โครงการศึกษาเรียนรู้ อนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไผ่ชุมชน(กลุ่มเยาวชนป่า น้ำ ซำ  จ.ขอนแก่น)
โครงการศึกษาเรียนรู้ อนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไผ่ชุมชน(กลุ่มเยาวชนป่า น้ำ ซำ จ.ขอนแก่น)
กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
สรุปผลโครงการศึกษาเรียนรู้ อนุรักษ์ และฟื้นฟูป่าไผ่ของชุมชน กลุ่มเยาวชนป่าน้ำซำ จ.ขอนแก่น
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

กลุ่มเยาวชนบ้านซำผักหนาม เกิดจากการรวมตัวกันของเยาวชนบ้านซำผักหนามและชุมชนหนองจานในขณะนั้นเพื่อทำกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูธรรมชาติและต่อมาได้แยกออกมาเพื่อทำงานในพื้นที่ของตนเองและในการปฏิบัติงานของกลุ่มเยาวชนได้ร่วมงานกับหน่วยงานต่างๆ ทางด้านสิ่งแวดล้อม ส่วนงานที่กลุ่มเยาวชนรับผิดชอบโดยหลักแล้วจะเป็นงานการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมโดยรอบชุมชนและเนื่องจากสภาพของป่าบริเวณรอบชุมชนเกิดการถูกทำลายเป็นอย่างมาก เช่น ป่าไผ่ที่ลดน้อยลงจากการถูกนำไปใช้อย่างไม่รู้คุณค่า ทางกลุ่มเยาวชนจึงได้เข้ามาที่จะดูแลและร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆเพื่อวางแผนการจัดการร่วมกันทางกลุ่มเยาวชนจึงรวมมือกันเพื่อการดูแลรักษาและอนุรักษ์เพื่อให้อยู่คู่ชุมชนตลอดไป


รายสมาชิกกลุ่มเยาวชน


  1. นายสราวุฒิ ไชยดี ประธานกลุ่มเยาวชน
  2. นายภานุพงษ์ หาวอง กรรมการกลุ่มเยาวชน
  3. นายอนันตชา รัตนประทุม รองประธานกลุ่มเยาวชน
  4. น.สชุติกาญจน์ ศรีสร้อย
  5. น.สจัตตุพร แก้วสิงห์
  6. เด็กหญิงสุพัตรา วระไวย์
  7. เด็กหญิงชนากานต์ ฐานเจริญ

ข้อมูลพื้นที่ / ชุมชนที่ทำงานเพื่อสิ่งแวดล้อม


บ้านซำผักหนามตั้งอยู่ในเขตปกครอง หมู่ที่ 11 ต.นาหนองทุ่ม อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น ห่างจากถนนมะลิวัลย์สายขอนแก่น-เมืองเลย หลักกิโลเมตรที่ 112-113 แยกเข้าไปทิศทางตะวันตกเป็นระยะทาง 5 กิโลเมตร เป็นเส้นทางเดียวกับทางเข้าอุทยานแห่งชาติภูผาม่าน เพราะชุมชนและที่ดินทำกินอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติภูผาม่าน มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 1,720 ไร่ มีลักษณะเป็นที่ราบในหุบเขา โดยมีภูเขาล้อมรอบทั้ง 4 ด้าน


โจทย์ปัญหา และเหตุผลที่ทำโครงการ


เนื่องจากการใช้ประโยชน์จากป่าไผ่มีปริมาณมากขึ้นเรื้อยๆในปัจจุบันตั้งแต่การนำเอา หน่อไม้ ลำต้น หรือกระทั่งขุดเอารากของไผ่ไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆจึงทำให้วงจรของไผ่นั้นถูกขัดขวาง จึงทำให้เกิดผลกระทบที่ตามมา คือ จำนวนของป่าไผ่มีจำนวนน้อยลงและขนาดของพื้นที่ป่าไผ่มีจำนวนลดลงอย่างเห็นได้ชัดและอัตราการเกิดใหม่ของไผ่มีจำนวนลดลงด้วย ไผ่มีขนาดไม่พอต่อความต้องการในการใช้สอย

กลุ่มเยาวชนบ้านซำผักหนาม (ป่า น้ำ ซำ) ได้เข้าร่วมและนำเอาโครงการนี้มาลงมือปฏิบัติ ก็เนื่องมาจากได้เร่งเห็นว่า การใช้ประโยชน์จากป่าไผ่นั้น ไม่มีการกำหนดแผนการใช้ผลกระทบของการที่ป่าไผ่ลดน้อยลงและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ความเป็นอยู่ของคนในชุมชน จึงเข้ามาร่วมจัดการและวางแผน เพื่อลดผลกระทบและเกิดประโยชน์ต่อระบบนิเวศของไผ่แต่ละป่าโดยรอบ


