โครงการห้องเรียนประวัติศาสตร์ชุมชนบ้านบ่อทรัพย์ กลุ่ม จิตใสอาสา
โครงการห้องเรียนประวัติศาสตร์ชุมชนบ้านบ่อทรัพย์ กลุ่ม จิตใสอาสา
กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
สรุปบทเรียนโครงการแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชุมชนวัดบ่อทรัพย์
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

โครงการแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชุมชนวัดบ่อทรัพย์


โจทย์ปัญหา

เนื่องจากชุมชนวัดบ่อทรัพย์มีแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ที่มีคุณค่า เช่น สุสานต้นตระกูล ณ สงขลา, วัดโบราณ เช่น วัดภูผาเบิก วัดศิริวรรณาวาส วัดบ่อทรัพย์ วัดสุวรรณคีรี เป็นต้น, บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์รูปปั้นเจ้าป่าเจ้าเขา แต่ปัจจุบันเด็กและเยาวชนรวมถึงคนในชุมชน และคนสงขลาไม่รู้เรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของชุมชนวัดบ่อทรัพย์ ว่าสถานที่แห่งนี้ในอดีตคือต้นกำเนิดของเมืองสงขลาและไม่เห็นความสำคัญ และเรื่องราวในประวัติศาสตร์ไม่ได้ถ่ายทอดให้ลูกหลานในชุมชน รวมถึงไม่เห็นคุณค่าของโบราณสถานที่มีอยู่ เมื่อเป็นเช่นนี้ทำให้เกิดความขัดแย้งในชุมชนในหลายเรื่อง เกิดความเห็นแก่ตัวและมีการทำผิดกฎหมายกันมาก


ดังนั้น กลุ่มจิตใสอาสา จึงเกิดแนวคิดคืนชีวิตให้เส้นทางประวัติศาสตร์ชุมชนวัดบ่อทรัพย์ขึ้น โดยลงพื้นที่ศึกษาแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ชุมชนวัดบ่อทรัพย์ เพื่อเป็นการเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์และฟื้นเส้นทางประวัติศาสตร์เส้นทางนี้อีกครั้ง และปลูกจิตสำนึกให้กับลูกหลานและเยาวชนในชุมชนนี้ให้สำนึกรักบ้านเกิด และเปิดให้สาธารณชนที่สนใจได้เข้ามาศึกษาและเยี่ยมชม จนทำให้สามารถลดปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นได้ และทำให้ชุมชนหันมาพัฒนาบ้านเกิด


อนึ่งแนวคิดต่างๆเป็นการขยายผลมาจาก การดำเนินโครงการของ “ห้องสมุดคาเฟ่เคลื่อนที่พี่สอนน้อง” ในปีที่ 1 ที่ต้องการสร้างแหล่งเรียนรู้ในชุมชน



เป้าหมาย :

เพื่อเป็นการเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์และฟื้นเส้นทางประวัติศาสตร์เส้นทาง ปลูกจิตสำนึกให้กับลูกหลานเยาวชนในชุมชนนี้ให้สำนึกรักบ้านเกิด และเปิดให้สาธารณชนที่สนใจได้เข้ามาศึกษาและเยี่ยมชม ทำให้ชุมชนหันมาพัฒนาบ้านเกิด

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

โครงการแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชุมชนวัดบ่อทรัพย์



แกนนำเยาวชนกลุ่มจิตใสอาสา มี  3 คน เป็นนักเรียนโรงเรียนวัดบ่อทรัพย์  ดังนี้

  1. เด็กหญิงธีรักษ์ จิตรพิทักษ์ (ยา)  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  โรงเรียนวัดบ่อทรัพย์ 
  2. เด็กหญิงพิมพิศา ปาณะ (โอ๊ต)    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  โรงเรียนวัดบ่อทรัพย์ 
  3. เด็กหญิงอารีรัตน์ งาหัตถี (แนน)  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  โรงเรียนวัดบ่อทรัพย์ 
  4. เด็กหญิงณัฐดาวรรณ พูนเมือง (เฟิร์น)  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดบ่อทรัพย์ 
  5. เด็กหญิงศรีสุดา พิมพาชะโร (หนิว) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดบ่อทรัพย์ 



