โครงการเยาวชนอาสาร่วมใจพัฒนาลดขยะชุมชน(กลุ่ม M.P.W. Conservation the forest จ.ลำปาง)
โครงการเยาวชนอาสาร่วมใจพัฒนาลดขยะชุมชน(กลุ่ม M.P.W. Conservation the forest จ.ลำปาง)
กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
สรุปผลโครงการเยาวชนอาสาร่วมใจพัฒนาลดขยะชุมชน
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

เยาวชนอาสาร่วมใจพัฒนาลดขยะชุมชน


กลุ่ม M.P.W. conservation the forest จ.ลำปาง


กลุ่มเยาวชน M.P.W.CONSERVATION THE FOREST เกิดมาจากการรวมตัวของนักเรียน ชั้น ม.5/1 โรงเรียนแม่พริกวิทยา จ.ลำปาง ที่เห็นว่าป่าที่อยู่ติดกับชุมชนกลายมาเป็นที่ทิ้งขยะกองโต สิงหรัตน์ ใจดา หรือ ป๊อป จึงได้ชักชวนเพื่อนๆในห้อง (ส้ม, แหม่ม, โบ และนุช) มาคิดโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาขยะในป่าชุมชน และนำเสนอต่อโครงการปลูกใจรักษ์โลก ของมูลนิธิกองทุนไทย โดยมีอาจารย์ปรภูมิ อินจับ เป็นที่ปรึกษา เมื่อโครงการผ่านการคัดเลือกก็นำโครงการไปคุยกับเพื่อนๆในห้องเพื่อชักชวนมาเป็นแนวร่วมทำโครงการและได้สมาชิกเพิ่มขึ้นอีก 3 คน รวมเป็นแกนหลักในการทำโครงการ 8 คน ส่วนเพื่อนๆคนอื่นๆจะคอยเป็นกำลังเสริมเข้ามาร่วมกิจกรรมตามที่แกนนำร้องขอ (พ.ศ. 2556)


รายชื่อสมาชิกกลุ่มเยาวชน

1.นายสิงหรัตน์ ใจดา (ป๊อป)หัวหน้าโครงการ

2.นางสาวอรวี จินาเที่ยง (ส้ม)รองหัวหน้าโครงการ

3.นางสาวกฤติยา เทือกศิริ(แหม่ม)เลขานุการ

4.นางสาวนุชนารถ กล่ำพิมาย

5.นางสาวกฤษณา คำษา

6.นายวรานันท์ มาหล้า

7.นายเปรมพีรภูมิ อินจับ

8.นางสาวขนิษฐา สุขประโคน


ข้อมูลพื้นที่ / ชุมชนที่ทำงานเพื่อสิ่งแวดล้อม

ชุมชนบ้านท่าด่าน แม่พริกลุ่ม และบ้านสันป่าสัก เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลแม่พริก อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง มีชาวบ้านอาศัยอยู่ 875 ครัวเรือน มีประชากรทั้งหมด 2,633 คน ชาวบ้านในพื้นที่จะใช้พื้นที่ตามเชิงเขาและริมแม่น้ำสำหรับทำการเกษตร ในแต่ละชุมชนจะมีพื้นที่ป่าชุมชนที่ชาวบ้านใช้ประโยชน์โดยชาวบ้านบ้านท่าด่านใช้ประโยชน์จากป่าที่อยู่ติดหมู่บ้านซึ่งอยู่ทางทิศเหนือ และชาวบ้านบ้านสันป่าสักใช้ประโยชน์จากป่าที่ติดกับหมู่บ้านซึ่งอยู่ทางทิศใต้ แต่ชาวบ้านบ้านแม่พริกลุ่มจะมีการใช้ประโยชน์จากป่าทั้งสองแห่ง เนื่องจากหมู่บ้านแม่พริกลุ่มตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างบ้านท่าด่านกับบ้านสันป่าสัก พื้นที่ป่าในเขตที่ติดกับบ้านท่าด่าน มีเนื้อที่ประมาณ 500 ไร่ มีลักษณะเป็นป่าโปร่ง แห้งแล้งแล้งชุ่มชื้นสลับกัน เป็นพื้นที่ราบและพื้นทีภูเขา คนในชุมชนได้รับประโยชน์หรือใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนโดยการหาของป่าในช่วงฤดูกาลต่างๆ เช่น เห็ดต่างๆ ดอกก้าน แย้ อึ่ง หน่อไม้ เป็นต้น เดิมมีการจัดการป่าชุมชนโดยชุมชนมีการตั้งด่านตรวจผู้เข้ามาหาของป่า เพื่อป้องกันผู้บุกรุก


