กลุ่มต้นกล้าโมเดล เริ่มจากการรวมตัวกันของสภานักเรียน โรงเรียนน้ำปาดชนูปถัมภ์ ฝ่ายกิจกรรมสิ่งแวดล้อม ซึ่งสนใจเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่ด้วยข้อจำกัดของสภานักเรียนที่จะแบ่งงานกันรับผิดชอบเป็นห้องใดห้องหนึ่งเพียงห้องเดียวเป็นหลัก จึงตั้งเป็นกลุ่มต้นกล้าโมเดลขึ้นมาเพื่อที่เพื่อนๆ น้องๆ จากห้องอื่น ชั้นเรียนอื่นจะได้มาเข้าร่วมกิจกรรมกันได้ โดยไม่ต้องมีการแบ่งห้องแบ่งชั้นปี แต่เป็นเยาวชนที่สนใจเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกัน
กิจกรรมเริ่มต้นจะเป็นการเดินป่าศึกษาธรรมชาติร่วมกับพระอาจารย์ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของกลุ่ม และการทำหนังสั้นที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น เช่น ผลงาน “น้ำ(ปาด)อยู่ไหน” เพื่อสื่อสารถึงสาเหตุที่ทำให้ แม่น้ำปาด แห้งแล้งและมีปริมาณลดลง ร่วมทั้งนำเสนอแนวทางที่จะช่วยกันดูแลรักษาป่าเพื่อให้น้ำปาดไม่หายไปไหนอีก ส่วนที่มาของชื่อกลุ่มมาจาก เยาวชนก็เปรียบเสมือน ต้นกล้าที่กำลังเจริญเติบโตและจะทำสิ่งดีๆ เพื่อช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นโมเดล ที่จะเป็นแบบอย่าง ต้นแบบให้กับพื้นที่อื่นๆ ขยายผลออกไปเพื่อร่วมกันเป็น “ต้นกล้าโมเดล” ต่อไป
รายสมาชิกกลุ่มเยาวชน
1.นางสาวภัทรสุดา ทวกอ่อน หัวหน้า
2.นายสงบ ผิวมา รองหัวหน้า
3.นายสุกฤต ปิ่นเพชร เลขานุการ
4.นายนัฐพงศ์ ทองจันทร์
5.นางสาวกัญญารัตน์ วันนา
6.นางสาวพิญพิชา มาณี
7.นางสาวรัชฏา ปานทอง
8.นางสาวนุชรินทร์ เลี้ยงประเสริฐ
9.นายอภิวัฒน์ แสนปัญญา
ข้อมูลพื้นที่ / ชุมชนที่ทำงานเพื่อสิ่งแวดล้อม
พื้นที่ป่าสาธารณะประโยชน์ชุมชนบ้านหนองแห้ว มีพื้นที่จำนวน 1,500 ไร่ อยู่ห่างจากหมู่บ้านหนองแห้วไปทางทิศเหนือเป็นระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร สภาพป่าเป็นป่าเต็งรัง หรือป่าโคก เป็นแหล่งอาหารตามฤดูกาลของคนในชุมชน อาทิเช่น เห็ด ผักหวาน หน่อไม้ ไข่มดแดง เป็นต้น
โจทย์ปัญหา และเหตุผลที่ทำโครงการ
เนื่องจากมีคนเข้าไปใช้ประโยชน์จากป่ามากแต่ไม่มีการบริหารจัดการที่ดี โดยปล่อยให้มีการลักลอบตัดไม้เผาถ่าน การเผาป่าเพื่อเก็บผักหวาน การบุกรุกทำไร่ เป็นต้น ส่งผลให้ระบบนิเวศป่าขาดความสมดุล และป่าเริ่มเสื่อมโทรมอย่างเห็นได้ชัด กลุ่มต้นกล้าโมเดล โรงเรียนน้ำปาดชนูปถัมภ์ได้ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น จึงได้จัดทำโครงการต้นกล้าโมเดล เพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์และร่วมกันบริหารจัดการพื้นที่ป่าสาธารณประโยชน์ ให้เป็นป่าชุมชนที่มีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ชุมชนสามารถใช้ประโยชน์และร่วมกันดูแลรักษาได้อย่างยั่งยืน
