โครงการพัฒนาเยาวชนโดยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
โครงการพัฒนาเยาวชนโดยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
ตลาดนัดความรู้ ครั้งที่ 1 "เครือข่ายเรียนรู้สู่ความพอเพียง"
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

โครงการเสริมศักยภาพการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาและชุมชน ดำเนินการโดยสถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.) ในการสนับสนุนของมูลนิธิสยามกัมมาจล จัดงานตลาดนัดความรู้ ครั้งที่ 1 "เครือข่ายเรียนรู้สู่ความพอเพียง" ขึ้นเพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้เด่นร่วมกันของบุคลากรของสถานศึกษาพอเพียงในเครือข่าย โดยมีผู้บริหาร ครู และนักเรียน ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษากว่า 500 คนเข้าร่วมงาน

ความเป็นมาในการจัดเวที


สถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.) เป็นหน่วยงานภายใต้มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา มีบทบาทเสริมสร้างการเรียนรู้ เพื่อหนุนเสริมศักยภาพของคนทำงาน/แกนนำ ทั้งในระดับกลุ่ม ชุมชน องค์กร สถาบัน เครือข่าย โดยใช้เครื่องมือการจัดการความรู้ หรือ KM (Knowledge Management) รวมถึงการประยุกต์ใช้แนวคิด ทฤษฎีการเรียนรู้อื่นๆ ร่วมด้วย เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข และมุ่งหวังให้มีการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งในแง่ของการดำเนินชีวิต การทำงาน ยกระดับการเรียนรู้ของตน และอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข


นับตั้งแต่เดือนมานับแต่เดือนกรกฎาคม 2552 เป็นต้นมา สถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข หรือ สรส. โดยการสนับสนุนของ มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ได้ดำเนินการขับเคลื่อน โครงการเสริมศักยภาพการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาและชุมชน ใน ภูมิภาคต่างๆ ด้วยเครื่องมือการจัดการความรู้ เพื่อสนับสนุนส่งเสริมโรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียงระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ให้มีศักยภาพในการเป็นต้นแบบสถานศึกษาพอเพียง หรือ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง และเป็นกำลังสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงอย่างต่อเนื่อง จำนวน 200 โรงเรียนในปี 2554 ภายใต้นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ
 

ใน ช่วงเวลา 7 เดือนของการทำงานร่วมกันระหว่างผู้บริหาร คณะครู และนักเรียนที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการกับมูลนิธิสยามกัมมาจลฯ นับเป็นเวลาของการเชื่อมประสานเครือข่ายในระดับพื้นที่ ในการนี้ สถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.) จึงได้จัดให้มี เวที “เครือข่ายเรียนรู้สู่ความพอเพียง” นี้ ขึ้นในวันที่ 31 มกราคม – 1 กุมภาพันธ์ 2552 ณ โรงแรมวรบุรี อโยธยา รีสอร์ท จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อเชื่อมเครือข่ายระดับภูมิภาคที่อยู่ภายใต้การดำเนินงานของโครงการฯ

วัตถุประสงค์ในการจัดเวที

  • สร้าง โอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้เด่น ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงระหว่างคณะผู้บริหาร คณะครู และนักเรียน จากสถานศึกษาพอเพียงที่เข้าร่วมโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงกับมูลนิธิ สยามกัมมาจล
  • เชื่อมโยงเครือข่ายการเรียนรู้ ของคณะผู้บริหาร ครู และนักเรียน ทั้งในระดับภูมิภาคและระหว่างภูมิภาค
  • รวบรวม ประมวลองค์ความรู้ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงของแต่ละโรงเรียน

กลุ่มเป้าหมาย 

  • คณะ ผู้บริหาร คณะครู และนักเรียน จากสถานศึกษาพอเพียงทุกภูมิภาคที่เข้าร่วมโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง กับมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) รวมทั้งหน่วยงาน บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง รวมจำนวน 500 คน

องค์กรร่วมจัด 

  • มูลนิธิสยามกัมมาจล  ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
  • สถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.)  มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา
กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

31/1/52

การแสดงดนตรี บทเพลง “คนรุ่นใหม่ หัวใจพอเพียง”

 

การ แสดงดนตรีของนักเรียนโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 30 จ.เชียงใหม่ ในบทเพลง “คนรุ่นใหม่ หัวใจพอเพียง” เนื่องในพิธีเปิดงานตลาดนัดความรู้ ครั้งที่ 1 “เครือข่ายเรียนรู้สู่ความพอเพียง” โครงการเสริมศักยภาพการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาและชุมชน วันศุกร์ที่ 30 มกราคม – วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552 ณ โรงแรมวรบุรี อโยธยา รีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
 

ที่ มาของเพลงนี้ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 30 เป็นโรงเรียนประจำ อยู่รวมกันแบบสหศึกษา นักเรียนมีทั้งหมด หนึ่งพันกว่าคน การแต่งเพลงนี้ขึ้นเพื่อเป็นกำลังใจและเป็นแรงบันดาลใจ ให้กับเยาวชนรุ่นใหม่ ว่าการใช้ชีวิตแบบพอเพียงนั้นทำให้เรามีความสุขทั้งกายและใจ ให้เกิดความคิดว่าถึงแม้ว่าเราเลือกเกิดไม่ได้แต่เราสามารถเลือกใช้ชีวิตที่ ถูกต้องได้ ซึ่งถือว่าเยาวชนทุกคนเป็นกำลังสำคัญของชาติ การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมที่ดีเป็นผลดีกับตัวเองอย่างแน่นอน มีความสุขและเข้าใจแนวทางการใช้ชีวิตแบบความพอเพียง…


1/2/52


คำกล่าวเปิดงานตลาดนัดความรู้ ครั้งที่ 1 "เครือข่ายเรียนรู้สู่ความพอเพียง"


คุณปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร 

ผู้จัดการมูลนิธิสยามกัมมาจล

คุณปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร ผู้จัดการมูลนิธิสยามกัมมาจล และคุณทรงพล เจตนาวณิชย์ ผอ.สถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.) กล่าวถึงโครงการเสริมศักยภาพการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาและชุมชน ใน พิธีเปิดงานตลาดนัดความรู้ ครั้งที่ 1 “เครือข่ายเรียนรู้สู่ความพอเพียง” โครงการเสริมศักยภาพการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาและชุมชน วันศุกร์ที่ 30 มกราคม – วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552 ณ โรงแรมวรบุรี อโยธยา รีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


 

"จาก การดำเนินโครงการพัฒนาเยาวชนตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับโครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นการสนับสนุนเพื่อการเรียนรู้และการพัฒนาไปสู่โรงเรียนเศรษฐกิจพอ เพียงต้นแบบ 9 โรงเรียน ต่อมาในปี 2549 -2550 กระทรวงศึกษาธิการและโครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียงได้คัดเลือกสถาน ศึกษาพอเพียง ปี 2550 จำนวน 135 โรงเรียน และมีเป้าหมายขยายไปสู่ 40,000 โรงเรียนในปี 2554

ในฐานะภาคีความร่วมมือในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง มูลนิธิสยามกัลมาจลเล็งเห็นความจำเป็นที่จะต้องสร้างความเข้มแข็งให้กับ โรงเรียนดังกล่าวเพื่อให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง เป็นสถานที่ดูงาน และเป็นศูนย์กลางในการขยายผลไปสู่โรงเรียนอื่นๆ จึงจัดตั้ง “โครงการเสริมศักยภาพการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาและชุมชน” ขึ้น เพื่อสนับสนุนส่งเสริมสถานศึกษาพอเพียง ที่มีศักยภาพ และต้องการพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงตามนโยบายของกระทรวง ศึกษาธิการ โดยในการนี้ มูลนิธิฯได้สนับสนุนให้สถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.) เป็นกลไกหลักในการจัดกระบวนการเสริมศักยภาพให้กับโรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียง ที่เป็นโรงเรียนเป้าหมายพร้อมทั้งช่วยสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายการเรียนรู้ ที่เข้มแข็งในแต่ละภูมิภาค