โจทย์ปัญหา และเหตุผลที่ทำโครงการ

ปัจจุบัน เทศบาลตำบลแม่พริก มีการจัดเก็บขยะตามบ้านเป็นประจำทุก 3 วัน แต่ไม่มีการส่งเสริมให้คนในชุมชนแยกขยะ ส่งผลให้มีปริมาณขยะกองโตจากที่เก็บได้ทั้ง 3 ชุมชน ไปทิ้งยังบ่อขยะที่ตั้งอยู่ติดกับป่าชุมชน ที่อยู่ติดกับชุมชนบ้านท่าด่าน และคนในชุมชนบ้านสันป่าสักเองก็ยังนำขยะ ได้แก่ ที่นอนเก่า กระป๋อง ขวดแก้ว และพลาสติกไปทิ้งในบริเวณป่าชุมชนบ้านสันป่าสัก ซึ่งพื้นที่ที่มีการทิ้งขยะในป่าชุมชนแห่งนี้คิดเป็นเนื้อที่ประมาณร้อยละ 10 ของพื้นที่ป่าชุมชนทั้งหมด กลายเป็นขยะกองโตที่อยู่ในป่าชุมชน นอกจากนี้มีขยะอยู่เป็นจำนวนมาก กระจัดกระจายอยู่ตามจุดต่างๆ ในเขตชุมชนและป่าชุมชน ส่งผลให้ชุมชนไม่น่าอยู่ ขยะส่งกลิ่นเหม็น ดินบริเวณที่มีขยะกองอยู่เสื่อมสภาพ กล้าไม้บริเวณนั้นมีการเจริญเติบโตได้ช้า บางชนิดก็ไม่มีการเจริญเติบโต อากาศในบริเวณที่มีขยะและบริเวณใกล้เคียงมีอากาศที่ไม่บริสุทธิ์ ขยะที่กองอยู่บริเวณนั้นมีขยะทุกประเภททั้งขยะที่เป็นพิษ เช่น ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ กระป๋องยาฆ่าแมลง เป็นต้น ซึ่งขยะเหล่านั้นไม่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้และยังเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมในบริเวณนั้น


เยาวชนกลุ่มนี้ อาศัยอยู่ในชุมชนที่เกิดปัญหา จึงมีแนวคิดที่จะแก้ปัญหานี้ โดยการให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะแล้วนำสื่อที่สะท้อนให้คนในชุมชนรู้ถึงปัญหา ประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมที่ได้รับจากป่าชุมชนและผลกระทบที่เกิดจากการทิ้งขยะ และปลูกฝังให้คนในชุมชนมีความหวงแหนและมีแรงบันดาลใจที่จะร่วมกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในชุมชนและอนุรักษ์ป่าชุมชนไว้


เป้าหมายของโครงการ

สภาพป่าชุมชนและสิ่งแวดล้อมในชุมชนมีปริมาณขยะที่ลดน้อยลง คนในชุมชนสามารถแยกขยะได้อย่างถูกวิธี มีพฤติกรรมการทิ้งขยะที่ดีขึ้น และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้น และคนในชุมชนมีความสามัคคีกันมากขึ้น

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

เยาวชนอาสาร่วมใจพัฒนาลดขยะชุมชน


กลุ่ม M.P.W. conservation the forest จ.ลำปาง


กลุ่มเยาวชน M.P.W.CONSERVATION THE FOREST เกิดมาจากการรวมตัวของนักเรียน ชั้น ม.5/1 โรงเรียนแม่พริกวิทยา จ.ลำปาง ที่เห็นว่าป่าที่อยู่ติดกับชุมชนกลายมาเป็นที่ทิ้งขยะกองโต สิงหรัตน์ ใจดา หรือ ป๊อป จึงได้ชักชวนเพื่อนๆในห้อง (ส้ม, แหม่ม, โบ และนุช) มาคิดโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาขยะในป่าชุมชน และนำเสนอต่อโครงการปลูกใจรักษ์โลก ของมูลนิธิกองทุนไทย โดยมีอาจารย์ปรภูมิ อินจับ เป็นที่ปรึกษา เมื่อโครงการผ่านการคัดเลือกก็นำโครงการไปคุยกับเพื่อนๆในห้องเพื่อชักชวนมาเป็นแนวร่วมทำโครงการและได้สมาชิกเพิ่มขึ้นอีก 3 คน รวมเป็นแกนหลักในการทำโครงการ 8 คน ส่วนเพื่อนๆคนอื่นๆจะคอยเป็นกำลังเสริมเข้ามาร่วมกิจกรรมตามที่แกนนำร้องขอ (พ.ศ. 2556)


