โครงการปลูกต้นน้ำคืนชีวิต
โจทย์ปัญหา
ในปีที่ 1 กลุ่ม CD Power ได้ลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลพื้นที่ป่าต้นน้ำของบ้านต้นปริง และได้พบว่าฤดูแล้งไม่มีน้ำใช้ ฤดูฝนมีน้ำแต่ไม่สามารถเก็บน้ำได้ และมีการพังทลายของหน้าดิน แกนนำจึงได้ทำกิจกรรมร่วมกับชุมชนคือการปลูกหญ้าแฝกและการสร้างฝาย หลังจากได้ทำกิจกรรมเสร็จ แกนนำก็ลงไปติดตามผล พบว่าหญ้าแฝกที่ปลูกขึ้นแค่บางจุด และฝายที่สร้างไว้แทนที่จะเก็บน้ำกลับกลายเป็นที่เก็บทราย และยังขาดการเอาใจใส่ดูแลของชาวบ้าน
จากการลงไปติดตามผลทางกลุ่มได้กลับมาประชุม เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหา โดยในปีที่ 2 กระบวนการที่ทางกลุ่มได้วางไว้จะถูกถ่ายโอนให้เป็นหน้าที่ของชุมชน โดยมีการจัดตั้งกลุ่มแกนนำในระดับผู้ใหญ่และกลุ่มเยาวชนในชุมชน ซึ่งมีการสืบค้นข้อมูลและการจัดการข้อมูล เพื่อใช้ในการสร้างความรู้แก่ชุมชน จัดกิจกรรมเพื่อสร้างความรู้ สร้างจิตสำนึก สร้างการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ การแสดงพลัง การดูแลป่าต้นน้ำ โดยผ่านกิจกรรมต่างๆ ดังนั้นหากโครงการดำเนินแล้วเสร็จ ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับคือ มีข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ป่าต้นน้ำของชุมชน เพื่อใช้ในการเผยแพร่ความรู้ให้กับชาวบ้านและเยาวชน เยาวชนและชาวบ้านได้มีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักและมีจิตสำนึก ตลอดจนแสดงพลังในการดูแลอนุรักษ์ป่าต้นน้ำอย่างยังยืน
เป้าหมาย :
เพื่อให้ความรู้แก่ชุมชน สร้างจิตสำนึก สร้างการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ การแสดงพลัง การดูแลป่าต้นน้ำ โดยผ่านกิจกรรมต่างๆ และเพื่อใช้ในการเผยแพร่ความรู้ให้กับชาวบ้านและเยาวชน เยาวชนและชาวบ้านได้มีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักและมีจิตสำนึก ตลอดจนแสดงพลังในการดูแลอนุรักษ์ป่าต้นน้ำอย่างยังยืน
โครงการปลูกต้นน้ำคืนชีวิต
กลุ่ม CD power
แกนนำเยาวชนมี 5 คน เป็นนักศึกษาวิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎ มีรายชื่อดังนี้
- นางสาวจุรีรัตน์ ประหลาดมานิต (กิ่ง) กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
- นางสาววาสนา พรมนุ้ย (ปู) กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
- นายเกรียงไกร สองไทย (หนุ่ม) กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
- นายสุทธิพงษ์ จูเอ้ง (บอย) กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
- นายอภิวัฒน์ เทอดเกียรติ (ซัน) กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
ที่ปรึกษาโครงการ อาจารย์กัลยาภัสร์ อภิโชติเดชาสกุล
อาจารย์ประจำโปรแกรมวิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
E-mail : Sumalee_2556@hotmail.co.th
พี่เลี้ยงกลุ่ม นายสมศักดิ์ ชูช่วยคำ ปริญญาตรีนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่สงขลาฟอรั่ม ฝ่ายวิชาการและงานปฏิบัติการ
โจทย์ปัญหา