จาก ผลการดำเนินงาน 7 เดือนที่ผ่านมา เกิดผลเชิงองค์ความรู้ คือ การถอดองค์ความรู้ในการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในโรงเรียนนำร่อง จำนวน 25 แห่ง ส่วนผลเชิงพัฒนา คือ เกิดเครือข่ายนักเรียนโรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียงในระดับภาค 4 เครือข่าย 66 โรงเรียน เป็นเครือข่ายภาคใต้ 4 โรง ภาคเหนือ 16 โรงเรียน ภาคกลางและตะวันออก 20 โรงเรียน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 26 โรงเรียน และเกิดเวทีตลาดนัดความรู้ขึ้นทุกภาค และเกิดการขยายผลและพัฒนางานด้วยการประยุกต์หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงใน โรงเรียน อีกทั้งนักเรียนได้เรียนรู้การผลิตสื่อประเภทต่างๆ นำไปขยายที่โรงเรียนและในชุมชน มีเวทีการแสดงของนักเรียนที่ประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในรูปของบทเพลง ละคร เรื่องเล่าและกิจกรรมโครงการตลอดจนแอนิเมชั่นต่างๆ

จาก ความสำเร็จต่างๆ ดังกล่าวมูลนิธิสยามกัมมาจลจึงสนับสนุนให้ สถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.) จัดเวทีตลาดนัดความรู้ “เครือข่ายเรียนรู้สู่ความพอเพียง” ขึ้นในวันที่ 31 มกราคม – 1 กุมภาพันธ์ 2552 ณ โรงแรมวรบุรี อโยธยา รีสอร์ท จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อสร้างโอกาสในการเรียนรู้ร่วมกัน โดยการนำผลสำเร็จมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และเพื่อประมวล และสังเคราะห์ความรู้ที่จะใช้ในการเผยแพร่ขยายผลต่อไป โดยในเวทีครั้งนี้ ได้มีการคัดเลือกผลงาน และกิจกรรมเด่น ของสถานศึกษาในเครือข่ายมาจัดนิทรรศการ พร้อมทั้งมีการจัดแบ่งแบ่งฐานการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในห้องย่อย 10 ห้อง ประกอบด้วย ห้องย่อยที่ 1 การบริหารจัดการ และขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน ให้ผู้บริหารสถานศึกษาร่วมแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน ห้องย่อยที่ 2 - 9 เป็นห้องกลุ่มครูผู้สอนรายวิชา ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสาระวิชาต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ การงานอาชีพและเทคโนโลยี สุขศึกษาและพลศึกษา วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม วิชาวิทยาศาสตร์ และวิชาศิลปะ และห้องสุดท้ายเป็นห้องที่เปิดโอกาสให้นักเรียนซึ่งได้นำหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงในการทำกิจกรรมต่างๆ มาแลกเปลี่ยนกัน

ผล จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในห้องย่อย ผู้เข้าร่วมกิจกรรมแต่ละห้องได้สะท้อนถึงประโยชน์ที่ได้รับอย่างหลากหลายจาก แลกเปลี่ยนรู้ครั้งนี้ อย่างไรก็ดี แม้การจัดตลาดนัดความรู้ของเครือข่ายสถานศึกษาพอเพียงครั้งนี้ จะพบว่ามีเคล็ดลับในการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สาระวิชาที่ แตกต่างหลากหลายและน่าสนใจ แต่อย่างไรก็ตาม การนำไปใช้จริงนั้นยังต้องคำนึงถึงบริบทและความเหมาะสมของแต่ละสถานศึกษา ดังนั้น การบูรณาการเพื่อนำไปใช้จริงจึงเป็นศาสตร์และศิลป์ในการประยุกต์ใช้

อย่าง ไรก็ตาม เชื่อว่าในการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งต่อไป จะมีความรู้ดีมาแลกเปลี่ยนกันมากขึ้นแน่นอน และมูลนิธิสยามกัมมาจลยังจะเป็นเพื่อนร่วมทางไปตลอดจนกว่าการผลักดันแนว ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนี้จะสำเร็จลุล่วง


คุณทรงพล เจตนาวณิชย์ 
ผอ.สถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข
(สรส.)

