เยาวชนอาสาฟื้นฟูป่าชุมชน
กลุ่มเยาวชนอาสาพัฒนาบ้านเกิด จ.อุทัยธานี
เครือข่ายเยาวชนรักบ้านเกิดจังหวัดอุทัยธานี ทำงานกับ องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุทัยธานี และในแต่ละปี อบจ. จะมีการจัดค่ายสำหรับเยาวชนจังหวัดอุทัยธานี เป็นโอกาสที่ดีของเด็กและเยาวชน จะได้เรียนรู้ผ่านกิจกรรมค่าย และเป็นโอกาสให้กลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่ได้ร่วมตัวกันและเข้าร่วมทำงานช่วยเหลือในกลุ่มต่อไปรุ่นสู่รุ่น
รายชื่อสมาชิกกลุ่มเยาวชน
1.นางสาวจิราภัทร เล่าปิ่นกาญจน์ (เมย์) ประธาน
2.นายอนุชา ป้อมคำ (นุ๊ก) รองประธาน
3.นางสาวจิดาภา ดีเทียน (เจน) เลขานุการ
4.นายนริศ พรหมสูตร เหรัญญิก
5.นายวิรัตน์ เอี่ยมอินทร์ กรรมการ
6.นายพงศกร เพชรอินทร์ กรรมการ
7.ดช.สมศักดิ์ สังข์วงศ์ กรรมการ
8.ดช. สุราวุฒิ ชักนำ กรรมการ
ข้อมูลพื้นที่ หรือ ชุมชนที่ทำโครงการ
พื้นที่ป่าชุมชนของหมู่บ้านสวนพลู หมู่ที่ 5 และบ้านพุต่อ หมู่ที่ 15 เนื้อที่ 6,300 ไร่ อยู่ในตำบลทัพหลวง อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี เคยเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าและแมลงต่างๆ เป็นแหล่งอาหาร สมุนไพร และที่หาของป่าของคนในชุมชน และคนในชุมชนทั้งสองหมู่บ้านใช้อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในพื้นที่ป่านี้ในการอุปโภค บริโภค
กลุ่มเป้าหมาย
เด็ก เยาวชน และคนในชุมชนหมู่ที่ 5 และ หมู่ที่ 15 ต.ทัพหลวง อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี
โจทย์ปัญหา และเหตุผลที่ทำโครงการ
ปัจจุบันจำนวนคนในชุมชนทั้งสองมีมากขึ้น ความต้องการใช้ประโยชน์จากป่ามีมากตามมา จึงทำให้เกิดการบุกรุกทำลายผืนป่า โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบและความเสียหายที่จะเกิดขึ้น การใช้น้ำของคนในชุมชนจะเปลี่ยนไป จากที่เคยใช้น้ำร่วมกันตลอดเวลา กลับต้องผลัดกันใช้น้ำจากป่านี้ เนื่องจากน้ำภายในอ่างเก็บน้ำมีลดลง สองหมู่บ้านต้องสลับกันใช้น้ำเพื่อให้เพียงพอต่อคนในชุมชน
ครูอนงค์ ครูประจำโรงเรียนบ้านพุต่อ ผู้เคยสอนให้เด็กๆ ในชุมชนรู้จักการใช้ชีวิตและการใช้ประโยชน์จากป่า และช่วยฟื้นฟูป่าด้วยการปลูกป่าอากาศยานให้กับผืนป่าแห่งนี้ หลังจากท่านเสียชีวิตไปเมื่อประมาณ 5 ปีที่แล้ว กิจกรรมที่ครูอนงค์เคยชวนเด็กๆ ทำก็หยุดชะงักลง เพราะไม่มีใครสืบทอดเจตนาของครู กลุ่มอาสาพัฒนาบ้านเกิดจังหวัดอุทัยธานี จึงคิดจะชวนเด็กๆ ในพื้นที่ช่วยกันฟื้นฟูป่า ในแบบที่ครูอนงค์เคยได้ทำมา