ที่ปรึกษาโครงการ   นางสาววิไลรัตน์ หมัดหลี (นะ) อายุ ๓๗ ปี E-mail : mumena@chaiyol.com 


พี่เลี้ยงกลุ่ม   นายกรกช มณีสว่าง 

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่สงขลาฟอรั่มฝ่ายปฏิบัติการรวบรวมข้อมูลและสารสนเทศเพื่อการสื่อสารสาธารณะและวิทยากรกลุ่มย่อย



โจทย์ปัญหา

เนื่องจากชุมชนวัดบ่อทรัพย์มีแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ที่มีคุณค่า เช่น สุสานต้นตระกูล  ณ สงขลา, วัดโบราณ เช่น วัดภูผาเบิก วัดศิริวรรณาวาส วัดบ่อทรัพย์ วัดสุวรรณคีรี เป็นต้น, บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์รูปปั้นเจ้าป่าเจ้าเขา แต่ปัจจุบันเด็กและเยาวชนรวมถึงคนในชุมชน และคนสงขลาไม่รู้เรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของชุมชนวัดบ่อทรัพย์ ว่าสถานที่แห่งนี้ในอดีตคือต้นกำเนิดของเมืองสงขลาและไม่เห็นความสำคัญ และเรื่องราวในประวัติศาสตร์ไม่ได้ถ่ายทอดให้ลูกหลานในชุมชน รวมถึงไม่เห็นคุณค่าของโบราณสถานที่มีอยู่ เมื่อเป็นเช่นนี้ทำให้เกิดความขัดแย้งในชุมชนในหลายเรื่อง เกิดความเห็นแก่ตัวและมีการทำผิดกฎหมายกันมาก


ดังนั้น กลุ่มจิตใสอาสา จึงเกิดแนวคิดคืนชีวิตให้เส้นทางประวัติศาสตร์ชุมชนวัดบ่อทรัพย์ขึ้น โดยลงพื้นที่ศึกษาแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ชุมชนวัดบ่อทรัพย์ เพื่อเป็นการเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์และฟื้นเส้นทางประวัติศาสตร์เส้นทางนี้อีกครั้ง และปลูกจิตสำนึกให้กับลูกหลานและเยาวชนในชุมชนนี้ให้สำนึกรักบ้านเกิด และเปิดให้สาธารณชนที่สนใจได้เข้ามาศึกษาและเยี่ยมชม จนทำให้สามารถลดปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นได้ และทำให้ชุมชนหันมาพัฒนาบ้านเกิด


อนึ่งแนวคิดต่างๆเป็นการขยายผลมาจาก การดำเนินโครงการของ “ห้องสมุดคาเฟ่เคลื่อนที่พี่สอนน้อง”  ในปีที่ 1 ที่ต้องการสร้างแหล่งเรียนรู้ในชุมชน



เป้าหมาย :

เพื่อเป็นการเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์และฟื้นเส้นทางประวัติศาสตร์เส้นทาง ปลูกจิตสำนึกให้กับลูกหลานเยาวชนในชุมชนนี้ให้สำนึกรักบ้านเกิด และเปิดให้สาธารณชนที่สนใจได้เข้ามาศึกษาและเยี่ยมชม ทำให้ชุมชนหันมาพัฒนาบ้านเกิด



กระบวนการขั้นตอนการปฏิบัติงาน

กิจกรรม 1  การศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลประวัติชุมชนวัดบ่อทรัพย์

1.1  ลงพื้นที่เพื่อสำรวจแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ของชุมชนวัดบ่อทรัพย์ เพื่อเก็บข้อมูลเบื้องต้น(ถ่ายรูปสถานที่,จดบันทึกข้อมูลเบื้องต้น)

1.2  การสืบค้นและศึกษาข้อมูลจากหนังสือและอินเตอร์เน็ต

1.3  ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลประวัติศาสตร์ชุมชนจากพ่อเฒ่า แม่เฒ่าในชุมชน(เรื่องเล่าและภาพเก่าเล่าเรื่องของชุมชน)

1.4  นำข้อมูลและภาพถ่ายมาจัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม

กิจกรรม 2  จัดฝึกอบรม มัคคุเทศก์น้อย

2.1  เชิญวิทยากรมาจัดกระบวนการฝึกอบรม (ทำแผนที่ประวัติศาสตร์ชุมชนและทักษะการเป็นมัคคุเทศก์น้อย) ให้แก่เยาวชนที่ร่วมโครงการ จำนวน 30 คน ระยะเวลา 2วัน

กิจกรรม 3 พัฒนาเส้นทางและพื้นที่การเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ชุมชนวัดบ่อทรัพย์

3.1  ทำเส้นทางการเดินเท้า และทำความสะอาดปรับภูมิทัศน์บริเวณพื้นที่การเรียนรู้ประวัติศาสตร์

กิจกรรม 4  การทำสื่อแนะนำและประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ชุมชนวัดบ่อทรัพย์

4.1  การผลิตสื่อ เช่น ป้ายบอกทาง, ไวนิลประชาสัมพันธ์,บอร์ดแนะนำสถานที่,แผ่นพับใบปลิว

4.2  การติดตั้งสื่อ และดำเนินการประชาสัมพันธ์

กิจกรรม 5  เปิดแหล่งเรียนรู้

5.1 นำเด็กและเยาวชนโรงเรียนวัดบ่อทรัพย์ ไปเรียนรู้เส้นทางประวัติศาสตร์

5.2  ประชาสัมพันธ์เชิญชวนเครือข่ายมาเรียนรู้ยังแหล่งประวัติศาสตร์ชุมชนวัดบ่อทรัพย์

กิจกรรม 6  สรุปผลการดำเนินงานโครงการ



กระบวนการทำงานของกลุ่มเยาวชน

โรงเรียนวัดบ่อทรัพย์ หมู่ที่ 2 บ้านบ่อเตย ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา 90280 อยู่ใกล้กับพื้นที่แหล่งประวัติศาสตร์ของเมืองสงขลาฝั่งแหลมสน (ฝั่งหัวเขาแดง) ซึ่งเป็นชุมชนที่เคยเจริญรุ่งเรืองมาก แต่ปัจจุบันเสื่อมโทรมลง คนในชุมชนทะเลาะกัน เด็กเยาวชนติดยาเสพติด คนในชุมชนทิ้งถิ่นฐานไปทำมาหากินที่อื่น ครอบครัวหย่าร้าง ทิ้งลูกให้กับคนแก่ เด็กต้องออกจากการเรียนกลางคันเนื่องจากความยากจน ฯลฯ เยาวชนแกนนำกลุ่ม “จิตใสอาสา” จึงคิดว่าจะทำอย่างไรให้ชุมชนของพวกเขากลับมาเจริญดังเดิม โครงการ “ห้องเรียนประวัติศาสตร์ชุมชนบ้านบ่อทรัพย์” จึงเกิดขึ้น โดยเยาวชนแกนนำ พยายามเชิญชวนให้เพื่อนในโรงเรียน ครู และคนในชุมชน กลับมารักและหวงแหนบ้านเกิด มาร่วมพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งขึ้น โดยมีกิจกรรมเป็นตัวขับเคลื่อน  ดังนี้


กิจกรรมแรก เยาวชนกลุ่ม จิตใสอาสาพวกเขาเริ่มจากการประชุมเพื่อเป็นการแบ่งบทบาทภายในกลุ่มเพื่อให้สมาชิกในกลุ่มเองทราบถึงบทบาทหน้าที่ของตัวเอง  ดังนี้


  1. เด็กหญิงอารีรัตน์     งาหัตถี          ทำหน้าที่ในตำแหน่ง  หัวหน้าโครงการ
  2. เด็กหญิงพิมพิศา     ปาณะ            ทำหน้าที่ในตำแหน่ง  เหรัญญิก
  3. เด็กหญิงธีรักษ์        จิตรพิทักษ์     ทำหน้าที่ในตำแหน่ง เลขานุการ
  4. เด็กหญิงศรีสุดา       พิศพาชะโร    ทำหน้าที่ในตำแหน่ง คณะทำงาน
  5. เด็กหญิงณัฐดาวรรณ พูนเมือง       ทำหน้าที่ในตำแหน่ง คณะทำงาน