รายชื่อสมาชิกกลุ่มเยาวชน

1.นายสิงหรัตน์ ใจดา (ป๊อป)หัวหน้าโครงการ

2.นางสาวอรวี จินาเที่ยง (ส้ม)รองหัวหน้าโครงการ

3.นางสาวกฤติยา เทือกศิริ(แหม่ม)เลขานุการ

4.นางสาวนุชนารถ กล่ำพิมาย

5.นางสาวกฤษณา คำษา

6.นายวรานันท์ มาหล้า

7.นายเปรมพีรภูมิ อินจับ

8.นางสาวขนิษฐา สุขประโคน


ข้อมูลพื้นที่ / ชุมชนที่ทำงานเพื่อสิ่งแวดล้อม

ชุมชนบ้านท่าด่าน แม่พริกลุ่ม และบ้านสันป่าสัก เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลแม่พริก อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง มีชาวบ้านอาศัยอยู่ 875 ครัวเรือน มีประชากรทั้งหมด 2,633 คน ชาวบ้านในพื้นที่จะใช้พื้นที่ตามเชิงเขาและริมแม่น้ำสำหรับทำการเกษตร ในแต่ละชุมชนจะมีพื้นที่ป่าชุมชนที่ชาวบ้านใช้ประโยชน์โดยชาวบ้านบ้านท่าด่านใช้ประโยชน์จากป่าที่อยู่ติดหมู่บ้านซึ่งอยู่ทางทิศเหนือ และชาวบ้านบ้านสันป่าสักใช้ประโยชน์จากป่าที่ติดกับหมู่บ้านซึ่งอยู่ทางทิศใต้ แต่ชาวบ้านบ้านแม่พริกลุ่มจะมีการใช้ประโยชน์จากป่าทั้งสองแห่ง เนื่องจากหมู่บ้านแม่พริกลุ่มตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างบ้านท่าด่านกับบ้านสันป่าสัก พื้นที่ป่าในเขตที่ติดกับบ้านท่าด่าน มีเนื้อที่ประมาณ 500 ไร่ มีลักษณะเป็นป่าโปร่ง แห้งแล้งแล้งชุ่มชื้นสลับกัน เป็นพื้นที่ราบและพื้นทีภูเขา คนในชุมชนได้รับประโยชน์หรือใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนโดยการหาของป่าในช่วงฤดูกาลต่างๆ เช่น เห็ดต่างๆ ดอกก้าน แย้ อึ่ง หน่อไม้ เป็นต้น เดิมมีการจัดการป่าชุมชนโดยชุมชนมีการตั้งด่านตรวจผู้เข้ามาหาของป่า เพื่อป้องกันผู้บุกรุก


