กิจกรรมขับเคลื่อนโครงการ
สรุปบทเรียน โครงการกองทุนขยะสร้างอนาคต
ความเป็นมา วัตถุประสงค์

โครงการขยะสร้างอนาคต


โจทย์ปัญหา

โรงเรียนส่งเสริมศาสนาวิทยามูลนิธิ เป็นโรงเรียนสอนศาสนาควบคู่สามัญ ซึ่งชั่วโมงเรียนในแต่ละวันมีจำนวนจำกัดมาก ทำให้นักเรียนมีความเครียดเพราะไม่มีกิจกรรมส่งเสริมให้นักเรียนผ่อนคลายความเครียดจากการเรียน ในขณะเดียวกันในโรงเรียนก็มีขยะเป็นจำนวนมาก เพราะนักเรียนขาดจิตสำนึกในการจัดการขยะและเพื่อนๆมุสลีมะฮ์บางคนที่บ้านมีฐานะยากจนทำให้ต้องออกจากโรงเรียนกลางคัน ซึ่งถ้าไม่รีบแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้น ต่อไปโรงเรียนจะประสบปัญหาขยะล้นโรงเรียน มีกลิ่นเหม็นและกลายเป็นที่เพาะพันธุ์เชื้อโรค และเพื่อนมุสลีมะฮ์บางคนก็ขาดโอกาสทางการศึกษา ตลอดจนนักเรียนในโรงเรียนก็จะตกอยู่ในภาวะเครียด เพราะเรียนอย่างเดียวไม่มีเวลาคลายเครียด

ดังนั้นทางกลุ่ม “หิ่งห้อยน้อย” จึงได้จัดทำโครงการกองทุนมุสลีมะฮ์เพื่อการศึกษาโดยการจัดกิจกรรมสร้างจิตสำนึก สร้างแรงจูงใจในการรักษาความสะอาด จัดระบบอาสาจัดการขยะและจัดตั้งกองทุนมุสลีมะฮ์ โดยนำรายได้จากการจำหน่ายขยะเป็นทุนการศึกษาให้กับเพื่อนมุสลีมะฮ์ที่มีฐานะยากจนและอีกส่วนหนึ่งนำมาจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ให้มุสลีมะฮ์ได้คลายเครียดมากขึ้น

ทั้งนี้หากโครงการดำเนินการแล้วเสร็จผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้น คือ โรงเรียนมีความสะอาดนักเรียนในโรงเรียนมีจิตสำนึกรักบ้านเกิด เพื่อนๆมุสลีมะฮ์มีโอกาสทางการศึกษามากขึ้น และเพื่อนๆมุสลีมะฮ์ได้คลายเครียดจากการเข้าร่วมกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อสังคม


เป้าหมาย :

เพื่อให้โรงเรียนที่เยาวชนอยู่นั้นมีสภาพแวดล้อมที่สวยงามและเปลี่ยนทัศนคติของตนเองและเพื่อนๆทุกคนในโรงเรียน ให้ทุกคนตระหนักถึงการทิ้งขยะมากขึ้น

กำหนดการและรายงานผล
ทำเนียบผู้เข้าร่วมกิจกรรม
สรุปผลกิจกรรม/บันทึกการทำงาน

โครงการขยะสร้างอนาคต


กลุ่มหิ้งห้อยน้อย  แกนนำเยาวชนมี 5 คน เป็นนักเรียนโรงเรียนส่งเสริมศาสนาวิทยามูลนิธิ มีรายชื่อดังนี้

  1. นางสาวซอฟาร์ หวังโสะ (ฟา)   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนส่งเสริมศาสนาวิทยามูลนิธิ 
  2. นางสาวนูรียา หมัดอะด้ำ (ยา)   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนส่งเสริมศาสนาวิทยามูลนิธิ 
  3. นางสาวเมวียา งามชื่น (เมย์)    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนส่งเสริมศาสนาวิทยามูลนิธิ 
  4. นางสาววานิซา มุหมีน (วาซ่า)  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนส่งเสริมศาสนาวิทยามูลนิธิ
  5. นางสาวอัสมา หมัดหลี (มา)     ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  โรงเรียนส่งเสริมศาสนาวิทยามูลนิธิ 


ที่ปรึกษาโครงการ:  นางสาวกุสุมา บิลอะหลี (เยาะ) อายุ 27 ปี

การศึกษา คณะวิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 


พี่เลี้ยงกลุ่ม   นางสาวนงนุช ปานบัว ปริญญาตรีคณะมนุษย์ศาสตร์ โปรแกรมวิชาการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาตำแหน่ง 