หลังจากนั้นกลุ่มเยาวชนแกนนำและคุณครูที่ปรึกษาได้วางแผนในการทำงานเพื่อเป็นการดำเนินกิจกรรมต่อไป ซึ่งพวกเขาคิดว่ากิจกรรมแรกที่จะต้องทำคือ กิจกรรมศึกษาถึงรากเหง้าประวัติศาสตร์ในชุมชน เพื่อให้ทราบถึงความเป็นของชุมชนในอดีต จากคนเฒ่าคนแก่ในชุมชน และศึกษาเรื่องราวจากแหล่งค้นคว้าต่างๆ อาทิ เรื่องของเจ้าเมืองและผู้ปกครองชุมชน แหล่งโบราณสถานและความเชื่อต่างๆที่เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตของคนในสมัยนั้น เป็นต้น หลังจากที่เยาวชนแกนนำมีการศึกษาถึงรากเหง้าประวัติศาสตร์ในชุมชนแล้ว พวกเขาได้นำเรื่องราวต่างที่ได้มาเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นชุดเอกสารเพื่อจะนำมาใช้ในการประกอบในกิจกรรมครั้งต่อไป จากนั้นเยาวชนแกนนำได้มีการจัด จากกิจกรรมดังกล่าวกลุ่มเยาวชนแกนนำได้บอกเล่าถึงความรู้สึกว่า ทำให้พวกเขาเองได้รู้ในเรื่องประวัติศาสตร์ความเป็นมาสิ่งสถานที่ต่างๆ โบราณสถาน โบราณวัตถุ ความเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในท้องถิ่นของชุมชนตนเองมากขึ้น และเมื่อพวกเขาได้เรียนรู้ถึงเรื่องราวความเป็นมาต่างๆในชุมชนทำให้พวกเขาเองเกิดความตระหนักถึงคุณค่าเชิงประวัติศาสตร์ หวงแหนและมีจิตสำนึกรักบ้านเกิดของพวกเขายิ่งขึ้น และที่สำคัญที่สุดสำหรับกิจกรรมนี้คือพวกขารู้สึกรักและสนิทสนมกับผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชนมากขึ้น สืบเนื่องมาจากการลงพื้นที่ไปเก็บข้อมูลเรื่องราวต่างๆในชุมชนทำให้เป็นการสร้างความผูกพันระหว่างเยาวชนรุ่นใหม่กับคนรุ่นเก่า ทำผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชนดีใจและภูมิใจที่มีเยาวชนเข้ามาสนใจเรื่องราวในอดีตที่กำลังจะลืมหายไป ให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง


กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการเดินไปสำรวจและทำแผนที่เดินดินเพื่อศึกคุณค่าเส้นทางประวัติศาสตร์ชุมชน รวมถึงมีการจัดฝึกอบรมให้ความรู้ในการเป็น “มัคคุเทศก์น้อย” ให้กับเยาวชนแกนนำและเพื่อนๆน้องๆที่สนใจในโรงเรียนวัดบ่อทรัพย์ มาร่วมเรียนรู้ฝึกหัดให้เป็นผู้ที่มีความเข้าใจในแหล่งประวัติศาสตร์ของชุมชนและสามารถถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆให้กับผู้อื่นได้รับรู้ได้ โดยการเยาวชนกลุ่มนี้มีการฝึกหัดจาการปฏิบัติจริง โดยลงไปเรียนรู้ตามสถานที่ต่างๆ และฝึกการเป็นมัคคุเทศก์น้อยในการถ่ายทอดเรื่องราวตามที่ตนเองได้ไปศึกษามาถ่ายทอดออกเป็นคำพูดให้ผู้อื่นได้ฟัง และหลังจากนั้นเหล่าเยาวชนมัคคุเทศก์น้อย กลับมาจากเรียนรู้ของจริงแล้ว คราวนี้ก็จะฝึกการเขียนเป็นแผนที่เดินดินเพื่อเป็นการฝึกการบอกตำแหน่งสถานที่ตั้งนั้นๆ พร้อมกับฝึกให้พวกเขาได้อธิบายเล่าเรื่องราวความสำคัญในสถานที่ต่างๆจากแผนที่เดินดินอีกครั้ง เพื่อเป็นการตอกย้ำความเข้าใจในเรื่องราวประวัติศาสตร์ที่พวกเขาได้ไปศึกษามา จากกิจกรรมนี้พวกเขาบอกว่าหลังจากที่พวกเขาได้เรียนรู้เรื่องราวเหล่านั้นแล้ว มันก็เปรียบเสมือนดั่งกระจกเงาที่สะท้อนให้เห็นความเป็นจริงในปัจจุบัน เมื่อพวกเขาเห็นความจริงเหล่านั้นแล้ว พวกเขาบอกว่าพวกเขารู้สึกเกิดความรักและหวงแหนบ้านเกิดมากขึ้น


