เวทีถอดบทเรียนความรู้เชิงประสบการณ์และแลกเปลี่ยนความรู้ ในโครงการ "เพาะพันธุ์ไม้ใหญ่"
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็คทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ร่วมกับมูลนิธิสยามกัมมาจล ได้จัดให้มีเวทีถอดบทเรียนความรู้เชิงประสบการณ์และแลกเปลี่ยนความรู้ในโครงการ "เพาะพันธุ์ไม้ใหญ่" ในวันที่ 21 มีนาคม 2555 ณ ห้องประชุมมหิศร ธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด (มหาชน)
วัตถุประสงค์การถอดบทเรียนความรู้เชิงประสบการณ์และแลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อขยายผลให้เกิดเครือข่ายครู อาจารย์ ที่มีบทบาทสนับสนุนเยาวชนในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยให้สามารถสร้างกำลังคนรุ่นใหม่ด้านไอที ไปสร้างความได้เปรียบในการพัฒนาประเทศต่อไป โดยศึกษาตัวอย่างความสำเร็จจากประสบการณ์ในการเสริมพลังให้แก่เยาวชนของครูอาจารย์
กระบวนการถอดบทเรียน
- ทำความรู้จักเครือข่าย ชี้แจงวัตถุประสงค์การถอดบทเรียน
- แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และบทบาทการสนับสนุนการพัฒนาเยาวชนด้าน IT
- แบ่งปันประสบการณ์จากตัวแทนครู ICT
- วางแผนการพัฒนา "เครือข่ายครู ICT" ร่วมกัน
กลุ่มเป้าหมาย
อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการที่ผ่านการเข้ารอบการแข่งขันรอบสุดท้ายในงานมหกรรม ICT สาขาโปรแกรมเพื่อความบันเทิง สาขาโปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้ สาขาโปรแกรมเพื่อการประยุกต์ใช้งาน ระดับนักเรียน และสาขาสื่อบทเรียนสำหรับระบบการเรียนรู้ออนไลน์
ผลการถอดบทเรียน
การถอดบทเรียนครั้งนี้ เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานของครูที่ปรึกษาโครงการ ซึ่งผ่านการเข้ารอบการแข้ขันรอบสุดท้ายในงายมหกรรม ICT ในสาขาโปรแกรมเพื่อความบันเทิง สาขาโปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้ สาขาโปรแกรมเพื่อการประยุกต์ใช้งาน และสาขาสื่อบทเรียนสำหรับระบบการเรียนรู้ออนไลน์
จุดเริ่มต้นของการทำงานพัฒนาเยาวชน IT / การส่งเยาวชนเข้าร่วมการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์
จุดเริ่มต้นของการเป็นเป็นครูที่ปรึกษาโครงการ ครูบางท่านมีประสบการณ์ทำงานที่เกี่ยวของกับไอที และเทคโนโลยี หรือเรียนจบมาด้านคอมพิวเตอร์ จึงเป็นความรับผิดชอบดูแลนักเรียนโดยตรง แต่สำหรับบางท่านซึ่งไม่ได้จบการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์โดยตรง ได้นำเอาเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์มาบูรณาการกับวิชาอื่นๆ เช่น การทำสื่อออนไลน์ การทำโครงงานด้านเทคโนโลยี เพื่อให้เด็กเกิดความสนใจในการเรียนรู้
ส่วนหนึ่งที่ทำให้ครู อาจารย์เหล่านี้มีบทบาทในการส่งเสริมพัฒนาเยาวชนด้านไอที ก็มาจากการที่โรงเรียนมีนโยบายส่งเสริมการทำโครงงานด้านเทคโนโลยีและและคัดเลือกนักเรียนส่งประกวดเข้าแข่งขัน หรือแม้กระทั้งตัวเด็ก เยาวชนเองที่มีความสนใจเข้าร่วมเวทีประกวด เดินเข้ามาขอคำแนะนำ หรือขอให้ครูเป็นที่ปรึกษาด้วยตนเอง
