กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
“เวทีเติมพลังเสริมความคิดสำนึกพลเมืองเยาวชนในการทำโครงการเพื่อชุมชนท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ” โครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ ปี 2
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

ความเป็นมา


          ศูนย์ประสานงานการวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ (สกว.ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น)  ได้ดำเนินโครงการ พัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ โดยความร่วมมือระหว่างสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) มีเป้าหมาย คือ “เยาวชนพลเมืองศรีสะเกษ เป็นพลังพลเมืองแห่งการตื่นรู้ในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นบนฐานความรู้ภูมิปัญญาที่สร้างสรรค์” เพราะเด็ก เยาวชนมีศักยภาพและเป็นพลังสำคัญในการพัฒนาสังคมชุมชนท้องถิ่น เพียงผู้ใหญ่เปิดโอกาส เปิดพื้นที่การ เรียนรู้ให้เด็กเยาวชนได้คิดเอง ทำเอง แสดงศักยภาพของตนเองที่สร้างสรรค์ในการคิดวิเคราะห์ ศึกษาความรู้ วางแผน ลงมือทำจริงบนฐานความรู้ และสรุปบทเรียนจากการลงมือทำจริงผ่านการทำโครงการเพื่อชุมชน (Community Based Project) เพราะเราเชื่อว่า “การเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือการคิดและลงมือทำจริงบน ฐานความรู้” กระบวนการดำเนินโครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษเพื่อสร้างพลังเยาวชนพลเมืองศรีสะเกษ 1 ปีที่ผ่านมา เป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมระหว่างเด็กเยาวชน ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน พี่เลี้ยงหรือโค้ชในพื้นที่ จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีพี่เลี้ยงหรือโค้ชทำหน้าที่ในการหนุนเสริมจัดกระบวนการเรียนรู้ ตั้งคำถาม ชวนคิด ชวนคุย ชวนวิเคราะห์ ชวนสรุปบทเรียน เพื่อให้เยาวชนสามารถดึงศักยภาพของตัวเองมาใช้เพื่อพัฒนาชุมชน ท้องถิ่นศรีสะเกษร่วมกันโดยมีกระบวนการและขั้นตอนในการปฏิบัติการ 6 ขั้นตอน คือ 

     1) การพัฒนาข้อเสนอ โครงการของกลุ่มแกนนำเด็กเยาวชน ชุมชน พี่เลี้ยงในพื้นที่

     2) การศึกษาข้อมูลความรู้ชุมชน 

     3) การเสริม ทักษะชีวิตและแรงบันดาลใจในการทำงาน 

     4) การลงมือทำปฏิบัติการจริงบนฐานความรู้ 

     5) การถอดบทเรียน 

     6) การสื่อสารสังคม/เทศกาลแห่งการเรียนรู้  

          ทั้งหมดนี้เป็นเส้นทางในการสร้างพลังพลเมืองเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่ มีคุณภาพ โดยเน้นการสร้างคุณลักษณะเยาวชนพลเมืองที่ดี คือ สำนึกรักท้องถิ่น สำนึกความเป็นพลเมือง คิดวิเคราะห์เชื่อมโยงได้ใช้ข้อมูลความรู้ในการทำงาน รู้จักตนเอง มีทักษะการจัดการโครงการ มีการทำงาน ร่วมกันเป็นทีมรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น กล้าแสดงออกในทางที่สร้างสรรค์รู้เท่าทันสื่อและเป็นแกนนำพัฒนา ชุมชนท้องถิ่นแผ่นดินเกิดของตนเอง ผลการดำเนินโครงการที่ผ่านมา สามารถเปิดพื้นที่การเรียนรู้ของเยาวชนได้คิดเอง ทำเอง และ ปฏิบัติการโครงการเพื่อชุมชนบนฐานความรู้ในพื้นที่ 4 อำเภอ จำนวน 10 โครงการ ผ่านกระบวนการเติมพลัง และการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อให้เยาวชนสามารถดึงศักยภาพของตัวเองมาใช้เพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่นศรีสะเกษ ทำให้เกิดกลุ่มแกนนำเยาวชนในการ สืบทอด อนุรักษ์ภูมิปัญญา วัฒนธรรมท้องถิ่น การเรียนรู้วิถีการหาอยู่หา กินบนฐานทรัพยากรในชุมชน การดูแลผู้สูงอายุในชุมชน และการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน ก่อเกิดเป็นพลังเยาวชนพลเมืองรุ่นใหม่ (Active Citizen) ที่เป็นพลังสำคัญในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นตนเอง ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงปัจจุบันได้อย่างมีคุณค่า  

          การดำเนินโครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ ปี 2 จึงเป็นการออกแบบเพื่อสร้าง กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมระหว่างกลุ่มแกนน าเด็ก เยาวชน ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน พี่เลี้ยงหรือโค้ช เพื่อ เปิดพื้นที่ เปิดโอกาสให้กลุ่มแกนนำเด็กเยาวชนสามารถดึงศักยภาพของตัวเองมาใช้เพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ศรีสะเกษ โดยมีการดำเนินการประชาสัมพันธ์รับข้อเสนอโครงการ การค้นหาโจทย์ สิ่งที่กลุ่มแกนนำเด็ก เยาวชนอยากทำร่วมกันในพื้นที่ผ่านการหนุนเสริมเติมพลังจัดกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน พี่เลี้ยงหรือโค้ชใน พื้นที่ โดยการตั้งคำถาม ชวนคิด ชวนคุย ชวนวิเคราะห์ปัญหา ผลกระทบที่มีต่อชุมชนตนเอง ทุนชุมชนหรือ ของดีที่มีในชุมชนตนเองแล้วนำมาออกแบบ พัฒนาเป็นข้อเสนอโครงการเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่นตนเองจาก การดำเนินการดังกล่าวมีโครงการของกลุ่มแกนนำเยาวชนในพื้นที่ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองเบื้องต้น จำนวน 20 โครงการ  

          ดังนั้นศูนย์ประสานงานการวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการ สร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) จึงได้จัด “เวทีเติมพลัง เสริมความคิดสำนึกพลเมืองเยาวชนในการทำโครงการเพื่อชุมชนท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ” เพื่อให้เป็นเวทีใน การเติมเต็มพลังเสริมความคิดโดยกรรมการและผู้ทรงคุณวุฒิ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการสร้างสำนึกพลเมือง กลุ่มแกนนำเยาวชนในการทำโครงการเพื่อชุมชนท้องถิ่นตนเองและโครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ ปี 2 ให้มีความชัดเจนมากขึ้น  

วัตถุประสงค์ 

1. เพื่อเติมเต็มเสริมพลังกลุ่มเยาวชนให้มีความชัดเจนในการดำเนินโครงการ

    เพื่อชุมชน 

2. เพื่อสร้างความเข้าใจทีมพี่เลี้ยงในการสร้างสำนึกพลเมืองผ่านการทำโครงการ เพื่อชุมชน 

3. เพื่อพิจารณากลั่นกรองโครงการและวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการร่วมกัน