เจ้าหน้าที่สงขลาฟอรั่ม  ฝ่ายบริหารงานทั่วไปและวิทยากรกลุ่มย่อย



โจทย์ปัญหา

โรงเรียนส่งเสริมศาสนาวิทยามูลนิธิ เป็นโรงเรียนสอนศาสนาควบคู่สามัญ ซึ่งชั่วโมงเรียนในแต่ละวันมีจำนวนจำกัดมาก ทำให้นักเรียนมีความเครียดเพราะไม่มีกิจกรรมส่งเสริมให้นักเรียนผ่อนคลายความเครียดจากการเรียน ในขณะเดียวกันในโรงเรียนก็มีขยะเป็นจำนวนมาก เพราะนักเรียนขาดจิตสำนึกในการจัดการขยะและเพื่อนๆมุสลีมะฮ์บางคนที่บ้านมีฐานะยากจนทำให้ต้องออกจากโรงเรียนกลางคัน ซึ่งถ้าไม่รีบแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้น ต่อไปโรงเรียนจะประสบปัญหาขยะล้นโรงเรียน มีกลิ่นเหม็นและกลายเป็นที่เพาะพันธุ์เชื้อโรค และเพื่อนมุสลีมะฮ์บางคนก็ขาดโอกาสทางการศึกษา ตลอดจนนักเรียนในโรงเรียนก็จะตกอยู่ในภาวะเครียด เพราะเรียนอย่างเดียวไม่มีเวลาคลายเครียด


ดังนั้นทางกลุ่ม “หิ่งห้อยน้อย” จึงได้จัดทำโครงการกองทุนมุสลีมะฮ์เพื่อการศึกษาโดยการจัดกิจกรรมสร้างจิตสำนึก สร้างแรงจูงใจในการรักษาความสะอาด จัดระบบอาสาจัดการขยะและจัดตั้งกองทุนมุสลีมะฮ์ โดยนำรายได้จากการจำหน่ายขยะเป็นทุนการศึกษาให้กับเพื่อนมุสลีมะฮ์ที่มีฐานะยากจนและอีกส่วนหนึ่งนำมาจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ให้มุสลีมะฮ์ได้คลายเครียดมากขึ้น


ทั้งนี้หากโครงการดำเนินการแล้วเสร็จผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้น คือ โรงเรียนมีความสะอาดนักเรียนในโรงเรียนมีจิตสำนึกรักบ้านเกิด เพื่อนๆมุสลีมะฮ์มีโอกาสทางการศึกษามากขึ้น และเพื่อนๆมุสลีมะฮ์ได้คลายเครียดจากการเข้าร่วมกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อสังคม



เป้าหมาย :

เพื่อให้โรงเรียนที่เยาวชนอยู่นั้นมีสภาพแวดล้อมที่สวยงามและเปลี่ยนทัศนคติของตนเองและเพื่อนๆทุกคนในโรงเรียน ให้ทุกคนตระหนักถึงการทิ้งขยะมากขึ้น


กระบวนการขั้นตอนการปฏิบัติงาน

กิจกรรม 1   ประชาสัมพันธ์โครงการ

กิจกรรม 2   จัดกิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการรักษาความสะอาด

2.1  จัดทำป้ายคำคม/คำขวัญ/คำสอนของศาสนาในการรักษาความสะอาด

2.2  ประกวดคำขวัญภายใต้แนวคิดการแยกขยะ เพื่ออนาคตมุสลีมะฮ์

2.3  ตกแต่งถังขยะทำเป็นรูปให้เห็นถึงผลลัพธ์ของการทิ้งขยะ

กิจกรรม 3  จัดระบบอาสาจัดการขยะ

3.1  แบ่งบทบาทหน้าที่ในการเป็นอาสาสมัครจัดการขยะ เช่น การคัดแยก การจำหน่าย และจัดการการเงิน

