
โครงการกองทุนขยะเพื่อพัฒนาบ้านเกิด
โจทย์ปัญหา
เนื่องจากขยะภายในโรงเรียนและชุมชนมีจำนวนมากเพราะเด็กและคนในชุมชนขาดจิตสำนึก รักษาความสะอาด ขาดระบบการจัดการขยะที่ดี ส่งผลให้โรงเรียนและชุมชนมีขยะมาก และสกปรกก่อให้เกิดเชื้อโรค และมลพิษทางอากาศ รวมทั้งสถานที่ท่องเที่ยวมีความเสื่อมโทรม ในขณะเดียวกันก็มีเด็กนักเรียนที่เรียนดีแต่ขาดทุนทรัพย์ทั้งในโรงเรียนระโนดและโรงเรียนอื่นๆใน อำเภอระโนดจำนวนมาก
ดังนั้นทางกลุ่ม RN Mix จึงคิดที่จะทำโครงการกองทุนขยะเพื่อพัฒนาบ้านเกิดอย่างยั่งยืน เช่นสร้างระบบจัดการขยะ สร้างจิตสำนึกให้เด็กและคนในชุดชนรักษาความสะอาดและรู้จักวิธีการแยกขยะ มีทุนการศึกษาจากขยะ จัดหาอุปกรณ์ในการจัดการขยะ เป็นต้น โดยคาดหวังว่าหากดำเนินโครงการแล้วเสร็จโรงเรียนและชุมชนสะอาดก่อให้เกิดจิตสำนึกรักความสะอาดแก่เด็กและคนในชุมชนสามารถนำรายได้ส่วนหนึ่งมาพัฒนาบ้านเกิดของคนเองได้
เป้าหมาย :
โรงเรียนและชุมชนสะอาดก่อให้เกิดจิตสำนึกรักความสะอาดแก่เด็กและคนในชุมชนสามารถนำรายได้ส่วนหนึ่งมาพัฒนาบ้านเกิดของคนเองได้
โครงการกองทุนขยะเพื่อพัฒนาบ้านเกิด
แกนนำเยาวชนกลุ่ม Rn Mix มี 4 คน โรงเรียนระโนด อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ดังนี้
- นายกริชกร เจริญวาที (เบนซ์) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนระโนด
- นายธนพัฒน์ หนูคง (เอ้) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนระโนด
- นายสรประสิทธิ จิตดำริ (อ้วน) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนระโนด
- นายสุวิทย์ สวัสดิ์รักษา (อ้วน) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนระโนด
ที่ปรึกษาโครงการ: คุณครูวิสิทธิ์ นุชิต
พี่เลี้ยงกลุ่ม นางสาวนูรอามีนี สาและ
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่สงขลาฟอรั่ม หัวหน้างานปฏิบัติการ
โจทย์ปัญหา
เนื่องจากขยะภายในโรงเรียนและชุมชนมีจำนวนมากเพราะเด็กและคนในชุมชนขาดจิตสำนึก รักษาความสะอาด ขาดระบบการจัดการขยะที่ดี ส่งผลให้โรงเรียนและชุมชนมีขยะมาก และสกปรกก่อให้เกิดเชื้อโรค และมลพิษทางอากาศ รวมทั้งสถานที่ท่องเที่ยวมีความเสื่อมโทรม ในขณะเดียวกันก็มีเด็กนักเรียนที่เรียนดีแต่ขาดทุนทรัพย์ทั้งในโรงเรียนระโนดและโรงเรียนอื่นๆใน อำเภอระโนดจำนวนมาก