เป้าหมายของโครงการ
มีระบบบริหารจัดการพื้นที่ในรูปแบบป่าชุมชน โดยเน้นการมีส่วนร่วมของเยาวชนและคนในชุมชน
สรุปผลโครงการ ต้นกล้าโมเดล
กลุ่มต้นกล้าโมเดล จ.อุตรดิตถ์
กลุ่มต้นกล้าโมเดล เริ่มจากการรวมตัวกันของสภานักเรียน โรงเรียนน้ำปาดชนูปถัมภ์ ฝ่ายกิจกรรมสิ่งแวดล้อม ซึ่งสนใจเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่ด้วยข้อจำกัดของสภานักเรียนที่จะแบ่งงานกันรับผิดชอบเป็นห้องใดห้องหนึ่งเพียงห้องเดียวเป็นหลัก จึงตั้งเป็นกลุ่มต้นกล้าโมเดลขึ้นมาเพื่อที่เพื่อนๆ น้องๆ จากห้องอื่น ชั้นเรียนอื่นจะได้มาเข้าร่วมกิจกรรมกันได้ โดยไม่ต้องมีการแบ่งห้องแบ่งชั้นปี แต่เป็นเยาวชนที่สนใจเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกัน
กิจกรรมเริ่มต้นจะเป็นการเดินป่าศึกษาธรรมชาติร่วมกับพระอาจารย์ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของกลุ่ม และการทำหนังสั้นที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น เช่น ผลงาน “น้ำ(ปาด)อยู่ไหน” เพื่อสื่อสารถึงสาเหตุที่ทำให้ แม่น้ำปาด แห้งแล้งและมีปริมาณลดลง ร่วมทั้งนำเสนอแนวทางที่จะช่วยกันดูแลรักษาป่าเพื่อให้น้ำปาดไม่หายไปไหนอีก ส่วนที่มาของชื่อกลุ่มมาจาก เยาวชนก็เปรียบเสมือน ต้นกล้าที่กำลังเจริญเติบโตและจะทำสิ่งดีๆ เพื่อช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นโมเดล ที่จะเป็นแบบอย่าง ต้นแบบให้กับพื้นที่อื่นๆ ขยายผลออกไปเพื่อร่วมกันเป็น “ต้นกล้าโมเดล” ต่อไป
รายสมาชิกกลุ่มเยาวชน
1.นางสาวภัทรสุดา ทวกอ่อน หัวหน้า
2.นายสงบ ผิวมา รองหัวหน้า
3.นายสุกฤต ปิ่นเพชร เลขานุการ
4.นายนัฐพงศ์ ทองจันทร์
5.นางสาวกัญญารัตน์ วันนา
6.นางสาวพิญพิชา มาณี
7.นางสาวรัชฏา ปานทอง
8.นางสาวนุชรินทร์ เลี้ยงประเสริฐ
9.นายอภิวัฒน์ แสนปัญญา
ข้อมูลพื้นที่ / ชุมชนที่ทำงานเพื่อสิ่งแวดล้อม
พื้นที่ป่าสาธารณะประโยชน์ชุมชนบ้านหนองแห้ว มีพื้นที่จำนวน 1,500 ไร่ อยู่ห่างจากหมู่บ้านหนองแห้วไปทางทิศเหนือเป็นระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร สภาพป่าเป็นป่าเต็งรัง หรือป่าโคก เป็นแหล่งอาหารตามฤดูกาลของคนในชุมชน อาทิเช่น เห็ด ผักหวาน หน่อไม้ ไข่มดแดง เป็นต้น
โจทย์ปัญหา และเหตุผลที่ทำโครงการ
เนื่องจากมีคนเข้าไปใช้ประโยชน์จากป่ามากแต่ไม่มีการบริหารจัดการที่ดี โดยปล่อยให้มีการลักลอบตัดไม้เผาถ่าน การเผาป่าเพื่อเก็บผักหวาน การบุกรุกทำไร่ เป็นต้น ส่งผลให้ระบบนิเวศป่าขาดความสมดุล และป่าเริ่มเสื่อมโทรมอย่างเห็นได้ชัด กลุ่มต้นกล้าโมเดล โรงเรียนน้ำปาดชนูปถัมภ์ได้ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น จึงได้จัดทำโครงการต้นกล้าโมเดล เพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์และร่วมกันบริหารจัดการพื้นที่ป่าสาธารณประโยชน์ ให้เป็นป่าชุมชนที่มีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ชุมชนสามารถใช้ประโยชน์และร่วมกันดูแลรักษาได้อย่างยั่งยืน