3.2  ปฏิบัติการคัดแยกและจำหน่ายขยะ

กิจกรรม 4  จัดทัศนศึกษาดูงาน

4.1  นำอาสาสมัครไปดูงานการคัดแยกขยะที่โรงขัดแยกขยะ

4.2  มีการเรียนรู้การจัดทำบัญชี รายรับ – รายจ่าย

กิจกรรม 5  บริหารจัดการ

5.1  จัดทำบัญชี 3 บัญชี

- บัญชีกองทุนหมุนเวียนโครงการ

- บัญชีกองทุนเพื่อการศึกษา

- บัญชีกองทุนเพื่อกิจกรรมสร้างสรรค์

กิจกรรม 6  จัดกิจกรรมสร้างสรรค์

6.1  มอบทุนการศึกษาให้กับนักเรียนที่ด้อยโอกาส โดยการสอบถามข้อมูลของเด็กจากครูที่ประจำชั้นนั้นๆ

6.2  ประสานงานกับชุมชนในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงสภาพปัญหาต่างๆ

6.3  ประสานงานกับวิทยาลัยสารพัดช่าง เพื่อจัดส่งนักเรียนแกนนำและชาวบ้านในชุมชนไปศึกษากระบวนการสร้างรายได้กับสถาบันดังกล่าว

กิจกรรม 7   สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน



กระบวนการทำงานของกลุ่ม

จากกลุ่มลูกคุณหนูที่ความตั้งใจเรียนอย่างเดียว เนื่องจากโรงเรียนส่งเสริมศาสนาวิทยามูลนิธิ เป็นโรงเรียนสอนศาสนาควบคู่กับสามัญทำให้นักเรียนในโรงเรียนไม่มีเวลาว่างผ่อนคลายหลังจากเลิกเรียน รวมทั้งบริเวณในโรงเรียนมีขยะเป็นจำนวนมาก เพราะนักเรียนขาดจิตสำนึกในการจัดการขยะและเพื่อนๆมุสลีมะฮ์บางคนที่บ้านมีฐานะยากจนทำให้ต้องออกจากโรงเรียนกลางคัน จากปัญหาเหล่านี้ ทำให้ลูกคุณหนูต้องเปลี่ยนตัวเองมาเป็นอาสาสมัครซึ่งถ้าไม่รีบแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้น ต่อไปโรงเรียนจะประสบปัญหาขยะล้นโรงเรียน มีกลิ่นเหม็นและกลายเป็นที่เพาะพันธุ์เชื้อโรค และเพื่อนมุสลีมะฮ์บางคนก็ขาดโอกาสทางการศึกษา ตลอดจนนักเรียนในโรงเรียนก็จะตกอยู่ในภาวะเครียด เพราะเรียนอย่างเดียวไม่มีเวลาคลายเครียด แกนนำจึงรวมตัวกัน 5 คน มีที่ปรึกษา 1 ท่าน จึงได้จัดทำโครงการกองทุนขยะสร้างอนาคต กลุ่ม “หิ่งห้อยน้อย”


โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานโครงการเริ่มจาก


ขั้นตอนที่ 1 การดำเนินโครงการเริ่มจากการประชาสัมพันธ์โครงการผ่านหน้าเสาธงและมัสยิดในโรงเรียน สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อให้เพื่อนๆทราบถึงโครงการที่จะจัดกิจกรรม การประชาสัมพันธ์จะจัดเวรกันขึ้นประชาสัมพันธ์หน้าเสาธง เพื่อฝึกความกล้าของเพื่อนๆซึ่งทำให้ได้รับความสนใจจากเพื่อนๆในโรงเรียนมาสมัครเข้าร่วมโครงการจำนวน 40 คน


ขั้นตอนที่ 2 ที่ปรึกษาโครงการ ได้นำแกนนำและสมาชิกโครงการศึกษาดูงานเกี่ยวกับการจัดการขยะและการคัดแยกขยะ ณ เทศบาลตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งแกนนำได้รับคำแนะนำจากแกนนำโครงการสร้างคลองสร้างคน ซึ่งเป็นคนในพื้นที่ตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา หลังจากนั้นที่ปรึกษาโครงการ แกนนำ และสมาชิก เดินทางไปศึกษาดูงาน เป็นเวลา 1 วัน เพื่อนำความรู้ที่ได้ศึกษาดูงานกลับมาประยุกต์ใช้กับโครงการ