 

เวที ตลาดนัดความรู้ “เครือข่ายเรียนรู้สู่ความพอเพียง”นี้ มีผู้บริหารสถานศึกษา ครู และนักเรียนจาก 68 โรงเรียน ทั่วประเทศ เข้าร่วมนำเสนอผลสำเร็จ และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเข้าไป ประยุกต์ใช้ในการดำเนินงาน และพัฒนากระบวนการเรียนการสอนในกลุ่มสาระวิชาต่างๆ


เด็กที่ผ่านการสอนที่เน้นแต่ตำรา เน้นแต่วิชาการ ท่องจำ 3 ห่วง 2 เงื่อนไขได้ แต่จะขาดทักษะในการตีความ การตั้งคำถาม ขาดคิดวิเคราะห์เชื่อมโยงกับสิ่งรอบตัว จนไม่สามารถนำไปใช้ชีวิตของตนเองได้ สำหรับเวทีครั้งนี้ จะช่วยให้เด็กๆ ได้เรียนรู้จากเพื่อนใหม่ ได้ข้อคิดความรู้ใหม่ๆ ซึ่งจะช่วยให้เกิดการพัฒนาตัวเองไปด้วย และยังช่วยสร้างโอกาสให้กับเด็กที่มีศักยภาพ มีพลังสร้างสรรค์ แต่อาจจะขาดพื้นที่ในการแสดงออก ได้มาอวดฝีไม้ลายมือแก่ผู้หลักผู้ใหญ่ทั้งหลายให้ได้ชื่นชมและให้กำลังใจกัน ส่วนคุณครูที่มาร่วมเวที มีทั้งท่านที่เป็นเจ้าของเรื่องเล่าจากการทำงานที่น่าสนใจ พร้อมที่จะแบ่งปัน และท่านที่พร้อมจะมาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และผลัดกันเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับ สำหรับกลุ่มผู้บริหารโรงเรียน มีประมาณ 60 ท่าน จะได้พูดคุยกันถึงแนวคิด แนวทางในการบริหารโรงเรียนเพื่อร่วมกันขับเคลื่อน “สถานศึกษาพอเพียง” ไปสู่การเป็น “ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง” ต่อไป

สำหรับ กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในห้องย่อย จะมีทีมงานฯ ทำหน้าที่เป็นคุณอำนวย (Knowledge Facilitator) ในการอำนวยความสะดวก ให้คนในกลุ่มมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เติมเต็มความรู้ รวมทั้งจุดประกายความคิด สร้างแรงบันดาลใจ เพื่อให้ได้แนวทางกลับไปทำงานต่อ ภายใต้บรรยากาศที่เป็นธรรมชาติ ผ่อนคลาย เรียกว่า ต้องทำหน้าที่ทั้งบริหารคน เวลา เนื้อหา และบรรยากาศไปพร้อมๆ กัน และมีคุณบันทึก (Notetaker) ทำหน้าที่จดบันทึกประเด็นความรู้ที่เกิดจากการแลกเปลี่ยน

กิจกรรม หลักๆ ในเวทีตลาดนัดครั้งนี้ คือ การเอาประสบการณ์ ความรู้ มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ทั้งองค์ความรู้ของผู้บริหาร ครู และนักเรียน เรียกว่าเป็นการนำทุนปัญญาที่มีในเครือข่ายมาจัดตลาดนัดความรู้ เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ต่อไป


2/2/52

ปาฐกถาพิเศษเรื่อง "การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา"


การปาฐกถาพิเศษเรื่อง "การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา" โดยคุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม กรรมการ มูลนิธิสยามกัมมาจล เนื่องในพิธีเปิดงานตลาดนัดความรู้ ครั้งที่ 1 “เครือข่ายเรียนรู้สู่ความพอเพียง” โครงการเสริมศักยภาพการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาและชุมชน วันศุกร์ที่ 30 มกราคม – วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552 ณ โรงแรมวรบุรี อโยธยา รีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

 

"ปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักธรรมที่ดีงาม เป็นสากล ได้รับการยอมรับจากทั้ง 5 ศาสนาหลักในประเทศไทย คือ พุทธ คริสต์ อิสลาม ซิกส์ และฮินดู และที่สำคัญหลักปรัชญานี้ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก

ใน ส่วนของธนาคารไทยพาณิชย์เล็งเห็นความสำคัญของการปลูกฝังค่านิยมเศรษฐกิจพอ เพียงให้กับเยาวชนไทยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 จึงได้จัดตั้งโครงการพัฒนาเยาวชนตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ขึ้น เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับโครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียงสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยต่อมาได้มอบหมายให้มูลนิธิสยามกัมมาจลเป็นผู้ดูแลโครงการ และหวังว่าโครงการดังกล่าวจะเป็นกลไกหนึ่งที่สนับสนุนกระทรวงศึกษาธิการใน การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สู่เยาวชนทั่วประเทศ ในการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ การปลูกฝังค่านิยมเศรษฐกิจพอเพียงลงในใจเยาวชน เพื่อให้มีหลักคิด รู้เท่าทัน สามารถปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมั่นคงทั้งด้านกายภาพ และจิตใจ ในขณะเดียวกันยังเห็นคุณค่าของการอยู่ร่วมกันในสังคมก่อให้เกิดการพัฒนาที่ มั่นคง สมดุล และยั่งยืน

การ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงนั้นต้องเริ่มจากที่ตัวของเราเอง และไปสู่หมู่ คณะ และองค์กรที่เป็นสมาชิก จากนั้นสร้างเครือข่ายที่เชื่อมโยงถึงกัน ในการนำหลักปรัชญาฯ มาใช้ในชีวิตประจำวัน และเมื่อใช้บ่อยๆ ก็จะเข้าใจมากขึ้น สำหรับท่านที่เป็นผู้บริหารโรงเรียน จะต้องเป็นผู้นำในการสร้างหลักและวางเข็มทิศให้กับองค์กร กระตุ้นให้เกิดกลยุทธ์และแนวทางที่เหมาะสม เพื่อขับเคลื่อนองค์กรต่อไป ต้องเป็นผู้ตั้งหลัก เพราะฉะนั้นบทบาทของผู้บริหารในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงภายใต้งบประมาณ ที่จำกัด จึงต้องจัดสรรทรัพยากรให้พอเหมาะพอดี แต่หากนำหลักปรัชญาฯ มาเป็นหลักคิดก็จะช่วยพัฒนาชีวิตและการทำงานได้ ส่วนครูผู้สอน คือ ผู้ที่จะนำหลักปรัชญาฯ มาถ่ายทอดให้แก่นักเรียนในภาคปฏิบัติ ครูต้องกำหนดแผนงานที่เหมาะสม มีกระบวนการทำงานเป็นลำดับขั้นตอน อาทิเช่น ขั้นแรก ต้องกำหนดแผนการสอน ดูธรรมชาติการเรียนรู้ของผู้เรียน และออกแบบการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับผู้เรียนและทรัพยากรที่มี ขั้นต่อไปคือ จะทำอย่างไรที่จะสอดแทรกเศรษฐกิจพอเพียงลงในสาระวิชาให้กลมกลืน เพื่อให้นักเรียนมีหลักคิดในการดำเนินชีวิต ส่วนโรงเรียนก็ต้องมีระบบแผนที่ความคิด และในระดับปฏิบัติก็ต้องใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเครื่องมือใน การขับเคลื่อนงานด้วยเช่นกัน

การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา เป็นการปลูกฝังค่านิยมในสังคมไทยที่ถูกต้องและควรมีการดำเนินการอย่างต่อ เนื่อง เพื่อให้เกิดเป็นศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงที่เข้มแข็ง และมีองค์ความรู้ที่จะนำมาพัฒนาต่อยอดต่อไป"


3/2/52

นิทรรศการหลากหลายจากโรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียง
 

 นิทรรศการ สื่อสร้างสรรค์บนวิถีพอเพียงจากโรงเรียนในเครือข่าย ในงานตลาดนัดความรู้ ครั้งที่ 1 “เครือข่ายเรียนรู้สู่ความพอเพียง” โครงการเสริมศักยภาพการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาและชุมชน วันศุกร์ที่ 30 มกราคม – วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552 ณ โรงแรมวรบุรี อโยธยา รีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
 