กิจกรรมที่ 3 หลังจากนั้นเมื่อเยาวชนแกนนำมีความรู้ความเข้าใจในแหล่งประวัติศาสตร์ของชุมชนและมีทักษะในการเป็น “มัคคุเทศก์น้อย”แล้ว ก็ถึงเวลาฝึกทดลองลงสนามจริงในการเป็น “มัคคุเทศก์น้อย” สักที กิจกรรมมัคคุเทศก์น้อยจิตใสอาสา เนื่องจากครั้งนั้นมีคณะบุญตระกูล ณ สงขลา จากกรุงเทพฯมาทำบุญประจำปีที่วัดสุวรรณคีรีซึ่งเป็นวัดประจำตระกูล ซึ่งในครั้งนั้นเยาวชนกลุ่ม จิตใส่อาสา ได้เสนอตัวในการเป็น“มัคคุเทศก์น้อย”ในการพาลุงป้าน้าอา เดินเยี่ยมชมพร้อมบอกเล่าที่มาคุณค่ารวมถึงเสน่ห์ในเส้นทางประวัติศาสตร์ของชุมชน หลังจากที่เยาวชนแกนนำได้พาคณะบุญตระกูล ณ สงขลาได้ไปเยี่ยมชมตามสานที่ต่างๆแล้ว พวกเขาบอกว่าเมื่อได้เป็น“มัคคุเทศก์น้อย”จริงๆ แล้วมันไม่ได้ง่ายอย่างที่คิดเลยเพราะการที่พวกเขาจะต้องเตรียมการศึกษาข้อมูลฝึกซ้อมทำความเข้าใจและฝึกในการนำมาถ่ายทอดเรื่องราวให้ผู้อื่นเข้าใจนั้น มันต้องใช้เวลาที่นานสำหรับพวกเขาจนทำให้รู้สึกกังวล แต่เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจพวกเขาก็รู้สึกดีใจและภูมิใจที่ลุงป้าน้าอาคณะบุญตระกูล ณ สงขลา ชื่นชมและให้กำลังใจในสิ่งที่พวกเขาสร้างสรรค์ขึ้นในถ่ายทอดเรื่องเล่าของชุมชน จากกิจกรรมนี้กลุ่มเยาวชนแกนนำมีความรู้สึกว่า พวกเขาเองมีพัฒนาการในการกล้าแสดงออกมากยิ่งขึ้น จากที่เป็นคนไม่กล้าพูดไม่กล้าคุย ไม่กล้าที่จะสบตากับผู้คน ทำให้พฤติกรรมเหล่านั้นมีลดน้อยลง