ขั้นตอนที่ 3 หลังจากนั้นจัดกิจกรรมประกวดคำขวัญและนิทานจากขยะที่เหลือใช้ ในกิจกรรมนี้ทำให้ได้รับความร่วมมือจากครูสอนวิชาภาษาไทยมาเป็นผู้ตัดสินรางวัลชนะเลิศ ปรากฏว่ามีเพื่อนสนใจส่งเข้ามาประกวดกันมากมาย ทำให้เพื่อนๆมองเห็นความสำคัญของขยะ โดยแต่ละห้องเรียนจะมีถุงสำหรับการคัดแยกขยะโดยเฉพาะ ทำให้ลดขยะในโรงเรียนไปได้เยอะ เพื่อนๆได้คลายเครียดจากการจัดกิจกรรม สามารถสร้างจิตสำนึก สร้างแรงจูงใจในการรักษาความสะอาด จัดระบบอาสาจัดการขยะและจัดตั้งกองทุนมุสลีมะฮ์ โดยนำรายได้จากการจำหน่ายขยะเป็นทุนการศึกษาให้กับเพื่อนมุสลีมะฮ์ที่มีฐานะยากจนได้มีการศึกษาที่สูงยิ่งขึ้น


แกนนำเยาวชนกลุ่ม “หิ่งห้อยน้อย”สะท้อนถึงผลการทำงานที่เกิดขึ้นว่าจากเมื่อก่อนแกนนำเป็นลูกคุณหนูเห็นขยะแล้วไม่กล้าเก็บรังเกียจ เดินเหยียบผ่านไป ไม่เห็นคุณค่าของขยะ ไม่มีความรู้ในการคัดแยกขยะ ไม่สนใจในเรื่องเพื่อนๆ หลังจากที่ได้เข้ามาทำโครงการร่วมกับสงขลาฟอรั่ม เมื่อทำกิจกรรมไประยะหนึ่งมีความรู้สึกว่าความเป็นลูกหนูเริ่มหายไป แกนนำทุกคนเก็บขยะโดยไม่รังเกียจ มีความรู้ในการคัดแยกขยะเพื่อนำไปคัดแยกในโรงเรียน เห็นคุณค่าของขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ ทำให้เพื่อนๆในโรงเรียนมีความรู้ในการคัดแยกขยะ เห็นคุณค่าของขยะและทิ้งขยะลงถังทำให้โรงเรียนมีความสะอาด จากการจัดกิจกรรมทำให้เพื่อนๆได้ผ่อนคลายหลังเลิกเรียนผ่านกิจกรรมการคัดแยกขยะ รู้จักทำงานเป็นทีมจากการจัดกิจกรรมทำให้แกนนำมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการกิจกรรม ทำให้มีปัญหาในระหว่างการดำเนินโครงการบางกิจกรรมยังไม่ได้จัด เช่น การจัดตั้งกองทุนมุสลีมะฮ์ เนื่องเวลาตรงกับช่วงปิดภาคเรียนและเมื่อเปิดเทอมแกนนำไม่มีเวลาว่าง เรียนตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันอาทิตย์เพราะแกนนำต้องเรียนสามัญควบคู่กับศาสนา ทำให้เป็นปัญหาเรื่องของเวลา


ทำให้แกนนำได้มองเห็นคุณค่าต่อส่วนรวมคือ มีความตระหนักที่จะทำงานเพื่อส่วนรวมมากขึ้น ในการพัฒนาโรงเรียน สามารถทำให้เพื่อนๆในโรงเรียนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทิ้งขยะได้ โรงเรียนมีความสะอาดมากขึ้น คุณค่าที่มีต่อตนเองคือ มีความเป็นผู้นำ สามารถทำให้เพื่อนๆเห็นก่อนว่า ขยะไม่น่ารังเกียจอย่างที่คิด ที่มีความกล้า กล้าคิด กล้าแสดง และมีความเสียสละโดยไม่ได้หวังผลประโยชน์อะไรในการทำงาน จากการทำงานผ่านโครงการแกนนำทั้ง 5 คนได้สะท้อนพัฒนาการของแต่ละคนจากการทำงาน


1.  นางสาวเมวียา งามชื่น (เม) สะท้อนให้เห็นว่าตนเองเป็นลูกคุณหนูการชีวิตอยู่กับบ้านแม่เป็นคนทำงานบ้านทุกอย่าง ทำให้ตนเองไม่ต้องทำงานบ้าน เป็นคนที่รังเกียจมากกับขยะไม่เคยเก็บขยะ ไม่เห็นคุณค่าของขยะ จะค้อนข้างเป็นเด็กเรียน ไม่ค่อยกล้าแสดงออก แต่เป็นคนที่มีความคิดดี มีไหวพริบในการพูดจาสื่อสารชักชวนเพื่อนให้เห็นถึงความสำคัญของโครงการ เมื่อได้เข้ามาร่วมทำกิจกรรมโครงการทำให้ตนเองสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมาเก็บขยะ คัดแยกขยะไปขายนำเงินที่ขายได้มาช่วยเหลือเพื่อนที่มีฐานนะยากจน ตนเองเริ่มมองเห็นการทำงานเพื่อส่วนรวม การทำสิ่งที่ดีให้กับเพื่อนๆได้คลายเครียดกัน