เป้าหมายของโครงการ
เยาวชนและคนในชุมชนให้ความสนใจอนุรักษ์ผืนป่าชุมชนมากขึ้น ตระหนักถึงความความสำคัญของป่าชุมชน เกิดแกนนำเยาวชนขึ้นในพื้นที่ และช่วยกันพื้นฟูป่าที่ถูกทำลายจากการบุกรุกพื้นที่ ตัดไม้ในพื้นที่ป่าชุมชน
เยาวชนอาสาฟื้นฟูป่าชุมชน
กลุ่มเยาวชนอาสาพัฒนาบ้านเกิด จ.อุทัยธานี
เครือข่ายเยาวชนรักบ้านเกิดจังหวัดอุทัยธานี ทำงานกับ องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุทัยธานี และในแต่ละปี อบจ. จะมีการจัดค่ายสำหรับเยาวชนจังหวัดอุทัยธานี เป็นโอกาสที่ดีของเด็กและเยาวชน จะได้เรียนรู้ผ่านกิจกรรมค่าย และเป็นโอกาสให้กลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่ได้ร่วมตัวกันและเข้าร่วมทำงานช่วยเหลือในกลุ่มต่อไปรุ่นสู่รุ่น
รายชื่อสมาชิกกลุ่มเยาวชน
1.นางสาวจิราภัทร เล่าปิ่นกาญจน์ (เมย์) ประธาน
2.นายอนุชา ป้อมคำ (นุ๊ก) รองประธาน
3.นางสาวจิดาภา ดีเทียน (เจน) เลขานุการ
4.นายนริศ พรหมสูตร เหรัญญิก
5.นายวิรัตน์ เอี่ยมอินทร์ กรรมการ
6.นายพงศกร เพชรอินทร์ กรรมการ
7.ดช.สมศักดิ์ สังข์วงศ์ กรรมการ
8.ดช. สุราวุฒิ ชักนำ กรรมการ
ข้อมูลพื้นที่ หรือ ชุมชนที่ทำโครงการ
พื้นที่ป่าชุมชนของหมู่บ้านสวนพลู หมู่ที่ 5 และบ้านพุต่อ หมู่ที่ 15 เนื้อที่ 6,300 ไร่ อยู่ในตำบลทัพหลวง อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี เคยเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าและแมลงต่างๆ เป็นแหล่งอาหาร สมุนไพร และที่หาของป่าของคนในชุมชน และคนในชุมชนทั้งสองหมู่บ้านใช้อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในพื้นที่ป่านี้ในการอุปโภค บริโภค
กลุ่มเป้าหมาย
เด็ก เยาวชน และคนในชุมชนหมู่ที่ 5 และ หมู่ที่ 15 ต.ทัพหลวง อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี
โจทย์ปัญหา และเหตุผลที่ทำโครงการ
ปัจจุบันจำนวนคนในชุมชนทั้งสองมีมากขึ้น ความต้องการใช้ประโยชน์จากป่ามีมากตามมา จึงทำให้เกิดการบุกรุกทำลายผืนป่า โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบและความเสียหายที่จะเกิดขึ้น การใช้น้ำของคนในชุมชนจะเปลี่ยนไป จากที่เคยใช้น้ำร่วมกันตลอดเวลา กลับต้องผลัดกันใช้น้ำจากป่านี้ เนื่องจากน้ำภายในอ่างเก็บน้ำมีลดลง สองหมู่บ้านต้องสลับกันใช้น้ำเพื่อให้เพียงพอต่อคนในชุมชน