ดังนั้นทางกลุ่ม RN Mix จึงคิดที่จะทำโครงการกองทุนขยะเพื่อพัฒนาบ้านเกิดอย่างยั่งยืน เช่นสร้างระบบจัดการขยะ สร้างจิตสำนึกให้เด็กและคนในชุดชนรักษาความสะอาดและรู้จักวิธีการแยกขยะ มีทุนการศึกษาจากขยะ จัดหาอุปกรณ์ในการจัดการขยะ เป็นต้น โดยคาดหวังว่าหากดำเนินโครงการแล้วเสร็จโรงเรียนและชุมชนสะอาดก่อให้เกิดจิตสำนึกรักความสะอาดแก่เด็กและคนในชุมชนสามารถนำรายได้ส่วนหนึ่งมาพัฒนาบ้านเกิดของคนเองได้
เป้าหมาย :
โรงเรียนและชุมชนสะอาดก่อให้เกิดจิตสำนึกรักความสะอาดแก่เด็กและคนในชุมชนสามารถนำรายได้ส่วนหนึ่งมาพัฒนาบ้านเกิดของคนเองได้
กระบวนการขั้นตอนการปฏิบัติงาน
กิจกรรม 1 สร้างระบบการจัดการขยะ
1.1 จัดทำแผนที่เส้นทางขยะเพื่อบอกตำแหน่งที่ตั้งขยะภายในโรงเรียนและวิธีการจัดการขยะ
1.2 ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการขยะที่ถูกวิธีเพื่อจัดทำเป็นคู่มือประกอบการทำงาน
1.3 จัดหาอุปกรณ์ในการจัดการขยะ
1.4 ปฏิบัติการจัดการขยะในโรงเรียนและชุมชน
กิจกรรม 2 การบริหารจัดการกองทุนขยะเพื่อการพัฒนาบ้านเกิด
2.1 ตั้งคณะทำงานและแบ่งบทบาทหน้าที่เพื่อบริหารจัดการกองทุน
2.2 จัดสรรรายได้ตามเจตนารมณ์ของกองทุน เช่น
- กองทุนการศึกษา
- ทุนหมุนเวียน/สำรอง
- ทุนเพื่อจัดกิจกรรม/ค่ายสิ่งแวดล้อม
กิจกรรม 3 สร้างจิตสำนึกให้เด็กนักเรียนในโรงเรียนรักษาความสะอาดและรู้จักวิธีแยกขยะ
3.1 จัดทำคำคมรณรงค์รักษาความสะอาด
3.2 แต่งกลอนมโนราห์รณรงค์รักษาความสะอาด
3.3 จัดทำโปสเตอร์ให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะ
3.4 ประชาสัมพันธ์ผ่านเสียงตามสายภายในโรงเรียน
กิจกรรม 4 ขยายความรู้สู่ครอบครัวแกนนำเยาวชนและสู่ชุมชน (ตลาดน้ำระโนด)
4.1 รณรงค์ประชาสัมพันธ์โครงการ
- เดินรณรงค์โดยใช้ศิลปวัฒนธรรมของภาคใต้
- ประชาสัมพันธ์ผ่านกองอำนวยการของตลาดน้ำอำเภอระโนด
- จัดกิจกรรมรับบริจาคทุกศุกร์ของสิ้นเดือน
- ทำสติ๊กเกอร์ติดที่บ้านเครือข่ายกองทุนพัฒนาบ้านเกิด
กิจกรรม 5 ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินโครงการ
กระบวนการทำงานของกลุ่ม
เนื่องจากสมาชิกโครงการบางส่วนเคยเป็นแกนนำร่วมในโครงการปีที่ผ่านมา ที่รุ่นพี่ในโรงเรียนมองเห็นสภาพปัญหาเพื่อนๆในโรงเรียนที่มาจากต่างตำบล ซึ่งอยู่ไกลและที่บ้านมีฐานะยากจน ในขณะเดียวกันขยะในโรงเรียนก็มีจำนวนมาก จึงจัดทำโครงการโดยการแปลงขยะให้เป็นทุนการศึกษาให้นักเรียนที่เรียนดี แต่ขาดทุนทรัพย์ ทำให้ในปีนี้สมาชิกดังกล่าวได้รวมตัวกัน 