โรงเรียน เครือข่ายที่เข้าร่วมเวทีในครั้งนี้นำผลงานของโรงเรียน ซึ่งได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาสู่การสรรค์สร้างสื่อการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับความสนใจและความต้องการ ของผู้เรียน โดยนำมาโรงเรียนละ 1 อย่างมาจัดแสดงในห้องแสดงผลงานนักเรียนและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เพื่อแลกเปลี่ยนแบ่งปันกับโรงเรียนอื่นๆ และเพื่อเป็นช่องทางหนึ่งในการสื่อสารให้โรงเรียนต่างๆ ได้เกิดการต่อยอดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน อันจะเป็นประโยชน์ที่จะสามารถจุดประกายให้แก่กัลยาณมิตรร่วมอุดมการณ์ได้นำ สื่อการเรียนรู้สร้างสรรค์เหล่านี้ไปประยุกต์ใช้กับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอ เพียงให้สอดคล้องกับสภาพภูมิสังคม วัฒนธรรมและผู้เรียนต่อไป ผลงานของโรงเรียนต่างๆ ที่นำมาจัดแสดงสามารถแบ่งเป็นกลุ่มได้ 7 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

 

ตัวอย่างนิทรรศการที่น่าสนใจ อาทิ


4/2/52

การแสดงวัฒนธรรมสี่ภาคโดยเยาวชนเครือข่ายโรงเรียนพอเพียง
 

การแสดงวัฒนธรรมสี่ภาคโดยเยาวชนเครือข่ายโรงเรียนพอเพียง เนื่อง ในงานตลาดนัดความรู้ ครั้งที่ 1 "เครือข่ายเรียนรู้สู่ความพอเพียง" โครงการเสริมศักยภาพการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาและชุมชน วันศุกร์ที่ 30 มกราคม – วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552 ณ โรงแรมวรบุรี อโยธยา รีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


การแสดงนาฏยสุนทรีของดีเมืองอุทัย
 


นัก เรียนจากโรงเรียนบ้านโป่งสามสิบแปลงกายเป็นนางรำรุ่นเยาว์ ออกมาร่ายรำด้วยท่วงท่างดงามอ่อนช้อย สมชื่อ นาฏยสุนทรี… ในการแสดงชุด “นาฏยสุนทรีของดีเมืองอุทัย” ซึ่งมีที่มาจากการมุ่งประชาสัมพันธ์ สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ให้ประชาชนได้รู้จัก เป็นการสนับสนุนการสร้างงานตามพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง นับว่าเป็นหัตถกรรมในครัวเรือนที่ช่วยเสริมรายได้ให้กับชุมชน

การ แสดงชุดนี้ ผู้แสดงแต่งกายด้วยผ้าทอเมืองอุทัย เพื่ออวดสีสันลวดลายที่สวยงามของผ้าทอ ผู้แสดงแต่ละคนจะนำเสนอสินค้า OTOP ของตนในลีลาท่าทางที่อ่อนช้อยสวยงาม สินค้าที่นำเสนอ ได้แก่ มีดโบวี่, ผ้าจกไหม, เครื่องหอมไทย, แจกันไม้มะม่วง และขนมกง ล้วนแต่เป็นสินค้า OTOP ระดับ 5 ดาว ทั้งสิ้น ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์งาน OTOP ของชาวอุทัยธานี สามารถเดินทางมาเยี่ยมชมได้ที่ร้านขายของฝากต่างๆ ในจังหวัดอุทัยธานี ชาวอุทัยธานียินดีตอนรับทุกท่านด้วยมิตรไมตรีที่ดีเสมอ



หนังตะลุงเยาวชน โรงเรียนห้วยยอด จังหวัดตรัง
 

การ แสดงหนังตะลุงในเวทีนี้คงจะแตกต่างจากที่อื่นๆ เพราะเป็นการแสดงหนังตะลุงโดยนายหนังรุ่นเล็ก(เด็กนักเรียน) และเป็นหนังตะลุงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงนายหนังเด็กคนนี้ชื่อ ประสิทธิ์ สำนักเหยา หรือ น้องเอก อายุ 15 ปี จากโรงเรียนห้วยยอด จ.ตรัง น้องเอกถือเป็นเด็กที่มีความสามารถพิเศษ ในการแกะสลักรูปหนังตะลุง ขับกลอนหนังตะลุง เชิดหนังตะลุง และทอล์กโชว์หนังตะลุง

น้อง เอกบอกว่า ชื่นชอบการเล่นหนังตะลุงมาตั้งแต่เด็ก และเริ่มหัดเล่นตั้งแต่เรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เช่นเดียวกับรูปหนังตะลุงที่ใช้สำหรับการแสดงนั้น ก็แกะด้วยฝีมือตนเองในทุกๆ ตัว ส่วนการเตรียมตัวสำหรับทำการแสดงในแต่ละครั้ง ได้ทำการฝึกซ้อมร่วมกับลูกคู่ทุกๆ วัน