ครูอนงค์ ครูประจำโรงเรียนบ้านพุต่อ ผู้เคยสอนให้เด็กๆ ในชุมชนรู้จักการใช้ชีวิตและการใช้ประโยชน์จากป่า และช่วยฟื้นฟูป่าด้วยการปลูกป่าอากาศยานให้กับผืนป่าแห่งนี้ หลังจากท่านเสียชีวิตไปเมื่อประมาณ 5 ปีที่แล้ว กิจกรรมที่ครูอนงค์เคยชวนเด็กๆ ทำก็หยุดชะงักลง เพราะไม่มีใครสืบทอดเจตนาของครู กลุ่มอาสาพัฒนาบ้านเกิดจังหวัดอุทัยธานี จึงคิดจะชวนเด็กๆ ในพื้นที่ช่วยกันฟื้นฟูป่า ในแบบที่ครูอนงค์เคยได้ทำมา
เป้าหมายของโครงการ
เยาวชนและคนในชุมชนให้ความสนใจอนุรักษ์ผืนป่าชุมชนมากขึ้น ตระหนักถึงความความสำคัญของป่าชุมชน เกิดแกนนำเยาวชนขึ้นในพื้นที่ และช่วยกันพื้นฟูป่าที่ถูกทำลายจากการบุกรุกพื้นที่ ตัดไม้ในพื้นที่ป่าชุมชน
กระบวนการทำงานของกลุ่มเยาวชนในการแก้ไขปัญหาหรือดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน
1. จัดประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการเพื่อขอความร่วมมือจากคนในชุมชนทุกระดับในการทำโครงการของเยาวชน ซึ่งมีผู้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี มีผู้นำตามธรรมชาติ ที่ยังคงดูแลรักษาผืนป่าและมีความรู้เรื่องป่าผืนนี้
2. ศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นที่ป่าชุมชนบ้านสวนพูล- พุต่อ
– ได้รู้เส้นทางธรรมชาติและได้รู้เกี่ยวกับจุดศึกษาธรรมชาติ
– ได้พบเห็นแหล่งที่มาของน้ำที่ใช้
- ได้เรียนรู้ ข้อมูลของป่าชุมน
3. ชวนน้องๆ สำรวจป่าชุมชน
- น้อง ๆ ให้ความสนใจกระตือรือร้นและอยากให้มีกิจกรรมแบบนี้ต่อเนื่องอีก
- น้อง ๆ ให้ความสนใจเรียนรู้และเก็บเกี่ยวความรู้เพิ่มมากขึ้น
4. เก็บเมล็ดพันธุ์ เรียนรู้เรื่องต้นไม้และวิธีการปลูกต้นไม้ เพื่อนำมาเพาะและนำกลับไปปลูกที่ป่าชุมชนละนำมาปั้นเป็นกระสุนเมล็ดพันธุ์ ประกอบด้วย เม็ดมะค่า 2 กิโล, เม็ดตะขบ 1 ถุง, เม็ดสัก 1 ถุง, เม็ดยาง 1 กระสอบ (50 กิโล)
5. กล้าไม้สร้างสัมพันธ์ (การเพาะเมล็ดพันธุ์)
– ผู้ปกครองของแกนนำเยาวชนมาช่วยเพาะกล้า เนื่องจากกลุ่มแกนนำเยาวชนต้องแยกย้ายกันทำงาน
- วิธีตัดจุกเม็ดมะค่า แล้วใช้มีดกะเทาะตรงเปลือกสีดำ ให้เกิดแผลเล็ก ๆ และนำไปแช่น้ำเปล่า จนเปลือกสีดำพองตัวขึ้นหรืออมน้ำเต็มที่แล้ว หลังจากนั้นนำมาแกะเปลือกสีดำออก แล้วนำลงถุงเพาะได้เลยวิธีนี้ 100% งอก 90 %ุ
6. ปลูกป่าอากาศยาน
- ได้รับความร่วมมือจากพระ ที่มาช่วยปลูกป่าอากาศยานและก็ได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองที่อยากไปดูแลบุตรหลาน และช่วยดูแลเด็ก ๆ ในการทำกิจกรรม