โจทย์ปัญหา และเหตุผลที่ทำโครงการ

ปัจจุบัน เทศบาลตำบลแม่พริก มีการจัดเก็บขยะตามบ้านเป็นประจำทุก 3 วัน แต่ไม่มีการส่งเสริมให้คนในชุมชนแยกขยะ ส่งผลให้มีปริมาณขยะกองโตจากที่เก็บได้ทั้ง 3 ชุมชน ไปทิ้งยังบ่อขยะที่ตั้งอยู่ติดกับป่าชุมชน ที่อยู่ติดกับชุมชนบ้านท่าด่าน และคนในชุมชนบ้านสันป่าสักเองก็ยังนำขยะ ได้แก่ ที่นอนเก่า กระป๋อง ขวดแก้ว และพลาสติกไปทิ้งในบริเวณป่าชุมชนบ้านสันป่าสัก ซึ่งพื้นที่ที่มีการทิ้งขยะในป่าชุมชนแห่งนี้คิดเป็นเนื้อที่ประมาณร้อยละ 10 ของพื้นที่ป่าชุมชนทั้งหมด กลายเป็นขยะกองโตที่อยู่ในป่าชุมชน นอกจากนี้มีขยะอยู่เป็นจำนวนมาก กระจัดกระจายอยู่ตามจุดต่างๆ ในเขตชุมชนและป่าชุมชน ส่งผลให้ชุมชนไม่น่าอยู่ ขยะส่งกลิ่นเหม็น ดินบริเวณที่มีขยะกองอยู่เสื่อมสภาพ กล้าไม้บริเวณนั้นมีการเจริญเติบโตได้ช้า บางชนิดก็ไม่มีการเจริญเติบโต อากาศในบริเวณที่มีขยะและบริเวณใกล้เคียงมีอากาศที่ไม่บริสุทธิ์ ขยะที่กองอยู่บริเวณนั้นมีขยะทุกประเภททั้งขยะที่เป็นพิษ เช่น ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ กระป๋องยาฆ่าแมลง เป็นต้น ซึ่งขยะเหล่านั้นไม่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้และยังเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมในบริเวณนั้น


เยาวชนกลุ่มนี้ อาศัยอยู่ในชุมชนที่เกิดปัญหา จึงมีแนวคิดที่จะแก้ปัญหานี้ โดยการให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะแล้วนำสื่อที่สะท้อนให้คนในชุมชนรู้ถึงปัญหา ประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมที่ได้รับจากป่าชุมชนและผลกระทบที่เกิดจากการทิ้งขยะ และปลูกฝังให้คนในชุมชนมีความหวงแหนและมีแรงบันดาลใจที่จะร่วมกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในชุมชนและอนุรักษ์ป่าชุมชนไว้


เป้าหมายของโครงการ

สภาพป่าชุมชนและสิ่งแวดล้อมในชุมชนมีปริมาณขยะที่ลดน้อยลง คนในชุมชนสามารถแยกขยะได้อย่างถูกวิธี มีพฤติกรรมการทิ้งขยะที่ดีขึ้น และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้น และคนในชุมชนมีความสามัคคีกันมากขึ้น


กระบวนการทำงานของกลุ่มเยาวชนในการแก้ไขปัญหาหรือดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน


1. ศึกษาเอกสาร และเก็บข้อมูล ปริมาณขยะในชุมชน

ศึกษาเอกสารข้อมูลเกี่ยวกับขยะ ปัญหาที่เกิดขึ้น ผลกระทบของปัญหา หาแนวทางแก้ไขลดปริมาณขยะในชุมชน ศึกษาการจัดการแยกขยะ จัดทำเอกสารประกอบการให้ความรู้

แกนนำเยาวชนลงพื้นที่สำรวจข้อมูลประเภทและปริมาณขยะในพื้นที่ ขอทำกิจกรรมการคัดแยกขยะในพื้นที่ และขอความร่วมมือในการปรบภูมิทัศน์ทางเข้าบ่อขยะ


2. รับสมัครสมาชิกครอบครัวเข้าร่วมโครงการ และแนะนำวิธีการคัดแยกขยะ

เยาวชนขอความร่วมมือจากผู้ใหญ่ประชาสัมพันธ์โครงการ หลังการประชุมหมู่บ้านเสร็จ เพื่อชักชวนชาวบ้านเข้าร่วมโครงการ ในพื้นที่ 3 หมู่บ้าน โดยมีเนื้อหาในการประชาสัมพันธ์ คือ แนะนำตัว แนะนำโครงการ เล่าสถานการณ์ปัญหาขยะในชุมชน ผลกระทบที่เกิดขึ้น แนวทางการจัดการขยะ และกิจกรรมของโครงการ มีครอบครัวที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 55 ครอบครัว แบ่งเป็นบ้านท่าด่าน 39 ครัวเรือน บ้านสันป่าสัก 10 คัวเรือน และบ้านแม่พริกลุ่ม 8 ครัวเรือน


3. กิจกรรมรณรงค์ ส่งเสริมให้ลดปริมาณขยะในชุมชน

ลงพื้นที่ “เก็บ แลก แยก ขาย”