ในปีที่ 1 กลุ่ม CD Power ได้ลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลพื้นที่ป่าต้นน้ำของบ้านต้นปริง และได้พบว่าฤดูแล้งไม่มีน้ำใช้ ฤดูฝนมีน้ำแต่ไม่สามารถเก็บน้ำได้ และมีการพังทลายของหน้าดิน แกนนำจึงได้ทำกิจกรรมร่วมกับชุมชนคือการปลูกหญ้าแฝกและการสร้างฝาย หลังจากได้ทำกิจกรรมเสร็จ แกนนำก็ลงไปติดตามผล พบว่าหญ้าแฝกที่ปลูกขึ้นแค่บางจุด และฝายที่สร้างไว้แทนที่จะเก็บน้ำกลับกลายเป็นที่เก็บทราย และยังขาดการเอาใจใส่ดูแลของชาวบ้าน
จากการลงไปติดตามผลทางกลุ่มได้กลับมาประชุม เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหา โดยในปีที่ 2 กระบวนการที่ทางกลุ่มได้วางไว้จะถูกถ่ายโอนให้เป็นหน้าที่ของชุมชน โดยมีการจัดตั้งกลุ่มแกนนำในระดับผู้ใหญ่และกลุ่มเยาวชนในชุมชน ซึ่งมีการสืบค้นข้อมูลและการจัดการข้อมูล เพื่อใช้ในการสร้างความรู้แก่ชุมชน จัดกิจกรรมเพื่อสร้างความรู้ สร้างจิตสำนึก สร้างการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ การแสดงพลัง การดูแลป่าต้นน้ำ โดยผ่านกิจกรรมต่างๆ ดังนั้นหากโครงการดำเนินแล้วเสร็จ ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับคือ มีข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ป่าต้นน้ำของชุมชน เพื่อใช้ในการเผยแพร่ความรู้ให้กับชาวบ้านและเยาวชน เยาวชนและชาวบ้านได้มีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักและมีจิตสำนึก ตลอดจนแสดงพลังในการดูแลอนุรักษ์ป่าต้นน้ำอย่างยังยืน
เป้าหมาย :
เพื่อให้ความรู้แก่ชุมชน สร้างจิตสำนึก สร้างการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ การแสดงพลัง การดูแลป่าต้นน้ำ โดยผ่านกิจกรรมต่างๆ และเพื่อใช้ในการเผยแพร่ความรู้ให้กับชาวบ้านและเยาวชน เยาวชนและชาวบ้านได้มีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักและมีจิตสำนึก ตลอดจนแสดงพลังในการดูแลอนุรักษ์ป่าต้นน้ำอย่างยังยืน
กระบวนการขั้นตอนการปฏิบัติงาน
กิจกรรม 1 ศึกษาและจัดการข้อมูล ป่าต้นน้ำ บ้านต้นปริง
1.1 รวบรวมข้อมูลที่มีอยู่ จากการศึกษาข้อมูลในปีที่ 1
1.2 ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆในชุมชน
1.3 บรรยายสภาพโดยรวมของป่า
1.4 วาดรูปป่าในฝัน
กิจกรรม 2 จัดกิจกรรมสร้างความรู้ สร้างจิตสำนึกในการฟื้นฟูและอนุรักษ์พื้นที่ป่าต้นน้ำ บ้านต้นปริง
2.1 ออกแบบกิจกรรมและประชุมเตรียมงาน
2.2 ประสานงานประชาสัมพันธ์
2.3 ฉาย VDO สภาพปัญหาเกี่ยวกับป่าต้นน้ำในชุมชน
2.4 ต่อจิกซอสภาพปัญหา (สันทนาการ)
2.5 เดินรณรงค์ปลูกจิตสำนึก
2.6 จัดทำ AAR
กิจกรรม 3 ปฏิบัติการแสดงพลังในการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ บ้านต้นปริง
3.1 ดำเนินการตามที่ชุมชนได้ออกแบบร่วมกับแกนนำ
3.2 ศึกษาดูงานคลองแดน
3.3 จัดกิจกรรมบวชป่า ปลูกต้นไม้วันเด็ก ปลูกต้นไม้วันสำคัญ
กิจกรรม 4 สรุปผลการดำเนินงานโครงการ
กระบวนการทำงานของกลุ่ม
“การบุกลุกทำลายป่าเพื่อเพิ่มพื้นที่สวนยางพาราของคนในชุมชนป่าต้นน้ำบ้านต้นปลิง” ต.คลองหรัง อ. นาหม่อม จ. สงขลา คือประเด็นปัญหาที่แกนนำเยาวชนกลุ่ม CD Power ใช้เป็นโจทย์สร้างเรียนรู้ทักษะชีวิต การทำงานเป็นทีมและสร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมืองให้กับตนเอง โดยกระบวนการดำเนินงานของโครงการปลูกต้นน้ำ คืนชีวิต เริ่มจากการ ศึกษาสภาพปัญหาและผลกระทบจากการบุกลุกทำลายพื้นที่ป่าต้นน้ำ สร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่เด็กเยาวชนและคนในชุมชน จัดกิจกรรมปลูกฝังจิตสำนึกและสร้างการมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าต้นน้ำร่วมกับคนในชุมชน สุดท้ายคือการทบทวนบทเรียนที่ได้จากการทำงาน (AAR) มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและปลูกฝังจิตสำนึกให้คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการฟื้นฟูและอนุรักษ์พื้นที่ป่าต้นน้ำ พ.