5 คน เพราะอยากจะแก้ปัญหาของโรงเรียนและชุมชนในเขตเทศบาลระโนดซึ่งมีขยะจำนวนมาก เนื่องจากเด็กนักเรียนและคนในชุมชนขาดจิตสำนึกที่ดีในการจัดการขยะ จึงมีแนวคิดที่จะทำโครงการกองทุนขยะเพื่อพัฒนาบ้านเกิดอย่างยั่งยืน โดยมีกิจกรรม การสร้างระบบจัดการขยะ สร้างจิตสำนึกให้เด็กและคนในชุมชนรักษาความสะอาดและรู้จักวิธีการแยกขยะ รับซื้อขยะ และนำรายได้ที่ได้เป็นทุนการศึกษาให้กับนักเรียนที่เรียนดีแต่ขาดทุนทรัพย์และเป็นกองทุนในการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อชุมชน
หลังจากที่ได้พัฒนาโครงการแล้วแกนนำเยาวชนมีการดำเนินกิจกรรม ดังนี้
- กิจกรรมตะแกรงใบใหญ่ ใส่ใจ ใส่ขวด ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ไม่มีในแผน แต่เป็นกิจกรรมที่แกนนำเยาวชนมองเห็นปัญหาขยะล้นถัง ขยะเกลื่อนกลากอยูข้างนอกถังขยะ แกนนำเยาวชนจึงได้จัดทำตะแกรงใบใหญ่ที่สามารถเอาขยะไปใส่ได้ในจำนวนมาก และเมื่อครบ 1 เดือน แกนนำเยาวชนก็จะคัดแยกขยะ ขยะที่ขายได้ก็นำไปขายแล้วนำเงินที่ได้ไปเข้ากองทุนพัฒนาบ้านเกิด ส่วนขยะที่รีไซเคิลได้ไปมอบให้หมวดการงานนำไปสอนเรื่องการรีไซเคิลต่อไป
- กิจกรรมไวนิลเตือนใจ ต้านภัยขยะ ซึ่งแกนนำเยาวชนจำทำไวนิลขึ้นติดทั่วโรงเรียน เพื่อสร้างความตระหนักเรื่องความสะอาด ความเสื่อมเสียของชุมชน โรงเรียน เช่นคำคมที่ว่าแยกขยะเป็นเรื่องง่าย เริ่มต้นได้ที่ตัวเรา ในขั้นตอนนี้แกนนำเยาวชนจะคิดค้นคำคมที่นำไปใช้แล้วทำให้เพื่อนๆที่ได้อ่านแล้วได้ฉุกคิดเรื่องการรักษาความสะอาด ในขั้นตอนนี้แกนนำเยาวชนจะให้สมาชิกโครงการร่วมการคิดคำคม แล้วใช้วิธีโหวตและแสดงความคิดเห็น คำไหนที่ได้รับการโหวตมากที่สุดก็จะนำมาทำเป็นไวนิลเตือนใจต่อไป
- ให้ความรู้เรื่องความสะอาดให้กับเยาวชน ซึ่งในขั้นตอนนี้แกนนำเยาวชนจะใช้วิธีสอดแทรกในกิจกรรมรับน้องใหม่ของโรงเรียน และประชาสัมพันธ์หน้าแถว ตอนพักเที่ยงในโรงเรียนและประชาสัมพันธ์ที่ตลาดริมน้ำระโนด ซึ่งเนื้อหาที่ประชาสัมพันธ์ส่วนมากจะเน้นเรื่องระบบจัดการขยะ การรักษาความสะอาด
- จัดทำแผนที่จัดตั้งถังขยะ เราทำแผนที่ว่าเราตั้งถังขยะของโครงการไว้ตรงไหน ทำเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับเพื่อนๆในโรงเรียนและให้เพื่อนๆเห็นที่มาของขยะที่เริ่มต้นจากตัวนักเรียนเอง
- มอบทุนการศึกษาให้กับเพื่อนๆที่เรียนดีแต่ขาดทุนทรัพย์ จำนวน 8 ทุนๆละ 500 บาท โดยทุนที่มอบให้จะเป็นรายได้ที่ได้จากการขายขยะในโรงเรียน
