
โดย คุณสิทธิชัย ชาติ
โดย คุณสาธิต รอดภักดีกุล
โดย คุณศิริพร ปานสวัสดิ์
เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์อาวุโส NECTEC
โดย คุณพนิตา เมนะเนตร
ผู้ช่วยวิจัย NECTEC
โดย คุณศรินทร์ วัชบุศราคำ
นักวิจัย NECTEC
ประมวลภาพกิจกรรมเวิร์คชอป ครั้งที่ 3 ต่อกล้าให้เติบใหญ่ รุ่น 6
วันแรก น้องเยาวชนต่อกล้าฯ ได้มาเรียนรู้เรื่อง “ทรัพย์สินทางปัญญา” ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญสำหรับนักพัฒนา หรือนวัตกรเป็นอย่างมาก ที่จะทำอย่างไรให้ผลงานที่สร้างขึ้นมามีมูลค่า และได้ปกป้องสิทธิ์ในผลงานของตนเอง รวมไปถึงเคารพและไม่ละไปละเมิดสิทธิ์ในผลงานของผู้อื่น
“ทรัพย์สินทางปัญญา” สร้าง “มูลค่า” ให้กับ “ไอเดีย”
เมื่อเกิดความคิด หรือไอเดียใหม่ๆ โดยเฉพาะความคิดที่สามารถนำไปสร้างประโยชน์ มีคุณค่ากับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้ ความคิดหรือไอเดียนั้นอาจจะสร้างมูลค่าให้กับเจ้าของได้
พี่สาธิต รอดภักดีกุล ที่ปรึกษาด้านการจดทรัพย์สินทางปัญญา โครงการต่อกล้าให้เติบใหญ่ มาชวนน้องๆ รู้จักกับเรื่อง ทรัพย์สินทางปัญญา ว่ามีกี่ประเภท คุ้มครองอย่างไรบ้าง ที่สำคัญสำหรับนักพัฒนาผลงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำไมจึงต้องจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา
ใช้คุ้มครองผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยี ธุรกิจ เพื่อป้องกันการถูกลอกเลียนแบบ หรือกรณีเกิดความขัดแย้งความเป็นเจ้าของสิทธิ์
- เป็นเครื่องมือในการสร้างพันธมิตรธุรกิจ/เทคโนโลยี แสดงถึงการมีอยู่ของ Know-how เป็นการส่งสัญญาณว่าพร้อมขาย หรือให้ใช้สิทธิ์ (License)
- ใช้ในการมีสิทธิ์เผยแพร่เทคโนโลยี
- ส่งเสริมเรื่องการลงทุนกับบริษัทต่างประเทศ เช่น ทำให้เกิดการตั้งฐานผลิตในประเทศ หรือมีการส่งเสริมการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนา
ต่อด้วยเรียนรู้การ ฝึกทักษะการนำเสนอให้น่าสนใจ ด้วยวิธีการทำ “อินโฟกราฟิก” ที่จะช่วยให้น้องๆ สรุปความคิด และข้อมูลที่เยอะแยะมากมาย นำมา “สื่อสาร” ให้น่าสนใจ และเห็นแก่นของเรื่องราวที่จะนำสื่อสาร
จบด้วยกิจกรรมสุดท้ายของวัน ที่จะมาช่วย สร้างความมั่นใจ และเชื่อมั่นในศักยภาพตนเองของน้องๆ ด้วยการ “ปลุกพลังบวก” ในตัวน้องๆ ที่จะทำเป้าหมายให้สำเร็จ เชื่อมั่นในความสามารถของตนเองว่าทำได้
วันที่สองของค่าย พี่ฝน-พนิตา เมนะเนตร ผู้ช่วยวิจัยจากเนคเทค มาพาน้องๆ รู้จักเรื่องการทดสอบมาตรฐานผลงานที่ได้พัฒนาขึ้น ว่าก่อนจะปล่อยผลงานออกไปสู่ผู้ใช้นั้น ผลิตภัณฑ์แต่ละประเภทจะต้องทดสอบคุณภาพ และมาตรฐานอะไรบ้าง เพื่อความปลอดภัยต่อผู้ใช้ ผู้บริโภค และไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม หลังจากนี้น้องๆ ได้รู้แล้วว่าผลงานของตัวเองจะต้องผ่านการทดสอบมาตรฐานอะไรก่อนที่นำไปให้ผู้ใช้งานได้ใช้กัน
ช่วงบ่าย น้องๆ ต้องมานำเสนอความก้าวหน้าการต่อยอดผลงานให้ทีมโคช โดยรายงานความก้าวหน้าเทียบกับเป้าหมายและแผนที่น้องๆ ได้ตั้งไว้เมื่อตอนค่ายครั้งที่ 2
กิจกรรมนันทนาการของวัน ได้พาน้องๆ เรียนรู้เรื่อง “ความไว้วางไว้” ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญต่อการสร้างทีม นอกจากงานจะสำเร็จแล้ว ความสำเร็จในเรื่อง “ทีมทำงาน” อย่างมีความสุขก็ควรสำเร็จไปพร้อมกันด้วย การให้ความเชื่อมั่นว่าทุกคนจะทำหน้าที่อย่างดีที่สุดและเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จในงานนี้ จะเกิดการให้เกียรติซึ่งกันและกันในทีม เป็นทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นที่คนรุ่นใหม่ต้องมี
วันที่สามของค่าย พี่รินทร์-ศรินทร์ วัชรบุศราคำ นักวิจัยเนคเทคและโคชประจำโครงการต่อกล้าให้เติบใหญ่ ชวนน้องๆ ทำกิจกรรมชวนคิด “เหตุผลของคนซื้อ ด้วยเหตุผล VS เพราะโดนใจ” หากน้องๆ ต่อกล้าฯ จะทำการตลาดปล่อยสินค้า ผลิตภัณฑ์ จะทำชี้ชวน หรือทำอย่างไรให้ผู้ซื้อตัดสินใจมาใช้ผลิตภัณฑ์ที่เราทำ
ช่วงบ่าย เป็นการเปิดโต๊ะคลินิกให้คำปรึกษาเรื่องการพัฒนาผลงาน โดยทีมโคชโครงการต่อกล้าให้เติบใหญ่ จะช่วยน้องๆ วางแผนสเต็ปงานต่อไป ช่วยหาแนวทางแก้ไขปัญหาในระหว่างการทำงาน เพื่อที่จะพาผลงานของไปถึงมือผู้ใช้งาน