2. นางสาววานิซ่า มุหมิน (วาซ่า) สะท้อนให้เห็นว่าตนเองเป็นคนที่ค้อนข้างจะไม่มีความคิดเป็นของตนเอง ตามเพื่อนส่วนใหญ่ ไม่กล้าสินใจไม่กล้าแสดงความคิดเห็น เมื่อเข้ามาทำโครงการผ่านการฝึกพูด ฝึกฟัง จากกระบวนการของสงขลาฟอรั่ม และจากการทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆแกนนำ ทำให้ตนเองกล้าคิดกล้าทำกล้าแสดงออกในสิ่งที่ถูกต้อง รู้จักก่อนพูดคิดมากขึ้น กล้าที่จะตัดสิ้นใจ และสามารถแชร์ไอเดียของกิจกรรมที่จัดจากการคัดแยกขยะ ให้นำขยะที่เหลือใช้มาจัดทำเป็นนิทาน เพื่อลดต้นทุนในการจัดซื้อนิทานมาให้น้องๆในโรงเรียนได้อ่าน


3. นางสาวซอฟาร์ หวังโส๊ะ (ฟาร์) สะท้อนให้เห็นว่าในการจัดกิจกรรมทุกครั้งจะมีปัญหาเรื่องของเวลา เนื่องจากเรียนเยอะมาก ทำให้รู้จักแบ่งเวลาในการจัดกิจกรรมเพื่อส่วนรวม โดยใช้เวลาที่เหลือหลังจากเลิกเรียนมาทำกิจกรรม ทำให้บางกิจกรรมยังไม่ได้ดำเนินการ การเสียสละเพื่อส่วนรวมเพราะเมื่อเลิกเรียนแล้ว เพื่อนๆส่วนใหญ่เดินทางกลับบ้านแต่แกนนำต้องเสียสละเอาขยะที่แยกไว้ไปขายเพื่อนำเงินมาช่วยเหลือเพื่อนๆที่ยากจน


4. นางสาวนูรียา หมัดอะดัม (ยา) สะท้อนให้เห็นว่าตนเองเห็นความสำคัญในการมีส่วนร่วมจัดกิจกรรมทุกครั้งของงานโครงการ มีความรับผิดต่อหน้าที่ที่เพื่อนๆมอบหมายให้และทำด้วยความเต็มใจ จะเป็นคนที่อารมณ์ร้อน หงุดหงิดง่ายถ้าเพื่อนทำงานไม่ได้ดั่งใจ แต่เมื่อผ่านการทำโครงการ สามารถจัดการกับอารมณ์ตนเองได้ เมื่อหงุดหงิด เพื่อนทำงานไม่ได้ดั่งใจ ก็จะใช้วิธีหลบไปนั่งคนเดียว วาดรูปคนเดียว เมื่ออารมณ์ดีก็จะกลับมาทำงานต่อ


5. นางสาวอัสมา หมัดหลี (มา) สะท้อนให้เห็นว่าการเรียนหรือการทำกิจกรรมโครงการย่อมมีอุปสรรคทุกอย่าง การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม จะต้องรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนๆเป็นสิ่งที่สำคัญ การเคารพในความคิดเห็นเพื่อนๆในกลุ่มเพราะต่างคนต่างก็มีความรู้ไม่เหมือนกันหากนำความรู้ความคิดของเพื่อนมาเติมเต็มในการทำงานก็จะทำให้การทำงานดียิ่งขึ้น เนื่องจากตนเองเป็นคนที่อารมณ์ดี ใจเย็น เมื่อเกิดปัญหาทะเลาะขึ้นในกลุ่มสามารถเป็นตัวเชื่อมให้เพื่อนๆคืนดีกันได้

"ขออภัย"
ยังไม่มีเนื้อหาข้อมูลในส่วนนี้
ภาพกิจกรรม
วิดีโอแนบ
ไฟล์แนบ