กำหนดการและรายงานผล
30
มกราคม
2016
วันเสาร์ ที่ 30 เดือนมกราคม พ.ศ. 2559
08.30 - 09.00 น.
ลงทะเบียน
09.00 - 09.10 น.
กล่าวต้อนรับและชี้แจงวัตถุประสงค์เวทีเติมพลังเสริมความคิดสำนึกพลเมืองเยาวชนในการทำโครงการเพื่อชุมชนท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ
โดย รุ่งวิชิต คำงาม หัวหน้าโครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ
09.10 - 09.30 น.
ชมวีดีทัศน์ผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ
09.30 - 09.35 น.
แนะนำกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เข้าร่วม โดย ประมวล ดวงนิล
09.35 - 10.30 น.
กิจกรรมสร้างความสัมพันธ์นำไปสู่การสร้างความเป็นพลเมือง โดย ประมวล ดวงนิล และกลุ่มเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ ปี 1
10.30 - 12.00 น.
ณ ห้องประชุมพิกุลทอง : กลุ่มเยาวชน
- กระบวนการสร้างสำนึกพลเมืองเยาวชน
โดย อาจารย์ยิ่งพงศ์ มั่นทรัพย์
ณ ห้องประชุมพิกุลแก้ว: กลุ่มพี่เลี้ยงเยาวชน
- ทำความรู้จักพี่เลี้ยงแต่ละพื้นที่
- เป้าหมายโครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ
- แลกเปลี่ยนประสบการณ์ บทบาทการเป็นพี่เลี้ยงเยาวชน
-ร่วมกำหนดบทบาทการเป็นพี่เลี้ยงเยาวชน
12.00 - 13.00 น.
รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 14.30 น.
ณ ห้องประชุมพิกุลทอง : กลุ่มเยาวชน
- กระบวนการสร้างสำนึกพลเมืองเยาวชน (ต่อ)
โดย อาจารย์ยิ่งพงค์ มั่นทรัพย์
ณ ห้องประชุมพิกุลแก้ว: กลุ่มพี่เลี้ยงเยาวชน
-ร่วมกำหนดบทบาทการเป็นพี่เลี้ยงเยาวชน (ต่อ)
โดย :
1. กิตติรัตน์ ปลื้มจิตร
2. ปุณิกา พุณพาณิชย์
3. รุ่งวิชิต คำงาม
4. ปราณี ระงับภัย
14.30 - 15.30 น.
วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ ตามหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
โดย นายรุ่งวิชิต คำงาม หัวหน้าโครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ
15.30 - 17.00 น.
เตรียมสื่อการนำเสนอโครงการของกลุ่มเยาวชน
17.00 - 18.00 น.
ทดลองนำเสนอโครงการของกลุ่มเยาวชน
18.00 - 19.00 น.
รับประทานอาหารเย็น พักผ่อนตามอัธยาศัย
19.00 - 20.00 น.
กลุ่มเยาวชนเตรียมสื่อเพิ่มเติมในการนำเสนอโครงการของตนเอง
31
มกราคม
2016
กิจกรรม: วันอาทิตย์ ที่ 31 เดือนมกราคม พ.ศ. 2559
08.00 - 08.30 น.
ณ ห้องพิกุลทอง : กลุ่มเยาวชน
- ร่วมร้องเพลง “พลังแห่งรัก”
ณ ห้องพิกุลแก้ว : กรรมการ/ผู้ทรงคุณวุฒิ
- ทำความเข้าใจเกณฑ์และวิธีการพิจารณาโครงการ
โดย :
1. อุบลวรรณ ปลื้มจิตร
2. ปุณิกา พุณพาณิชย์
3. รุ่งวิชิต คำงาม
4. ปราณี ระงับภัย
08.30 - 09.00 น.
ณ ห้องพิกุลทอง : กลุ่มเยาวชน
- กิจกรรมสร้างความสัมพันธ์นำไปสู่การสร้างความเป็นพลเมือง
09.00 - 12.00 น.
กลุ่มเยาวชนนำเสนอเพื่อเติมเต็มเสริมพลังให้มีความชัดเจนในการดำเนินโครงการเพื่อชุมชน

ห้องที่ 1 : ห้องพิกุลทอง: ประเด็นโครงการด้านประเด็นสังคมวัฒนธรรมชุมชน

โครงการเยาวชน :
1.ปราสาทตาเล็งศูนย์รวมความศรัทธาของชุมชน
2.ทวนเข็มนาฬิกาย้อนเวลาหาความหลัง
3.สะพานสายบุญ
4.อนุรักษ์สืบสานการละเล่นกันตรึมพื้นบ้าน
5.สืบสานสะเนง สะเองกวย
6.ชวนน้องอ่าน สานความรู้ สู่มือน้อง
7.เส้นสายลายไหมมัดหมี่มัดใจสายใยกอนกวยโซดละเว
8.เรียนรู้การทอผ้าไหมของกลุ่มเยาวชนบ้านขี้นาค