เมื่อเยาวชนรับสมัครครอบครัวที่เข้าร่วมโครงการแล้ว แกนนำนำรายชื่อมาสอบถามที่ตั้งบ้านกับผู้ใหญ่บ้าน ศึกษาเส้นทางการลงชุมชน และนำถุงขยะไปแจก ช่วงเริ่มต้นดำเนินกิจกรรม น้องขอความร่วมมือให้ชาวบ้านแยกขยะทั่วไป รวบรวมขยะเพื่อขาย ชั่งปริมาณขยะ จดบันทึกและนำขยะไปขายให้

เมื่อแกนนำเยาวชนมาค่ายพัฒนาศักยภาพระหว่างโครงการ พี่เลี้ยงแนะนำให้น้องวัดปริมาณทั่วไป ก่อนส่งให้รถขยะของเทศบาล เพื่อหาปริมาณขยะที่ส่งไปที่บ่อขยะ ทำให้ทราบว่า ปริมาณขยะในครัวเรือนลดลงและส่งผลให้ปริมาณขยะในบ่อลดลงด้วยหรือไม่ โดยน้องใช้วิธีวัดปริมาณขยะเป็นหน่วยถุงดำ เท่ากับ 6 กิโลกรัม เพื่อให้ชาวบ้านง่ายต่อการจดบันทึก และชาวบ้านเป็นผู้ขายขยะให้รถรับซื้อขยะเอง

จัดการแข่งขัน “ครอบครัวแยกขยะดีเด่น”

เป็นกิจกรรมที่จัด 3 เดือนแรก เพื่อกระตุ้นส่งเสริมให้ชาวบ้านคัดแยกขยะ ประกาศรางวัลทุกเดือน สิ่งของที่ให้เป็นรางวัล คือ ของใช้อุปโภคและบริโภค เช่น น้ำมัน น้ำปลา กระดาษทิชชู เป็นต้น


4. สรุปผลโครงการ

รวบรวมข้อมูลและสรุปปริมาณขยะแต่ละประเภท นำเสนอให้กับสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ และจัดกิจกรรมระดมความคิดเห็นการจัดการขยะในโรงเรียนต่อกับเพื่อนในห้องเรียน นำเสนอผลการดำเนินโครงการให้ผู้อำนวยการโรงเรียน และหาแนวทางทำกิจกรรมต่อไป


ผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ

1) ผลที่เกิดขึ้น (ทั้งด้านบวกและลบ) ต่อ ชุมชน + สิ่งแวดล้อม + กลุ่มเยาวชน

ผลต่อชุมชน

  • ชาวบ้านให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมของเยาวชน เกิดกลุ่มสมาชิกคัดแยกขยะ เมื่อเยาวชนลงพื้นที่ชาวบ้านให้ความร่วมมือ ต้อนรับดี อยู่ตามบ้าน พูดคุยทักทาย และชาวบ้านแยกขยะรอได้ให้เยาวชนวัดปริมาณขยะ เยาวชนเป็นตัวแทนในการนำไปขายให้ นอกจากนี้เทศบาลตำบลแม่พริก ให้ความร่วมมือช่วยปรับภูมิทัศน์ทางเข้าบ่อขยะ เก็บขยะเฟอร์นิเจอร์ และทำถนนให้ดีขึ้น
  • เยาวชนคิดว่า กิจกรรมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด คือการประชาสัมพันธ์
  • “ เราได้ประชาสัมพันธ์ผ่านเสียงตามสาย ในขณะเดียวกันเวลาที่เราพูดออกเสียงตามสายเราก็จะให้ความรู้ในเรื่องสิ่งแวดล้อมและการจัดการขยะให้กับชุมชน สิ่งที่ประสบความสำเร็จน้อยที่สุดคือการจัดเวทีในชุมชนเพราะเรานำโครงการไปเสนอให้กับผู้ใหญ่บ้านเพื่อจะขอรับการสนับสนุน ผลการตอบรับคือมีหมู่บ้านตอบรับว่าจะให้การร่วมมือทำต่อกับโครงการ แต่มีหนึ่งหมู่บ้านที่ตอบรับกลับมาไม่ดี ซึ่งไม่ค่อยให้ความร่วมมือเท่าที่ควร วิธีการแก้ของเราคือเราได้ลงพื้นที่ไปทำกับสองหมู่บ้านเพื่อให้เป็นตัวอย่างให้กับหมู่บ้านนั้นเพื่อจูงใจให้เข้าร่วมกิจกรรม”
  • ผลที่เกิดขึ้นกับกลุ่มเยาวชน คือ เกิดการเรียนรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมกับมูลนิธิกองทุนไทย การเรียนรู้นอกพื้นที่ และจากการทำกิจกรรมทำให้ฝึกทักษะการทำงานเป็นทีม การคิดวางแผนอย่างเป็นระบบมากขึ้น เป็นแกนนำในการทำกิจกรรมในโรงเรียน และได้เรียนรู้พฤติกรรมการแยกขยะของชาวบ้านว่าเขามีการแยกขยะอย่างไร และมีการเปลี่ยนไปอย่างไรหลังการทำโครงการ และเรียนรู้จะการทำค่ายคือมีคนหลายคนแต่ละคนที่มาอยู่ด้วยกันก็มีความคิดต่างกันไม่ว่าการมองถึงปัญหาต่างๆ ถึงก็มีการเรียนรู้ไปพร้อมกันกับน้อง


