กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
ค่ายหนุนเสริมศักยภาพแกนนำเด็กและเยาวชน อบต.หนองขาม อ.หนองหญ้าไซ จ.สุพรรณบุรี
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์

1) ปรับกระบวนทัศน์ด้านการเรียนรู้และการสร้างแรงบันดาลใจในการฝึกฝนตนเอง

2) การเรียนรู้เพื่อรู้จักตนเอง เพื่อค้นพบว่าเด็กและเยาวชนควรจะต้องพัฒนาด้านใดบ้าง

3) การเรียนรู้เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีม

4) การพัฒนาโครงงานคิดดี ทำดี เพื่อพัฒนาตนเอง ครอบครัวและชุมชน

กำหนดการและรายงานผล
28
สิงหาคม
2015
ค่ายกระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมศักยภาพแกนนำเยาวชน อบต.หนองขาม จ.สุพรรณบุรี ณ ทุ่งดินดำ รีสอร์ท จ.สุพรรณบุรี
07.00 - 08.00 น.
ฺBAR เตรียมความพร้อมและทำความเข้าใจกับพี่เลี้ยงเยาวชนตำบลหนองขาม
โดย อ.วราภรณ์ หลวงมณี วิทยากรและผู้อำนวยการสถาบันยุวโพธิชน
08.00 - 08.30 น.
BAR เตรียมความพร้อมและทำความเข้าใจของเป้าหมายร่วมในการ
พัฒนาเด็กและเยาวชนกับคณะผู้บริหาร อบต.หนองขาม
โดย อาจารย์ทรงพล เจตนาวณิชย์ วิทยากรและผู้อำนวยการสถาบัน สรส.
08.30 - 09.00 น.
ลงทะเบียน เพื่อรายงานตัว
09.00 - 09.10 น.
พิธีเปิด
โดย นายจินดา แช่มประสบ รองนายก อบต.หนองขาม อ.หนองหญ้าไซ จ.สุพรรณบุรี
09.10 - 10.00 น.
ความคาดหวังของแกนนำเยาวชนที่เข้าร่วมค่ายครั้งนี้
10.00 - 10.15 น.
พักรับประทานขนมว่างและเครื่องดื่มเช้า
10.15 - 12.00 น.
กิจกรรมแม่น้ำพิษ "รู้จักตนเอง และการทำงานร่วมกันเป็นทีม"
- วิทยากรแจกอุปกรณ์ ชี้แจงโจทย์ กติกา
- ถอดบทเรียนหลังทำกิจกรรมแม่น้ำพิษเสร็จแล้ว
12.00 - 13.00 น.
พักรับประทานอาหารกลางวัน และฝึกให้รู้จักคุณค่าและประโยชน์ของอาหาร
13.00 - 13.30 น.
กิจกรรมผ่อนพักตระหนักรู้
- แนะนำการนอนในท่าศพอาสนะ
- เปิดดนตรีและกระบวนกรกล่าวน้อมนำให้รู้สึกผ่อนคลาย
13.30 - 16.30 น.
กิจกรรมพลังกลุ่ม "เดินเท้าชิด"
- วิทยากรชี้แจกกติกา และให้ทดลองทำครั้งแรก
- วิทยากรให้พูดคุย ค้นหาวิธีการที่ทุกคนจะต้องเดินเท้าชิดเข้าเส้นชัยพร้อมกัน
- ถอดบทเรียนหลังทำกิจกรรมเดินเท้าชิดเสร็จแล้ว

หมายเหตุ พักรับประทานขนมว่างและเครื่องดื่มบ่าย เวลา 14.15 - 14.30 น.
16.30 - 18.00 น.
- กิจกรรมฝึกสมาธิและสติ ด้วยการภาวนา
- พักผ่อนตามอัธยาศัย
18.00 - 19.00 น.
รับประทานอาหารเย็น
19.00 - 19.30 น.
กิจกรรมสันทนาการ
- ร้องเพลง สร้างแรงบันดาลใจร่วมกัน
- ผ่อนคลายอารมณ์ความรู้สึก
19.30 - 21.00 น.
กิจกรรมสายธารชีวิต "รู้เป้าหมายชีวิตของตนเองใน 20 ปีข้างหน้า"
29
สิงหาคม
2015
ค่ายกระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมศักยภาพแกนนำเยาวชน อบต.หนองขาม จ.สุพรรณบุรี
07.00 - 08.00 น.
รับประทานอาหารเช้า
BAR เตรียมความพร้อมพี่เลี้ยงเยาวชน
08.00 - 08.30 น.
กิจกรรมสันทนาการ ฝึกโยคะ
08.30 - 08.40 น.
กิจกรรมสาธิต เพื่อฝึกทักษะการพูด การฟัง จับประเด็นและสรุป
โดย อ.วราภรณ์ หลวงมณี และ คุณศันสนีย์ กองอู๋
08.45 - 10.15 น.
กิจกรรม ฝึกทักษะการพูดเล่าเรื่อง การฟัง จับประเด็นและสรุปประเด็น