7.ประชุมสรุปแผนการดำเนินงาน
– ได้รู้ถึงการทำงานตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา, สรุปรายละเอียดและค่าใช้จ่าย, ได้รู้ปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำงาน
กิจกรรมที่ทำนอกแผน
- ทำความสะอาดรอบ ๆ อ่างเก็บน้ำพุกร่างเนื่องจากเป็นกิจกรรมของชุมชน ที่จะมีคนในชุมชนมาร่วมทำจำนวนมาก จึงเข้าไปช่วยเพราะเป็นเขตในพื้นที่ป่าชุมชนเหมือนกัน และจะได้พบผู้ปกครองของเด็ก ๆ ด้วย
- ล้างอ่างเก็บน้ำพุกร่าง เนื่องจากเป็นที่พักน้ำก่อนนำน้ำไปใช้ในชุมชน และอยากเห็นวิถีชีวิตของคนในชุมชน จึงขอเข้าไปช่วยในการทำกิจกรรม
ปัญหา / อุปสรรคและแนวทางการแก้ไข
1. ชุมชนหมู่ที่ 15 ยังไม่ค่อยให้ความร่วมมือจากการเชิญเข้าร่วมกิจกรรม การแก้ไข ให้เด็กๆที่มาเข้าร่วมกิจกรรมนำไปบอกเล่าให้ผู้ใหญ่ฟัง ให้เด็กเป็นตัวเชื่อมกับผู้ปกครอง
2. กิจกรรมสำรวจป่าชุมชนเส้นทางเดินมีต้นไม้ขึ้นรก การแก้ไข ได้ขอความร่วมมือจากคนในชุมชนช่วยกันกำจัดสิ่งกีดขวางก่อนที่จะน้องๆเดินสำรวจ
3. สมาชิกแกนนำบางคนยังไม่ค่อยให้ความสนใจในการทำกิจกรรม การแก้ไข ประชุมวางระบบการทำงานใหม่ เพื่อที่จะได้เข้าใจแนวทางการทำงานไปในทิศทางเดียวกัน
4. แกนนำเยาวชนยังไม่รู้ข้อมูลเกี่ยวกับป่าชุมชนทำให้ไม่สามารถให้ข้อมูลกับน้องๆได้ การแก้ไข ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับป่าชุมชน และค้นหาคำตอบที่น้องๆถามเพื่อเติม เพื่อที่ครั้งหน้าจะได้มาบอกน้องๆ
5. เพาะเมล็ดยาง และสักไม่ขึ้น การแก้ไข สอบถามจากผู้รู้ในชุมชนและค้นหาจากอินเตอร์เน็ตเพิ่มเติม
6. แกนนำเยาวชนมีเวลาว่างในการทำกิจกรรมไม่ตรงกัน การแก้ไข แบ่งงานกันทำที่บ้านและยังได้ผู้ปกครอง พี่ และน้องมาช่วยในการทำกิจกรรม
7. อบรมมัคคุเทศก์ ถ่ายทอดความรู้สู่เพื่อน ๆ ในโรงเรียน
- มีปัญหาในเรื่องการจัดทำเอกสารขออนุญาตการใช้สถานที่
- มีปัญหาเรื่องของแกนนำเยาวชนที่มีเวลาว่างไม่พร้อมกัน
8. กิจกรรมร่วมฟื้นฟูป่าไม่ได้ทำเนื่องจากสภาพอากาศยังไม่เหมาะต่อการปลูกกล้าไม้ เพราะอากาศร้อนมาก และยังมีฝนตกไม่ต่อเนื่องหากนำกล้าไม้ไปปลูก อาจจะทำให้กล้าที่ปลูกตายได้
9.จัดตั้งคณะกรรมการร่วมดูแลป่าชุมชนบ้านสวนพลู – พุต่อ ยังไม่สามารถทำได้
- เนื่องจากเรายังไม่สามารถรวบรวมกลุ่มเยาวชนได้จึงไม่สามารถจัดตั้งเยาวชนที่มาร่วมดูแลป่าชุมชนกับคณะกรรมการป่าชุมชนได้
- การดูแลป่าชุมชนอันตรายเกินไปจึงไม่เหมาะที่จะให้เด็กขึ้นไปด้วยเวลาที่ออกลาดตระเวน หรือสำรวจป่า
ผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ
1.ผลต่อกลุ่มเยาวชน (กระบวนการทำงาน, การขยายเครือข่าย, การทำงานเป็นทีม เป็นต้น)
- แกนนำเยาวชนได้รู้จักการวางแผนกระบวนการทำงานเอง
- แกนนำเยาวชนได้ออกแบบการทำกิจกรรมต่าง ๆ เอง
- ได้มีกลุ่มแกนนำเยาวชนเพิ่มมากขึ้น จากการทำกิจกรรม
- แกนนำเยาวชนได้มีโอกาสในการติดต่อประสานงานกับผู้ใหญ่เอง
- แกนนำเยาวชนได้รู้จักการทำงานร่วมกับบุคคลที่หลายรุ่น หลายวัย และต่างความคิด
- เมื่อเจอกับปัญหาเวลาว่างไม่ตรงกันบ่อยครั้ง เยาวชนจึงเลือกวิธีต่างคนต่างเอากลับไปทำเองบ้านใครบ้านมัน และแต่ละคนก็ได้การเรียนรู้ที่แตกต่างกันกัน เช่น นุ๊กได้ทำงานร่วมกับครอบครัว แต๋ว สา ทำงานร่วมกัน แต่ได้วิธีการใหม่ๆในการเพาะเมล็ดพันธุ์ จากการค้นคว้าทางอินเทอร์เน็ตและทดลองทำกันอย่างจริงจัง
2.ผลต่อแกนนำเยาวชน (การพัฒนาศักยภาพ: มีทักษะ ความรู้ อย่างไรบ้าง) ยกตัวอย่างประกอบ
- เยาวชนมีความกล้าแสดงออกในการสอบถามเกี่ยวกับป่าชุมชนเพิ่มมากขึ้น
- เด็กในชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับแหล่งต้นน้ำที่ใช้ในปัจจุบัน
3.ผลต่อชุมชนเป้าหมาย / ชุมชน (คุณภาพชีวิต, กระบวนการเรียนรู้ของชุมชน, ความร่วมมือ, การสนับสนุน เป็นต้น)
- เด็ก ๆได้เรียนรู้จุดเรียนรู้ที่สำคัญในป่าชุมชน เช่น บอนยักษ์ ต้นตะเคียนทอง ต้นยางใหญ่ที่มีการเผาเอาขี้ใต้มาใช้ในชีวิตประจำวันในสมัยก่อน
- ชาวบ้านมาช่วยในการนำทางขึ้นไปปลูกป่าอากาศยานและยังให้ความรู้เกี่ยวกับการแบ่งเขตเรียกชื่อป่า เช่น ป่าจะค้าน ป่าอู เป็นต้น
- ผู้ปกครองของเด็ก ๆ มาช่วยในการดูแลความปลอดภัยให้กับเด็ก ๆ
4.ผลต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- เด็กในชุมชนรู้จักการใช้ทรัพยากรป่าชุมชนอย่างประหยัด
- เด็กในชุมชนให้ความสำคัญกับป่าชุมชนและอยากอนุรักษ์ป่าชุมชนเพิ่มมากขึ้น
บทเรียน และข้อค้นพบ ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ
- การติดต่อประสานหากเป็นผู้ใหญ่บ้าน ต้องมีการทำหนังสือเชิญเข้าร่วมกิจกรรม และการส่งหนังสือเชิญต้องการล่วงหน้าก่อนอย่างน้อย 15 วัน
- ได้เรียนรู้วิถีการใช้ป่าชุมชนของชาวบ้าน
- ได้เรียนรู้วิธีการเพาะเมล็ดพันธุ์ ที่หลากหลายวิธี โดยเฉพาะการเพาะเม็ดมะค่ามีหลากหลายวิธีมาก เราต้องมีการทดลองว่าวิธีไหนเพาะแล้วงอกมากที่สุด และเราก็รู้ว่า การตัดจุกเม็ดมะค่า แล้วทำแผลรอบ ๆ เปลือกสีดำ จากนั้นนำไปแช่น้ำจนพอง แกะเปลือกสีดำออก แล้วนำลงถุงเพาะ จะขึ้นมากกว่าวิธีอื่น ๆ