เป้าหมายของโครงการ


ชาวบ้านภายในชุมชนวางแผนการจัดการมีการจัดระเบียบและควบคุมดูแลการใช้ประโยชน์จากไผ่ และเพิ่มพื้นที่ป่าไผ่ให้เกิดขึ้นบริเวณตามเชิงเขาและรอบบริเวณป่าชุมชน ให้มีอัตราส่วนที่มากกว่าการนำมาให้ประโยชน์และกำหนดเขตการใช้สอยอย่างชัดเจน

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

สรุปผลโครงการศึกษาเรียนรู้ อนุรักษ์ และฟื้นฟูป่าไผ่ของชุมชน 

กลุ่มเยาวชนป่าน้ำซำ จ.ขอนแก่น


กลุ่มเยาวชนบ้านซำผักหนาม เกิดจากการรวมตัวกันของเยาวชนบ้านซำผักหนามและชุมชนหนองจานในขณะนั้นเพื่อทำกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูธรรมชาติและต่อมาได้แยกออกมาเพื่อทำงานในพื้นที่ของตนเองและในการปฏิบัติงานของกลุ่มเยาวชนได้ร่วมงานกับหน่วยงานต่างๆ ทางด้านสิ่งแวดล้อม ส่วนงานที่กลุ่มเยาวชนรับผิดชอบโดยหลักแล้วจะเป็นงานการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมโดยรอบชุมชนและเนื่องจากสภาพของป่าบริเวณรอบชุมชนเกิดการถูกทำลายเป็นอย่างมาก เช่น ป่าไผ่ที่ลดน้อยลงจากการถูกนำไปใช้อย่างไม่รู้คุณค่า ทางกลุ่มเยาวชนจึงได้เข้ามาที่จะดูแลและร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆเพื่อวางแผนการจัดการร่วมกันทางกลุ่มเยาวชนจึงรวมมือกันเพื่อการดูแลรักษาและอนุรักษ์เพื่อให้อยู่คู่ชุมชนตลอดไป

­

รายสมาชิกกลุ่มเยาวชน


  1. นายสราวุฒิ ไชยดี ประธานกลุ่มเยาวชน
  2. นายภานุพงษ์ หาวอง กรรมการกลุ่มเยาวชน
  3. นายอนันตชา รัตนประทุม รองประธานกลุ่มเยาวชน
  4. น.สชุติกาญจน์ ศรีสร้อย
  5. น.สจัตตุพร แก้วสิงห์
  6. เด็กหญิงสุพัตรา วระไวย์
  7. เด็กหญิงชนากานต์ ฐานเจริญ

­

ข้อมูลพื้นที่ / ชุมชนที่ทำงานเพื่อสิ่งแวดล้อม


บ้านซำผักหนามตั้งอยู่ในเขตปกครอง หมู่ที่ 11 ต.นาหนองทุ่ม อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น ห่างจากถนนมะลิวัลย์สายขอนแก่น-เมืองเลย หลักกิโลเมตรที่ 112-113 แยกเข้าไปทิศทางตะวันตกเป็นระยะทาง 5 กิโลเมตร เป็นเส้นทางเดียวกับทางเข้าอุทยานแห่งชาติภูผาม่าน เพราะชุมชนและที่ดินทำกินอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติภูผาม่าน มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 1,720 ไร่ มีลักษณะเป็นที่ราบในหุบเขา โดยมีภูเขาล้อมรอบทั้ง 4 ด้าน

­

โจทย์ปัญหา และเหตุผลที่ทำโครงการ


เนื่องจากการใช้ประโยชน์จากป่าไผ่มีปริมาณมากขึ้นเรื้อยๆในปัจจุบันตั้งแต่การนำเอา หน่อไม้ ลำต้น หรือกระทั่งขุดเอารากของไผ่ไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆจึงทำให้วงจรของไผ่นั้นถูกขัดขวาง จึงทำให้เกิดผลกระทบที่ตามมา คือ จำนวนของป่าไผ่มีจำนวนน้อยลงและขนาดของพื้นที่ป่าไผ่มีจำนวนลดลงอย่างเห็นได้ชัดและอัตราการเกิดใหม่ของไผ่มีจำนวนลดลงด้วย ไผ่มีขนาดไม่พอต่อความต้องการในการใช้สอย