ผู้ทรงคุณวุฒิ :
1. ผศ.ดร. เอมอร แสนภูวา คณะบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
2. วิลัยลักษณ์ หงส์วรางกูร สสส.
3. ปุณิกา พุณพาณิชย์ มูลนิธิสยามกัมมาจล
4. อภิสิทธิ์ ลัมยศ โครงการเสริมสร้างศักยภาพเครือข่ายเยาวชนจังหวัดน่าน
ผู้ดำเนินรายการ : เบ็ญจมาภรณ์ แดนอินทร์
ผู้บันทึก : เพ็ญศรี ชิตบุตร


ห้องที่ 2 : ห้องพิกุลแก้ว: ประเด็นโครงการด้านสัมมาอาชีพชุมชน

โครงการเยาวชน :
1.ตะบายกันตีลอภิเวิดเยาวชนภูมิด่าน
2.สวนผักปลอดภัยเชื่อมสายใยความผูกพัน
3.อนุรักษ์จักสาน
4.กบสร้างพลังสามัคคี ชีวีพอเพียง
5.เด็กแสนร่วมใจ สร้างรายได้เสริมชีวิต
6.ชุมชนน่าอยู่ด้วยมือเรา

ผู้ทรงคุณวุฒิ :
1. อาจารย์จิระศักดิ์ ทองแย้ม กรรมการโครงการพัฒนาเยาวชนฯ
2. อุบล สวัสดิ์ผล นักวิจัยท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ
3. นูรอามีนี สาและ สงขลาฟอรั่ม
4. บุญธรรม จำปาสุข พัฒนาชุมชนอำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ
ผู้ดำเนินรายการ : ปราณี ระงับภัย
ผู้บันทึก : ดวงมณี นารีนุช
ห้องที่ 3 : ห้องพิมานทอง: ประเด็นโครงการด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมชุมชน

โครงการเยาวชน :
1.สมุนไพรตาจู สร้างความรู้ สู่ชุมชนคนบ้านใต้
2.Forest of life สร้างพลังชีวิต อนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชุมชน
3.พืชสมุนไพรพิชิตกลิ่น
4.น้ำสมุนไพรในชุมชน
5.แอโรบิกสร้างมิตรภาพ
6.วัยใสวัยเก๋า ร่วมเล่าสืบสานวิถีชีวิต

ผู้ทรงคุณวุฒิ :
1. กมลรัตน์ จูมสีมา กรรมการโครงการพัฒนาเยาวชนฯ
2. ปุณิกา หงษ์อุดร มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่นอีสาน
3. อภินันท์ บุญทอน ศูนย์ประสานงานการวิจัยเพื่อท้องถิ่น จังหวัดสุรินทร์
4. อุบลวรรณ ปลื้มจิตร มูลนิธิสยามกัมมาจล
ผู้ดำเนินรายการ : ประมวล ดวงนิล
ผู้บันทึก : ทัพไทย ชุ่มนาเสียว
12.00 - 13.00 น.
รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 14.30 น.
กลุ่มเยาวชนนำเสนอเพื่อเติมเต็มเสริมพลังให้มีความชัดเจนในการดำเนินโครงการเพื่อชุมชน (ต่อ)
14.30 - 15.00 น.
ณ ห้องพิกุลทอง : กลุ่มเยาวชน
- กิจกรรมผ่อนคลาย
- ชี้แจงกำหนดการประกาศผลโครงการ
ณ ห้องพิกุลทอง,ห้องพิมานทอง,ห้องพิกุลแก้ว : กรรมการ/ผู้ทรงคุณวุฒิ
- ผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละห้องสรุปความเห็น และข้อเสนอแนะต่อโครงการเยาวชน
15.00 - 15.30 น.
กล่าวปิดเวที / กิจกรรมอำลา
15.30 - 16.30 น.
AAR ทีมโค้ชร่วมกับภาคีเครือข่าย
"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