว่ามีวิธีการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้ เป็นรูปธรรมอยู่หลากหลายรูปแบบ ดังนั้น ตลาดนัดความรู้จึงเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยให้โรงเรียนต่างๆ ได้ทบทวนสำรวจตนเอง เพื่อนำความรู้ที่ได้จากการดำเนินการมาเผยแพร่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากผู้อื่น เติมเต็มซึ่งกันและกัน และนำความรู้ที่ได้กลับไปพัฒนาการจัดการการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้บริหาร ครู และนักเรียนสามารถเข้าถึงหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และนำมาเป็นวิถีปฏิบัติ
วัตถุประสงค์
- สร้างโอกาสการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงระหว่างคณะผู้บริหาร ครู และนักเรียนของสถานศึกษาพอเพียง
- เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายการเรียนรู้ของคณะผู้บริหาร ครู และนักเรียน ทั้งในระดับภูมิภาค และระหว่างภูมิภาค
- เพื่อรวบรวม ประมวลองค์ความรู้ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงของแต่ละโรงเรียน
- เปิดโอกาสให้สถานศึกษาพอเพียงนอก เครือข่าย และที่มีความประสงค์ที่จะร่วมพัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้และมีความพร้อมที่จะ ขยายผล มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และร่วมวางแนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงของเครือข่าย
- ดร.ปรียานุช จริยวิทยานนท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ
- ดร.สมเกียรติ ชอบผล รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ห้องที่ 1 ห้องผู้บริหาร
– เศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารจัดการสถานศึกษา
ห้องที่ 2 – 6 ตัวอย่างการบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง แบ่งเป็น ห้องที่ 2 การบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงกับหน่วยการเรียนรู้
– ตัวอย่างจากโรงเรียนบ้านทุ่งเกราะ และโรงเรียนปริ้นส์รอยแยลส์วิทยาลัย
ห้องที่ 3 การบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงกับโครงงาน
– ตัวอย่างจากโรงเรียนกัลยาณวัตร และโรงเรียนโยธินบูรณะ
ห้องที่ 4 การบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงกับฐานการเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้
– ตัวอย่างจากโรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์ และโรงเรียนศีขรภูมิพิสัย
ห้องที่ 5 การบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงกับกิจกรรมค่าย/กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
– ตัวอย่างจากโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี และโรงเรียนชำฆ้อพิทยาคม
ห้องที่ 6 ครูสอนอย่างไร นักเรียนจึงมีนิสัยพอเพียง
– ตัวอย่างนักเรียนและครู
ห้องที่ (1) เอกชนก้าวไกล - วิจัยก้าวหน้า
ห้องที่ (2) เปิดประตูสู่ห้องวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง : ไม่ยากอย่างที่คิด
ห้องที่ (3) วิจัยพอเพียงส่งเสียงก้องทั่วไทย