“เวทีเสริมสร้างกระบวนการทำงานของพี่เลี้ยงในการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ”
วันที่ 24 เดือนเมษายน พ.ศ. 2559
ณ โรงแรมศรีลำดวน จังหวัดศรีสะเกษ
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้พี่เลี้ยงรู้จักตนเองและเข้าใจเยาวชน
2.เพื่อให้พี่เลี้ยงเข้าใจบทบาทและสามารถสร้างการเรียนรู้กับเยาวชนในพื้นที่ได้
กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายรวมทั้งหมด จำนวน 27 คน ประกอบด้วย
|
จำนวน | 20 คน |
|
จำนวน | 6 คน |
|
จำนวน | 1 คน |
เนื้อหา
1.เป้าหมายของโครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีปี2
2.เป้าหมายของโครงการเยาวชนในพื้นที่
3.เรียนรู้ตนเองเพื่อเรียนรู้กลุ่มเยาวชน(รู้จักตนเองรู้จักน้อง/การทำงานเป็นกลุ่มทีม/การจัดการโครงการ)
4.สร้างการเรียนรู้ “การตั้งคำถาม” ความสำคัญของการตั้งคำถามเพื่อสร้างการเรียนรู้/จุดประสงค์การตั้งคำถาม/ตัวช่วยในการตั้งคำถาม)
วิธีการ
1.ประสานสถานที่ในการจัดเวที
2.ประสานพี่เลี้ยงเยาวชนทุกโครงการเข้าร่วมเวที
3.ประชุมออกแบบกระบวนการเวทีเตรียมกระบวนการเนื้อหาวัสดุอุปกรณ์ในการจัดเวที
4.ชี้แจงเป้าหมายของโครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีปี2โดยการเล่าผ่านPowerpoint
5.ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดเวทีในครั้งนี้และกำหนดการเวทีโดยการเล่าผ่าน Powerpoint และเอกสาร
6.ทำความเข้าใจเป้าหมายโครงการเยาวชน
-ให้พี่เลี้ยงทบทวนโครงการเยาวชนในพื้นที่
-โจทย์พี่เลี้ยงในการทบทวนโครงการ
-เป้าหมายโครงการ?
-แผนงานโครงการ?
-ทำอะไรไปแล้ว ถึงไหน?
-บทบาทพี่เลี้ยงเข้าไปช่วยหนุนเสริมช่วยทำอะไร?
-ปัญหา/อุปสรรค
- เล่าสู่กันฟัง
7.กิจกรรมการเรียนรู้ตนเองเพื่อเรียนรู้กลุ่มเยาวชน(รู้จักตนเองรู้จักน้อง/การทำงานเป็นกลุ่ม ทีม/การจัดการโครงการ)โดยใช้กิจกรรมกงล้อ 4 ทิศ
- นิยามของสัตว์4ทิศหนูกระทิงเหยี่ยวหมี
- ให้พี่เลี้ยงแต่ละท่านเดินอ่านนิยามของสัตว์4ทิศแล้วเลือกทิศที่ตรงกับตัวเองมากที่สุดและอยู่ในทิศที่เลือก
-พี่เลี้ยงแต่ละท่านเล่าแลกเปลี่ยนจุดเด่น-จุดด้อยของที่ตนเองตามทิศของสัตว์ที่ได้เลือกพร้อมยกตัวอย่างในชีวิตประจำประกอบให้สมาชิกในกลุ่มทิศเดียวกันฟัง
-ให้แต่ละทิศเล่าแลกเปลี่ยนในวงใหญ่ร่วมกันทั้ง4ทิศ
-สรุปการเรียนรู้กิจกรรมและเติมเต็มกิจกรรมกงล้อ4ทิศ(ของฝากการพัฒนาตนเองของแต่ละทิศและการเปิดใจยอมรับความแตกต่างของแต่ละทิศ/แนวทางในการพัฒนาจุดเด่น จุดด้อยของเยาวชนอย่างไร)
-เชื่อมโยงกับโครงการของเยาวชนลักษณะเยาวชนในโครงการโดยใช้แผนภาพกระบวนการกลุ่ม(หลายหัวดีกว่าหัวเดียว)
-วิเคราะห์กลุ่มเยาวชนในพื้นที่โดยใช้แผนภาพ(ตามแบบที่เป็นอยู่และตามแบบที่พึงประสงค์)
-เติมบทบาทพี่เลี้ยงในการสร้างการเรียนรู้การทำงานเป็นทีม(การตั้งคำถาม/การทำงานกลุ่ม/การจัดการโครงการ)
8.กิจกรรมสร้างการเรียนรู้ “การตั้งคำถาม”( ความสำคัญของการตั้งคำถามเพื่อสร้างการเรียนรู้/จุดประสงค์การตั้งคำถาม/ตัวช่วยในการตั้งคำถาม )
-ให้พี่เลี้ยงแต่ละท่านตั้งคำถามและตอบคำถามของตนเองคนละ7ข้อ
-ให้เลือกบุคคลที่จะถามไว้ในใจ
-ให้แต่ละคนในวงผลัดกันถามโดยใช้คำถามที่ตนเองตั้งไว้ และคนที่ตอบก็ใช้ชุดคำตอบของตนเองที่ได้ตอบไว้ตอบโต้กัน
-สรุปการเรียนรู้ “การตั้งคำถามเพื่อสร้างการเรียนรู้”
-เติมเต็มการเรียนรู้การตั้งคำถามเพื่อสร้างการเรียนรู้
9.แบบฟอร์มการบันทึกการเปลี่ยนแปลงของเยาวชน(พี่เลี้ยงทำความเข้าใจแบบฟอร์มบันทึกฐานข้อมูลเยาวชน)
10.วางแผนงานร่วม(TimeLine)
-แจ้งแผนงานร่วม
-พี่เลี้ยงร่วมกำหนดวันเวลาปฏิทินการดำเนินงานร่วมกัน
11.สรุปกิจการเรียนรู้เวทีฯร่วมกัน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.พี่เลี้ยงรู้จักตนเองและเข้าใจเยาวชนในพื้นที่
2.พี่เลี้ยงเข้าใจบทบาทและสามารถสร้างการเรียนรู้กับเยาวชนในพื้นที่ได้
3.พี่เลี้ยงมีเครื่องมือในการบันทึกการเปลี่ยนแปลงเยาวชน
4.พี่เลี้ยงเยาวชนได้กำหนดวันเวลาและวางแผนงานโครงการฯ ร่วมกัน