- เยาวชนได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาต่างๆ ด้วยตัวเอง ได้เรียนรู้การทำงานเองโดยไม่มีผู้ใหญ่วางแผนการทำงานให้ และได้เรียนรู้ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นด้วยตัวเอง ทำเองรู้จักแก้ปัญหาเอง
อนาคตที่อยากทำต่อ
- ตอนนี้ยังไม่มีแผนในการทำงานต่อเพราะต้องรีบทำโครงงานเพื่อจะเรียนจบ แต่มีความสนใจในงานแบบที่พี่ๆ ปลูกใจรักษ์โลกทำอยู่ รวมทั้งได้เห็นเพื่อนบางกลุ่มในปลูกใจรักษ์โลกปี2 ทำแล้วอยากเข้าไปในพื้นที่ของเขาและช่วยเหลือ เรียนรู้บ้าง อยากลองออกไปเรียนรู้พื้นที่อื่นบ้าง
- บางคนอยากทำค่ายให้กับเด็กในชุมชนของตน ได้มีความรู้ เรื่องสิ่งแวดล้อมต่อๆ ไป
การเรียนรู้ของแกนนำเยาวชน
นายอนุชา ป้อมคำ (นุ๊ก) อายุ 21 ปี
กำลังศึกษา ระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาราชภัฎนครสวรรค์
แรงบันดาลใจที่มาทำกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมหรือเข้ามาร่วมกับกลุ่มเยาวชน
“ทำด้วยใจ มีจิตอาสา มีใจสำนึกรักบ้านเกิด”
บทบาทหน้าที่
- ผู้ช่วยวิทยากรกระบวนการ
- ถ่ายรูปกิจกรรมการทำงาน
- คณะกรรมการของเครือข่าย
- เป็นคนขับรถซื้อของการทำงานและกิจกรรมต่างๆ
ผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ (การเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลง ความสุข ฯ)
“เมื่อก่อนไม่เคยคิดและออกแบบกระบวนการดำเนินงานและกิจกรรม, ไม่เคยทำงานด้านการประสานงาน, ไม่เคยเล่นสันทนาการ แต่ตอนนี้เราได้ร่วมคิดออกแบบกระบวนการดำเนินงานและกิจกรรม, ถ่ายรูปการทำกิจกรรม และเตรียมอาหาร, เล่นสันทนาการ”
น.ส.จิดาภา ดีเทียน (เจน) อายุ 18 ปี
กำลังศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 6 (วิทย์-คณิต) โรงเรียนหนองฉางวิทยา
แรงบันดาลใจที่มาทำกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมหรือเข้ามาร่วมกับกลุ่มเยาวชน
ตอนหนูอยู่ ป.6 ได้เป็นตัวแทนของโรงเรียนไปเข้าค่ายสิ่งแวดล้อมที่ห้วยขาแข้ง ทำให้หนูตระหนักถึงปัญหาของสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ตอนนั้น ต้นไม้ ต้นน้ำ สิ่งแวดล้อมต่างๆกำลังถูกทำลาย สัตว์ป่า สัตว์ต่างๆกำลังจะหายไป หากมนุษย์ยังทำลายธรรมชาติกันอยู่แบบนี้คงไม่ดีแน่ และหนูก็เลยเริ่มที่ตัวหนูเอง ปลูกต้นไม้ ดอกไม้ที่บ้าน ดูแลมันดีๆ ให้มันเติมโตมาได้อย่างสมบูรณ์ แล้วก็ไปค่ายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