ศ. 2556 – พ.ศ. 2557 กว่า 2 ปีที่นักศึกษาคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิชาเอกการพัฒนาชุมชน ซึ่งเป็นแกนนำกลุ่ม CD Power ได้ฝึกฝนตนอยู่กับสภาพปัญหาที่แม้หน่วยงานระดับนโยบายเองก็ยังแก้ไขอะไรได้ไม่มากนัก ซึ่งการได้เรียนรู้อยู่กับความจริงบนพื้นที่ของชุมชน จะสร้างนักพัฒนารุ่นใหม่ ให้มีหัวใจพลเมืองได้หรือไม่ อย่างไร
แกนนำเยาวชนกลุ่ม CD Power เล่าประสบการณ์ทำงานให้ฟังว่า จากการลงศึกษาชุมชน บ้านต้นปลิง พบว่า มีลำคลองที่ตัดผ่านชุมชนและสวนยางของชาวบ้าน ซึ่งในอดีตมีความสำคัญต่อวิถีของผู้คนในชุมชน เช่น ใช้ในการอุปโภค บริโภค ใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ แต่ปัจจุบันเมื่อมีระบบนำประปาทำให้คลองเสื่อมโทรมเพราะชาวบ้านไม่ได้ใช้ประโยชน์จากคลองและยังเกิดปัญหาการกัดเซาะตลิ่งทั้ง 2 ฝั่งคลองทำให้ชาวบ้านสูญเสียพื้นที่กำกิน ช่วงปีที่ 1 ของโครงการ ทางกลุ่มเลยเลือกการทำฝายชะลอน้ำและปลูกหญ้าแฝกป้องกันตลิ่งพัง แต่ก็พบว่า ฝายไม่สามารถทำให้น้ำอยู่ในคลองได้ตลอด และหญ้าแฝกที่ปลูกไว้ส่วนใหญ่ตายเกือบหมด ซึ่งอาจเกิดจากขาดคนดูแลอย่างต่อเนื่องรวมถึงอาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ดังนั้นการดำเนินงานโครงการในปีที่ 2 จึงให้ความสำคัญเกี่ยวกับการศึกษาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาว่าเกิดจากอะไร จนพบว่า การที่ชาวบ้านเข้าไปบุกลุกและทำลายพื้นที่ป่าต้นน้ำเพื่อปลูกยางพาราทำให้สูญเสียระบบนิเวศน์ป่าจนส่งผลให้มาสู่คลองและพื้นที่ชุมชนปลายน้ำอื่นๆ เช่น หน้าฝนกระแสน้ำไหลแรงทำให้ตลิ่งพังเพราะไม่มีต้นไม้ใหญ่และนิเวศน์อื่นชะลอแรงน้ำได้ หน้าแร้งก็เช่นกันไม่มีน้ำเพราะไม้มีต้นไม้ใหญ่และระบบนิเวศน์อื่นซึ่งเป็นแหล่งกำเกิดน้ำ และกระแสน้ำหลากได้ชะล้างความอุดมสมบูรณ์ของหน้าดินพร้อมกับพัดพาตะกอนทรายไปทับทมไว้ในพื้นที่คลอง อีกทั้งอาจมีการป่นเปื้อนของสารเคมีจากสวนยางปะปนไปกับกระแสน้ำที่ไหลลงสู่พื้นที่ปลายน้ำอีกด้วยนอกจากนี้ยังทำให้ชุมชนสูญเสียพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจของคนในชุมชนเพราะอดีตชุมชนเคยมีน้ำตกที่มีน้ำไหลตลอดปีแต่ตอนนี้จะมีน้ำเฉพาะตอนฤดูฝนเท่านั้นฯลฯ หลังจากรับทราบสาเหตุและผลกระทบแล้ว ทางกลุ่มได้ลงพื้นที่พบปะพูดคุยสร้างความเข้าใจกับคนในชุมชน จากนั้นก็จัดกิจกรรมวาดภาพป่าในฝันกับเด็กๆในชุมชน ต่อมา จัดกิจกรรมบวชป่าเพื่อป้องกันการตัดต้นไม่ใหญ่รวมถึงปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าร่วมกับคนในชุมชน เป็นต้น