ส่วน ในการขับหนังตะลุง จะมีการสอดแทรกสาระต่างๆ เช่น ด้านคุณธรรม จริยธรรมโทษภัยของยาเสพติด และเศรษฐกิจพอเพียง โดยผ่านตัวละครหนังตะลุงแต่ละตัว ที่มีนิสัยที่ดีบ้าง และมีนิสัยไม่ดีบ้าง หากตัวละครตัวไหนมีนิสัยไม่ดี หรือมีเอกลักษณ์ไม่ดีในด้านใด ก็จะมีการตักเตือนควบคู่ไปกับการแสดง เพราะนอกจากทำให้คนที่รับชมได้รับความสนุกสนานแล้ว ยังได้รับการสอดแทรกเรื่องการใช้ชีวิต คุณธรรมและจริยธรรมไปด้วย อย่างไรก็ตาม ในพรสวรรค์ของน้องเอกกลับแฝงด้วยความโชคร้าย เนื่องจากมีโรคประจำตัวคือโรคลูคีเมีย ที่จะต้องทำการปลูกถ่ายเลือดทุกเดือน แต่นับว่ายังโชคดีที่น้องเอกได้เป็นคนไข้ในพระบรมราชินูปถัมภ์


บทเพลงคุณธรรม "สานต่อความดี" โรงเรียรบ้านหนองปรือ จังหวัดนครราชสีมา
 

โรงเรียน บ้านหนองปรือ (รัฐราษฎร์พัฒนา) จ.นครราชสีมา มาในบทเพลงคุณธรรม “สานต่อความดี” ในอัลบั้ม “Tatiyampi รักดีไม่โดดเดี่ยว” โดยในเนื้อหาสาระของบทเพลง ได้มีการสอดแทรกหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คุณธรรมจริยธรรม ซึ่งได้มีการแต่งเนื้อร้องขึ้นมาเอง โดยนักเรียนและครูที่ปรึกษาได้ร่วมกันแต่งขึ้น ซึ่งเป็นการถ่ายทอด และประชาสัมพันธ์ความรู้เรื่องหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงผ่านบทเพลง สร้างความสามัคคีขึ้นในหมู่คณะของนักเรียน เพราะจะมีการขับร้องเพลงเป็นกลุ่ม ให้นักเรียนได้ขับร้องในวาระและโอกาสต่างๆ เช่น วันสำคัญ ฯลฯ ในโอกาสที่มีผู้มาเยี่ยมโรงเรียน และไปร่วมกิจกรรมของชุมชน


การแสดงทางวัฒนธรรมอื่นๆ ภายในงาน

 


5/2/52

การบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงในมิติที่หลากหลาย


วงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ห้องย่อย ในหัวข้อ "การบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงในมิติที่หลากหลาย" เนื่อง ในงานตลาดนัดความรู้ ครั้งที่ 1 “เครือข่ายเรียนรู้สู่ความพอเพียง” โครงการเสริมศักยภาพการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาและชุมชน วันศุกร์ที่ 30 มกราคม – วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552 ณ โรงแรมวรบุรี อโยธยา รีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

  • แนะนำกิจกรรมห้องเรียนรู้ (ห้องย่อย)

การ จัดกิจกรรมห้องย่อย เพื่อให้เห็นการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในมิติที่หลากหลาย และเข้าใจเศรษฐกิจพอเพียงบนความหลากหลายมากขึ้น การจัดแบ่งห้องเรียนรู้ แบ่งเป็นห้องย่อย 10 ห้อง ตามโครงสร้างการบริหารสถานศึกษา ได้แก่
 

ห้องผู้บริหาร
  • ห้องที่ 1 การบริหารจัดการและขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน
pdf
ห้องครู
  • ห้องที่ 2 การบูรณาการหลักปรัชญาฯ ในสาระวิชาคณิตศาสตร์
pdf
  • ห้องที่ 3 การบูรณาการหลักปรัชญาฯ ในสาระวิชาภาษาไทย
pdf
  • ห้องที่ 4 การบูรณาการหลักปรัชญาฯ ในสาระวิชาภาษาอังกฤษ
"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