การดำเนินงานของกลุ่มแกนนำเยาวชนเล่าว่า ทุกครั้งที่จะมีการทำกิจกรรมแกนนำเยาวชนจะประชุมวางแผนก่อนการทำงาน กิจกรรมของโครงการจะเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์จริงเช่นการจัดทำตะแกรงใบใหญ่ในตอนแรกไม่มีในแผน แต่พอเห็นสถานการณ์ขยะล้นถังจึงได้มีการทำตะแกรงใบใหญ่ขึ้นมา หลังจากที่มีการจัดกิจกรรมทุกครั้งแกนนำเยาวชนก็จะทบทวนการทำงานว่าทำดี หรือไม่ดีอย่างไร ในการทำงานแกนนำเยาวชนจะทำงานเป็นทีม มีการเปิดใจทุกการเรียนรู้ เปิดใจว่าได้อะไรบ้าง ทำให้แกนนำเยาวชนรู้ใจกันมากขึ้นนำไปสู่การแบ่งงานที่ถูกคน คุณค่าของโครงการที่มีต่อแกนนำเยาวชน แกนนำเยาวชนสะท้อนว่า การทำโครงการ ทำให้เขามีการพัฒนามากขึ้น เช่น น้องอ้วน (สรประสิทธิ์) การทำโครงการครั้งนี้ทำให้ตนเองได้ฝึกการเป็นผู้นำที่ต้อง กล้าพูด ต้องมีความเชื่อมั่นในตนเอง ต้องมีสติ ก่อนหน้านี้อ้วนจะเป็นผู้ตาม เห็นพี่นาวทำอะไรก็จะทำตาม และเป็นคนที่เคร่งครัดเรื่องความสะอาดมากขึ้น
น้องเบนซ์ จากที่ไม่ค่อยกล้าแสดงออกแต่การที่ต้องไปประชาสัมพันธ์โครงการทำให้กล้าแสดงออก กล้าจับไมค์ และกลายเป็นคนที่ทิ้งขยะเป็นที่มากขึ้น จากที่เป็นคนที่กินที่ไหนก็จะทิ้งที่นั้น
น้องนิว จากที่เป็นคนที่กินตรงไหน ก็จะทิ้งตรงนั้นแต่พอมาทำโครงการก็จะทิ้งขยะลงถัง จนที่บ้านสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้นเพราะก่อนหน้านี้จะเป็นคนที่ไม่มีวินัย เวลาเห็นเพื่อนทิ้งขยะไม่เป็นที่ก็จะบอกและแนะนำเพื่อนว่าควรทิ้งให้เป็นที่ และก่อนทำโครงการตัวเองจะเป็นคนพูดเร็วมากจนเพื่อนๆบอกว่าฟังไม่รู้เรื่องแต่พอทำโครงการนี้เราต้องพูดให้เพื่อนๆเข้าใจเราพี่ๆในโครงการจะคอยเตือนเรา ทำให้ตนเองพูดช้าลง
น้องเอ้ มองว่าเรื่องความสะอาดจะเป็นเรื่องที่ติดตัวพวกเรา สำหรับตัวเองแล้วจะเป็นคนที่คิดมากขึ้น เวลาเห็นอะไรจะชอบมาคิดให้เข้ากับโครงการ เช่น การทำตะแกรง จะทำอย่างไรที่ไม่ใช่แค่ไว้ทิ้งขยะ จะทำอย่างไรให้เพื่อนอยากทิ้งขยะและได้เรียนรู้โทษของขยะจึงทำไวนิลให้เห็นการย่อยสลายของขยะ เห็นเพื่อนๆชอบเล่นโยนขยะไม่เป็นที่ จึงออกแบบตะแกรงให้สูงเพื่อให้เพื่อนๆสามารถโยนขยะได้ การดำเนินโครงการทำให้แกนนำรู้จักการทำงานเป็นทีม เปลี่ยนนิสัยการทิ้งขยะ เมื่อก่อนจะทิ้งขยะไม่เป็นที่ กินตรงไหนจะทิ้งตรงนั้น