การได้ทำงานโครงการฯที่ผ่านมาได้ฝึกฝนทักษะในการทำกระบวนการกลุ่ม รู้จักนำสิ่งที่ได้เรียนในภาคทฤษฎีไปเชื่อมโยงกับการทำงานจริงในชุมชน ทำให้เข้าใจสิ่งที่เรียนรู้ในห้องเรียนได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม การได้ทำงานกับชุมชนจริงๆยังทำให้รู้ว่าการทำโครงการพัฒนาอะไรสักอย่างต้องศึกษาสาเหตุและผลกระทบที่เกิดขึ้นให้ชัดเจน พอเรารับรู้ผลกระทบของชาวบ้านในชุมชนมันก็เหมือนกับการค้นพบแรงบันดาลในการทำงาน ทำให้เราฮึดสู้ และมีความมุ่งมั่นในการที่จะร่วมแก้ไขปัญหาให้กับชุมชน และทำให้มีจิตสำนึกที่จะเสียสละผลประโยชน์ของตนเพื่อส่วนรวม นางสาววาสนา พรมนุ้ย (ปู) อายุ 22 ปี สะท้อนความรู้ถึงสิ่งที่รับจากโครงการฯ และนางสาวจุรีรัตน์ ประหลาดมานิต (กิ่ง) อายุ 20 ปี เป็นแกนนำอีกคนที่สะท้อนสิ่งที่ได้รับว่าจากการทำงานในโครงการ ด้วยว่า การเป็นนักศึกษาที่อยู่แต่ในห้องเรียนนั้น ไม่สามารถจะทำประโยชน์อะไรให้กับใครได้เลย แล้วชีวิตจะมีความหมายหรือคุณค่าได้อย่างไร แต่หากเราใช้กำลังความสามารถของการเป็นนักศึกษาช่วยเหลือคนอื่นได้ ตัวเราเองจะรู้สึกว่าชีวิตนั้นมีคุณค่าและมีความหมาย รู้สึกภูมิใจที่ได้ใช้กำลังความสามารถของตนเองในการช่วยเหลือสังคม การได้ลงชุมชนไม่ใช่แค่ไปทำโครงการแต่ทำให้เราไปสัมผัสกับความจริงที่สร้างประสบการณ์ สัมผัสกับบางชีวิตที่กำลังลำบาก แม้มันจะอยู่นอกเส้นทางของการทำงาน แต่การได้ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับชีวิตของคนเพียงหนึ่งคน นั้นอาจนำมาซึ่งการได้รับความไว้วางใจจากคนอีกจำนวนมาก ซึ่งเมื่อได้รับความไว้วางใจเราจะทำอะไรเขาก็ช่วยเหลือ ด้าน นายเกรียงไกร สองไทย (หนุ่ม) อายุ 20 ปี แกนนำเยาวชนที่ได้ร่วมสะท้อนประสบการณ์จากการทำงานที่ผ่านมาว่า การทำงานที่ผ่านมาได้พัฒนากระบวนการคิดใหม่ คิดอะไรเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง เมื่อก่อนการแก้ปัญหาในการทำงานต้องรอให้อาจารย์หรือใครสั่งก่อนถึงจะทำ แต่การทำงานโครงการสอนให้คิดใหม่ว่า ต้องแก้ปัญหาต่างๆทันทีโดยไม่ต้องรอใครมาสั่ง สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ การทำงานที่ผ่านมาทำให้มีประสบการณ์ ในด้านกระบวนการคิด กระบวนการทำงาน เราสามารถเริ่มได้จากเรื่องใกล้ตัวทำจากเรื่องเล็กๆแล้วเรื่องเล็กๆจะนำเราไปเรียนรู้และเข้าใจเรื่องที่ใหญ่กว่า
นอกจากนี้สมาชิกกลุ่ม CD Power ยังได้ร่วมกันสรุปคุณค่าจากการดำเนินงานโครงการ ปลูกต้นน้ำ คืนชีวิต เอาไว้ว่า ประโยชน์ที่ชุมชนได้รับจากการดำเนินงาน คือ คนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพปัญหาและผลกระทบจากการบุกลุกทำลายพื้นที่ป่าต้นน้ำ เด็ก เยาวชนและคนในชุมชนเกิดจิตสำนึก หันมาใส่ใจและมีส่วนร่วมต่อการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ ในอนาคตจากการทำกิจกรรมของโครงการอาจช่วยเพิ่มพื้นที่ป่าได้จำนวนมากหากคนในชุมชนติดตามดูแลพันธุ์ไม้ที่ปลูกไว้และไม่ทำลายต้นไม้ใหญ่ที่ได้ทำพิธีกรรมบวชป่าเอาไว้ ในส่วนคุณค่าที่เกิดขึ้นกับแกนนำเยาวชน คือ แกนนำรู้สึกผูกพันกับป่าเพราะได้ทำงานอยู่กับป่า รู้สึกผูกพันกับคนในชุมชนเพราะเขาก็รักและเอ็นดูเราเหมือนกับลูกหลานของเขาเอง เพิ่มศักยภาพในการทำงานให้กับแกนนำ เราสามารถนำประสบการณ์จากตรงนี้ไปใช้ในชีวิตการทำงานได้จริงเพราะพวกเราเรียนวิชาเอก การพัฒนาชุมชน การทำงานฝึกให้เรากระตือรือร้นและมุ้งมั่น เอาจริงเอาจังกับการทำงานที่ได้รับมอบหมาย รู้สึกห่วงแหนทรัพยากรธรรมชาติ แม้ทรัพยากรเหล่านั้นจะไม่ได้อยู่ที่บ้านของเราแต่ก็เป็นทรัพยากรของชาติที่เขาควรช่วยกันรักษา