หลังจากการทำโครงการเยาวชนแกนนำกลุ่ม จิตใสอาสา ได้สะท้อนถึงคุณค่าของการเรียนรู้การทำงานตามคำบอกเล่าของเยาวชนพบว่า เยาวชนแกนนำเกิดจิตสำนึกความรักและหวงแหนบ้านเกิดและแหล่งประวัติศาสตร์โบราณสถานในชุมชนมากขึ้น ทั้งยังเยาวชนแกนนำเองยังเกิดความรักความผูกพัน ระหว่าง พ่อเฒ่าแม่เฒ่า เพื่อนในโรงเรียน และคนในชุมชนจากการลงไปเก็บข้อมูลเรื่องเล่าประวัติศาสตร์ในชุมชน รวมถึงเยาวชนแกนนำทั้ง ๕ คน เกิดการเปลี่ยนแปลงตนเองไปในทางที่ดีขึ้นไม่ว่าจะเป็น การเป็นคนที่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นมากขึ้น มีความเป็นผู้นำ กล้าพูด กล้าคิด และแสดงความคิดเห็นในสิ่งที่ถูกต้องอย่างเหมาะสมเช่น เยาวชนแกนนำจากเมื่อก่อนเป็นคนที่ขี้อาย ไม่กล้าพูด กล้าคุยกับใคร ไม่กล้าที่จะสบตา กับคนแปลกหน้า มาสามารถที่จะถ่ายทอดเรื่องราวข้อมูลประวัติศาสตร์ในชุมชนได้อย่างมั่นใจ(ในระดับหนึ่ง)ได้ และที่สำคัญพวกเขาบอกว่าพวกเขาได้นำศักยภาพพลังพลเมืองตัวเล็กๆที่มีอยู่ในตนเอง พวกเขาสามารถดึงออกมาทำให้เกิดประโยชน์กับบ้านเกิดและชุมชนให้ดีที่สุด ไม่ว่าจะทำให้เยาวชนในชุมชนหันเข้ามาใส่ใจดูแลถึงคุณค่าและประวัติศาสตร์ของชุมชนตนเองมากขึ้น เป็นต้น


ปัจจุบันกระบวนการทำงานของกลุ่มจิตใสอาสากำลังค่อยๆขยับไปพร้อมๆกับการเรียนรู้จากปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น แกนนำหลายคนต้องช่วยพ่อแม่ทำมาหากินในช่วงเวลาว่างทำให้ต้องเสียสละและได้รับความร่วมมือจากครอบครัวเพื่อมาทำงานให้ส่วนรวม หรือการที่แกนนำในกลุ่มบางคนไม่สามารถมาร่วมกิจกรรมได้ เนื่องจากย้ายสถานศึกษาหรือลาออกกลางคันทำให้ครูและเพื่อนที่เหลือต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอยู่บ่อยครั้ง นอกจากนี้แล้วเยาวชนนำต้องฝึกฝนตนเองในการถ่ายทอดเรื่องราวของชุมชนให้เป็นเรื่องเล่าที่มีพลังสามารถสร้างจิตสำนึกคนให้ได้ การขับเคลื่อนโครงการห้องเรียนประวัติศาสตร์ชุมชนบ้านบ่อทรัพย์ มีความโดดเด่นอยู่ที่ครูกับศิษย์ได้หลอมหัวใจเป็นหนึ่งเพื่อเรียนรู้และหนุนเสริมซึ่งกันและกันโดยมีแรงบันดาลใจจากความห่วงใยชุมชนเป็นฐานพลังที่จะเอาชนะกับปัญหาอุปสรรค์ต่างๆปัจจุบันคุณครูเองยังรู้สึกภาคภูมิใจที่การทำงานได้นำมาซึ่งการเติบโตและศักยภาพใหม่ของลูกศิษย์ เช่น จากลูกศิษย์ที่เป็นเด็กเงียบๆไม่กล้าที่จะคุยกับใครก็กลายมาเป็นแกนนำที่มีบทบาทสำคัญในการเล่าเรื่องราวของชุมชนในน้องฟัง และจากลูกศิษย์ที่เป็นเด็กที่เอาแต่ใจ คนอื่นต้องทำตามสิ่งที่ตนเองคิดก็ปรับเปลี่ยนมายอมรับความคิดเห็นของคนอื่น ยอมรับในศักยภาพของเพื่อนร่วมทีมหรือแม้แต่ลูกศิษย์ที่เอาแต่รอให้คนอื่นนำอยู่ตลอดเวลาก็เปลี่ยนแปลงมาผู้นำในบางสถานที่เขาถนัด ที่สำคัญครูเริ่มมองเห็นความหวังว่าในอนาคต ลูกศิษย์เหล่านี้จะเติบโตมาเป็นพลเมืองที่มีบทบาทในการพัฒนาและปกป้องบ้านเกิดของพวกเขา“เป็นเด็กบ้านนอกที่ภูมิใจในรากเหง้าของตนเอง”

­

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