แต่ตอนนี้กินเสร็จก็จะทิ้งลงในถัง เวลาเห็นขยะก็จะเก็บใส่ถัง ทำให้สร้างจิตสำนึกในการรักความสะอาด คือถ้าภายในกลุ่มไม่มีจิตสำนึกรักความสะอาด ก็ไม่สามารถทำให้คนอื่นมีจิตสำนึกรักความสะอาดด้วย ทำให้เราได้เพิ่มประสบการณ์การทำงาน เป็นคนที่ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น การใช้เหตุผลในการพูดคุย ถ้าอันไหนดีเราก็จะทำตาม ฝึกความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี สำหรับคุณค่าของโครงการที่มีต่อส่วนรวม การทำโครงการทำให้นักเรียนและคนในชุมชนมีความรับผิดชอบและมีจิตสำนึกที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากเพราะหัวใจของโครงการคือสร้างจิตสำนึกให้นักเรียนและคนในชุมชน มีจิตสำนึกที่ดีโดยเฉพาะสำนึกรักบ้านเกิดของตนเอง โรงเรียนและชุมชนมีความสะอาดยิ่งขึ้น ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมและนำความรู้ไปพัฒนาโรงเรียน คือเราจะให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะให้กับน้องๆคนในชุมชน เพื่อที่เขาได้กลับไปแล้วเอาไปเอาความรู้ไปบอกพ่อแม่ และนำความรู้ไปพัฒนาโรงเรียนในเขตพื้นที่ของตัวเอง นอกจากนี้แล้วการดำเนินงานโครงการทำให้เขารู้สึกว่าเขามีความคิดที่มองการไกลมากขึ้น เช่นพอมองเห็นปัญหาที่มีอยู่ในชุมชนแล้วอยากจะแก้ไขแล้วนำมาเป็นประเด็นพูดคุยกันในกลุ่ม
จากการติดตามโครงการเยาวชน สิ่งที่เห็นจากกลุ่มนี้ คือ บุคลิกการทำงานของแต่ละคนที่ถนัดในเรื่องการพูด การประชาสัมพันธ์ เพราะกิจกรรมที่น้องๆทำส่วนมากจะเน้นการประชาสัมพันธ์ สำหรับกิจกรรมอื่นยังขาดรายละเอียดที่สำคัญอีกมาก เช่น การขยายโครงการเข้าสู่ชุมชน จะทำแค่ประชาสัมพันธ์ในบริเวณตลาดริมน้ำ ไม่มีกระบวนการที่จะเข้าสู่ชุมชนอย่างจริงจัง แต่เสน่ห์ที่เห็นในการดำเนินการของเยาวชนคือการแตะมือของแกนนำเยาวชนกับเพื่อนๆในโรงเรียนที่มาร่วมด้วย ช่วยกันในการทำโครงการ ซึ่งเห็นได้จากการลงพื้นที่ไปติดตามโครงการจะเห็นปริมาณสมาชิกของโครงการที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และสามารถเล่าการดำเนินงานโครงการได้ทุกคน และทุกคนมีการเปลี่ยนแปลงจากเสียงสะท้อนที่ว่า “แต่ก่อนเราจะเป็นคนที่ไม่มีวินัย ทิ้งขยะไม่เป็นที่ เห็นขยะแล้วจะเตะๆทิ้ง แต่พอเขาได้เข้าร่วมโครงการ เขาได้เห็นพฤติกรรม และการทำงานของพี่ๆ ทำให้เขาปรับปรุงพฤติกรรมการทิ้งขยะและมีนิสัยที่รักความสะอาดมากขึ้น”