เป้าหมายของโครงการ
มีระบบบริหารจัดการพื้นที่ในรูปแบบป่าชุมชน โดยเน้นการมีส่วนร่วมของเยาวชนและคนในชุมชน
กระบวนการทำงานของกลุ่มเยาวชนในการแก้ไขปัญหาหรือดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน
1.กิจกรรม “เก็บข้อมูลสำรวจป่าและครัวเรือน” เพื่อนำข้อมูลมาใช้นำเสนอผ่านเวทีชุมชน
2.กิจกรรม “เวทีชุมชน” นำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจป่าและครัวเรือนมานำเสนอต่อชุมชน เพื่อระดมความคิดและหาข้อตกลงร่วมกันในการดูแลป่าชุมชน มีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 45 คน ประกอบด้วย กลุ่มเยาวชนต้นกล้าโมเดล 15 คน ชาวบ้าน 30 คน
ปัญหา/อุปสรรคและแนวทางการแก้ไข
ผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ
- ผลต่อกลุ่มเยาวชน
ทำให้เยาวชนได้เรียนรู้กระบวนการทำงานที่ถูกต้อง กล่าวคือ ทำให้เยาวชนมีการทำงานอย่างเป็นระบบ รู้จักการแบ่งหน้าที่ในการทำงาน มีการประชุมวางแผนการทำงานเพื่อหาแนวทางการปฏิบัติงานร่วมกัน เมื่อดำเนินการปฏิบัติหน้าที่หากพบปัญหาในระหว่างการทำงาน ทำให้ทราบว่า สิ่งที่จะทำให้การทำงานสามารถดำเนินต่อไปได้คือ การใช้สติ และอีกสิ่งหนึ่งคือ การรับผิดชอบต่อหน้าที่ระหว่างการประชุมวางแผนดำเนินงานทุกคนย่อมได้รับมอบหมายหน้าที่ที่ตนต้องรับผิดชอบ ดังนั้น สิ่งเหล่านี้จึงเป็นการฝึกเยาวชนให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ตนได้รับมอบหมาย
- ผลต่อแกนนำ
ทำให้เยาวชนมีการพัฒนาศักยภาพของตนเองได้หลายด้านและพัฒนาทักษะไปพร้อมกันเช่น ทักษะการพูด ได้มีความรู้ในการพูดสอบถามชาวบ้านในชุมชนการพูดเพื่อให้คนฟังในเรื่องที่เราพูดจะได้ให้ข้อมูลที่ถูกต้องต่อผู้ฟังและตรงกับข้อมูลของเรา ทักษะการวิเคราะห์ปัญหา การทำงานย่อมมีปัญหาทุกครั้งที่มีปัญหาเยาวชนทุกคนจะร่วมมือกันวิเคราะห์ปัญหาและวางแผนการแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้องสมบูรณ์
- ผลต่อชุมชนเป้าหมาย/ชุมชน
มีการสะท้อนข้อมูลที่ได้จากการสำรวจป่าและสำรวจชุมชน การที่กลุ่มต้นกล้าโมเดลทำสื่อไปเผยแพร่ให้แก่คนในพื้นที่ได้เห็นทำให้ชาวบ้านได้เห็นความเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนว่าป่าชุมชนได้เปลี่ยนแปลงไปมากน้อยเพียงใด มีสภาพ ณ ปัจจุบันเช่นไรและเกิดมาจากสาเหตุใดเมื่อทราบสิ่งเหล่านี้แล้ว ทำให้ชาวบ้านได้เกิดความคิดว่าจะทำยังไงให้สภาพป่ากลับมาเป็นเหมือนเดิมหรือไม่ทรุดโทรมลงไปมากกว่านี้จึงเป็นเหตุที่ทำให้เกิดกิจกรรมเวทีชุมชนเพื่อชี้แจงและหาข้อตกลงร่วมกัน เมื่อไปจัดเวทีชุมชนชาวบ้านเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขและแนวทางอนุรักษ์ป่าชุมชน