จากนั้นตอนประมาณ ม.3 หนูก็ได้เข้าร่วมกับเครือข่ายเยาวชนอาสาพัฒนาบ้านเกิด จากการจัดกิจกรรมวันเด็ก และหนูก็ทำงานกับเครือข่ายเรื่อยมา จากตอนนั้นจนถึงตอนนี้ก็ประมาณ 3 ปีแล้ว และหนูก็จะทำตลอดไป ทั้งกิจกรรมทางด้านสิ่งแวดล้อมและกิจกรรมที่ทำกับเครือข่ายเยาวชนอาสาพัฒนาบ้านเกิด จ.อุทัยธานี
เจน เป็นพี่เลี้ยงชุดเล็กในเครือข่ายเยาวชนพัฒนาบ้านเกิด จ.อุทัยธานี ปล.พี่เลี้ยงชุดเล็กคือคนที่ทำงานกับเครือข่ายเยาวชนอาสามาประมาณ 1-5 ปี ส่วนชุดใหญ่ก็ประมาณ 5-10 ปี
น.ส. จิราภัทร เล่าปิ่นกาญจน์ (เมย์) อายุ 21 ปี
กำลังศึกษา ระดับปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
บทบาทหน้าที่
- การลงทะเบียน เอกสารการเงิน
- การประสานงาน
- การทำตัวอย่างที่ดีเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับน้องๆ
- เป็นผู้ช่วยวิทยากร ในการเตรียมอุปกรณ์
- เป็นผู้ช่วยทีมสันทนาการ
- อื่นๆ เพราะแต่ละหน้าที่ทุกคนย่อมมีส่วนร่วมในการทำงานไม่ว่าจะเป็นความคิดและการกระทำ
- ออกแบบกิจกรรมค่าย, ประสานงาน, ลงพื้นที่เก็บข้อมูลในชุมชน
ผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ (การเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลง ความสุข ฯ)
- ได้ร่วมคิดและวางแผนในการทำงานและทำกิจกรรมต่างๆ
- ได้ฝึกการสังเกตเวลาลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลชุมชน
- ได้ทำหน้าที่ติดต่อประสานงานกับผู้ใหญ่และคนในชุมชนให้มาร่วมงานในโครงการ
- ช่วยบันทึกข้อมูลในระหว่างการทำงาน
- ลงพื้นที่สำรวจป่าชุมชนตัวเองมากขึ้น
แต้ว “ได้เข้าร่วมกิจกรรมลงพื้นที่เก็บเมล็ดพันธุ์, ค้นคว้าหาวิธีเพาะเมล็ดพันธุ์, ลงพื้นที่ศึกษาปัญหาป่าชุมชน, ลงพื้นที่ปลูกป่าชุมชน ทำให้แต้วได้เรียนรู้เกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์ที่จะนำมาปลูกว่าเมล็ดพันธุ์ชนิดใดควรปลูกอย่างไร หรือดินแบบไหน”
ที่ปรึกษากลุ่มเยาวชน
นาย ธนาคิม ดีเทียน (ม่อน) อายุ 28 ปี
บทบาทการหนุนเสริมการทำงานของกลุ่มเยาวชน
- ให้คำปรึกษา แนวทางการแก้ไขปัญหา เวลาดำเนินงานในการทำงานเกี่ยวกับเยาวชน หรือทีมเวลาเจอปัญหาให้แก้ไข
- การให้กำลังใจในการทำงานเพราะทีมบางที่เจอหนักก็ท้อต่อการทำงานเราต้องประคับประคองทีมไปให้ถึงที่หมาย
- การนำอย่างเป็นรูปแบบเพื่อตัวอย่างที่ดี ต้องให้ใจเขาก่อน แล้วจึงจะได้ใจเขากลับมา