เป้าหมายการพัฒนาเยาวชน IT ที่อยากจะเห็น
- เด็กทำงานเป็น โดยผ่านจากการทำโครงงานร่วมกัน (ความรับผิดชอบของเด็กต่อการทำโครงงาน การเรียนรู้การทำงานร่วมกันเป็น teamwork การวางแผนชีวิต เวลา และการดำเนินงานให้เป็นไปตามตารางที่กำหนดไว้) สิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ เกิดการพัฒนาศักยภาพของตนเอง รวมทั้งมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้น
- อยากให้เด็กและเยาวชนมีทักษะ ความรู้ ความสามารถเกี่ยวกับด้าน IT เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้ในอนาคต ทั้งการประกอบอาชีพ ก่อให้เกิดรายได้ การเข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย เป็นต้น
- สร้างโอกาสให้เด็กได้รู้จัก เรียนรู้ มีทักษะเกี่ยวกับเทคโนโลยี เผชิญและรับมือกับเทคโนโลยีที่เข้ามาได้
- ผลักดันเด็กที่มีความสนใจด้าน IT ให้แสดงศักยภาพอย่างเต็มความสามารถ
- นำความสนใจของเด็กมาเป็นพลังในการเรียนรู้ สร้างสรรค์ผลงาน IT
ประสบการณ์ และบทบาทการสนับสนุนการพัฒนาเยาวชน IT
- ค้นหา คัดเลือกเด็กที่มีความสนใจด้าน IT
- ปูความรู้พื้นฐานด้าน IT และให้เด็กฝึกลงมือปฏิบัติ
- เติมเต็มความสนใจและความถนัดของเด็ก เช่น หาหนังสือให้อ่านเพิ่มเติม ฝึกฝนเด็กนอกเวลาเรียน สอนหลักการทำงานให้เป็นระบบเพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อการเรียนการสอน
- สร้างแรงจูงใจให้กับเด็ก เช่น การให้เกรด การส่งผลงานเข้าประกวด ความสำเร็จของรุ่นพี่
ปัญหา อุปสรรค และการแก้ไขระหว่างการพัฒนาเยาวชน IT
- ความพร้อมด้านอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีของโรงเรียนที่มีอย่างจำกัด
- การกำหนดหลักสูตรคอมพิวเตอร์ให้เป็นวิชาเสริมในกลุ่มสาระวิชา ทำให้มีเวลาในการเรียน และพัฒนาผลงานน้อย
- การจัดการเวลาในพัฒนาผลงาน
- วินัยของเยาวชนในการทำงาน
- เด็กให้ความสำคัญกับสาขาวิชาหลัก ซึ่งมีผลต่อผลการเรียนและการศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย
- เด็กท้อ ถอดใจ ระหว่างการทำโครงงาน หรือเมื่อโครงงานไม่เป็นไปตามที่หวัง
- ครู ยังขาดความรู้ ทักษะ ที่ช่วยเด็กในการพัฒนาผลงาน ซึ่งต้องหาความรู้เพิ่มเติมร่วมกันกับเด็ก
ข้อเสนอในการต่อยอดการพัฒนาเยาวชนด้าน IT ในโรงเรียน / ความต้องการการสนับสนุนจากภายใน และภายนอกโรงเรียน
- ขยายผลการต่อยอดผลงานไปยังนักเรียน โดยอาศัยความร่วมมือของครู นักเรียน และโรงเรียน
- มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครู IT ทั้งแบบ online และแบบ offline
- NECTEC ต้องสะท้อนคุณค่าของการเข้าร่วมกิจกรรมนี้ให้ชัดเจน รวมทั้งประชาสัมพันธ์กิจกรรมให้ทั่วถึง แพร่หลาย
ข้อเสนอต่อการสร้างเครือข่าย COP ครู
- สร้าง COP ภายในจังหวัด สู่ภูมิภาค
- เริ่มจากเครือข่ายครูในงานเนคเทค แล้วขยายผล
- มีตัวกลางเชื่อมประสานเครือข่าย COP ครู
- เปิดโอกาสให้คนกลุ่มอื่นๆได้เข้ามาร่วมเรียนรู้