ปัจจัยอะไรที่ทำให้เกิดความสำเร็จ / ล้มเหลว

  • ปัจจัยที่ทำให้เกิดความสำเร็จ คือ แกนนำเยาวชนอยู่ในพื้นที่ เมื่อเยาวชนติดต่อประสานงาน ได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านดี มีการลงพื้นที่สม่ำเสมอ ชาวบ้านเห็นความตั้งใจของเยาวชน
  • ความตั้งใจและการช่วยเหลือกันในกลุ่มแกนนำ เยาวชนกลุ่มนี้เป็นเพื่อนกลุ่มเดียวกัน เมื่อมีปัญหาก็ช่วยกันคิดแก้ปัญหา ประสานงานและทำกิจกรรมได้ทันที นอกจากนี้การทำโครงการทำให้เกิดความสนิทสนมเพิ่มขึ้น แกนนำกลุ่มนี้บอกว่าไม่เคยทะเลากันรุนแรง มีเถียงกัน ตักเตือนกันบ้าง แต่ก็จบในงาน ช่วยกันทำการบ้านและงานอื่นของโรงเรียนต่อ


คุณค่าจากการทำโครงการ

  • ได้รับความสุขจากกิจกรรมลงชุมชน ประทับใจที่ชาวบ้านให้ความร่วมมือ และเห็นว่ามีน้องในโรงเรียนอยากทำต่อ
  • การดึงให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ยังเห็นไม่ชัด แต่ชุมชนเห็นความสำคัญของกลุ่มเยาวชนในหมู่บ้าน สนับสนุนพื้นที่รวมตัว อำนวยความสะดวกช่วยประสานงานและให้ประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย


ต้นทุนเดิม (เครือข่าย, ความรู้, ทักษะ) ของกลุ่มเยาวชน

ด้านทักษะ เยาวชนทำกิจกรรมในโรงเรียน รู้จักครู/อาจารย์ในโรงเรียน มีจิตใจอยากทำประโยชน์เพื่อส่วนร่วม เมื่อขอความช่วยเหลือจากโรงเรียน จึงได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี

ด้านความรู้/ประสบการณ์ การทำโครงการเรื่องการจัดการขยะในชุมชน น้องๆ เยาวชนกลุ่มนี้ไม่เคยทำมาก่อน แต่มีเพื่อนในห้องเรียนที่เคยทำโครงการการลดขยะร่วมกับเทศบาล จึงชักชวนเพื่อนเข้ามาช่วยคิดและทำโครงการร่วมกัน


อนาคตที่อยากทำต่อ

สิ่งที่จะทำต่อไปในพื้นที่และชุมชน คือ แกนนำเยาวชนระดมความคิดเห็นปัญหาขยะในโรงเรียน ทำกิจกรรมร่วมกับรุ่นน้อง กระตุ้นความสนใจการทำกิจกรรมการจัดการขยะในโรงเรียน อาจจะจัดตั้งเป็นกลุ่มชมรม ควบคู่กับการจัดการขยะในชุมชนต่อไป


การเรียนรู้ของแกนนำเยาวชน



นายสิงหรัตน์ ใจดา (ป๊อบ) อายุ 17 ปี

กำลังศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 5 (วิทย์-คณิต) โรงเรียนแม่พริกวิทยา


ป๊อบ เป็นหัวหน้าโครงการในกลุ่มเยาวชน ทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ จัดกิจกรรม ตรวจสอบความเรียบร้อยของโครงการและแก้ปัญหาเบื้องต้นในระหว่างการทำงานและหลังสรุปผลการทำงาน


ผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ

  • มีทักษะการบริหารจัดการ การวางแผนงาน มีความเป็นผู้นำมากขึ้น และการทำงานเป็นทีม 
  • ได้เรียนรู้การทำกิจกรรมสันทนาการ
  • ได้ฝึกประสานงานและทำกิจกรรมร่วมกับชุมชน
  • ได้รู้กระบวนการประสานงานระหว่างกลุ่มเยาวชนกับองค์กรต่างๆ
  • มีความกล้าแสดงออก และฝึกการสื่อสารการนำเสนอในที่สาธารณะ
  • ได้ความรู้เรื่องการจัดการขยะในชุมชน



นางสาวอรวี จินาเที่ยง (ส้ม) อายุ 16 ปี

กำลังการศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 5 (วิทย์-คณิต) โรงเรียนแม่พริกวิทยา


ส้ม ทำหน้าที่จดบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นในการเข้าทำโครงการหรือร่วมกับกลุ่มเยาวชนแต่ละครั้ง ช่วยประธานกลุ่มในการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ และทำหน้าที่ดูแลหรือช่วยเหลือสมาชิกในการทำโครงการแต่ละครั้ง


ผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ

  • ฝึกการคิดวางแผนการทำงาน กล้าคิดกล้าแสดงออก
  • มีทักษะในการสังเกตพฤติกรรมการดำเนินชีวิตและการจัดการขยะของคนในชุมชน
  • มีทักษะการทำกิจกรรมในชุมชน รู้จักคนในชุมชนมากขึ้น ฝึกการประสานงานกับผู้ใหญ่
  • มีความรอบคอบในการจัดเตรียมอุปกรณ์ก่อนนำเสนอโครงการ
  • สามารถจัดลำดับข้อมูลในการนำเสนอได้




นางสาวกฤติยา เทือกศิริ (แหม่ม) อายุ 17 ปี

กำลังศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 5 (วิทย์-คณิต) โรงเรียนแม่พริกวิทยา


แหม่ม เป็นสมาชิกกลุ่มซึ่งทำหน้าที่ค่อยช่วยเหลือและแสดงความคิดเห็นและทำงานตามที่รับมอบหมาย และช่วยจดบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ จัดทำเอกสารเพื่อใช้ในโครงการ และลงพื้นที่ให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะ


ผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ

  • รู้สึกภาคภูมิใจที่ได้ทำงาน เพื่อส่วนรวม
  • ได้รับความรู้และวิธีการจัดทำเอกสาร
  • ได้รับความร่วมมือจากเพื่อน
  • มีความรับผิดชอบมากขึ้น
  • ได้ทำกิจกรรมต่างๆ ในโครงการ
  • ได้รับความร่วมมือจากชาวบ้าน


พี่เลี้ยง/ที่ปรึกษา

­

ดร.ปรภูมิ อินจับ (ครูรุ่ง) อายุ 40 ปี

ครูฟิสิกส์ โรงเรียนแม่พริกวิทยา จ. ลำปาง


บทบาทของครูรุ่ง คือ การสนับสนุนให้เยาวชนคิด และทำกิจกรรม ช่วยประสานงานพื้นที่ก่อนเยาวชนดำเนินโครงการ ขอความร่วมมือหน่วยงานทั้งภายในและภายนอก


ผลที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ (การเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลง ความสุข ฯ)

รู้สึกภาคภูมิใจที่เห็นเยาวชน (นักเรียน) เกิดการเปลี่ยนแปลงกระบวนการคิด การสื่อสาร มีความรับผิดชอบ ประทับใจที่เห็นนักเรียนลงชุมชน ชาวบ้านให้การสนับสนุนกิจกรรมของนักเรียน และคิดทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน จัดการขยะในโรงเรียนแม่พริกต่อไป


ด้านเครือข่าย สมาชิกในโครงการ อยู่ในหมู่บ้านที่จัดกิจกรรม จึงได้รับความสะดวกในการประสานงานและติดต่อผู้ใหญ่บ้าน ประกอบกับครู (พี่เลี้ยงโครงการ) มีความน่าเชื่อถือ เคยทำโครงการในพื้นที่ จึงเป็นต้นทุนทางสังคมที่ดี

­

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