กลุ่มเยาวชนบ้านซำผักหนาม (ป่า น้ำ ซำ) ได้เข้าร่วมและนำเอาโครงการนี้มาลงมือปฏิบัติ ก็เนื่องมาจากได้เร่งเห็นว่า การใช้ประโยชน์จากป่าไผ่นั้น ไม่มีการกำหนดแผนการใช้ผลกระทบของการที่ป่าไผ่ลดน้อยลงและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ความเป็นอยู่ของคนในชุมชน จึงเข้ามาร่วมจัดการและวางแผน เพื่อลดผลกระทบและเกิดประโยชน์ต่อระบบนิเวศของไผ่แต่ละป่าโดยรอบ

­

เป้าหมายของโครงการ


ชาวบ้านภายในชุมชนวางแผนการจัดการมีการจัดระเบียบและควบคุมดูแลการใช้ประโยชน์จากไผ่ และเพิ่มพื้นที่ป่าไผ่ให้เกิดขึ้นบริเวณตามเชิงเขาและรอบบริเวณป่าชุมชน ให้มีอัตราส่วนที่มากกว่าการนำมาให้ประโยชน์และกำหนดเขตการใช้สอยอย่างชัดเจน

­

กระบวนการทำงานของกลุ่มเยาวชนในการแก้ไขปัญหาหรือดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน


·เก็บข้อมูลไผ่ คือ ข้อมูลทั่วไป การใช้ประโยชน์จากไผ่ ที่ป่าชุมชนด้านทิศตะวันตก เพื่อนำมาข้อมูลมาใช้ในการอนุรักษ์และเป็นฐานข้อมูลในการจัดการไผ่ของชุมชนในอนาคต จากการสำรวจพบว่า การใช้ประโยชน์จากป่ามากที่สุดคือ การหาหน่อไม้ โดยมีการนำออกจากป่าถึงวันละ 40 ตัน/วัน คิดเป็น 2,400 ตัน/ปี ส่วนไม้ไผ่มีการนำออกจากป่าถึงวันละ 15 ตัน/ปี คิดเป็น 900 ตัน/ปี

­

·จากนั้นนำได้ข้อมูลไผ่มาแลกเปลี่ยน และคืนข้อมูลสู่ชุมชน เพื่อให้เยาวชน ผู้ใหญ่ในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจในการนำเอาไผ่มาใช้ประโยชน์อย่างรู้คุณค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด กลุ่มเยาวชนฯจึงได้จัดเวทีคืนข้อมูล ที่ศาลาประจำหมู่บ้าน โดยมีคนในชุมชนมาเข้าร่วม 50 คน ประกอบด้วย เยาวชน 30 คน, ชาวบ้านและปราชญ์ 10 คน คนจากชุมชนอื่น 10 คน ผลที่เกิดขึ้นจากเวทีครั้งนี้ทำให้เกิดการวางกฏระเบียบร่วมกันในการดูแลรักษาและการใช้ประโยชน์จากไผ่

­

·สุดท้ายกลุ่มเยาวชนฯ จึงได้การฟื้นฟูไผ่โดยร่วมกันปลูกไผ่กว่า 90 กอ ในป่าชุมชน

­

ปัญหา/อุปสรรค และแนวทางการแก้ไข


·การมีส่วนร่วมของชุมชนยังไม่ได้รับความร่วมมือ เนื่องจากขาดการประสานงานที่ทำความเข้าใจที่ตรงกันและบทบาทระหว่างชุมชนกับเยาวชนยังมีช่องว่าง แนวทางกรแก้ไข กลุ่มเยาวชนต้องให้ข้อมูลการทำงานแก่ชุมชน เพื่อให้ทราบความเคลื่อนไหวการทำงาน และเชิญชวนคนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมกิจกรรมของเยาวชนมากขึ้น อย่างต่อเนื่อง

­

ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ


ผลต่อกลุ่มเยาวชน

  • กลุ่มเยาวชนมีการวางแผน และสร้างความเข้าใจในขึ้นตอนของการทำงาน ทำให้งานออกมาค่อนข้างดี เพราะทุกคนเข้าใจขั้นตอนการทำงาน
  • มีการแสดงความคิดเห็น หารือในการทำงาน
  • มีการแบ่งหน้าที่ชัดเจน

­

ผลต่อแกนนำเยาวชน

  • ทักษะ การสำรวจป่า การเก็บ+รวบรวมข้อมูล
  • การประสานงาน

­

........................................................................................