- ผลต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เกิดการเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับข้อมูลจริงของสภาพป่า และการใช้ประโยชน์จากป่า ส่งผลให้เกิดข้อตกลงร่วมกันในการดูแลรักษาป่า
ปัจจัยอะไรที่ทำให้เกิดความสำเร็จ / ล้มเหลว
- ·การกระตุ้นหนุนเสริมจากครูพี่เลี้ยง
- ·ความตั้งใจและความร่วมมือของแกนนำเยาวชน และแบ่งบทบาทหน้าที่งานต่างๆ ตามความถนัดของแต่ละคน
คุณค่าจากการทำโครงการ
- ·แกนนำเยาวชนเห็นคุณค่าของตนเองและความสำคัญของพื้นที่ป่าชุมชนโดยเฉพาะแกนนำเยาวชนที่อยู่ในพื้นที่เป้าหมายโครงการ
- ·การใช้ทักษะความสามารถในการทำหนังสั้นเพื่อสื่อสารการอนุรักษ์
อนาคตที่อยากทำต่อ
- ·ขยายสมาชิกกลุ่มและพื้นที่เป้าหมายโครงการ
- ·การศึกษาเรียนรู้ป่าชุมชนในพื้นที่เพิ่มมากขึ้น และให้สอดคล้องกับการเรียนการสอนที่มีอยู่ในโรงเรียน
.................................................................
การเรียนรู้ของแกนนำเยาวชน
นางสาว ภัทรสุดา ทวกอ่อน (เอ้) อายุ 17 ปี
กำลังศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 5 (วิทย์-คณิต) โรงเรียน น้ำปาดชนูปถัมภ์
แรงบันดาลใจที่มาทำกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมหรือเข้ามาร่วมกับกลุ่มเยาวชน
เนื่องจากความรักค่ะ รักในประเทศไทย รักในผืนแผ่นดินไทย อยากเห็นประเทศไทยมีต้นไม้เพิ่มมากขึ้น มีแม่น้ำที่ใสสะอาดทุกๆ แห่ง มีสัตว์เล็กสัตว์น้อยอาศัยอยู่อย่างสมดุล ผู้คนมีคุณธรรมต้นแบบในการเป็นแรงบันดาลใจ คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่หนูเด็กจนถึงวันนี้พระองค์ทรงชี้แนวทางที่สว่างให้กับปวงประชนชาวไทยมาโดยตลอดแต่ที่สำคัญไปกว่านั้น พระองค์ทรงทำให้เห็นเป็นตัวอย่างในทุกๆกิจกรรม เช่น การปลูกข้าว การพัฒนาพื้นที่แห้งแล้งให้กลายเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ พระองค์ทรงเป็นแบบอย่างที่ดีในทุกๆด้าน เช่นด้านป่าไม้ แม่น้ำ ดิน ฯลฯ การทำพระองค์ทรงมีความมุ่งมั่น อกทน รักในสิ่งที่ทำและยอมเสียสละส่วนตัวเพื่อส่วนร่วม พระองค์ทรงปลูกฝังให้คนไทยได้เรียนรู้และปฏิบัติ“หนูเองก็ขอเป็นต้นกล้าเล็กๆ ที่จะฝึกฝนและหาความรู้สู่ตนเอง ทำกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อจะได้เติบโต และแข็งแรงพอที่จะเป็น ต้นกล้าโมเดล”
*******
นายสุกฤต ปิ่นเพชร (แซก)อายุ 17 ปี
กำลังศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 5 (วิทย์-คณิต) โรงเรียน น้ำปาดชนูปถัมภ์
แรงบันดาลใจที่มาทำกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมหรือเข้ามาร่วมกับกลุ่มเยาวชน
“อยากให้สองมือเล็กๆ ของพวกเราเปลี่ยนแปลงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรมให้กลับมามีสภาพอุดมสมบูรณ์เหมือนเดิมถึงแม้มันจะเป็นสองมือเล็กๆ เราก็จะเปลี่ยนมันเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ พลังของเยาวชนและเด็กเป็นที่ใสสะอาด พวกเรามันพาพลังน้อยๆเหล่านี้ให้มีความรักในธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม พลังน้อยๆ เหล่านี้จะเป็นจุดเปลี่ยนเหนือสิ่งอื่นใด เยาวชนและเด็กๆตัวเล็กเหล่านี้จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่รักในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่อไป”
ผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ (การเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลง ความสุข ฯ)
ก่อนทำโครงการไม่มีการวางแผนในการทำงานและไม่สรุปหรือถอดบทเรียนหลังจากการทำงานเสร็จ รับฟังข้อมูลไม่ละเอียดและไม่ครบถ้วน วางแปลงที่ดินเพื่อวางแผนก่อนการสำรวจป่าไม่เป็น หลังทำโครงการวางแผนการทำงานได้อย่างรอบคอบก่อนการทำงานมากขึ้น วิเคราะห์ปัญหาจากการลงพื้นที่สำรวจป่า สามารถฟังเสียงในป่าเพื่อเก็บเป็นข้อมูลได้ และสามารถวัดขนาดของต้นไม้เป็นและวางแปลงเพื่อสำรวจป่าได้
*******
นายจิรศักดิ์ คำบ้านฝ้าย (โอน) อายุ 26 ปี
ครูสังคมศึกษา โรงเรียนน้ำปาดชนูปถัมภ์
เป็นที่ปรึกษา คอยกระตุ้นให้เกิดการทำงาน เกิดทักษะการประสานงาน
“แม้ข้อมูลไม่พร้อมไม่ยอมระงับ ด้วยต้องรับ-ส่งไปให้ถึงที่
ส่งเด็กๆ ขึ้นสู้บนเวที ส่วนคนอื่นหนีหน้าร้างราไกล
พอปัญหาเริ่มมีเข้ามาบ้าง งานประเดประดังเริ่มหวั่นไหว
เริ่มเหนื่อยและท้อห่อเหี่ยวใจ ทำทำไมได้อะไร เฝ้าถามตัว
พอปัญหาเข้ามาทุกชนิด ทำชีวิตไขว้เขวก็ปวดหัว
เปลี่ยนแล้วปรับมาหลายทีมใจขุ่นมัว เริ่มหวั่นกลัวงานไม่เสร็จสำเร็จลง
พอค่าย 2 ได้เรียนรู้เป็น Coaching ใจเริ่มนิ่งเดินตามทางไม่มีหลง
แม้งานชุกแต่ใจยังมั่นคง ไม่งวยงงดังเช่นที่เป็นมา
กระบวนการความคิดเริ่มเป็นระบบ เริ่มค้นพบความเปลี่ยนแปลงที่ตามหา
การเรียนรู้เกิดขึ้นตลอดเวลา เกิดคุณค่าในงานอย่างชัดเจน
พอเริ่มดังชีวิตก็เริ่มเปลี่ยน ทั้งโรงเรียนเรียกใช้ไม่ว่างเว้น
ใช้อุบายต่อรองตามกฎเกณฑ์ แต่ก็เป็นที่ภาคภูมิของทุกคน”
*******
โครงการต้นกล้าโมเดล
กลุ่มต้นกล้าโมเดล โรงเรียนน้ำปาดชนูปถัมภ์ จ.อุตรดิตถ์
ผู้ประสานงาน สุกฤต ปิ่นเพชร (แซก) โทรศัพท์ 08-4822-8436