โจทย์ "ความสุขในชีวิตของฉัน"
1) ให้แกนนำเด็กและเยาวชน แบ่งกลุ่มย่อย กลุ่มละ 4 คน
2) สลับกันพูดเล่าเรื่อง คนแรก ใช้เวลาเล่าเรื่อง 5 นาที คนที่สอง ใช้เวลา 3 นาที คนที่สาม ใช้เวลา 2 นาที และคนที่สี่ ใช้เวลา 30 วินาที เมื่อเพื่อนคนหนึ่งคนใดเล่าเรื่อง เพื่อนคนที่เหลืออีกสามคน ทำหน้าที่ฟังและสรุปประเด็นที่เพื่อนเล่าจนครอบทุกคนในกลุ่ม
08.45 - 10.30 น.
สะท้อนการเรียนรู้จากกิจกรรมฝึกทักษะการพูดเล่าเรื่อง การฟัง จับประเด็นและสรุปประเด็น
10.15 - 10.30 น.
พักรับประทานขนมว่างและเครื่องดื่ม
10.30 - 12.00 น.
กิจกรรมท้าทายเพื่อฟื้นพลังกลุ่ม "ตีบอล"
12.00 - 13.00 น.
พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 13.30 น.
กิจกรรมสันทนาการ
13.30 - 16.30 น.
กิจกรรม "นิสัยพอเพียง 16 ข้อ และนิสัยที่ต้องการปรับเปลี่ยน เพื่อนำไปสู่เป้าหมายชีวิต"
16.30 - 18.00 น.
กิจกรรม "เป้าหมายชีวิต" (ต่อ)
- โจทย์ "โตขึ้นอยากมีอาชีพอะไร" เพื่อฝึกฝนทักษะการคิดใคร่ครวญ โดยใช้ศิลปะวาดภาพดาชีพของตนเองที่ใฝ่ฝันในอนาคต
- นำเสนอภาพอาชีพที่ใฝ่ฝัน เพื่อฝึกทักษะการคิด การพูดเพื่อสื่อสาร
โจทย์ ชอบอาชีพหรืออยากมีอาชีพนี้ เพราะอะไร
18.00 - 19.00 น.
รับประทานอาหารเย็น
19.00 - 21.00 น.
กิจกรรมสร้างเครือข่ายสานสัมพันธ์
30
สิงหาคม
2015
ค่ายกระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมศักยภาพแกนนำเยาวชน อบต.หนองขาม จ.สุพรรณบุรี
07.00 - 08.00 น.
รับประทานอาหารเช้า
08.00 - 08.30 น.
กิจกรรมฝึกโยคะ
08.30 - 12.00 น.
กิจกรรม ฝึกทักษะคิด เขียนและนำเสนอโครงงานเยาวชนในแต่ละหมู่บ้าน
12.00 - 13.00 น.
พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 14.45 น.
กิจกรรม "ประเมินตนเอง"
14.45 - 16.30 น.
ทบทวนและสะท้อนการเรียนรู้ตลอดค่าย 3 วัน
โดย อ.วราภรณ์ หลวงมณี วิทยากรและผู้อำนวยการสถาบันยุวโพธิชน
16.30 น.
พิธีปิดค่าย
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

1) เกิดเครือข่ายแกนนำเด็กและเยาวชน จำนวน 40 คน

2) เกิดเครือข่ายพี่เลี้ยงแกนนำเยาวชน จำนวน 5 คน

2) เกิดโครงงานเยาวชนในพื้นที่ของแต่ละหมู่บ้าน