การเรียนรู้ของแกนนำเยาวชน


นายสราวุฒิ ไชยดี (หนึ่ง) อายุ 23 ปี

­

ผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ (การเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลง ความสุข ฯ)


ก่อน - การทำงานโดยขาดแรงจูงใจในการทำงานและทำงานไม่เป็นกลุ่มขาดมุมมองในการทำงานที่หลากหลายมิติทำให้ขาดความมั่นใจในการทำงานเป็นกลุ่มไม่มีความรู้ในการทำงานร่วมกันในการทำกิจกรรมต่างๆ ในชุมชน

หลัง - เรียนรู้จากการทำงานและช่วยผลักดันเยาวชนรุ่นต่อไปทำกิจกรรรมต่างๆ ร่วมกัน, ประสานการทำงานระหว่างกลุ่มของตนเองกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อขอความร่วมมือในการทำงานโครงการ, สร้างผู้นำรุ่นใหม่จากการทำงานร่วมกันกับเยาวชนในชุมชน ทำงานผ่านการกำหนดเป้าหมายในการทำงานและสามารถทำงานเสร็จตามแผนงานที่วางไว้ได้ ประสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในชุมชน

­

*******


นายภานุพงษ์ หาวอง (ต้า) อายุ 16 ปี

กำลังศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 5 (วิทย์-คณิต) โรงเรียนมัธยมหนองเขียด


ผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ (การเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลง ความสุข ฯ)


ก่อน - เคยได้แต่คิดว่าการทำโครงการนั้นจะสามารถทำได้อย่างไร และไม่เข้าใจในกระบวนการทำงานที่เป็นระบบ, ไม่ค่อยกล้าพูดหรือกล้าบอกนสิ่งที่ตนเองคิด ทำให้รู้สึกเหนื่อยและท้อว่าจะสามารถทำงานได้หรือไม่ดี

หลัง - ได้ร่วมคิดวางแผนการทำงาน การทำกิจกรรม ,การทำโครงการโดยร่วมแสดงความคิดเห็น ,ได้รับความรู้เพิ่มเติมจากปราชญ์ชาวบ้านในเรื่องของชุมชนตัวเอง จนมีความรู้ที่จะสามารถอธิบายให้น้องๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรมฟังได้, ได้เรียนรู้กระบวนการทำงานและวิธีการแก้ปัญหาที่เกิดจากการทำงานมากขึ้น, ได้ลงมือทำงานในด้านของการเก็บข้อมูล


*******


นายอนันตชา รัตนประทุม (ม๊อบ) อายุ 16 ปี

กำลังศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 5 (วิทย์-คณิต) โรงเรียนมัธยมหนองเขียด


ผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ (การเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลง ความสุข ฯ)


ได้ความรู้เรื่องการวางแผนการที่จะทำและได้เรียนรู้การปฏิบัติ การลงพื้นที่ภาคสนาม การเข้าป่าหาข้อมูล และวิธีการทำการเก็บข้อมูล และการสังเกต การรู้จักถามรู้จักจังหวะในการพูดจา ซักถามเวลาไปลงเก็บข้อมูล


*******


ที่ปรึกษาโครงการ

นายเจด็จ แก้วสิงห์ (เพลิง) อายุ 24 ปี

­

“มีอยู่วันหนึ่ง เราได้นั่งคุยกับน้องถึงปัญหาที่มันเกิดขึ้นกับชุมชน ว่าเราจะแก้ปัญหานี้อย่างไรดี แล้ววันหนึ่งก็มีโครงการดีๆ เข้ามา คือ โครงการปลูกใจรักษ์โลก จึงได้ให้น้องเขียนโครงการนี้เข้ามา เพื่อที่อยากให้น้องได้ฝึกการทำโครงการ และการแก้ปัญหา ในช่วงเริ่มต้นของการทำโครงการนี้ เรายังไม่เข้าใจบทบาทของการเป็นพี่เลี้ยงว่าเราจะต้องทำอะไร แต่พอมาฝึกอบรมมาเรียนรู้ขบวนการก็ทำให้เราเข้าใจบทบาทของตัวเราเพิ่มมากขึ้นว่าเราจะต้องทำอะไร ในช่วงที่ทำโครงการก็มีความรู้ใหม่เข้ามามากมาย และอีกอย่างก็คือทำให้เรารู้หน้าที่ว่าเราต้องทำอะไร ส่วนปัญหาที่เกิดขึ้นคือ เราไม่สามารถที่จะทำไปตามแผนที่เราวางเอาไว้ เพราะกิจกรรมบางกิจกรรมเราต้องรอช่วงฤดูกาล”

­

*******


โครงการศึกษาเรียนรู้ อนุรักษ์ และฟื้นฟูป่าไผ่ของชุมชน

กลุ่มเยาวชนป่าน้ำซำ จ.ขอนแก่น

ผู้ประสานงาน อนันตชา รัตนะประทุม (ม๊อบ)โทรศัพท์ 08-8729-9129 อีเมล์ Gu_themobza@hotmail.com

­

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